แพทย์ฯแผนจีน ม.หัวเฉียวฯ - แพทย์ฯแผนจีน ม.หัวเฉียวฯ นิยาย แพทย์ฯแผนจีน ม.หัวเฉียวฯ : Dek-D.com - Writer

แพทย์ฯแผนจีน ม.หัวเฉียวฯ

โดย Ki_Ka_Fon

หวัดดีคร๊าบ...อยากแนะนำคณะนี้ให้เพื่อนๆได้รู้จักกัน เป็นอีกคณะหนึ่งที่น่าสนใจ เปิดเป็นแห่งเดียวของประเทศไทย และภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เลยหาข้อมูลมาให้เพื่อนๆได้อ่านกัน

ผู้เข้าชมรวม

18,010

ผู้เข้าชมเดือนนี้

8

ผู้เข้าชมรวม


18.01K

ความคิดเห็น


89

คนติดตาม


2
เรื่องสั้น
อัปเดตล่าสุด :  22 พ.ค. 51 / 09:55 น.


ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    การแพทย์แผนจีนโบราณ TCM (Traditional Chinese Medical)

    การแพทย์แผนจีนโบราณ หรือ TCM (Traditional Chinese Medical) เป็นระบบบำบัดรักษาความเจ็บป่วยที่ละเอียดลึกซึ้ง และสมบูรณ์แบบ ปัจจุบันได้รับการยอมรับไปทั่วโลก ผู้บำบัดด้วยวิธีการแพทย์สาขาจีน มีทั้งชาวจีนย้ายถิ่น และแพทย์ชาวต่างชาติที่เดินทางไปศึกษาวิชาการแพทย์แผนจีนมาจากประเทศจีนโดยตรง การตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยโรค จะต้องกระทำโดยการซักประวัติผู้ป่วย การสังเกตวิเคราะห์ส่วนต่างๆของร่างกาย การสัมผัส และการจับจังหวะชีพจร ซึ่งทั้งหมด ต้องอาศัยความละเอียดลออและความชำนาญพิเศษ ส่วนการรักษาจะประกอบด้วย การเลือกอาหาร การนวด การฝังเข็ม การดื่มชาสมุนไพรต่างๆ รวมทั้งยาจากสัตว์ด้วย ปัจจุบันกำลังได้รับความสนใจจากนักวิจัยชาวตะวันตกอย่างกว้างขวาง และเป็นที่ประจักษ์มากขึ้นเรื่อยๆว่า มีประสิทธิภาพสูง และสามารถรักษาอาการของโรคบางโรค ที่แพทย์แผนปัจจุบันยังไม่พบวิธีรักษาได้

    การแพทย์แผนจีนในประเทศไทย

    แพทย์แผนจีนได้มีการให้บริการในประเทศไทยมานานแล้วในกลุ่มชาวจีน  ต่อมา  ได้ขยายความนิยมมาสู่คนรุ่นใหมโดยทั่วไป ที่นิยมการใช้ยาสมุนไพรมากกว่าการใช้ยาที่ได้จากการสังเคราะห์  และผู้ที่มองหาการแพทย์ทางเลือก ต่างหากจาก การแพทย์แผนปัจจุบัน 

    ปัจจุบันการแพทย์แผนจีนได้รับการยอมรับจากกระทรวงสาธารณสุข โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดอบรมผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนจีน และได้มอบใบอนุญาตแก่ผู่ผ่านการอบรมให้สามารถรักษาผู้ป่วยได้โดยทั่วไป  เพื่อให้ประชาชนได้มั่นใจในการรับการรักษาโดยแพทย์แผนจีนในฐานะการแพทย์ทางเลือก

    คณะการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

    ใช้เวลาเรียนประมาณ   5ปี ฝึกงานอีก 1 ปีครับ   ฝึกงานที่โรงพยาบาลหัวเฉียว 6 เดือน และที่ประเทศจีนอีก 6 เดือน  เป็นอาชีพที่ขาดแคลนมากในขณะนี้  จะเห็นได้จากโรงพยาบาลขนาดใหญ๋ในไทยส่วนมากจะมีหมอทางด้านนี้   จบมาได้รับปริญญา  2 ใบ จาก ม.แพทย์แผนจีนเซียงไฮ้ และ ม.หัวเฉียว รับจำนวนประมาณ 80 คน ครับ

    ชื่อหลักสูตร
    (ภาษาไทย)
    : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนจีน
    (ภาษาอังกฤษ)
    : Bachelor of Science Program in Chinese Medicine
    ชื่อปริญญา
    ชื่อเต็ม
    (ภาษาไทย)
    : วิทยาศาสตรบัณฑิต (การแพทย์แผนจีน)
    ชื่อย่อ
    (ภาษาไทย)
    : วท.บ. (การแพทย์แผนจีน)
    ชื่อเต็ม
    (ภาษาอังกฤษ)
    : Bachelor of Science (Chinese Medicine)
    ชื่อย่อ
    (ภาษาอังกฤษ)
    : B.Sc. (Chinese Medicine)

    หลักการและเหตุผล และวัตถุประสงค์
    - ในการปฎิรูปสุขภาพแห่งชาติ ได้กำหนดโดยให้กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่ดูแล ส่งเสริมสุขภาพให้แก่ประชาชน โดยการสนับสนุนให้ประชาชนได้ใช้ศักยภาพของตนเองในการสร้างเสริมสุขภาพ ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ ให้ประชาชนได้ทราบแนวทางดูแลสุขภาพทั้งทางการแพทย์แผนตะวันตก การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทยและการแพทย์ทางเลือกต่างๆตลอดจนมีการเปลี่ยนโครงสร้าง บทบาทและภารกิจของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงตามพระราชบัญญัติและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูประบบราชการ ส่งเสริมให้มีการใช้ศาสตร์การดูแลสุขภาพต่างๆที่มีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ ประหยัดและสอดคล้องกับวิถีชีวิต เศรษฐกิจและสังคมไทย อาทิเช่น การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทยประยุกต์ การแพทย์แผนจีนและอื่นๆผสมผสานกันในการดูแลสุขภาพ
    -ศาสตร์การแพทย์แผนจีนมีประวัติการพัฒนาและการสืบทอดกันมากว่าห้าพันปี ในห้าสิบปีที่ผ่านมาได้รับการประยุกต์ผสมผสานกับการแพทย์แผนตะวันตกและกลายเป็นกระแสหลักในการดูแลสุขภาพประชาชนในประเทศจีน และยังเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับจากประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมันนี ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีและสิงคโปร์ สำหรับประเทศไทยมีการนำศาสตร์การแพทย์แผนจีนเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยมีหลักฐานที่ปรากฎพบว่ามีร้านยาจีนจำนวนมากในเขตกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ๆทั้วประเทศไทย รวมถึงได้มีการก่อตั้งสมาคมแพทย์แผนจีนในประเทศไทยเมื่อกว่า 80 ปีที่ผ่านมา
    - เมื่อประเทศไทยมีประกาศใช้พระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. 2466 แพทย์แผนจีนจำนวนหนึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาแผนโบราณ ต่อมาได้มีการประกาศพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 ซึ่งได้กำหนดการประกอบโรคศิลปะในสาขาเวชกรรมคือ การตรวจโรคการป้องกันโรค การบำบัดโรคมนุษย์ด้วยกรรมวิธีของการประกอบโรคศิลปะตามแผนนั้นๆโดยมีคณะอนุกรรมการวิชาชีพแผนโบราณเป็นผู้กำกับดูแลผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ ต่อมา พ.ศ. 2542 ได้มีประกาศพระราชบัญญัติประกอบโรคศิลปะ ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อสาขาการแพทย์แผนโบราณเป็นการแพทย์แผนไทย ดังนั้น กลุ่มแพทย์จีนที่เคยได้รับอนุญาตประกอบโรคศิลปะภายใต้สาขาการแพทย์แผนโบราณ ร่วมกับศูนย์ความร่วมมือการแพทย์ไทย-จีน กรมการแพทย์ สถานพยาบาลหัวเฉียวแผนโบราณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้เสนอคณะกรรมการประกอบโรคศิลปะพิจารณาศาสตร์การแพทย์แผนจีน และคณะกรรมการประกอบโรคศิลปะได้เห็นชอบให้ใช้มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 โดยใช้ศาสตร์การแพทย์แผนจีนตามมาตราดังกล่าว เมื่อ พ.ศ. 2543 การดำเนินการสอบประเมินจรรยาบรรณและความรู้ศาสตร์การแพทย์แผนจีนในระหว่างปี 2543-2545 ได้มีบุคคลผ่านการประเมินและได้รับหนังสือรับรองการประกอบโรคศิลปะด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน จำนวน 175 คน
    - เมื่อศาสตร์การแพทย์แผนจีนได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพสำหรับประชาชนไทย มีการคาดการณ์ว่าระบบบริการการแพทย์และสาธารณสุขจะมีควมต้องการบุคลากรที่มีความรู้ในศาสตร์การแพทย์ในโรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชน อย่างน้อย 4 คนต่อแห่ง ส่วนในศูนย์บริการปฐมภูมิ (Primary Care Unit-PCU) จะมีความต้องการบุคลากรด้านการแพทย์ที่ได้รับการอบรมต่อยอดให้มีความรู้ความสามารถด้านการแพทย์แผนจีน อาทิเช่น การนวด การกดจุด การฝังเข็ม การใช้สมุนไพรแบบประยุกต์ฯลฯ ซี่งรวมบุคคล 2 กลุ่มจะมีมากกว่า 1 หมื่นคน เมื่อประเมินความต้องการบุคลากรดังกล่าวแล้วเห็นว่าหากต้องส่งไปเรียน หรือไปรับการอบรมในประเทศ จะเป็นการสูญเสียค่าใช้จ่ายมาก จึงเห็นควรให้มีการผลิตบุคลากรดังกล่าวขึ้นภายในประเทศไทย
    วัตถุประสงค์
    1. เพื่อผลิตบัณฑิตทางการแพทย์แผนจีน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ โดยใช้แนวคิดหลักสูตรทฤษฎีการแพทย์แผนจีน กระบวนการสร้างเสริมสุขภาพและศาสตร์สาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้องโดยให้บริการการดูแลสุขภาพของประชาชนเป็นการสร้างศักยภาพการดูแลตนเองของบุคคล ครอบครัว และชุมชน
    2. เพื่อผลิตบัณฑิตทางการแพทย์แผนจีนให้สามารถปฏิบัติงานร่วมกับทีมสุขภาพและบุคคลากรหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้บริการสาธารณสุขทุกระดับ
    3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถพร้อมด้วยจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพให้บริการแก่สังคม โดยยึดมั่นและสนับสนุนหลักการประชาธิปไตย และดำรงตนเป็นพลเมืองดีของสังคม

    โครงสร้างหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนจีน

    1. วิชาพื้นฐานภาษาจีนระยะเวลา 1,740 ชั่วโมง
    CN 0001 ภาษาจีนพื้นฐาน 1,560 ชั่วโมง
    CN 0002 ภาษาจีนสำหรับการแพทย์แผนจีน 180 ชั่วโมง

    2. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
    2.1 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
    2.2 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
    2.3 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
    2.4 กลุ่มวิชาภาษา
    2.5 กลุ่มวิชาพลานามัย
     
    3. หมวดวิชาเฉพาะ
    3.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ

    BI 1012 ชีววิทยา
    2 (2/2-0-0)
    BI 1041 ปฏิบัติการชีววิทยา
    1 (0-1/2-0)
    BH 2333 ชีวเคมีพื้นฐาน
    3 (3/3-0-0)
    BH 2341 ปฏิบัติการชีวเคมีพื้นฐาน
    1 (0-1/3-0)
    CH 1233 หลักเคมี
    3 (3/3-0-0)
    CH 1241 ปฏิบัติการเคมี
    1 (0-1/3-0)
    CH 2233 อินทรีย์เคมีพื้นฐาน
    3 (3/3-0-0)
    CH 2241 ปฏิบัติการอินทรีย์เคมีพื้นฐาน
    1 (0-1/3-0)
    EG 2103 การฟัง- การพูดภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพ
    3 (3/3-0-0)
    EG 2233 การอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพ
    3 (3/3-0-0)
    PH 1183 ฟิสิกส์ทางการแพทย์
    3 (3/3-0-0)
    PH 1191 ปฏิบัติการฟิสิกส์ทางการแพทย์
    1 (0-1/3-0)
    CM 3012 จริยธรรมทางการแพทย์
    2 (2/2-0-0)
    3.2 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์
    AN 2113 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 1
    3 (3/3-0-0)
    AN 2123 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 2
    3 (3/3-0-0)
    AN 2151 ปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 1
    1 (0-1/3-0)
    AN 2161 ปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 2
    1 (0-1/3-0)
    MI 2134 จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา
    4 (3/3-1/3-0)
    MT 3412 วิทยาภูมิคุ้มกันทางการแพทย์
    2 (2/2-0-0)
    PA 2203 พยาธิวิทยา
    3 (3/3-0-0)
    PM 3013 เภสัชวิทยา
    3 (3/3-0-0)
    CM 2033 พื้นฐานการตรวจวินิจฉัย
    3 (3/3-0-0

    4.หมวดวิชาการแพทย์แผนจีน
    CM 2012 พื้นฐานศาสตร์การแพทย์แผนจีน 1
    2 (2/2-0-0)
    CM 2023 พื้นฐานศาสตร์การแพทย์แผนจีน 2
    3 (3/3-0-0)
    CM 2043 ยาสมุนไพรจีน 1
    3 (3/3-0-0)
    CM 2053 ยาสมุนไพรจีน 2
    3 (3/3-0-0)
    CM 2063 ยาสมุนไพรจีน 3
    3 (3/3-0-0)
    CM 2073 คัมภีร์โบราณทางการแพทย์แผนจีน
    3 (3/3-0-0)
    CM 3013 ตำรับยาจีน 1
    3 (3/3-0-0)
    CM 3023 ตำรับยาจีน 2
    3 (3/3-0-0)
    CM 3033 การตรวจวินิจฉัย
    3 (3/3-0-0)
    CM 3041 อายุรกรรมแพทย์จีน 1
    1 (1/1-0-0)
    CM 3053 อายุรกรรมแพทย์จีน 2
    3 (3/3-0-0)
    CM 3063 อายุรกรรมแพทย์จีน 3
    3 (3/3-0-0)
    CM 3073 อายุรกรรมแพทย์จีน 4
    3 (3/3-0-0)
    CM 4012 สูตินรีเวช 1
    2 (2/2-0-0)
    CM 4013 สูตินรีเวช 2
    3 (3/3-0-0)
    CM 4022 กุมารเวชศาสตร์ 1
    2 (2/2-0-0)
    CM 4023 กุมารเวชศาสตร์ 2
    3 (3/3-0-0)
    CM 4043 ฝังเข็มและการรมยา 1
    3 (3/3-0-0)
    CM 4051 ฝังเข็มและการรมยา 2
    1 (1/1-0-0)
    CM 4063 ฝังเข็มและการรมยา 3
    3 (3/3-0-0)
    CM 4072 ฝังเข็มและการรมยา 4
    2 (1/1-0-1/6)
    CM 4083 ทุยหนา 1
    3 (2/2-1/2-0)
    CM 4092 ทุยหนา 2
    2 (1/1-1/2-0)
    CM 4103 โรคกระดูก 1
    3 (3/3-0-0)
    CM 4112 โรคกระดูก 2
    2 (1/1-0-1/6)

    5. หมวดวิชาเลือกเสรี
    ทางคณะจะให้นักศึกษาได้ศึกษาการบำบัดรักษาด้วยไท้เก๊ก

    การฝึกงาน
    การฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาการแพทย์แผนจีน เป็นการนำความรู้ที่ได้รับมาในเบื้องต้นทั้งหมดทั้งทฤษฎีและปฏิบัติมาลงมือปฏิบัติกับผู้ป่วยจริง ทั้งนี้เพื่อให้เห็นสภาพจริง สัมผัสได้จริง การฝึกงานจะแบ่งออกเป็นสองคาบ โดยมีแหล่งฝึกงานที่ให้ความร่วม ได้แก่ ศูนย์การแพทย์ไทย - จีน ร้านยาจีนที่มีคุณภาพ โรงพยาบาลที่มีการเปิดสาขาแพทย์จีน ( ปัจจุบันมีหลายสิบโรงพยาบาลทั้ง กทม. และต่างจังหวัด) ส่วนคาบที่สองใช้เวลา 6 เดือนเช่นกัน แต่ไปฝึกงานที่ประเทศจีน มหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเซี่ยงไฮ้
    การฝึกงานในประเทศไทยระยะเวลา 6 เดือน (24 สัปดาห์) ในการฝึกดูแลผู้ป่วยทางคลินิก 6 วิชาหลัก ได้แก่
    1. อายุรกรรม 4 หน่วยกิต 4 (0-0-4/16) 7 สัปดาห์
    2. ฝังเข็ม – รมยา 3 หน่วยกิต 2 (0-0-3/8) 5 สัปดาห์
    3. สูตินรีเวช 2 หน่วยกิต 2 (0-0-2/4) 3 สัปดาห์
    4. กุมารเวชศาสตร์ 2 หน่วยกิต 2 (0-0-2/4) 3 สัปดาห์
    5. ทุยหนา 2 หน่วยกิต 2 (0-0-2/4) 3 สัปดาห์
    6. กระดูก 2 หน่วยกิต 2 (0-0-2/4) 3 สัปดาห์

    การฝึกงานในประเทศจีนอีก 6 เดือน
    จะมีให้เลือกตามความถนัดอย่ 2 กลุ่ม
    กลุ่ม 1 วิชาฝังเข็ม ทุยหนา กระดูก ( ไม่เน้นการใช้ยา)
    กลุ่ม 2 วิชาสูตินรีเวช เด็ก มะเร็ง โรคตับ (เน้นการใช้ยา)

    การเรียนโดยรวมนักศึกษาจะได้เรียนศาสตร์การแพทย์จีนต่างๆ เช่น การนวดแบบจีน ทุยหนา การฝังเข็ม การรมยา ตำรับยาจีน การวินิจฉัยโรคตามแผนจีน การบำบัดด้วยวิธีธรรมชาติ ไท้เก๊ก
    เป็นใช้ศาสตร์การแพทย์แผนจีนโบราณประยุกต์ใช้กับการแพทย์แผนปัจจุบัน

    สิ่งที่ได้จากการศึกษา
    หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนจีน เป็นหลักสูตรการเรียนร่วมสองสถาบัน คือ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติและมหาวิทยาลัยแพทย์แผนจีนเซี่ยงไฮ้เมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษา ตามหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยกำหนดนักศึกษาจะได้รับปริญญาร่วมทั้งสองมหาวิทยาลัย และสามารถสอบใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะการแพทย์แผนจีนได้

    การประกอบอาชีพ เนื่องจากเปิดเป็นคณะใหม่ โอกาสการหางานได้เป็นไปได้สูงมาก ผู้ที่สำเร็จการศึกษาสามารถไปประกอบอาชีพแพทย์แผนจีนตามโรงพยาบาล คลีนิค สปา เปิดร้านขายยาแผนจีน ปัจจุบันเป็นที่ต้องการของชาวไทยและชาวต่างประเทศมากๆ จบออกมารับรองรุ่งแน่ๆคร๊าบ
     
    ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็ปไซด์คณะการแพทย์แผนจีน ม.หัวเฉียว
    http://cmed.hcu.ac.th

    หลักการและเหตุผล และวัตถุประสงค์
    - ในการปฎิรูปสุขภาพแห่งชาติ ได้กำหนดโดยให้กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่ดูแล ส่งเสริมสุขภาพให้แก่ประชาชน โดยการสนับสนุนให้ประชาชนได้ใช้ศักยภาพของตนเองในการสร้างเสริมสุขภาพ ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ ให้ประชาชนได้ทราบแนวทางดูแลสุขภาพทั้งทางการแพทย์แผนตะวันตก การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทยและการแพทย์ทางเลือกต่างๆตลอดจนมีการเปลี่ยนโครงสร้าง บทบาทและภารกิจของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงตามพระราชบัญญัติและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูประบบราชการ ส่งเสริมให้มีการใช้ศาสตร์การดูแลสุขภาพต่างๆที่มีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ ประหยัดและสอดคล้องกับวิถีชีวิต เศรษฐกิจและสังคมไทย อาทิเช่น การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทยประยุกต์ การแพทย์แผนจีนและอื่นๆผสมผสานกันในการดูแลสุขภาพ
    -ศาสตร์การแพทย์แผนจีนมีประวัติการพัฒนาและการสืบทอดกันมากว่าห้าพันปี ในห้าสิบปีที่ผ่านมาได้รับการประยุกต์ผสมผสานกับการแพทย์แผนตะวันตกและกลายเป็นกระแสหลักในการดูแลสุขภาพประชาชนในประเทศจีน และยังเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับจากประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมันนี ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีและสิงคโปร์ สำหรับประเทศไทยมีการนำศาสตร์การแพทย์แผนจีนเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยมีหลักฐานที่ปรากฎพบว่ามีร้านยาจีนจำนวนมากในเขตกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ๆทั้วประเทศไทย รวมถึงได้มีการก่อตั้งสมาคมแพทย์แผนจีนในประเทศไทยเมื่อกว่า 80 ปีที่ผ่านมา
    - เมื่อประเทศไทยมีประกาศใช้พระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. 2466 แพทย์แผนจีนจำนวนหนึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาแผนโบราณ ต่อมาได้มีการประกาศพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 ซึ่งได้กำหนดการประกอบโรคศิลปะในสาขาเวชกรรมคือ การตรวจโรคการป้องกันโรค การบำบัดโรคมนุษย์ด้วยกรรมวิธีของการประกอบโรคศิลปะตามแผนนั้นๆโดยมีคณะอนุกรรมการวิชาชีพแผนโบราณเป็นผู้กำกับดูแลผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ ต่อมา พ.ศ. 2542 ได้มีประกาศพระราชบัญญัติประกอบโรคศิลปะ ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อสาขาการแพทย์แผนโบราณเป็นการแพทย์แผนไทย ดังนั้น กลุ่มแพทย์จีนที่เคยได้รับอนุญาตประกอบโรคศิลปะภายใต้สาขาการแพทย์แผนโบราณ ร่วมกับศูนย์ความร่วมมือการแพทย์ไทย-จีน กรมการแพทย์ สถานพยาบาลหัวเฉียวแผนโบราณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้เสนอคณะกรรมการประกอบโรคศิลปะพิจารณาศาสตร์การแพทย์แผนจีน และคณะกรรมการประกอบโรคศิลปะได้เห็นชอบให้ใช้มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 โดยใช้ศาสตร์การแพทย์แผนจีนตามมาตราดังกล่าว เมื่อ พ.ศ. 2543 การดำเนินการสอบประเมินจรรยาบรรณและความรู้ศาสตร์การแพทย์แผนจีนในระหว่างปี 2543-2545 ได้มีบุคคลผ่านการประเมินและได้รับหนังสือรับรองการประกอบโรคศิลปะด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน จำนวน 175 คน
    - เมื่อศาสตร์การแพทย์แผนจีนได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพสำหรับประชาชนไทย มีการคาดการณ์ว่าระบบบริการการแพทย์และสาธารณสุขจะมีควมต้องการบุคลากรที่มีความรู้ในศาสตร์การแพทย์ในโรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชน อย่างน้อย 4 คนต่อแห่ง ส่วนในศูนย์บริการปฐมภูมิ (Primary Care Unit-PCU) จะมีความต้องการบุคลากรด้านการแพทย์ที่ได้รับการอบรมต่อยอดให้มีความรู้ความสามารถด้านการแพทย์แผนจีน อาทิเช่น การนวด การกดจุด การฝังเข็ม การใช้สมุนไพรแบบประยุกต์ฯลฯ ซี่งรวมบุคคล 2 กลุ่มจะมีมากกว่า 1 หมื่นคน เมื่อประเมินความต้องการบุคลากรดังกล่าวแล้วเห็นว่าหากต้องส่งไปเรียน หรือไปรับการอบรมในประเทศ จะเป็นการสูญเสียค่าใช้จ่ายมาก จึงเห็นควรให้มีการผลิตบุคลากรดังกล่าวขึ้นภายในประเทศไทย
    วัตถุประสงค์
    1. เพื่อผลิตบัณฑิตทางการแพทย์แผนจีน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ โดยใช้แนวคิดหลักสูตรทฤษฎีการแพทย์แผนจีน กระบวนการสร้างเสริมสุขภาพและศาสตร์สาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้องโดยให้บริการการดูแลสุขภาพของประชาชนเป็นการสร้างศักยภาพการดูแลตนเองของบุคคล ครอบครัว และชุมชน
    2. เพื่อผลิตบัณฑิตทางการแพทย์แผนจีนให้สามารถปฏิบัติงานร่วมกับทีมสุขภาพและบุคคลากรหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้บริการสาธารณสุขทุกระดับ
    3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถพร้อมด้วยจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพให้บริการแก่สังคม โดยยึดมั่นและสนับสนุนหลักการประชาธิปไตย และดำรงตนเป็นพลเมืองดีของสังคม

    โครงสร้างหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนจีน

    1. วิชาพื้นฐานภาษาจีนระยะเวลา 1,740 ชั่วโมง
    CN 0001 ภาษาจีนพื้นฐาน 1,560 ชั่วโมง
    CN 0002 ภาษาจีนสำหรับการแพทย์แผนจีน 180 ชั่วโมง

    2. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
    2.1 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
    2.2 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
    2.3 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
    2.4 กลุ่มวิชาภาษา
    2.5 กลุ่มวิชาพลานามัย
     
    3. หมวดวิชาเฉพาะ
    3.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ

    BI 1012 ชีววิทยา
    2 (2/2-0-0)
    BI 1041 ปฏิบัติการชีววิทยา
    1 (0-1/2-0)
    BH 2333 ชีวเคมีพื้นฐาน
    3 (3/3-0-0)
    BH 2341 ปฏิบัติการชีวเคมีพื้นฐาน
    1 (0-1/3-0)
    CH 1233 หลักเคมี
    3 (3/3-0-0)
    CH 1241 ปฏิบัติการเคมี
    1 (0-1/3-0)
    CH 2233 อินทรีย์เคมีพื้นฐาน
    3 (3/3-0-0)
    CH 2241 ปฏิบัติการอินทรีย์เคมีพื้นฐาน
    1 (0-1/3-0)
    EG 2103 การฟัง- การพูดภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพ
    3 (3/3-0-0)
    EG 2233 การอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพ
    3 (3/3-0-0)
    PH 1183 ฟิสิกส์ทางการแพทย์
    3 (3/3-0-0)
    PH 1191 ปฏิบัติการฟิสิกส์ทางการแพทย์
    1 (0-1/3-0)
    CM 3012 จริยธรรมทางการแพทย์
    2 (2/2-0-0)
    3.2 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์
    AN 2113 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 1
    3 (3/3-0-0)
    AN 2123 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 2
    3 (3/3-0-0)
    AN 2151 ปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 1
    1 (0-1/3-0)
    AN 2161 ปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 2
    1 (0-1/3-0)
    MI 2134 จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา
    4 (3/3-1/3-0)
    MT 3412 วิทยาภูมิคุ้มกันทางการแพทย์
    2 (2/2-0-0)
    PA 2203 พยาธิวิทยา
    3 (3/3-0-0)
    PM 3013 เภสัชวิทยา
    3 (3/3-0-0)
    CM 2033 พื้นฐานการตรวจวินิจฉัย
    3 (3/3-0-0

    4.หมวดวิชาการแพทย์แผนจีน
    CM 2012 พื้นฐานศาสตร์การแพทย์แผนจีน 1
    2 (2/2-0-0)
    CM 2023 พื้นฐานศาสตร์การแพทย์แผนจีน 2
    3 (3/3-0-0)
    CM 2043 ยาสมุนไพรจีน 1
    3 (3/3-0-0)
    CM 2053 ยาสมุนไพรจีน 2
    3 (3/3-0-0)
    CM 2063 ยาสมุนไพรจีน 3
    3 (3/3-0-0)
    CM 2073 คัมภีร์โบราณทางการแพทย์แผนจีน
    3 (3/3-0-0)
    CM 3013 ตำรับยาจีน 1
    3 (3/3-0-0)
    CM 3023 ตำรับยาจีน 2
    3 (3/3-0-0)
    CM 3033 การตรวจวินิจฉัย
    3 (3/3-0-0)
    CM 3041 อายุรกรรมแพทย์จีน 1
    1 (1/1-0-0)
    CM 3053 อายุรกรรมแพทย์จีน 2
    3 (3/3-0-0)
    CM 3063 อายุรกรรมแพทย์จีน 3
    3 (3/3-0-0)
    CM 3073 อายุรกรรมแพทย์จีน 4
    3 (3/3-0-0)
    CM 4012 สูตินรีเวช 1
    2 (2/2-0-0)
    CM 4013 สูตินรีเวช 2
    3 (3/3-0-0)
    CM 4022 กุมารเวชศาสตร์ 1
    2 (2/2-0-0)
    CM 4023 กุมารเวชศาสตร์ 2
    3 (3/3-0-0)
    CM 4043 ฝังเข็มและการรมยา 1
    3 (3/3-0-0)
    CM 4051 ฝังเข็มและการรมยา 2
    1 (1/1-0-0)
    CM 4063 ฝังเข็มและการรมยา 3
    3 (3/3-0-0)
    CM 4072 ฝังเข็มและการรมยา 4
    2 (1/1-0-1/6)
    CM 4083 ทุยหนา 1
    3 (2/2-1/2-0)
    CM 4092 ทุยหนา 2
    2 (1/1-1/2-0)
    CM 4103 โรคกระดูก 1
    3 (3/3-0-0)
    CM 4112 โรคกระดูก 2
    2 (1/1-0-1/6)

    5. หมวดวิชาเลือกเสรี
    ทางคณะจะให้นักศึกษาได้ศึกษาการบำบัดรักษาด้วยไท้เก๊ก

    การฝึกงาน
    การฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาการแพทย์แผนจีน เป็นการนำความรู้ที่ได้รับมาในเบื้องต้นทั้งหมดทั้งทฤษฎีและปฏิบัติมาลงมือปฏิบัติกับผู้ป่วยจริง ทั้งนี้เพื่อให้เห็นสภาพจริง สัมผัสได้จริง การฝึกงานจะแบ่งออกเป็นสองคาบ โดยมีแหล่งฝึกงานที่ให้ความร่วม ได้แก่ ศูนย์การแพทย์ไทย - จีน ร้านยาจีนที่มีคุณภาพ โรงพยาบาลที่มีการเปิดสาขาแพทย์จีน ( ปัจจุบันมีหลายสิบโรงพยาบาลทั้ง กทม. และต่างจังหวัด) ส่วนคาบที่สองใช้เวลา 6 เดือนเช่นกัน แต่ไปฝึกงานที่ประเทศจีน มหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเซี่ยงไฮ้
    การฝึกงานในประเทศไทยระยะเวลา 6 เดือน (24 สัปดาห์) ในการฝึกดูแลผู้ป่วยทางคลินิก 6 วิชาหลัก ได้แก่
    1. อายุรกรรม 4 หน่วยกิต 4 (0-0-4/16) 7 สัปดาห์
    2. ฝังเข็ม – รมยา 3 หน่วยกิต 2 (0-0-3/8) 5 สัปดาห์
    3. สูตินรีเวช 2 หน่วยกิต 2 (0-0-2/4) 3 สัปดาห์
    4. กุมารเวชศาสตร์ 2 หน่วยกิต 2 (0-0-2/4) 3 สัปดาห์
    5. ทุยหนา 2 หน่วยกิต 2 (0-0-2/4) 3 สัปดาห์
    6. กระดูก 2 หน่วยกิต 2 (0-0-2/4) 3 สัปดาห์

    การฝึกงานในประเทศจีนอีก 6 เดือน
    จะมีให้เลือกตามความถนัดอย่ 2 กลุ่ม
    กลุ่ม 1 วิชาฝังเข็ม ทุยหนา กระดูก ( ไม่เน้นการใช้ยา)
    กลุ่ม 2 วิชาสูตินรีเวช เด็ก มะเร็ง โรคตับ (เน้นการใช้ยา)

    การเรียนโดยรวมนักศึกษาจะได้เรียนศาสตร์การแพทย์จีนต่างๆ เช่น การนวดแบบจีน ทุยหนา การฝังเข็ม การรมยา ตำรับยาจีน การวินิจฉัยโรคตามแผนจีน การบำบัดด้วยวิธีธรรมชาติ ไท้เก๊ก
    เป็นใช้ศาสตร์การแพทย์แผนจีนโบราณประยุกต์ใช้กับการแพทย์แผนปัจจุบัน

    สิ่งที่ได้จากการศึกษา
    หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนจีน เป็นหลักสูตรการเรียนร่วมสองสถาบัน คือ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติและมหาวิทยาลัยแพทย์แผนจีนเซี่ยงไฮ้เมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษา ตามหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยกำหนดนักศึกษาจะได้รับปริญญาร่วมทั้งสองมหาวิทยาลัย และสามารถสอบใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะการแพทย์แผนจีนได้

    การประกอบอาชีพ เนื่องจากเปิดเป็นคณะใหม่ โอกาสการหางานได้เป็นไปได้สูงมาก ผู้ที่สำเร็จการศึกษาสามารถไปประกอบอาชีพแพทย์แผนจีนตามโรงพยาบาล คลีนิค สปา เปิดร้านขายยาแผนจีน ปัจจุบันเป็นที่ต้องการของชาวไทยและชาวต่างประเทศมากๆ จบออกมารับรองรุ่งแน่ๆคร๊าบ
     
    ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็ปไซด์คณะการแพทย์แผนจีน ม.หัวเฉียว
    http://cmed.hcu.ac.th

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    คำนิยมล่าสุด

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    ความคิดเห็น

    ×