ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตามรอยเรื่องลึกลับ

    ลำดับตอนที่ #54 : หนังสือลึกลับ(The Voynich Manuscript)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 6.14K
      3
      6 พ.ย. 51


    หนังสือที่ลึกลับที่สุดในโลก

     

                    ห้องสมุดเบนเนคเก้ ของมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา เป็นแหล่งหนังสือหายาก

                    จากยุคกลาง และ เรอเนสซองส์ มีสมุดบันทึกที่มีนักวิชาการจำนวนมากได้แวะเวียนเข้ามาศึกษาโดยตลอด แต่ ไม่มีผู้ใดสามารถทำความเข้าใจสาระที่บันทึกไว้ในสมุดเล่มนี้ได้เลย

                   

                    หนังสือเล่มนี้พบในปี 1912 โดยนักค้าหนังสือเก่าชาวอเมริกัน-รัสเซีย ชื่อนาย วิลฟริด เอ็ม. วอยนิช (Wilfrid M.Voynich) ขนาด 6 คุณ 9 นิ้ว หนา 11/2นิ้ว มีอยู่ 240 หน้า แต่บางหน้าขาดหายไป ปกสมุดทำจากหนังลูกวัวสีครีม ไม่มีการระบุชื่อผู้เขียน ชื่อเรื่องหรือปีที่เขียนใด ๆ ทั้งสิ้น

                    รายละเอียดมีทั้งภาพและอักษรในสมุดมีความเฉพาะตัวเขียนด้วยปากกาขนนกซึ่งทำให้ดูสง่างาม เป็นตัวอักษรที่ไม่เคยพบเห็นในที่ใด ๆ ในโลกมาก่อนและ แทบทุกหน้ามีวาดภาพประกอบ มีทั้ง พืชพันธุ์ แปลก ๆ ภาพผู้หญิงเปลือย เชื่อมด้วยท่อที่ดูคล้ายเส้นโลหิต มีภาพคล้ายแผนผังเกี่ยวกับดาราศาสตร์ ที่มองจากกล้องเทเลสโคป และภาพคล้ายเซลล์ สิ่งมีชีวิตที่มองผ่านกล้องจุลทรรศน์

     

                    การได้มาของหนังสือเล่มนี้

                    นายวอยนิช ได้มาจากอิตาลี และกลับไปอเมริกาเพื่อประกาศหาผู้เชี่ยวชาญมาดูเพื่อศึกษาและแปล อักขระ วันนี้ เกือบ 100 ปี ก็ยังไม่มีใครสามารถแปลความหมายของสมุดบันทึกเล่มนี้ได้แต่คำเดียว 

                    ภายในสมุดมีจดหมายสอดอยู่ เขียนด้วยภาษาลาติน วันที่ 19 สิงหาคม 1666 เป็นจดหมายที่ โจฮันส์ มาร์คุส มาร์ซี่ อดีตอธิการบดีของ มหาวิทยาลัยชาร์ลส์ แห่งกรุงปราก (ปัจจุบัน อยู่ในสาธารณรัฐเชค) เขียนถึง อธานาเซียส เคอร์เชอร์ นักวิชาการนิกายเจซูอิท แห่งวิทยาลัยโรมาโน ในกรุงโรม เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษา ผู้จัดทำ พจนานุกรมภาษาคอปติค (เป็นภาษาอียิปต์โบราณที่ใช้ในระหว่าง ปีค.ศ. 200-1100)


                    อนาธาเซีย เคอร์เชอร์

                    ภายในจดหมายมีใจความว่า สมุดบันทึกที่ส่งมาด้วยนี้ จอร์จ บาเรช (Georg Baresch) เพื่อนสนิทได้มอบให้ข้าพเจ้าก่อนเสียชีวิต และเป็นผู้ซึ่งเคยได้ส่งสำเนาบางส่วนของสมุดเล่มนี้มาให้ท่านเพื่อลองศึกษาและแปลความหมายดูแล้ว แต่เวลานั้นท่านได้ขอให้ส่งสมุดทั้งเล่มมา แต่ บาเรช ได้ปฏิเสธ ทำให้เรื่องหายเงียบไปอย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้ายังมั่นใจว่าท่านจะสามารถแปลความหมายในสมุดบันทึกเล่มนี้ได้อย่างแน่นนอน...


    กษัตริย์รูดอล์ฟที่ 2

                    นอกจากนี้ในจดหมายได้เล่าว่าสมุดเล่มนี้เคยอยู่ในครอบครองของจักรพรรดิ รูดอล์ฟที่ 2 แห่งโบฮีเมีย ปี 1552-1612 ซึ่งซื้อมาด้วยเหรียญทองคำถึง 600 เหรียญ (เทียบเท่าทองคำที่น้ำหนักประมาณ 3.5 กิโลกรัมในปัจจุบัน)เพราะเชื่อว่าเป็นสมุดบันทึกของโรเจอร์ เบคอน (Roger bacon-พระโรมัน คาทอลิกชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง ทั้ง ดาราศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ และ สาขาอื่น ๆ อีกมาก รวมทั้งเรื่องการแปรธาตุ เขามีชีวิตระหว่างปี 1214-1294) แต่มาร์ซีไม่มั่นใจ มีหลักฐานว่าในปี 1608 สมุดได้อยู่กับ เจโคบุส เดอ เทเพเนคซ์ (Jacobus de Tepenecz) ซึ่งเป็นแพทย์ส่วนพระองค์และเป็นผู้อำนวยการดูแลสวนสมุนไพรของจักรพรรดิรูดอล์ฟที่ 2 สันนิษฐานว่า พระองค์มอบให้เขาเพื่อศึกษา

                    หลังจากนั้น จนกระทั่ง เคอร์เชอร์ เสียชีวิต ในปี 1680 และถูกเก็บไว้ใน วิทยาโรมาโน (ปัจจุบันคือ Pontifical Gregorian University)

                    1870 กษัตริย์ วิคเตอร์ เอ็มมานูเอล ที่ 2 แห่งอิตาลี (King Victor Emmanuel) ได้ส่งกองทัพเข้ายึดกรุงโรมและรวมกรุงโรมเข้ากับรัฐพาพัล(Papal State) เป็นรัฐบาลใหม่ของอิตาลี เข้ายึดทรัพย์สินของโบสถ์และห้องสมุดของวิทยาลัยแห่งนี้ แต่ทางวิทยาลัยได้แอบขนย้ายหนังสือต่าง ๆ ในห้องไปเก็บไว้ห้องสมุดส่วนตัวของ พีทรัส เบคซ์(Petrus Beckx) ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะเจซูอิท และอธิการบดีของวิทยาลัยในขณะนั้น

                    ต่อมาห้องสมุดก็ย้ายไปอยู่ในวิลล่า มอนดรากอน ที่ฟราสคาติ (Villa Mondragone) ใกล้กรุงโรม

                    แต่ในปี 1912 ทางวิทยาลัยจำเป็นต้องแบ่งขายทรัพย์สินและหนังสือบางส่วนออกไป เนื่องจากขาดเงินหมุนเวียน และนายวอยนิช คือผู้ที่เข้ามารับซื้อไป

    เมื่อนาย วอยนิชเสียชีวิตไป สมุดเล่มนี้ได้มีนักค้าหนังสือเก่าอีกคน ชื่อ ฮันส์ พี. เคราส์ (Hans P. Kraus) ซื้อมาและขายไป แต่ไม่มีใครซื้อ เขาจึงมอบสมุดเล่มนี้ให้กับ มหาวิทยาลัยเยล เก็บไว้

                   

                    ลักษณะคร่าว ๆ ของหนังสือเล่มนี้

                   

                    ในสมุดเล่มนี้ได้บันทึกอะไรไว้บ้าง เนื่องจากอักขระไม่มีผู้สามารถถอดความได้ สิ่งเดียวที่จะชี้นำก็คือ รูปภาพภายในเล่ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพของพืชพันธ์คล้ายสมุนไพรและแผนผัง ดาราศาสตร์ จึงเข้าใจว่าน่าจะเป็นสมุดบันทึกทางสายวิทยาศาสตร์

                    โดยเฉพาะด้านยาที่ทำจากสมุนไพร ซึ่งมีการพัฒนากันมากในยุคกลาง แต่บางแหล่งก็มีข้อสันนิษฐานเป็นบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวกับการแปรธาตุ ในช่วง ศตวรรษที่ 15 ที่พยายามแปรโลหะชนิดต่าง ๆ ให้เป็นทอง เพราะพบบางภาพในสมุดมีลักษณะคล้ายกับสัญลักษณ์ที่ใช้ในเรื่องของแร่ธาตุ        และเหตุผลที่สำคัญ พบว่า จักรพรรดิรูดอล์ฟที่ 2 ยอมซื้อสมุดเล่มนี้ถึง 600 เหรียญ พระองค์เป็นจักรพรรดิที่มีความสนใจสิ่งแปลกประหลาดยิ่งกว่ากษัตริย์อื่น ๆ ของยุโรป ทั้งยังเป็นผู้ที่ชอบเรื่องเวทมนต์ เล่มเกม ทำรหัส ทรงมีนักโหราศาสตร์รายล้อมอยู่มากมาย พระองค์เป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญในการค้นคว้าและเผยแพร่เรื่องการแปรธาตุอีกด้วย

                    ลักษณะพื้นฐานของบันทึกออกได้เป็น 5 ส่วนคือ

                    1. ส่วน พฤกษศาสตร์ มีสาระประมาณ ครึ่งหนึ่งของสมุด ราว 130 หน้า

                    2. ส่วนดาราศาสตร์ และจักรวาล ส่วนนี้มี 26 หน้า

                    3. ส่วนชีววิทยา ส่วนนี้มี 4 หน้า กับ 28 ภาพวาด

                    4. ส่วน เภสัชศาสตร์ มีความคล้ายกับส่วนพฤกษศาสตร์ ส่วนนี้มี 34 หน้า

                    5. สูตร คาดว่าเกี่ยวกับสูตรยาเพราะมีการเขียนด้วยย่อหน้าสั้น ๆ ส่วนนี้มี 23 หน้า

                    แต่หน้าส่วนท้ายคือหน้า สันนิษฐานกันว่าเป็นบันทึกกุญแจไขปริศนาอักษร อีก 1 หน้า ที่ใช้ในสมุดบันทึกเล่มนี้ทั้งหมด

                    ผู้เชี่ยวชาญส่วนมากมักคิดว่าไม่ยากที่จะเข้าใจ แต่ ในที่สุดก็พบว่า จากการวิเคราะห์ในแง่ภาษาศาสตร์ ตัวอักษรที่บันทึกไว้ไม่ได้มีพื้นฐานมาจากภาษาลาติน อังกฤษ เยอรมัน หรือภาษาใด ๆ ที่เคยพบมาก่อน

                    ตามหลัก Zipf:s law แล้ว ก็พบว่าสอดคล้องกับภาษาทั่วไป แต่แตกต่างจากภาษาในยุโรป เช่น ไม่มีคำที่ประกอบด้วยพยัญชนะมาก ตั้งแต่ 10 ตัวขึ้นไป หรือน้อยแค่ 1-2 ตัว บางตัวใช้เป็นตัวสุดท้ายเท่านั้น บางตัวอยู่เฉพาะตรงกลาง ตามลักษณะของภาษาอารบิค แต่ ไม่มีในภาษาโรมัน กรีก และกรีกโบราณ เรียกว่า ซีริลลิค (Cyrillic)

     

                    การวิเคราะห์ในแง่ของรหัส

                    ทีมผู้เชี่ยวชาญการเขียนรหัส NSA(National Security Agency) ของสหรัฐอเมริกา นำโดย นาย วิลเลียม เอฟ. ฟรายด์แมน ก็ไม่สามารถสรุปว่าสอดคล้องกับหลักการเขียนรหัสชนิดใด ไม่ว่าจะเป็นการเขียนรหัส แบบ Substitution Cipher ส่วนแบบ Polyalphabetic นั้นคิดค้นราวปี 1467 ซึ่งใกล้เคียงกับอายุของสมุดเล่มนี้ แต่ก็ไม่ใช่อีก เพราะรหัสแบบนี้จะทำให้หลักภาษาธรรมหรือ Zipf’s law หายไป การเขียนรหัสแบบ codebook Cipher, Visaul Cipher และ Stenography ก็ตกไปทั้งหมด

    สมมติฐานที่ พอจะเป็นไปได้ ชาคส์ กาย นักภาษาศาสตร์ได้เสนอว่า อักษรเหล่านี้อาจเป็นการบันทึกเสียงของภาษาธรรมชาติของชาติตะวันออกเช่นภาษาจีน ด้วยอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้น มาใหม่ ความถี่คล้ายกับเนื้อความในภาษาจีน และภาษาเวียดนาม

     

                    ต่อมาปลายปี 2003 นี้เอง ซบิกนิว บานาชิค (Zbigniew Banasik) ชาวโปแลนด์ ก็แสดงความเห็น ว่า สมุดเล่มนี้เขียนด้วยภาษาแมนจูเรียน และได้ลองแปลเพียงหน้าแรกของสมุดออกมา แต่เขาก็ไม่สามารถทำได้สมบูรณ์

     

                    การตั้งสมมติฐานถึงผู้ที่เขียนเป็นผู้เขียนสมุดเล่มนี้ ที่อยู่ในข่าย

                    คนแรก คือ โรเจอร์ เบค่อน เพราะเป็นชื่อที่ทำให้จักรพรรดิรูดอล์ฟ ยอมจ่ายถึง 600 เหรียญทองคำ ซึ่งในปี 1919 วิลเลียม โรเมน นิวโบลด์ ได้ยืนยันว่าสมุดเล่มนี้เป็น งานของ โรเจอร์ เบค่อน จริง เพราะเบค่อนคือผู้ประดิษฐ์กล้องเทเลสโคปและกล้องจุลทรรศน์ แต่ในปี 1931 ก็ถูกโต้แย้งว่าการมองเห็นกาแลคซี แอนโดรมีดา และโครงสร้างเซลล์ของสิ่งมีชีวิต นั้น ต้องใช้กล้องเทเลสโคปและกลอ้งจุลทรรศน์ที่ทันสมัยเท่านั้น                                                                                     

    จอน ดี พบจักรพรรดิ รูดอล์ฟที่ 2

                    คนต่อไปคือ จอน ดี นักคณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ แห่งราชสำนักควีนอลิซาเบธที่ 1 และ เป็นผู้ที่สะสมงานเขียนของเบค่อน สมมุติว่า เบค่อนเป็นผู้เขียน สรุปว่า ดีคือผู้นำไปขายแก่จักรพรรดิรูดอล์ฟที่ 2 แต่ก็ไม่มีน้ำหนักพอและถูกโต้แย้งจนตกไป

                    ดร. อีดิธ เชอร์วูด (Edith Sherwood) ได้เสนอในปี 2002 นี้เองว่า สมุดเล่มนี้เป็นของ ลีโอนาร์โด ดาวินชี Davinci code ของจริง ประเด็นที่เขาหยิบยกขึ้นมามีน้ำหนักไม่น้อย

                    1. คือ ส่วนดาราศาสตร์นั้น มีภาพหนึ่งที่มีสัญลักษณ์ ราศีเมษ อยู่ตรงกลางและมีผู้หญิงเปลือย 15 คน ยืนอยู่ในถัง ซึ่งรายล้อมรอบจักรราศี ส่วนใหญ่กำลังตั้งท้อง ในถัง ใบหนึ่งแปลกออกไป คือมีผู้หญิงอยู่กับเด็กคนหนึ่งโดยผู้หญิงนั้นมีหน้าท้องแบน เธอถือคฑา ในยุคกลางนั้นจะทำการคลอดลูกในถังน้ำ ทำให้สันนิษฐานว่าเป็นการบันทึกกำเนิดของใครสักคนในวันที่ 15 เมษายน ระหว่าง 21 นาฬิกา-เที่ยงคืน เพราะตำแหน่งของถังน้ำที่มีเด็กกับผู้หญิงนั้นอยู่ตรงกลางระหว่างเลข 9 ถึงเลข 12 ของหน้าปัดนาฬิกา ในยุคกลางนั้นแตกต่างจากปัจจุบัน ทั้ง 24 ชั่วโมงบนหน้าปัดและมีเข็มชี้ เวลาเพียงก้านเดียว

     

    ด้านซ้ายไม่กลับด้าน ส่วนด้านขวากลับด้านแล้ว

                    ดร. เชอร์วูดบอกว่า ในยุคนั้น จะเริ่มนับวันใหม่หลังจากพระอาทิตย์ตกและเขายังได้เคยอ่านพบบันทึกปู่ของดาวินชี เกี่ยวกับการเกิดของหลานชายคือ ดาวินชี ในปี 1452 ว่า...หลานชายของฉัน, ลูกชายของ Ser Piero เกิดในวันที่ 15 เมษายน วันเสาร์ เวลา 3 นาฬิกา กลางคืน เขาชื่อว่า Lionardo …” และเมื่อเช็คจากปฏิทินของยุคนั้นพบเป็นเวลา 3 นาฬิกากลางคืน หมายถึงเวลาประมาณ 22 นาฬิกา

     

    ภาพขยายคือเด็กอยู่ในถังน้ำ

                    ภาพในถังน้ำที่มีเด็กมีตัวเลข 1452 ภาพที่พอแปลได้ จากการมองภาพสะท้อนในกระจกเงา คือ “Sabatta notto” ซึ่งแปลว่า Saturday night จะเห็นได้ว่า ความบังเอิญนี้เกิดขึ้นได้ยาก ที่จะมีคนอื่น ที่กำเนิดวันและเวลาเดียวกันกับ ลีโอนาร์โด ดาวินชี

     

    ภาพขยายของคำว่า Sabatta notto

                    2. คือ จุดตรงกลาง ของภาพเดียวกันนั้นมีภาพแกะที่เป็นสัญลักษณ์ของราศีเมษ อยู่ และตัวอักษรใต้ภาพแกะนั้น เมื่อมองในกระจกเงาจะเห็นคล้ายคำว่า ‘Lionardo’ โดยมีตัว r เขียนเสริมไว้ด้านบน ซึ่งเห็นว่าคล้ายกับลายเซ้นของ ลีโอนาร์โด ดาวินชี ซึ่งเขาสะกดชื่อ ตัวเองว่า ‘Lionardo’ ไม่ใช่ ‘Leonardo’ อย่างที่ใช้กันในปัจจุบัน

     

    ลายเซ็น ใต้รูปแกะ ที่ไม่กลัด้าน

     

    ลายเซ็นของลีโอนาร์โด ดาวินชี

                    ข้อสุดท้าย ในส่วนดาราศาสตร์ ที่ต้องมองผ่านกระจกเงาจึงจะเข้าใจ เป็นภาพเกี่ยวกับแผนภูมิจักราศี แต่ละราศีก็มีชื่อกำกับไว้ ก็พอจะอ่านชื่อของแต่ละภาพได้ แต่บางชื่อก็ไม่ได้เขียนแบบกลับด้าน

                    ภาพคล้ายแกแลคซี ที่แสดงทิศทางตามเข็มนาฬิกา ซึ่งตามจริงคือต้องทวนเข็มนาฬิกา เพราะฉะนั้น เป็นภาพที่ต้องมองผ่านกระจกเงาเช่นกัน และเป็นที่ทราบกันดีว่า ดาวินชี มีความชำนาญวาดภาพและเขียนตัวหนังสือกลับด้าน

                    ดังนั้น การสันนิษฐาน ถ้าหากว่า ดาวินชีเขียนหนังสือเล่มนี้จริง ก็คงไม่ใช่งานเขียนตอนที่เขาเป็นผู้ใหญ่ เพราะมีหลายภาพมีการเขียนแบบ เด็ก ๆ เช่น ภาพของพืชพันธุ์ในส่วนพฤกษศาสตร์ แต่ละต้นมีดอก ราก และใบที่ไม่สอดคล้องกัน ภาพราศี และภาพในส่วนของชีววิทยา ก็ดูคล้ายฝีมือเด็ก

                    ส่วนเรื่องราวในวัยเยาว์ของดาวินชี นั้นไม่สามารถหาได้ จึงยากแก่การสันนิษฐาน อย่างไรก็ตาม ดร.เชอร์วูด สรุป ว่า ลีโอนาร์โด ดาวินชี คือผู้ที่เขียนขึ้นมา เมื่อ เขาอายุ 8 ขวบ ราวปี 1460

                    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อได้ค้นหา ภาพที่เป็นงานเขียนของดาวินชี เช่น ภาพ Embryos และ ภาพ Vitruvian man มาเปรียบเทียบกับสมุดบันทึกแล้วจะดูไปในทิศทางเดียวกัน

     

     


    ภาพ
    vitruvianman กับ Embryos

     

                    อย่างไรก็ตามสมุดบันทึกเล่มนี้ ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนของใคร ผู้เขียน สามารถเขียนอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นมาอย่างชำนาญ และยังสามารถรักษาความลับของผู้เขียนได้นานเกือบ 600 ปี ยังไงก็คงต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยนี้ก็ยังไม่แน่ว่าจะไขปริศนาในสมุดเล่มนี้ได้ ผู้เชี่ยวชาญจึงยกให้เป็น สมุดบันทึกที่ลึกลับที่สุดในโลก.

     
                                                                                                        http://lionardo.exteen.com/20060228/entry+

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×