ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตามรอยเรื่องลึกลับ

    ลำดับตอนที่ #75 : เรซแทรค พลาย่า (Racetrack Playa) หินเดินได้ไง

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.95K
      2
      15 ม.ค. 52


    เรซแทรค พลาย่า (
    Racetrack Playa)

     

                    สูงขึ้นไปบนเทือกเขาเซียรา เนวาดา บริเวณชายแดนรัฐแคลิฟอร์เนียจรดกับรัฐเนวาดา มีสถานที่แห่งหนึ่งที่หินเดินได้ในตอนกลางคืน ในอดีตนั้นคงจะมีพวกผู้บุกเบิกหรือพวกร่อนทอง มาพานพบกับทะเลสาปที่แห้งกรังที่ขึ้นมาอยู่สูงขนาดนี้ ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้เป็นวนอุทยานอุทยานแห่งชาติเดท วัลลี่ย์ (Death Valley National Park)  ที่ซึ่งหินเดินได้เป็นสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวมากที่สุดจุดที่น่า สนใจที่สุดของทะเลสาบแห้งกรังหรือที่เรียกว่า พลาย่า คือบริเวณที่มีชื่อว่า เรสแทรค พลาย่า(แอ่งทะเลสาบที่แห้งแล้ว)  ซึ่งมีด้านกว้าง 2 กิโลเมตร ยาง 5 กิโลเมตร และสูงเกือบ 1,200 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ในทันทีที่คุณมาถึงพลาย่ากว้างสุดลูกหูลูกตาแห่งนี้ สิ่งแรกและสิ่งเดียวที่จะดึงดูดสายตาคุณที่สุด คือก้อนหินน้อยใหญ่ที่เรียงรายกันอยู่บนพื้นดินโคลนแห้งกรังแตกระแหง สีฟ้าอ่อนๆ ของความสูงระดับนี้ จะสาดจับก้อนหินเหล่านั้น และรอยประทับบนพื้นดินเป็นทางยาวที่มันได้เคลื่อนมา ให้ความรู้สึกเหมือนว่าหินเหล่านี้มั่นคงติดแน่นกับพื้นพอๆ กับว่ามันพร้อมที่จะ เคลื่อนออกเดินทางต่อไป ไม่มีใครที่เคยได้เห็นหินเดินต่อหน้าต่อตา แต่รอยที่มันทิ้งไว้เป็นหลักฐานที่ดีที่สุด

    ทำให้เกิดคำถามที่น่าคิดว่า "หินมันเคลื่อนที่ได้อย่างไร?"

    ความจริงก็คือ ยังไม่มีใครรู้คำตอบที่แน่นอนได้ว่าหินเหล่านี้มันเคลื่อนที่ไปได้อย่างไร แม้ว่าหลายคนจะมีคำอธิบายที่ดี แต่เหตุผลที่ว่าทำไมการเคลื่อนที่ของหินเหล่านี้ยังคงเป็นเรื่องลี้ลับก็คือ ยังไม่มีใครเห็นมันในขณะเคลื่อนที่น่ะสิ! ทีนี้เรามาดูกันว่าเขาได้ให้คำอธิบายไว้ว่าอย่างไรกัน

     

                    ความเชื่อดั้งเดิม

                    Image
                    หลายปีที่ผ่านมา เราทราบว่าหินนั้นไม่ได้เกิดจากการที่มันกลิ้งไป แต่เป็นการเดินที่เกิดจากการดันให้มันเคลื่อนที่ เพราะร่างของหินที่คดเคี้ยวอยู่เบื้องหลังมีขนาดความกว้างเท่าๆ กับหิน ในปี พ.ศ.
    2498 นักธรณีวิทยาชื่อจอร์จ เอ็ม. สแตนลีย์ เขียนรายงานลงในวารสารสมาคมธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา เขาเชื่อว่าน้ำแข็งและลมเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้หินเดิน เหตุเนื่องมาจากหินเหล่านี้เคลื่อนที่เป็นกลุ่มไปในทิศทางเดียวกัน สแตนลีย์เสนอความคิดว่า น้ำแข็งจะจับเป็นแผ่นขนาดใหญ่และเมื่อมีลมพัด หินทั้งกลุ่มนี้ก็จะถูกดันให้เคลื่อนไปทั้งกระบิ ความเชื่อนี้ฟังดูก็น่าจะเป็นไปได้และเป็นที่ยอมรับกันตลอดมา เพราะปรากฏการณ์ที่หินเคลื่อนที่พร้อมกันเป็นแผงพบเห็นได้ทั่วๆ ไปในพลาย่าแห่งอื่นๆ ในแคลิฟอร์เนีย แต่ทว่าที่หุบผามรณะแห่งนี้มีน้ำแข็งเบาบางมาก จะเป็นไปได้ก็แค่จะพาก้อนหินก้อนกรวดเล็กๆ เดิน อย่างไรก็ตามแม้แต่สแตนลีย์เอง ก็ไม่ยอมพูดถึงว่าหินขนาดมหึมา น้ำหนักระหว่าง135-270 กิโลกรัม เดินทิ้งร่องยาวไว้เบื้องหลัง ณ หุบผามรณะนี้ได้อย่างไร ?

     

                    สมมติฐานใหม่

                    Image
                    ความลับดำมืดของหินเดินแห่งหุบผามรณะโด่งดังไปทั่วโลก เมื่อยี่สิบปีที่ผ่านมานี้เอง ในปี พ.ศ.
    2512ดร. โรเบิร์ต พี. ชาร์ป แห่งสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย แผนกธรณีวิทยา กระโดดเข้ามาศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังซึ่งกว่าจะได้ผลก็ใช้เวลากว่า 7 ปี เขาเลือกหินมา 25 ก้อน ซึ่งจะมีความแตกต่างกันทั้งในลักษณะรูปร่างและน้ำหนักที่หนักที่สุดคือ 455 กิโลกรัม แถมยังตั้งชื่อให้เสร็จ เขาปักเครื่องหมายไว้ที่ตำแหน่งของหินทุกก้อน หลังจากนั้นเขาเลือกหินตัวอย่างเพิ่มอีก 5 ก้อน ทุกครั้งที่เขาไปตรวจสอบตำแหน่งของหินในพลาย่า เขาต้องตระเวณกว่า 50 กิโลเมตรตรวจตำแหน่งใหม่ของหินที่เลือกไว้ทุกก้อน ปักเครื่องหมายวัดระยะที่หินเหล่านั้นเคลื่อนไปตลอดระยะเวลา 7 ปีเต็มที่ชาร์ปศึกษาหินเดิน มีหิน 28 ก้อนจาก 30 ก้อนเคลื่อนออกจากที่ รอยที่ยาวที่สุดวัดได้ 262 เมตร เป็นเพียงการเคลื่อนที่ทีละนิด มีข้อยกเว้นคือกรวดที่ชื่อว่า แนนซี่ขนาด 250 กรัม เคลื่อนไปราว201 เมตรในคราวเดียว ทิศทางที่เคลื่อนมุ่งไปในทิศเหนือ-ตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งสอดคล้อง กับทิศทางของลมที่พัดอยู่บนพลาย่าชาร์ปสังเกตเห็นว่าบนขอบของร่องและด้านหน้าของก้อนหิน มีเศษดินที่ถูกดันขึ้นมา แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าหินเหล่านี้เคลื่อนที่ ในช่วงที่พื้นดินอ่อนยุ่ยแทนที่จะเป็นตอนที่พื้นดินแห้งแข็งด้วยเกล็ดน้ำแข็ง อีกข้อหนึ่งที่เป็นสาระสำคัญคือ หินจะเคลื่อนที่ได้ระยะทางในสามช่วงคือปี 2511-2512, 2515-2516 และ 2516-2517 ซึ่งเป็นปีที่ฝนตกมากและลมจัดในฤดูหนาว ชาร์ปยืนยันว่าทั้งน้ำและลมเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้หินเดิน ถึงแม้ว่าพลาย่าแห่งนี้จะมีฝนตกน้อยมาก คือราว 0-80 มิลลิเมตรต่อปี แต่พื้นที่ราบกว่า 180 ตารางกิโลเมตรแห่งนี้ล้อมด้วยภูเขา จะเป็นกับ-ดักน้ำฝนได้เป็นอย่างดี แม้ฝนจะตกเบาบางก็ตาม แต่จะไหลมาเอ่อบนพลาย่าแห่งนี้แน่นอน

     

                    กระดานลื่นแห่งหุบผามรณะ

                    Image
                    เนื่องจากพื้นของพลาย่าเป็นดินเหนียว เมื่ออิ่มน้ำแม้เพียงเล็กน้อยแค่
    6 มิลลิเมตรบริเวณผิวหน้าจะอ่อนยุ่ย แต่ลึกลงไปก็ยังจะ แน่นพอที่จะรับน้ำหนักของก้อนหิน ความลับก็คือ…” ชาร์ปเขียนรายงานลงในวารสารสมาคมธรณีวิทยา ในปี 2519 ว่า “…การเดินของหินจะเกิดในปีที่มีน้ำฝนผสมกับแรงลมมาเจอกันพอดีชาร์ปคิดว่าในช่วงสามสี่วันแรกน้ำฝนต้องขังอยู่ จนผิวหน้าลื่นเหมือน หัวล้าน จากนั้นต้องมีลมแรงจัดที่จะเป็นตัวจุดสตาร์ท เมื่อหินเคลื่อนออกจากที่แล้วแม้มีเพียงลมเบาๆ ก็เพียงพอที่จะดันให้หินเคลื่อนไปได้เรื่อย เขายังให้ข้อสังเกตด้วยว่า ภูเขาที่รายล้อมรอบๆ พลาย่าและช่องเขาแคบๆ จะเป็นช่องที่บีบกระแสแรงลมให้แรงพอที่จะดันหินให้เดิน อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือ ยิ่งฐานของหินราบเรียบมากเท่าใด หินก็ยิ่งเคลื่อนได้ไกลมากกว่าเดิม ชาร์ปคำนวณความเร็ว ของหินออกมา ด้วยว่าหินจะเคลื่อนด้วยความเร็วสูงสุดถึง 90 เซนติเมตรต่อวินาทีความลึกลับของหินเดินไม่ได้มีอยู่เฉพาะที่เรสแทรค พลาย่า แต่สามารถ พบเห็นในพลาย่าอื่นอีกกว่า 10 แห่งที่อยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนียและเนวาดา

     

                    หินหน่ายทะเลสาบ

                    นอกจากร่องรอยหินเดินบนพลาย่าแล้ว ยังมีเรื่องหินซึ่งว่ายหนีน้ำขึ้นมาบนบก จากข้อเขียนของ ลอร์ดดันราเว่น ในวารสารรายปักษ์ชื่อ ศตวรรษที่ 19 “ เมื่อปี 2422 เขารายงานว่าที่ทะเลสาบในโนวา สโคเทีย (ตอนเหนือสุดของตะวันออกของสหรัฐ) มีปรากฏการณ์ที่หิน พร้อมใจกันว่ายน้ำหนีขึ้นมาบนบก ทะเลสาบแห่งนี้กว้างแต่ตื้นเขินเต็มไปด้วยกรวดและหินขนาดต่างๆ กัน หินบางก้อนขึ้นมาอยู่ไกลกว่า 14 เมตรจากริมน้ำ ขนาดของหินที่วัดได้บางก้อนมีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 1.8-2.4 เมตร บางก้อนเดินทางไปข้างหน้าได้กว่า 90 เมตร บางก้อนก็มาได้แค่ครึ่งทางสิ่งเดียวที่เหมือนกันคือ ทุกก้อนจะทิ้งร่องยาวเป็นทาง ไถขึ้นมาจากน้ำทั้งสิ้นคำอธิบายก็คือทะเลสาบตื้นๆ เช่นนี้จะมีฝั่งด้านหนึ่งที่สูงกว่าหรือเป็นหน้าผากั้นเอาไว้ ในฤดูหนาวเมื่อน้ำในทะเลสาบแข็งตัว จะยึดบรรดาก้อนหินขนาดต่างๆ กันไว้ ในขณะที่น้ำแข็งตัวจะเกิดการขยายตัวดัน เอาก้อนหินเหล่านี้ให้เคลื่อนที่ เมื่อถึงเวลาที่น้ำแข็งละลายก็จะทิ้งก้อนหินในระยะต่างๆ กันในกรณีที่ทะเลสาบตื้นๆ มีมีหน้าผาหรือขอบมากั้นไว้ ปรากฏการณ์ที่จะเกิดคือ แรงดันของน้ำที่ขยายตัวจะดันก้อนหินออกไปรอบด้าน เหมือนเช่นทะเลสาบรัฐไอโอวา แต่ก่อนเราคิดว่าคงเป็นฝีมือของผู้ไม่ประสงค์ออกนาม มาสร้างกำแพงรอบๆ ขอบทะเลสาป ยิ่งเวลาผ่านไป กำแพงก็ยิ่งหนาขึ้นทุกทีๆถึงตอนนี้ คุณคงจะพอทราบได้ว่าหินเดินได้อย่างไรแล้ว แต่หินเดินและร่องรอยที่มันทิ้งไว้บนพลาย่า บิดคดเคี้ยวเหมือน รอยงูเลื้อย คงจะทำให้คุณรู้สึกถึงความมหัศจรรย์และความลี้ลับของธรรมชาติสร้างไว้ให้ปรากฏต่อสายตาของมนุษย์ตัวเล็กๆ

     

    ข้อมูลเกี่ยวกับเรซแทรค พลาย่า (Racetrack Playa)


                    เรซแทรค พลาย่าเป็นแอ่งทะเลสาบที่ค่อนข้างราบและแห้งแล้ง มีความยาวในแนวเหนือ-ใต้ประมาณ
    4 กิโลเมตร และกว้างในแนวตะวันออก-ตะวันตกประมาณ 2 กิโลเมตร มีลักษณะพื้นผิวเป็นระแหงโคลน (mud cracks) ส่วนมากประกอบด้วยตะกอนขนาดทรายแป้ง (silt) และดินเหนียว (clay)

    สภาพภูมิอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง มีปริมาณน้ำฝนเพียงสองนิ้วต่อปี แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ฝนตก น้ำปริมาณมากจะไหลจากภูเขาสูงชันที่อยู่ล้อมรอบเรซแทรค พลาย่าลงมาปกคลุมพื้นที่แอ่งจนกลายเป็นทะเลสาบตื้น ครอบคลุมเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งขณะนั้นบริเวณพื้นแอ่งจะเต็มไปด้วยดินเหนียวที่เหลวและอ่อนนุ่ม

     

    หินเคลื่อนที่โดยฝีมือมนุษย์หรือสัตว์หรือไม่?

    จากลักษณะรูปร่างของร่องรอยการไถลของหินนั้นบ่งบอกได้ว่าหินก้อนนั้นต้องเคลื่อนที่ในช่วงที่พื้นของเรซแทรค พลาย่านั้นถูกปกคลุมด้วยดินเหนียวอ่อนนุ่ม ถ้าเป็นฝีมือของคนหรือสัตว์จะต้องมีร่องรอยของการเหยียบย่ำรบกวนชั้นดินเหนียวด้วย แต่ในบริเวณดังกล่าวไม่ปรากฏหลักฐานร่องรอยจากคนหรือสัตว์ที่จะช่วยให้หินเคลื่อนที่เลย มีเพียงร่องรอยการไถลของหินเท่านั้น

     

    หินเคลื่อนที่โดยลมหรือไม่?


                    ตัวการที่นิยมนำมาใช้อธิบายปรากฎการณ์นี้ก็คือ ลม โดยส่วนมากลมที่พัดผ่านบริเวณนี้จะมีทิศทางพัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปยังทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และร่องรอยการไถลของหินก็มีทิศทางขนาดกับทิศทางของลมนี้ด้วย ซึ่งเป็นหลักฐานที่ดีที่สนับสนุนว่าลมเป็นตัวการทำให้หินเคลื่อนที่หรืออย่างน้อยก็เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของหิน

                   เนื่องจากลมแรงที่พัดขึ้นอย่างกระทันหันนั้นได้พลักให้หินเกิดการเคลื่อนที่ และเมื่อหินเริ่มเคลื่อนที่แล้ว ความเร็วลมเพียงเล็กน้อยก็จะสามารถทำให้หินไถลตัวต่อไปอีกเรื่อยๆ ได้บนพื้นดินเหนี่ยวที่อ่อนนุ่มและลื่นเหลว แนวโค้งของรอยไถลนั้นอธิบายได้ว่าเกิดจากการเปลี่ยนทิศทางของลม หรือเกิดจากกรณีที่ลมปะทะกับหินที่มีรูปร่างไม่สม่ำเสมอทำให้หินไถลเป็นแนวโค้งได้

     

    หินเคลื่อนที่โดยน้ำแข็งหรือไม่?

    มีคนกลุ่มหนึ่งให้ข้อมูลว่าเคยเห็นเรซแทรค พลาย่าถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งชั้นบางๆ แนวคิดหนึ่งอธิบายว่าเมื่อน้ำรอบก้อนหินแข็งตัวและแต่ต่อมามีลมพัดผ่านผิวด้านบนของน้ำแข็ง ทำให้แผ่นน้ำแข็งได้ลากก้อนหินนั้นไปด้วย จึงเกิดรอยครูดไถลบนพื้นผิวแอ่ง นักวิจัยบางคนพบร่องรอยไถลของหินหลายก้อนที่สอดคล้องกับแนวคิดนี้ด้วย แต่อย่างไรก็ตามการเคลื่อนย้ายแผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่นั้นคาดว่าจะต้องมีการทิ้งร่องรอยบนพื้นผิวแอ่งในทิศทางอื่นๆ ด้วย แต่ก็ยังไม่พบร่องรอยนั้น

     

    ลม..ตัวการของการเคลื่อนที่!


                    จากคำอธิบายทั้งหลายพบว่า ลม เป็นตัวการที่อยู่เบื้องหลังของการเคลื่อนที่ของหิน แต่ยังคงมีคำถามอยู่ว่าหินเหล่านั้นไถลไปในขณะที่ถูกล้อมรอบด้วยแผ่นน้ำแข็งหรือขณะที่อยู่บนชั้นดินเหนียว หรือแต่ละวิธีอาจจะเป็นผลให้เกิดการเคลื่อนที่กับหินบางก้อน
    ?

     

    อาจกล่าวได้ว่า ปรากฏการณ์มหัศจรรย์นี้จะยังคงเป็นที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ตราบเท่าที่ยังไม่มีใครหาคำตอบที่แท้จริงได้..!

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×