ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #83 : Bakemonogatari อัศจรรย์การ์ตูนที่ดังอย่างเหลือเชื่อ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 23.69K
      13
      1 มี.ค. 54


    Bakemonogatari ครั้งแรกที่ผมเห็นการ์ตูนเรื่องนี้ผมแปลกใจอย่างมากว่า “มันเป็นการ์ตูนแนวอะไรเนี้ย” ภาพแรกที่เห็นคือผู้หญิงสาวสวยผมยาวมาดอย่างกับประธานนักเรียนเปิดกระโปรงแล้วมีอุปกรณ์การเขียนหล่นลงมา(จำพวกกรรไกร, คัตเตอร์ ที่เย็บกระดาษ) ในตอนนั้นผมก็เดาว่านะจะเป็นแนวเซอร์ไวเวอร์ประเภทใช้พลังพิเศษสู้กัน แต่หลังจากได้ดูการ์ตูนแล้ว ให้ตายเถอะ ผมถึงอุทานว่า “โอ้!! แม่เจ้ามันช่างเป็นการ์ตูนโครตแนวเลยเว้ย!!)


      

    Bakemonogatari

    โรแมนติก, สืบสวน, เหนือธรรมชาติ, คอมมาดี้, ฮาเร็ม

    ดูคลิปได้ที่ http://video.mthai.com/player.php?id=18M1247151517M0

     

    หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่าเทพนิยายของเหล่าสัตว์ประหลาด(สัตว์ประหลาดที่ว่าคือ Bokemono) เป็นอนิเมชั่นที่สร้างจากไลน์โนเวลของ Nisio Isin(มีหลายตอนและหลายเวอร์ชั่น)  เผยแพร่ออกอากาศเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2009 โดยแบ่งเป็นของทีวี 12 ตอน และพิเศษอีก 3 ตอน(OVA) จัดทำโดยค่ายค่ายสุดแนวอย่าง SHAFT ซึ่งฝากผลงานดังๆไว้หลายเรื่องอย่างเช่น Sayonara Zetsubo Sensei หรือ Ef กำกับโดย Akiyuki Shinbo ถือว่าเป็นผู้กำกับคนดังคนหนึ่งเคยฝากผลงานเด่นๆเอาไว้มากมาย อย่างเช่น Sayonara Zetsubo Sensei , Maria Holic , Negima!? , Magical Girl Lyrical Nanoha

    Bakemonogatari เป็นเรื่องราวของหนุ่มสาวที่มีเรื่องเหนือธรรมชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ อารารากิ โคโย นักเรียนปีสาม(ในเว็บมันบอกนะอันนี้ไม่แน่ใจ) ที่เขาได้พบเหตุการณ์แวมไพร์กัดจนทำให้เขากลายเป็นแวมไพร์และมีร่างกายเป็นอมมนุษย์ ซึ่งเป็นเหตุทำให้เขาต้องพบสิ่งแปลกประหลาด(สิ่งลึกลับมีตั้งแต่วิญญาณ ภูต ผี ปีศาจ ไปจนถึงเทพ)ที่มาพร้อมกับหญิงสาวมากหน้าหลายตา

    สำหรับตัวละครเรื่องนี้แปลกอยู่อย่างคือตัวละครหญิงทั้งหมดในเรื่องไม่มีโอกาสอยู่พร้อมหน้าเลยสักครั้ง และที่แปลกยิ่งกว่านั้นคือน้องสาวพระเอก(แถมเป็นเด็กแฝด)ไม่เคยมีบทเต็มๆ เลยสักตอน(ทั้งๆ ที่น่ารักจัด จนถูกทำเป็นโดจินไม่โป๊มาแล้ว)

    ส่วนตัวละครนั้นสื่อถึงสัตว์ชนิดนั้นๆ โดยอาจมาในเชิงสัญลักษณ์หรือเชิงเล่นคำ  เช่น

                   

    โคโยมิ อารารากิ (Koyomai Araragi) พระเอกตัวหลักของเรื่อง เป็นนักเรียนปีสามที่หัวทึบนิดหน่อย ยกเว้นวิชาคณิตศาสตร์ที่ออกมาดี ก่อนหน้านั้นเขาถูกทำร้ายโดยแวมไพร์ในช่วงวันหยุดฤดูร้อนและทำให้ตัวเขากลายเป็นแวมไพร์ แม้ว่าเขาจะถูกช่วยเหลือโดยชายแก่ลึกลับทำให้เป็นมนุษย์ หากแต่มีผลข้างเคียงคือเขาสามารถมองเห็นในที่มืดได้ เขายังเป็นคนกลัวแสงแดดยามเช้าแม้ว่ามันจะไม่ทำอันตรายต่อเขา และเขายังมีชีวิตแบบกึ่งอมตะ แผลสมานได้อย่างรวดเร็ว แม้แขนขาฉีกโดนเสียบตอนแทงก็ไม่ตายแต่รู้สึกเจ็บ  ส่วนนิสัยเขาเป็นคนเอ้อระเหย อ่อนไหวและใจดีมาก(โดยเฉพาะสาวๆ) และเวลาที่เขาคิดจะช่วยก็จะช่วยถึงที่สุด จนเขาหารู้ไม่ว่าเหล่าสาวๆ ในเรื่องชอบเขาทุกคน

     

    เซนโจวกาฮาระ ฮิตากิ(Senjogahara Hitagi) ตัวละครหลักจากเรื่อง “ปูฮิตากิ-สาวที่ดูอ่อนแอด้วยโรคที่รักษาไม่หาย” เป็นนางเอกของเรื่อง(ที่บางครั้งก็ไม่ปรากฏทุกตอน) หลายคนเรียกเธอว่าหนูปู เธอเป็นคนสวย ฉลาด ทรงผมมาดประธานโรงเรียนและเธอเรียนอยู่ชั้นเดียวกับพระเอก แต่ทั้งสองแทบไม่เคยพบหรือได้ยินเรื่องราวของแต่ละคนมาก่อน แต่กระนั้นพวกเขาก็พบกันครั้งแรกระหว่างที่เธอตกจากที่สูงและอารารากิก็รับเธอไว้จนรู้ความลับของเธอว่าที่มีน้ำหนักแค่ 5 กิโล เนื่องจากเธอถูกโอโมชิคานิ(ปูหนัก)ช่วงชิงน้ำหนักของเธอไป เป็นเหตุให้เธอทำตัวเย็นชา และชอบพกเครื่องเขียนอันตรายมากมายติดตัวประจำเพื่อทำร้ายใครก็ตามที่ตอแยกับเธอ ทำให้เธอเป็นคนไม่มีเพื่อน จนกระทั้งอารารากิมารู้ความลับเข้า ตอนแรกเธอหวังจะปิดปากอารารากิด้วยการเอาที่เย็บกระดาษ แต่เธอกลับพบว่าอารารากิเป็นพวกเดียวกับเธอ แถมเขายังอาสาช่วยเธออีก สุดท้ายหลังผ่านพ้นปัญหาไป เธอกลับมาเป็นเด็กร่าเริงอีกครั้งและประกาศตนว่าเธอรักอารารากิ หากแต่ความรักของเธอนั้นอาจแปลกๆ สักหน่อยสำหรับอารารากิจนทำให้เขาต้องเหนื่อยใจหลายรอบ เธอมักตั้งชื่อเล่นอารารากิแบบน่ารัก แล้วหัวเราะเบาๆ และชอบส่งอีเมล์มาหาเขาประจำ ส่วนสิ่งที่สื่อถึงปูของฮิตากิก็คือที่เย็บกระดาษที่รูปร่างเหมือนคีมปูนั้นเอง

      

    มาโยย ฮาจิคุจิ(Mayoi Hachikuji) ตัวหลักจากตอน “หอยทากมาโยย" เด็กประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ตายเพราะอุบัติเหตุในขณะที่เธอพยายามไปเยี่ยมหาแม่ของเธอที่บ้าน และเมื่อเธอเป็นวิญญาณจึงถูกสาปให้หลงทางตลอดกาล  แต่เธอก็พยายามหาบ้านแม่ของเธออยู่ และคนที่สามารถเห็นเธอได้จะต้องเป็นคนที่ไม่ต้องการไปถึงจุดหมายปลายทาง(หรือคนไม่อยากกลับบ้านแหละ) โดยอารารากิไปเจอเธอในที่จอดรถประจำทาง ในวันแม่ และอาสาจะช่วยเธอหาบ้านของแม่ เธอมักทะเลาะเขาทุกครั้งที่พบหน้า โดยเธอชอบกัดแขนอารารากิ(เป็นผีแล้วกัดได้ไงเนี้ย) และเธอมักสะกดชื่ออารารากิผิดเสมอเวลาพบหน้าเจ้าตัว(แบบว่าจงใจ) เธอมีอีกชื่อหนึ่งคือ Koyomi ซึ่งเป็นชื่อครอบครัวของเธอก่อนที่พ่อแม่แยกทางกัน แม้อารารากิจะช่วยเธอหาบ้านพบแล้ว แต่กระนั้นเธอก็ยังเป็นวิญญาณที่หลงทางอยู่เช่นเดิม(คงหลงเส้นทางแห่งหัวใจ) สิ่งที่สื่อเธอว่าเป็นหอยทางก็คือกระเป๋าที่กลางหลังที่มีขนาดใหญ่กว่าเจ้าตัวเสียอีก

      

     สุรุกะ คันบารุ(Suruga Kanbaru) ตัวละครหลักจากตอน “ลิงสุรุกะ” สาวชมรมบาสเกตบอลของโรงเรียน เป็นรุ่นน้องของอารารากิที่มักใส่กางเกงซารุมาต้าใต้กระโปรงนักเรียนเสมอ และเธอมักร่าเริงสดใสและพูดแหย่อารารากิแบบสนิทสนม ในอดีตตอนม.ต้น เธอเป็นรุ่นน้องในโรงเรียนเดียวกับเซนโจวฮาการะ คันบารุ แถมเธอก็หลังรักเซนโจวฮาการะ จนอยากจะเลสเบี้ยนให้ได้(นอกจากนั้นยังเป็นโลลิคอนอีก) หากแต่เพราะเซนโจวฮาการะไม่เล่นแถมยังขู่เธอด้วยที่เย็บกระดาษอีก(อันเนื่องจากช่วงนั้นโจวฮาการะต้องการอยู่คนเดียว เนื่องจากมีปัญหาน้ำหนัก 5 กิโลอยู่) จนเป็นเหตุทำให้เธอเกลียดอารารากิแถมยังเห็นภาพบาดตาบาดใจที่โจวฮาการะพูดคุยกับอารารากิอย่างสนิทสนม(มันสนิทสนมตรงไหนเนี้ย!!) นอกจากนี้เธอยังมีความลับอีกคือเธอถูกปีศาจลิงเข้าสิงที่แขนในสมัยประถม เนื่องจากเธอไปขอพรจากซากอุ้มมือลิงสมบัติของแม่ และเธอก็ใช้มันในแก้แค้นอารารากิ(จนเป็นเหตุฉากสะใจคนดูอย่างยิ่ง เพราะหมั่นใส้พระเอกเหลือเกิน บังอาจสนิทสนมกับหนูปูของตรู พอคนดูเห็นว่าพระเอกโดนเล่นเป็นกระสอบฝ่ายเดียว การ์ตูนเรื่องนี้เลยฮิตติดลมทันที) แต่สุดท้ายเรื่องก็จบลงเมื่อโจวฮาการะออกมาห้ามและขอโทษในสิ่งที่ตนทำมาอดีตแก่สุรุกะ(มันน่าจะทำงี้ตั้งนานแล้ว พระเอกโครตซวยจริงๆ) หลังจบเหตุการณ์เธอก็เป็นเพื่อนกับฮารารากิแต่มือของเธอยังคงมีฤทธิ์เดชอยู่ (โดยส่วนตัวหากสุรุกะใส่กางเกงในลายทางแทนกางเกงซารุมาต้าจะเพิ่มความเป็นโมเอะมากๆ และดูเหมือนมีหลายคนรู้สึกเหมือนผมถึงขนาดวาดสุรุกะใส่กางเกงในลายทางให้เป็นอาหารตาในเว็บโดจินซะด้วย) เออ.....เกือบลืม สิ่งที่สื่อถึงลิงสุรุกะนอกจากจะเป็นมือลิงแล้ว(แต่ผมดูยังกับเป็นมือหมีมากกว่า) คือกางเกงซารุมาต้า(Sarumata - กางเกงพละแนบเนื้อของญี่ปุ่น) ซึ่งซารุเป็นภาษาญี่ปุ่นหมายถึงลิงนั่นเอง

    ข้อมูลเล็กๆ น้อย มือของลิง(The Monkey's Paw) มาจากเรื่องสั้นสยองขวัญของนักเขียนอังกฤษชื่อ WW Jacobs ตีพิมพ์ในปี 1902 ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชายคนหนึ่งที่ขอพรซากอุ้งมือของลิงสามประการ ที่เขาต้องใช้ชีวิตของเขาเพื่อให้ได้สิ่งที่เขาปรารถนา ส่วนกองหนังสือสีแดงมาจากภาพยนตร์เรื่อง LA CHINOISE (1967) ของฌอง ลูซ์ โกดาร์ด(Jean-Luc Godard)

       

    นาเดโกะ เซนโกคุ(Nadeko Sengoku) ตัวละครหลักจากเรื่อง “งูนาเดโกะ” ตัวละครสุดฮิตระเบิดของเรื่องนี้เป็น เด็กสาวมัธยมต้นผู้ถูกคุณไสยงูเล่นงาน อดีตสมัยประถมเคยเป็นเพื่อนของเหล่าน้องสาวของอารารากิและเคยมาเล่นกับอารารากิครั้งหนึ่งที่บ้านของเขา  เนื่องด้วยเธอเป็นคนขี้อายไม่ค่อยมีเพื่อนเธอ พออารารากิมาเป็นเพื่อน เธอก็ตกหลุมรักอารารากิทันที(อิจฉาเว้ย) จนแม้กระทั้งขึ้นมัธยมต้นเธอก็ยังไม่ตัดใจจากเขาจนเป็นเหตุทำให้โดนผู้ไม่หวังดีใช้คุณไสยสาปเธอให้อยู่ภายใต้คำสาปให้ตายในไม่กี่วันข้างหน้า แต่ดูเหมือนเรื่องโชคร้ายของเธอก็มีความโชคดีอยู่บ้างเมื่อเธอได้พบกับอารารากิอีกครั้ง ด้วยความเป็นเด็กหญิงรูปร่างตัวเล็กน่ารัก  มักจะใส่เสื้อฮู๊ดหมวกใบโต และกระเป๋าสะพายเอว  นอกจากนี้เธอยังมีความสามารถเล่าเรื่องตลกเก่ง เธอมาพร้อมด้วยเพลงเปิดตัวของเธอ ทั้งน่ารักน่าชังจนกลายเป็นที่กล่าวขานไม่รู้จักสิ้นสุดว่าเป็นตัวละครที่น่ารักจริงๆ พับผ่า สิ่งที่สื่อถึงงูนาโดโกะคือผิวหนังของงูของเธอนั่นเอง

     

    ซึบาสะ ฮาเนคาว่า(Tsubasa Hanekawa) ตัวละครหลัก “แมวซึบาสะ” เป็นเพื่อนร่วมชั้นของอารารากิและเป็นประธานนักเรียน หัวหน้าห้องของโรงเรียน และเธอเป็นต้นเหตุให้การ์ตูนเรื่องนี้ดัง(ด้วยฉากเปิดกางเกงใน) ภายนอกเป็นคนสวยฉลาด ใจดี และสาวแว่น ยิ้มแย้มอยู่เสมอแต่ดูจะเป็นการฝืนทำ เพราะภายในเต็มไปด้วยความเครียดปัญหาเรื่องครอบครัว จนเธอไม่อยากจะกลับบ้านเท่าไหร่นัก เธอมักเป็นที่ปรึกษาของอารารากิเสมอ จนอารารากิชมว่าเธอรอบรู้ทุกเรื่อง แต่เธอมักพูดแบบอ่อนน้อมถ่อมตนว่า"ฉันรู้ ในสิ่งที่ควรรู้เท่านั้นล่ะ" จนเป็นคำพูดติดปาก ด้วยความเครียดเธอเลยถูกวิญญาณแมวเข้าสิง ในช่วงวันหยุดโกลเด้น ทำให้เกิดอีกตัวตนหนึ่งของเธอนั้นคือสาวแมวยั่วสวาท และอารารากิพยายามช่วยเธออยู่

    สำหรับ เนะโกะมะตะ(Bake Neko)แมวผี นั้นภูตผีชนิดหนึ่งของญี่ปุ่น ที่แมวสามารถกลายเป็นคนได้ เหมือนจิ้งจอกกับแรคคูน โดยตำนานว่ากันว่าแมวที่สามารถกลายเป้ฯมนุษย์นั้นจะมีลักษณะตัวใหญ่กว่าแมวทั่วๆ ไป มีอายุมาก และมีหางสองแฉกและส่วนมากจะเดินด้วยขาหลัง 2 ขา และมันเป็นผีที่ไม่ยอมให้ใครมาดูถูก ถ้าใครปฏิบัติกับมันไม่ดี มันจะจดจำอย่างฝังใจ เชื่อกันว่าการเต้นรำของเนะโกะมะตะสามาถควบคุมคนตายได้ และยังเชื่ออีกว่าเนะโกะมะตะเป็นสาเหตุของเพลิงไหม้ที่ผิดปกติ จึงมีความเชื่อบางอย่างที่จะตัดหางแมวออกซะ เพื่อป้องกันไม่ให้มันกลายเป็นเนะโกะมะตะ เรื่องเล่าของเนะโกะมะตะนั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ บ้างก็เชื่อว่าเนะโกะมะตะจะกิน แม้กระทั่งเจ้านายของตัวเอง และการที่ทิ้งแมวไว้กับศพเป็นเรื่องที่เสี่ยงมาก เพราะมันอาจจะปลุกศพให้คืนชีพ และควบคุมศพได้ แต่ขณะเดียวกันก็มีเรื่องที่เล่าถึงเนะโกะมะตะซึ่งหลงรักเจ้านายของตน และแปลงร่างเป็นสาวงามเพื่อใช้ชีวิตด้วย

               

              โอชิโนะ ชิโนบุ(Oshino Shinobu) สาวน้อยแวมไพร์ที่อาศัยอยู่กับเมเมะในอาคารร้าง ภายนอกเหมือนเด็กหญิงอายุ 8 ปี แต่ความจริงเธอเป็นแวมไพร์สาวสวยที่มีอายุ 500 ปี เนื่องจากเธอต้องช่วยอารารากิจนทำให้สภาพของเธออ่อนแอและไม่มีพลังอำนาจ มีนิสัยเงียบๆ ไม่พูดไม่จา ชอบโดนัล ชื่อ Shinoba  ของเธอนั้นเขียนมาจากภาษาคันจิว่า “หัวใจ” และ “ภายใต้ดาบ” ซึ่งตรงกับบุคลิกภาพของเธอ

                  

               คาร์เรน อารารากิ (Karen Araragi) (คนซ้าย) หรือ“ผึ้งคาร์เรน”ตัวละครหลักที่จะปรากฏในตอนต่อไปในการ์ตูนเรื่องนี้(หวังว่าจะออกนะ) เป็นน้องสาวของอารารากิที่มักปรากฏตัวออกมาพร้อมกับแฝดคนน้องอยู่เสมอ เป็นแฝดคนพี่ มีนิสัยใจร้อนและคิดก่อนจะทำ ชอบแกล้งพี่ชาย จนนำไปสู่เรื่องราวเหนือธรรมชาติในเวลาต่อมา (จากนิยายในชื่อ Nisemonogatari ) แต่ภาคนี้เธอกับน้องสาวจะปรากฏในการ์ตูนสั้นในช่วงท้ายตอน

               ซึกิฮิ อารารากิ(Taukihi Araragi) ตัวละครหลักจากตอน “นกฟิสิกซ์ซึคิกิ” น้องสาวฝาแฝดคนสุดท้องของอารารากิ ที่มีนิสัยแตกต่างจากแฝดคนพี่โดยสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นทรงผมหรือการกระทำ และนิสัยเป็นคนใจเย็นและขี้กลัว ความจริงเธอเป็นภูตนกกาเหล่า)นกฟิสิกซ์)มาเกิด เป็นเหตุทำให้เธอมีชีวิตอมตะเกิดและตายหลายครั้ง จนเกิดปัญหาตามมา ทำให้อารารากิต้องออกโรงช่วยน้องสาว(จากนิยายในชื่อ Nisemonogatari ) แต่ภาคนี้เธอกับพี่สาวจะปรากฏในการ์ตูนสั้นในช่วงท้ายตอน

                

                โอชิโนะ เมเมะ ชายวัยกลางคนลึกลับที่อาศัยอยู่ตึกร้างร่วมกับชิโนบุ ภายนอกเหมือนคนลุงใส่เสื้อผ้าเด็กแนวและพูดจากวนโอ๊ย แต่ความจริงอายุค่อนข้างมากผิดจากหน้าตา เขามีความรู้เรื่องเหนือธรรมชาติ รวมไปถึงรับปรึกษาวิธีแก้ปัญหา เคยช่วยอารารากิและซึบาสะมาก่อน แต่เขาไม่ได้ช่วยฟรีแต่เก็บเงินด้วย ซึ่งไม่รู้ทำไมเขาเก็บเงินเหล่าผู้หญิงน้อยเป็นพิเศษ แต่สำหรับอารารากินี้แพงโครตเวอร์

       

    มีคนเข้าใจผิดว่า "น้องแมว" นั้นคือตอนที่ 15 ความจริงมันไม่ใช่ครับมันคือตอนพิเศษสามตอนของการ์ตูนเรื่องนี้ (หรือเรียกว่าOriginal net animation)ซึ่งการ์ตูนเรื่องนี้จบตั้งแต่ตอนที่ 12 แล้วนั้นเอง

    Bakemonogatari เปิดฉากออกมาดูความพิศวงเพราะทำให้ผมเข้าใจผิดเต็มๆ เลยว่า นี้คือการ์ตูนแอ็คชั่นต่อสู้เพราะเปิดฉากออกมาก็เห็นอารารากิคุงสู้กับแวมไพร์เลือดสาดกระจาย แขนหลุด โหดสยอง บวกกับฉากนางเอกเซนโจวกาฮาระพูดประโยคกับอารารากิว่า มาฆ่ากันเถอะนี้ยิ่งชวนเข้าใจไปใหญ่ว่ามันต้องต่อสู้โดยใช้พลังพิเศษแน่ๆ แต่หลังจากที่อารารากิประกาศตนเป็นแวมไพร์และอยากจะช่วยเหลือนางเอก ที่นี้ผมก็ตั้งใจดูอีก 4 ตอนว่ามันจะสู้กันหรือยัง จนกระทั้งจบตอน 4 ผมถึงได้รู้ตัวว่า มันไม่ใช่การ์ตูนแอ็คชั่น”(รู้สึกตัวช้าจังว่ะ)

    Bakemonogatari เป็นการ์ตูนที่ไม่ใช้แอ็คชั่น, ดราม่า, เซอร์วิต, โหด, สยองขวัญ, ตลก หรือคอมมาดี้ หากแต่เป็นการ์ตูนแนวประหลาดที่เอาอะไรหลายๆ อย่างผสมปนเป เหมือนอาหารหรูสามชนิดมารวมกัน เช่น ไข่ปลาคาร์เวียสผสมกับตับห่านและกุ้งมังกร ซึ่งอาหารหรูทั้งสามชนิดที่เทียบจะไม่มีใครคิดว่าจะผสมกันได้ แต่หากชิมก็อร่อยดี แต่กระนั้นก็ขึ้นอยู่กับคนปรุงด้วยว่ามันจะอร่อยไหม

    การดำเนินเนื้อเรื่องส่วนใหญ่จะเหมือนกับเรื่อง ToHeart 2 คือจะแบ่งเป็นบท บทละ 2- 3 ตอน โดยมีพระเอกเพียงคนเดียวคืออารากิคุง ที่ต้องไปแก้ปัญหาของหญิงสาวในบทนั้นๆ เมื่อแก้ปัญหาได้ก็จบตอนและตัวละครหญิงเหล่านั้นจะไม่มีบทเด่นในตอนต่อไปอีก หากแต่ก็ยังปรากฏตัวเป็นระยะในฐานะเป็นตัวเชื่อมหรือตัวเสริม ดังนั้นจึงพูดได้ว่าตัวละครอย่างเซนโจวกาฮาระนั้นเป็นนางเอกก็ไม่เต็มปากเท่าใดนัก เพราะบางตอนเธอแทบไม่ปรากฏตัวหรือมีบทบาทใดๆ เลย แต่กระนั้นการปรากฏตัวแต่ละครั้งของเธอก็เรียกเสียงฮือฮ่าให้คนดูได้จดจำเหมือนกัน

      

                    ผมขอสารภาพเลยว่าผมดูการ์ตูนเรื่องนี้แบบขาดๆ เกินๆ เนื่องจากการ์ตูนเรื่องนี้ต้องมีความตั้งใจสูงพอสมควรในการที่จะดู เนื่องจากกลวิธีการนำเสนอค่อนข้างที่จะแปลกใหม่โดยภาพที่เสนอเลื่อนเร็วมาก จนแทบปรับสายตาไม่ทัน อีกทั้งเป็นการ์ตูนที่พูดกันทั้งเรื่อง ที่จริงก็มีฉากแอ็คชั่นคั่นเหมือนกันแต่ออกมาช้าและเร็วมาก ทำให้การ์ตูนเรื่องนี้มีเสียงแตกเป็นสองฝ่ายคือไม่ชอบก็เกลียดไปเลย ส่วนตัวผมก็ชอบบางตอนเท่านั้น โดยตอนที่ผมชอบดูที่สุดก็คือตอนของน้องงูนั่นเอง(จนเป็นเหตุทำให้ข้อมูลที่เขียนแรกๆ ผิดพลาด เพราะผมไม่ละเอียดในเรื่องนี้)

                    ผมดูการ์ตูนเรื่องนี้ไม่เต็มหน่วยนัก แม้หลายคนบอกว่ามันเป็นการ์ตูนที่ดีก็ตาม แต่สำหรับผมแล้วผมไม่สามารถจะปรับตัวกับการ์ตูนเรื่องนี้ได้ ผมจึงเลือกที่จะกดข้ามดูแล้วก็จบ(จะหยุดนานตรงฉากที่ผมอยากจะเห็น) ยกเว้นน้องงูเท่านั้นที่ผมดูแบบเต็มๆ ดูชนิดเลยว่าฉากต่อฉาก ด้วยความคลั่งไคร้ความน่ารักของน้องงู

                     

                    Bakemonogatari เป็นที่การ์ตูนไม่สนตลาด ไม่สนกลุ่มเป้าหมาย เสมือนกับหนังคัลต์ หนังทดลอง  ที่ใช้เรื่องพฤติกรรมผิดปกติของมนุษย์ เรื่องเหลือเชื่อ รวมไปถึงโลกประหลาดของพระเอกใส่เข้าไปข้างใน และเพิ่มลูกเล่นที่ผู้กำกับได้ใส่กลวิธีการเล่าเรื่องที่แหวกแนว เทคนิคแปลกๆ ถูกนำมาใช้โดยไม่สนว่าคนดูจนเมาสายตาหรือไม่ ผลคือได้การ์ตูนที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนจนสามารถดึงดูดให้คนชมมาดูได้ แต่ข้อเสียคือคนชมสามารถจะปรับตัวมันได้หรือไม่ ในเมื่อกลวิธีการดำเรื่องมันประหลาดไม่เหมือนชาวบ้านแบบนี้ โดยความแปลกที่ทำให้การ์ตูนเรื่องนี้ไม่เหมือนใครผมจำแนกไว้ หลายอย่าง เช่น

    -เซนโจกาฮาระฮิตากิคนที่หลายคนบอกว่าคือนางเอกนั้น ผมดูยังไงก็ไม่ใช่นางเอก แต่ผมอยากเรียกว่าตัวละครหญิงที่มีบทเด่นที่สุดในการ์ตูนเรื่องนี้มากกว่า โดยบทเด่นของเธอนั้นออกมาแค่ 2 ตอนเท่านั้น หากแต่ตอนอีก 10 ตอนที่เหลือเธอก็ไม่เด่นเสียแล้วจนฉากปรากฏตัวของเธอเสมือนกับนางรองเสียมากกว่า แต่กระนั้นเธอก็ยังเป็นตัวละครที่น่าจดจำอยู่ดี เพราะน้ำเสียงการแสดงออกของเธอนั้นหลอกล่อคนดูให้ติดตามอย่างอยู่หมัดเลยไม่ว่าการพูดเชิงล้อเล่น การประทะคารม ปากร้าย เรียบง่ายอย่างน่ากลัวรวมไปถึงฉากเซอร์วิสแปลกๆ ที่ไม่เหมือนการ์ตูนเรื่องไหนๆ การแสดงออกที่ดูไม่ออกว่าเธอต้องการอะไรกันแน่ หรือการแสดงความรักของอารารากิที่เต็มไปด้วยความพิศวงที่มากกว่าคู่รักธรรมดาทั่วไป

    -80 เปอร์เซ็นต์ของเรื่องนี้มีแต่ฉากตัวละครทั้งสองสนทนาตอบโต้กัน พูดลูกเดียว โดยประโยคที่พูดก็ไม่ค่อยเกี่ยวกับเนื้อเรื่องหลักๆ มากนัก เช่นฉากตอนแรก อารารากิพาเซนโจกาฮาระฮิตากิไปตึกร้าง ระหว่างทางเธอพูดกับอารากิเชิงเย้าแหย่ เรื่อยเปื่อย ทะเลาะกัน ตบมุกกัน เรียกได้ว่าคนพากย์นั้นต้องมีชั้นเชิงพอสมควรในการพูดให้คนฟังตั้งใจดูให้ได้โดยไม่หลบเสียก่อน แต่กระนั้นก็มีบางฉากเหมือนกันที่ตัวละครพูดคนเดียว แต่คำพูดของตัวละครกลายเป็นตัวอักษร(แถมเลื่อนเร็วด้วย) เช่นฉากที่อารารากิโทรไปหาหนูแมว จะเห็นได้ว่าไม่มีเสียงอารารากิเลย หากแต่เป็นเพียงตัวอักษรที่เป็นภาษาญี่ปุ่น ส่วนหนูแมวจะพูดคนเดียวเท่านั้น เป็นต้น 

    -แต่สิ่งที่ทำให้การ์ตูนเรื่องนี้แปลกออกไปนั้นคือกลวิธีการนำเสนอเรื่องนั้นเอง นั้นคือกลวิธีการเปลี่ยนฉากที่เร็วมาก กลวิธีการนำเสนอนี้จะว่าไปเราอาจเห็นมาแล้วในอนิเมชั่นคุณครูผู้สิ้นหวังฯ หากแต่ภาพการ์ตูนเรื่องนั้นเลื่อนเร็วมาก ชนิดว่าหนึ่งนาทีนี้มีฉาก(ภาพ) เปลี่ยนถึง 10 กว่าภาพ(ไม่ได้นับหรอกครับ แต่เยอะกว่า 10 แน่นอน) พร้อมกับสีฉากไม่เหมือนกันอีก สลับไปสลับมา แทนที่จะเป็นฉากที่มีแต่ตัวละครคุยอย่างเดียว โดยฉากสลับก็มีทั้ง เชิงสัญลักษณ์, อักษรญี่ปุ่นเรียงเป็นสิบบรรทัดแต่เลื่อนเร็วเหลือเกิน(ใครจะไปอ่านทันว่ะ ขนาดซับผมยังอ่านไม่ทัน)ภาพนิ่งตัวการ์ตูนล้อเลียน, ซูมเข้าซูมออก ฯลฯ ชนิดเรียกว่าคนแก่อย่างผมมาดูแค่ตอนแรกก็มึนหัวอย่างหนักก็ว่าได้ มันจะทำแบบฉากตัวละครพูดกันเฉยๆ โดยไม่มีภาพอื่นแทรกนี้ก็ไม่ได้เรอะ ซึ่งถือว่าแปลกมากเพราะเทคนิคนี้ไม่นิยมใช้ในปัจจุบันไปแล้ว

    -แปลกต่อมาคือตัวละครหญิงในเรื่องนี้ไม่มีทางอยู่พร้อมหน้าสักฉาก ก็แปลกดี เพราะการ์ตูนเรื่องอื่นๆ นั้นตัวละครหญิงมักอยู่กันพร้อมหน้าหลายฉาก และมีความสัมพันธ์แตกต่างกันออกไป หากแต่การ์ตูนเรื่องนี้เน้นระหว่างอารารากิกับพวกสาวๆ เสียมากกว่า จะมีบางตอนบ้างที่มีตัวละครผู้หญิงปรากฏออกมาพร้อมกันสองคน แต่ก็ไม่เกินสามคนสักครั้ง(หากมันมีก็ช่วยบอกหน่อย อย่ารวมฉากหนูงูกับหนูลิงไปนอนในอาคารร้างที่แวมไพร์สาวอยู่นะครับ) ซึ่งตรงนี้ผมเสียดายมาก เพราะว่ามันจะสนุกมากหากตัวละครหลายๆ ตัวพบหน้าและพูดคุยกัน ตัวละครหญิงมีความสัมพันธ์ซึ่งกันอย่างชัดเจน เช่น เป็นเพื่อนรัก, คู่กัด(จะว่าไปเรื่องนี้ไม่มีตัวละครหญิงที่เป็นคู่กัดกับหนูปูนี้หว่า)  ซึ่งการ์ตูนเรื่อง To love Ru ประสบผลสำเร็จเพราะฉากนี้มาแล้ว

    -แปลกต่อมาคืออย่าหวังเห็นตัวละครประกอบเรื่องนี้ ที่ในเรื่องไม่มีตัวละครที่เป็นคนเป็นๆ ที่เป็นตัวประกอบออกสักคน จำพวกพนักงานบริษัทถือกระเป๋า จำพวกคนจูงหมาเดินผ่าน หรือพวกนักเรียนวัยรุ่นญี่ปุ่นคุยกันก็ไม่มี นี้มันญี่ปุ่นหรือเกาหลีเหนือ(ว่ะ)นั้น เสมือนกับว่าโลกในการ์ตูนเป็นอีกโลกหนึ่งเลยทีเดียว

    -แปลกต่อมาคือสำหรับคนไม่ได้อ่านไลท์โนเวลมาก่อน แล้วมาดูอนิเมชั่นไม่ควรหวังจะเห็นสิ่งที่เราคาดหวังมากนัก เช่น เราจะเห็นฉากต่อสู้ดุเดือดในฉากแรก(ที่จ้างให้ไม่มี) หรือฉากเห็นหนูงูเจอกับเซนโจกาฮาระฮิตากิที่ผมหวังจะเห็นก็ไม่มี ทำให้ผิดหวังหลายตลบเลยทีเดียว

                   มาๆ คิดดูหากจะทำ Bakemonogatari กลายเป็นการ์ตูนธรรมดาที่ไม่ต้องมีลูกเล่นอะไรเลย ถือได้ว่ามันเป็นการ์ตูนตลาดมากเพราะโครงเรื่องการ์ตูนมันไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่ แค่พระเอกช่วยตัวละครสาวๆ ที่ถูกสิ่งลึกลับเข้าสิงซึ่งเราพบเห็นในการ์ตูนทั่วไป  

                     

                    Bakemonogatari ถือได้ว่าเป็นความเสี่ยงแบบโยนหินถามทาง ที่ขนาดผู้ผลิตไม่รู้เหมือนกันว่ามันจะออกหัวหรือออกก้อย หากออกมาด้านลบมันก็ไม่เสียหายอะไร แต่หากออกมาด้านบวกละก็เหมือนสามล้อถูกหวยเป็นเศรษฐีรวยข้ามคืนเลยก็ว่าได้ ผลคือการ์ตูนเรื่องนี้ออกมาดี มีคนติดตาม และหลายคนยอมที่จะปรับตัวกับมัน

    ก็น่าแปลก  ทั้งๆ ที่การ์ตูนเรื่องนี้ข้อเสียพอๆ กับข้อดี แต่กลายเป็นว่าการ์ตูนเรื่องนี้สร้างกระแสโด่งดังมากกว่าที่คิด ทั้งๆ ที่ผู้ผลิตอีกก็ไม่ได้ตั้งใจให้เป็นการ์ตูนแนวตลาดและไม่ได้หวังจะสร้างรายได้ แต่กลับกลายเป็นว่ามันโด่งดังอย่างเหลือเชื่อ

                    ผมก็ไปหาตามเว็บต่างๆ แน่นอนการ์ตูนเรื่องนี้มันดัง แฟนเยอะ ดังนั้นจึงไม่ยากในการหาข้อมูลเท่าไหร่ ผมจึงสามารถหาคำตอบได้ว่าทำไมถึงดัง(ตัดพวกทีมงาน นักพากย์ไป เพราะผมไม่ใช่พวกเรื่องมากในเรื่องนี้ สำหรับผมแล้ว ต่อให้ใครมาพากย์ ผมก็ฟังไม่เห็นแตกต่างเท่าไหร่)

    -ปกติการ์ตูนที่สร้างจากไลท์โนเวลที่เนื้อหาดีอยู่แล้ว หากพื้นฐานดีอะไรก็ดีไปหมด เหล่าแฟนไลน์โนเวลที่ชอบเรื่องนี้ก็ตามต่อในอนิเมชั่น(แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอนิเมชั่นที่ทำก็ต้องคงไว้ต้นฉบับไลท์โนเวล และคุณภาพออกมาต้องดีด้วย)

    -แม้คาแร็คเตอร์พระเอกเม่งไม่น่ารัก(บางฉากคนดูอยากถีบด้วยซ้ำ) แต่คาแร็คเตอร์เหล่าสาวๆ นี้น่ารักทุกคน จนเรียกได้ว่าจะเลือกใครเป็นแฟนนี้เลือกไม่ถูกเลยทีเดียว ตัวละครสาวๆ มีการดีไซน์ออกมาดูแล้วไม่เหมือนใคร ทั้งๆ ที่ ไม่ได้ฉีกแนวจากเดิมเท่าไหร่(ประเภทประธาน, รุ่นน้องนักกีฬา, สาวแว่น, น้องสาวฝาแฝด) ซึ่งผมมาพึ่งรู้ว่าคนดีไซน์ตัวละครคือ Akio Watanabe ซึ่งนายคนนี้เก่งในการออกแบบตัวละครหญิงให้ออกน่ารักมากๆ อย่างเช่น ตัวละครจากเรื่อง Kiki's Delivery Service, Starship Girl Yamamoto Yohko , The Soul Taker, Nurse Witch Komugi, Magical Canan, Hoshizora Kiseki, ฯลฯ ล้วนแต่เป็นผลงานของเขา(ผมลอกลิงค์ไว้แล้วละ ไปดูรูปตัวอย่างได้)

    -เพลงต้นเรื่อง(OP)โครตเพราะ แถมแต่ละตอนไม่ช้ำกันด้วย โดยเฉพาะเพลงของน้องงู ชื่อเพลง Renai Circulation ร้องโดย Kana Hanazawa ที่เป็นเพลงง่ายๆ สบายๆ แต่ก็อมยิ้ม

    -กลุ่มคนดู ได้ทั้งโมโอะ และกำลังเบื่อการ์ตูนอนิเมชั่นที่ซ้ำซากในเวลานี้ อยากดูอะไรที่มันแปลกใหม่ แปลกๆ บ้าง แบบว่าเรามันหัวใจศิลปะสมัยใหม่

    -ภาพสวย เนื้อหาตรงตามต้นฉบับ(อันนี้ผมเดาเพราะไม่ได้อ่านไลท์โนเวล) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแม้ภาพสวย เพลงเพราะแต่ใช้ว่าจะทำให้การ์ตูนเรื่องนี้ดังได้(อย่าลืมว่าคู่แข่งก็ภาพสวยเหมือนกัน) สิ่งที่การ์ตูนเรื่องนี้ดังคือ การมี ช็อตเด็ดครับ คือการมีฉากที่ทำให้คนดูได้อึ้ง ประทับใจ ติดตาติดใจ ตอนแรกการ์ตูนเรื่องนี้ใช่ว่าระเบิดเทิดเทิงเลย แต่มาแบบเงียบๆ แบบคลื่นใต้น้ำ ก่อนที่จะมาเป็นคลื่นซึนามิในตอนหลัง

    โดยช็อตเด็ดแต่ละตอนมีดังต่อไปนี้(ความคิดเห็นของผม)

    Turn 1 – ฉากเปิดเรื่องที่ทำให้หลายคนเข้าใจผิดเป็นแถบๆ ลมลามกเปิดกางเกงในของหนูแมว 1 วินาที(แบบภาพสโลว์โมชั่น) นางเอกพูดว่า “มาฆ่ากันเถอะ”

    Turn 2 – เซนโจกาฮาระฮิตากิกราบเทพปูทั้งน้ำตา แสดงให้เห็นว่าเธอไม่ใช้คนหยิ่งยะโสหรือเอาแต่ใจ หรือถือทิฐิ ก่อนจบบทอย่างชื่นมื่น (ตอนนี้เต็มไปด้วยภาพเชิงสัญลักษณ์ของศาสนามากมาย ดูแล้วขลังไงบอกไม่ถูก)

    Turn 3 – เป็นตอนที่ผมชวนหลับแบบสุดชีวิต เพราะอารารากิพูดกับเซนโจกาฮาระฮิตากิทั้งเรื่อง และเริ่มรู้แล้วว่าการ์ตูนเรื่องนี้ดำเนินเรื่องในทิศทางไหน

    Turn 4 – เพลง OP ต้นเรื่องของหนูหอยทากที่น่ารัก

    Turn 5 – บทเฉลยหนูหอยทางว่าเป็นผี และคำพูดของเซนโจกาฮาระฮิตากิว่า “I Love You” เล่นซะคนดูอิจฉาอารารากิเป็นแถบๆ

    Turn 6 – ฉากเซอร์วิสน้ำลายไหล ก่อนที่พระเอกโนต่อยจนสะใจคนดู

    Turn 7 – เซอร์วิตใต้กระโปรงฮิตากิ(ที่คนดูจะหวังเห็นกางเกงใน แต่....) กับคำสารภาพของน้องลิงว่าเป็นเลสเบี้ยน

    Turn 8 – พระเอกโดนต่อยฝ่ายเดียว ก่อนจบแบบง่ายๆ (ซะงั้น)

     
              Turn 9 – ออกเดตกับน้องลิง และคาระวะบลูม์เมอร์ที่ไม่สูญพันธุ์พร้อมสีหน้าที่ได้ใจของอารารากิและน้องลิง

    Turn 10 – เพลง OP ที่สุดแสนโด่งดังของหนูงู และชุดว่ายน้ำโรงเรียนสุดน้ำลายไหล เรียกว่าดูตอนนี้ตอนเดียวไม่เสียชาติเกิดเป็นคนหื่น

    Turn 11 – หนูแมวกับร่างแปลงสุดว้าว

    Turn 12 – ไปดูดาวกันเถอะ เป็นการเดตที่อึดอัดที่สุดที่ผมดูมาทั้งชีวิต(พกพ่อมาด้วยเหรอ พกพ่อมาด้วยเหรอนั้น แหม...มาแค่นี้ก็พกพ่อมาด้วย)

                    -ผมว่าจะไม่พูดถึงคนพากย์ แต่ก็อดพูดไม่ได้ เพราะการ์ตูนเรื่องนี้พูดทั้งเรื่อง คนพากษ์นี้ต้องเมื่อยปากแน่นอน แต่กระนั้นเสียงพูดของเซนโจวกาฮาระน่าฟังเหลือเกิน พูดแบบมีชั้นมีเชิง พูดอย่างมีเสน่ห์ พูดแล้วเกิดความหลงไหล ซึ่งคนพากย์หนูปูคนนี้ผมไปเปิดดูแล้ว คือ Chiwa Saito นักพากษ์ผู้มีผลงานต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น อนิเมชั่น, เกม, ภาพยนตร์(เธอพากย์ปัทมา ปาติลในเรื่องแฮรี่ พอตเตอร์)

                    ส่วนหนึ่งนี้คือสาเหตุทำให้การ์ตูนอนิเมชั่นนี้ดัง แต่การดังของมันนั้นมาแบบคลื่นใต้น้ำก่อนที่จะเป็นซึนามิในตอนหลัง อันเนื่องจากผู้ชมนั้นยังไม่เข้าใจในสิ่งที่ผู้กำกับสื่อไว้ตอนแรก และพยายามที่จะปรับตัวกลับมันอยู่ และเมื่อเข้าใจและปรับตัวได้ ผลคืออย่างที่เห็น

                     

                    Bakemonogatari อาจเป็นสัญญาณเตือน สัญญาหนึ่งที่ทำให้ผู้ที่คิดผลิตอนิเมชั่นได้มองสภาพตลาดอนิเมชั่นว่าควรดำเนินทิศทางใด

    1.ตามใจตลาด ตามกระแส ขายตัวละคร ขายฉากเซอร์วิต เอาภาพสวยเข้าว่า เพลงเพราะเข้าหน่อย เนื้อเรื่องช่างหัวมัน

    2. ตามใจคนทำเป็นตัวของตัวเอง นำเสนอสิ่งใหม่ๆ แก่ผู้ดู สร้างความเป็นเอกลักษณ์เป้นของตนเอง

                    คำตอบคือไม่ควรเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เราควรที่จะผสมผสานให้ทางเลือกทั้งสองให้เป็นหนึ่งเดียว Bakemonogatari คือคำตอบที่ดีที่สุดเราจะเห็นว่าแม้จะนำเสนอแบบใหม่(แต่เนื้อเรื่องก็ยังดูธรรมดา)  แต่หลายคนแทบไม่สนใจเรื่องเหล่านี้เลย(อย่างน้อยก็ผมแหละน่า) พวกเขาสนใจตัวละครหญิงที่น่ารักและเพลงที่ไพเราะทำนองคุ้นหูมากกว่าเสียมากกว่า ต่อให้การนำเสนอแปลกใหม่พิศวงทะลุโลกมากเท่าไหร่ แต่ไม่มีสิ่งที่ดึงดูดให้เราติดเก้าอี้ได้ มันก็เท่านั้น ดังนั้นก็ทำอนิเมชั่นนั้นต้องใส่ใจ ใส่จิตวิญญาณ ศึกษาให้ถ่อมแท้ ไม่ใช้เหมือนอนิเมชั่นบ้านเราสักจะขายตัวละคร ใช้ทุนการสร้างมหาศาล แล้วโฆษณาว่า “อนิเมชั่นไทย แล้วใครจะดู” แต่คุณไม่ศึกษาตลาดบ้านเราว่าผู้บริโภคเขาต้องการอะไร ผู้บริโภคนั้นพร้อมรับดูอนิเมชั่นไทยอยู่แล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นกับคุณภาพด้วย(ข้อเสียอนิเมชั่นไทย ตัวละครเยอะเกินไป, เนื้อหาไม่แปลกใหม่, สำหรับเด็กมากเกินไป, การออกแบบอ้างอิงตัวละครจากหภาพยนตร์เรื่องอื่นมากเกินไป)

                    

    Bakemonogatari เป็นการ์ตูนที่นำเสนอไม่เหมือนใคร แต่กระนั้นทางด้านเนื้อหาโครงเรื่องนั้นกลับเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ซึ่งผมแปลกใจเหมือนกันเพราะว่าความซับซ้อน(หรือดูแล้วไม่เข้าใจเนื้อเรื่อง)นี้ถือได้ว่าเป็นหัวใจของหนังคัตส์ในหลายๆ เรื่องที่เขาทำกัน

                    แต่สิ่งที่บ่บอกเลยว่า Bakemonogatari นั้นใช้คุณสมบัติหนังคัลท์มาใช้อย่างแน่นอน นอกเหนือจากการเล่าเรื่องหรือเทคนิคภาพยนตร์ที่มีลักษณะไม่ธรรมดาที่คนส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคย(มุมกล้องเปลี่ยนโครตบ้าคลั่ง) ก็คือ พฤติกรรมประหลาดของตัวละคร การสร้างโลกที่มีลักษณะบางอย่างแปลกประหลาด หลุดโลก

                    พฤติกรรมประหลาดในตัวละครจากเรื่อง  Bakemonogatari นั้นเป็นเรื่องที่เราพบเห็นในอารมณ์ของหนุ่มสาวในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น เซนโจวกาฮาระสาวสวยมาดประเภทที่การแสดงออกนั้นยากที่จะเข้าใจ, สุรุกะเลสเบี้ยน, ซึบาสะสาวน้อยที่ไม่เคยอยากกลับบ้าน ที่ตัวละครต่างแสดงพฤติกรรมที่เรายากจะเข้าใจ

    ทั้งนี้ทั้งนั้นพฤติกรรมประหลาดเหล่านั้นก็มีที่มาในตัวของมันด้วย เช่น เหตุการณ์ในอดีต, ปัญหาครอบครัว, ชีวิตประจำวัน ที่ส่งผลพฤติกรรมและนิสัยตัวละครเหล่านั้น

                    โลกประหลาดในการ์ตูนของ Bakemonogatari นี้คือโลกอ้างว้าง เดียวดาย สถานที่สาธารณะร้างผู้คน บนถนนที่ปราศจากรถวิ่ง ภาพที่คนญี่ปุ่นแต่งชุดทำงานบริษัทเดินไปเดินมา หรือภาพเด็กนักเรียนหญิงมัธยมปลายคุยกับเพื่อนแล้วกดมือถือ ไม่ปรากฏเลยในเรื่องนี้  ขนาดสิ่งที่สื่อว่าเป็นคนนั้นดันเป็นเพียงสัญลักษณ์ เสมือนกับว่าโลกที่อารารากิอยู่นั้นเป็นโลกส่วนตัวของเขา เป็นโลกที่อ้างว้าง เดียวดาย จนเหมือนกับว่าอารารากิเป็นคนโดดเดี่ยวไม่มีใครคบ และเป็นคนที่มีโลกส่วนตัวสูง แต่โลกของเขามีเพียงตัวละครหญิงเท่านั้นที่สามารถเข้ามาโลกของเขาได้(ยกเว้นเมเมะ พ่อนางเอก)

                     

                    ผมเกือบลืมความหมายของ Bakemono ศัพท์นี้ไม่ใช้มอนสเตอร์ธรรมดานะครับ หากแต่มันมีความหมายว่า ชนิดของปีศาจเป็นชั้นหนึ่งของโยไค(Youkai) อันเป็นคติความเชื่อของหญิงที่ที่แบ่งประเภทภูตผีญี่ปุ่นเอาไว้เป็นประเภทต่างๆ โดย Bakemono นั้นมักจะเป็นภูตผีแต่ความจริงแล้วมันหมายถึงสิ่งมีชีวิตหรือเทพเหนือธรรมชาติด้วย โดย Bakemono แตกต่างจากวิญญาณของคนตาย ตรงที่มันมีรูปร่างของมันเอง และส่วนมากจะเป็นวิญญาณของสัตว์(นอกจากนั้นยังมีพืช) เช่น ปีศาจจิ้งจอก ปีศาจแรคคูน ปีศาจแบดเจอร์เป็นต้น

                    ญี่ปุ่นเป็นอีกประเภทหนึ่งที่มีความเชื่อในเรื่องเหนือธรรมชาติมาตั้งแต่ยุคโบราณ พวกเขาเชื่อว่าทุกอย่างในธรรมชาติต่างมีวิญญาณสิง และความเชื่อเหล่านั้นก่อให้เกิดประเพณี ตำนาน และเทศกาลต่างๆ นาๆ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่นไปเสียแล้ว

                    ที่นี้ก็มาถึงข้อคิดของการ์ตูนเรื่องนี้บ้าง การ์ตูนเรื่องนี้นั้นสอนถึงมุมมองปัญหาของวัยรุ่นหนุ่มสาวต่างๆ นาๆ ที่ต้องพบปัญหาในชีวิต ทั้งในชีวิตประจำวันหรือครอบครัว โดยสิ่งลึกลับคือตัวแทนของปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาแบบผิดๆ ตัวอย่างเช่น

    - เซนโจวกาฮาระที่มีบาดแผลทางใจในตอนเด็กอันเนื่องจากแม่คลั่งลัทธิงมงาย ทำให้เซนโจวกาฮาระมีนิสัยไม่เชื่อใจใคร ไม่ต้องการเพื่อน และไม่ลดราวาศอก เทพปูหนักจึงปรากฏตัวเพื่อ “ชิงน้ำหนัก” หากแต่ไม่ใช่น้ำหนักอย่างเดียว แต่เป็น “ความรู้สึก” ที่เปรียบเสมือนการตัดขาดเยื่อใยอดีตนั้นเอง จนเธอใช้ชีวิตแบบหลอกลวงตนเองขึ้นมา ดังนั้นภาพที่เซนโจวกาฮาระก้มกราบเทพปูหนักนั้นก็หมายถึงการแก้ปัญหา เสมือนเพื่อเตือนเธอว่า ควรยอมรับความจริง และควรถ่อมตน และสิ่งที่ตามมาคือเพื่อนแท้ที่จะมาสามารถช่วยแบกรับปัญหาเหล่านี้ได้(น้ำหนักของอารารากิขึ้นก็เสมือนกับการแบกรับปัญหา)

    -มาโยย เด็กหญิงที่หนีออกจากบ้านเพื่อกลับไปหาแม่ หากแต่เธอดันมาตายระหว่างทางแล้วเป็นวิญญาณจนไม่สามารถไปถึงจุดมุ่งหมายได้ ความจริงจุดมุ่งหมายที่ว่านั้นหาง่ายกว่าที่คิด หากแต่สาเหตุหลงหาและหาจุดมุ่งหมายก็คือ “ขาดความเข้าใจ” และ “การยอมรับความจริง”

    -สุรุกะ เด็กสาวเลสเบี้ยนที่มือเธอกลายเป็นมือปีศาจลิง อันเนื่องจาก “ขาดการประนีประนอม” อันเนื่องจากวัยเด็กที่เป็นเด็กถูกคนอื่นรังแก โดยเธอใช้วิธีแก้ปัญหาโดยใช้ความรุนแรง ในฉากที่อารารากิโนเธอต่อยอยู่ฝ่ายเดียวนั้นก็หมายถึงการแก้ปัญหาโดย อดทนรอเวลาที่เหมาะสม การปรับความเข้าใจ และการให้อภัย

    - นาเดโกะโดนคำสาป คำสาปก็คือปัญหา เธอแก้ปัญหานี้ด้วยตัวเธอคนเดียว เป็นเหตุทำให้เธอชแก้ปัญหาแบบไม่ลึกซึ้ง จนกลับกลายเป็นว่าเพิ่มปัญหาให้หนักและร้ายแรงขึ้น อารารากิปรากฏออกมาก็เสมือนกับว่า การให้คนรอบข้างช่วยแก้ปัญหา คนรอบข้างนี้ก็คือคนที่ไว้ใจ เป็นเพื่อนคู่คิด ช่วยเหลือซึ้งกันและกัน

    - ซึบาสะมีปัญหากับทางบ้าน จนไม่อยากจะกลับบ้าน อยากจะหนีความจริง แมวผีจึงได้สิง เสมือนกับว่าเธอได้หนีความจริงนั่นเอง

    แต่สิ่งลึกลับที่นำมาซึ่งปัญหา และปัญหาเหล่านั้นทำให้ตัวละครในเรื่องทุกข์ทรมานมานานหลายปี แต่แล้วปัญหาเหล่านี้กลับแก้ไขอย่างรวดเร็วโดยอารารากิ ตัวอารารากิคือตัวแทนของการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง เราจะเห็นการช่วยเหลือของอารารากิที่ไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ อีกทั้งยังมุมานะหาวิธีแก้ปัญหา ทั้งๆ ปัญหาเหล่านั้นไม่ใช้ของเขา อารารากิอดทน และยินดีที่จะเสียเวลาในการแก้ปัญหาเหล่านั้น ผลก็คือปัญหาเหล่านี้ถูกแก้ไข สิ่งที่อารารากิทำใช้ว่าจะไม่ได้ผลตอบแทนเสียทีเดียว เขาได้ความสุขในการทำดี และได้น้ำใจเป็นของตอบแทน ซึ่งในอนาคตข้างหน้าเขาอาจจะได้รับมันมากกว่าที่เขาคิดเป็นทวีคูณ(อย่างน้อยก็ได้ฮาเร็ม)

      

                    Bakemonogatari เป็นการ์ตูนที่ดี ที่สื่อถึงจินตนาการความรู้สึกของมนุษย์อย่างน่าประทับใจอีกเรื่องหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยสถานการณ์ที่น่ามหัศจรรย์, บทสนทนาที่ตลกและเรื่อยเปื่อย, การลำดับภาพที่ไวอย่างเหลือเชื่อ มุมกล้องที่น่าขนลุก(ในหลายๆ ความหมาย) และการตีความสัญลักษณ์และพฤติกรรมของตัวละครที่เหมือนปรัชญา  ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณว่า คุณดูการ์ตูนนี้เพื่ออะไร? และคุณสามารถจะปรับตัวให้เข้ากับมันได้หรือไม่? หากคุณตอบทั้งสองข้อนี้ได้ คุณอาจชอบการ์ตูนเรื่องนี้โดยไม่รู้ตัว

                    ส่วนตัวผม ปกติผมชอบการ์ตูนที่มีแต่ฉากพูดและการดำเนินเรื่องหยุดกับที่อยู่แล้ว ยิ่งตัวละครน่ารักยิ่งชอบใหญ่ อีกทั้งคำพูดของตัวละครหลายตัวก็ซึ้งกินใจ เช่นคำพูดของเมเมะที่สอนอารารากิว่า "อีกสักวันฉันอาจไปจากที่นี้ นายจะพึ่งแต่ฉันก็ไม่ได้น่ะ" เป็นต้น แต่ปัญหาใหญ่หลวงของผมก็คือฉากมุมมองที่เปลี่ยนไวนี้แหละ ที่ยากที่จะทำให้ผมดูการ์ตูนเรื่องนี้แบบสมบูรณ์ได้(พอดีความอดทนของผมต่ำ) + +

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×