ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตามรอยเรื่องลึกลับ

    ลำดับตอนที่ #48 : กล็อบสเตอร์ (Globster) ซากลึกลับจากท้องทะเล (ตอนที่ 1)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 8.74K
      6
      9 ก.ย. 51



    กล็อบสเตอร์ (Globster) ซากลึกลับจากท้องทะเล

     

                    ตอนนี้ต่างจากตอนก่อนๆ ที่เล่ามาทั้งหมดเลยนะครับ ตอนก่อนๆ สัตว์บางตัวเห็นแต่รอย แต่ไม่พบตัว อาศัยคำ(โม้)บอกเล่าไปวัน ๆ แต่ตอนนี้ไม่เหมือนเดิมครับ มันมาเป็นซาก เห็นต่อหน้าต่อตา ไม่หนีไปไหน เพราะมันมีแต่ซาก แต่กระนั้นก็ไม่มีใครหน้าไหนสามารถไขปริศนาได้ว่ามันเป็นตัวอะไรกันแน่

     

                    ก้อนเนื้อแห่งเซนต์ ออกัสติน

                    
                    
    เรื่องมันเริ่มต้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2439

                    วันนั้นเด็กชายสองคนเฮอร์เบิร์ต โคลส์ และดันแฮม คอเร็ตเตอร์ กำลังขี่จักรยานตามถนนบนเกาะอนาสตาเซีย และในขณะที่ผ่านหาดคาสเซนท์เท่านั้น ทั้งกองเกิดไปสะดุดสิ่งประหลาดชนิดหนึ่ง มันเป็นก้อนเนื้อมหึมากองอยู่ที่ชายหาด ตอนแรกทั้งสองคิดว่าเป็นซากปลาวาฬที่มาเกยหาดหายวันมากกว่า เลยแจ้งให้ ดร.เดอวิตต์ เวบบ์ ซึ่งเป็นประธานสมาคมภาษา วิทยาศาสตร์และประวัติศาสตร์ของเซนต์ ออสตินรู้

                    และเมื่อ ดร.เดอวิตต์ เวบบ์ มาตรวจก้อนเนื้อในวันรุ่งขึ้น พบว่ามันไม่ใช้ปลาวาฬครับ มันน่าจะเป็นปลาหมึกยักษ์ต่างหาก แถมขนาดมัน ใหญ่มากๆ  ยาวถึง 18 ฟิต กว้าง 7 ฟิต

                    เวบบ์ตัดสินใจจ้างช่างถ่ายภาพ (ภาพถ่ายหายไปภายหลัง) และวาดลายเส้นเป็นหลักฐาน ระหว่างนั้นมีชายที่อาศัยอยู่พื้นที่ชื่อนายวิลสัน ได้ขุดทรายรอบๆ ก้อนเนื้อออกพบ หนวด หลายเส้น เส้นหนึ่งทอดอยู่ทางตะวันตกของลำตัว ยาวราว 4 ฟิต อีกสามเส้นอยู่ทางใต้ และจากที่เห็นต่อกับเส้นที่ยาวที่สุดกว่า 32 ฟิต หนวดเส้นอื่นๆ สั้นกว่าเส้นนี้ 3-4 ฟิต เวบบ์เลยเลยเอาข้อมูลนี้ส่งไปหลายคนที่รู้จักในสาบวิทยาศาสตร์ แต่ปรากฏว่าไม่มีใครสนใจเรื่องนี้ซะเท่าไหร่

                    จนกระทั้งจดหมายผ่านไปถึงมือของ ดร.เอ.อี.เวอร์ริล ผู้เชี่ยวชาญด้านปลาหมึกเข้า จึงสนใจเรื่องนี้ และได้เขียนเรื่องนี้ในหนังสือวารสารวิทยาศาสตร์อเมริกันเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2440 ว่าสิ่งที่เขาเห็นน่าจะเป็นปลาหมึกกล้วย Spuid ขนาดยักษ์ เขาเขียนเรื่องนี้ในหนังสือนิวยอร์ค เฮราลด์ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2440 ไว้ว่า

                    น้ำหนักของมันตอนมีชีวิตอยู่คงราวๆ สิปแปดหรือยี่สิบตัน และหนวดคงยาวมาก มีความใหญ่เท่ากับเสากระโดงเรือใหญ่ๆ มีปุ่มดูดนับร้อย อันใหญ่สุดน่าจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อยหนึ่งฟุต ดวงตามีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่าหนึ่งฟุต...... ไม่ต้องสงสัยว่ามันว่ายน้ำได้เร็ว แต่ส่วนใหญ่มันคงคลานช้าๆ อยู่ก้นทะเลเพื่อล่าเหยื่อ และมันคงมีพวกอยู่นับร้อยนับพันเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ได้……….”

                    แต่พอถึงเดือนกุมภาพันธ์ หรือเดือนต่อมา เวอร์ริลชักไม่แน่ใจว่าเป็นปลาหมึกกล้วยหรือเปล่า อาจเป็นปลาหมึกสายก็ได้ และตั้งชื่อมันว่า หมึกสายยักษ์(Octopus giganteus) ซึ่งต่อมาเวลาเจอซากลึกลับอะไรถ้าลอยติดชายหาดละก็ผู้เชี่ยวชาญมักจะตั้งมันว่า กล็อบสเตอร์ (Globster) เอาไว้ก่อน

                    จากนั้นมีการก็ส่งเนื้อเยื่อ เป็นก้อนเนื้อ(หนาราว3x10 นิ้ว) หยุ่นและเหนียวมากจนยากจะตัดขาด ให้หน่วยงานในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติไปตรวจสอบว่ามันเป็นปลาหมึกจริงๆ หรือเปล่า

                    แต่......มันเป็นปลาหมึกจริงๆ หรือ

                   

                    ระหว่างที่บรรดานักวิทยาศาสตร์กำลังถกเถียงว่ามันคือซากของอะไร พอเมื่อวันที่ 9-15 มกราคม ปีเดียวกัน ก้อนเนื้อก้อนนั้นก็ถูกพายุพัดกลับลงทะเล มันไปแล้วไปลับไม่มีวันกลับ แต่กระนั้นไม่กี่วันต่อมาก้อนเนื้อก้อนใหม่ก็พัดกลับเข้ามาฝั่งอีก ที่หาดเครสเซนด์เหมือนเดิม เพียงแต่คราวนี้ก้อนเนื้อนี้ไม่มีหนวด ซึ่งคนตรวจสอบคือเวบบ์คนเดิม ตอนแรกเขาคิดว่าเป็นปลาหมึกเลยพยายามสำรวจด้านล่าง จนต้องขอให้ชายฉกรรจ์จำนวนมากและเครื่องรอกที่ใหญ่มาช่วยพลิกปรากฏว่าไม่มีหนวด เขาจึงเขียนบันทึกนี้ส่งให้ ดับเบิล ยู เอช ดาล ภัณฑารักษ์หน่วยสัตว์มีเปลือกที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เขาเล่าว่า

                    เมื่อวานนี้ ข้าพเจ้าสั่งให้นำม้าสี่ตัว คนหกคน และชุดเครื่องรอกอีก 3 ชุด แผ่นกระดานหนักและเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยงาน ปรากฏว่าในที่สุดเราช่วยกันกลิ้งเจ้าก้อนเนื้อยักษ์ออกจากหลุมได้สำเร็จ และนำมาพักไว้ที่ยกพื้นซึ่งอยู่สูงกว่าหาดราวสี่สิบฟิต.....เมื่อยู่ในที่ๆ สามารถยืดตัวมันได้ เราสามารถวัดความยาวแท้จริงว่า มันยาว 21 ฟิต ไม่ใช้ 18 อย่างที่เข้าใจ ส่วนที่ดีที่สุดที่ยังเหลือคือส่วนหัวซึ่งยังคงติดอยู่กับตัวซึ่งเป็นส่วนที่บางกว่า และมันมีช่องเปิดยาวตลอด 21 ฟิต ส่วนตรงที่บางกว่า ซึ่งน่าจะเป็นตัวมันไม่มีอวัยวะภายในอะไรเหลืออยู่ อวัยวะที่ยังมีก็ไม่ใหญ่และดูเหมือนว่ามันตายนานแล้ว กล้ามเนื้อคลุมร่างอันเป็นอวัยวะเดียวที่เหลืออยู่มากที่สุดก็หนามาก ตั้งแต่ 2-3 นิ้ว ไปจนถึง 6 นิ้ว เส้นใยส่วนนอกเรียงตามยาวของตัว ส่วนเส้นใยภายในเรียงขวาง ไม่มีครีบหางหรืออวัยวะอื่นๆ...ไม่มีปาก หัวหรือตาเหลืออยู่ ไม่มีกระดองหรือกระดูก หรือร่องรอยที่เคยมีอยู่เหบืออยู่เลย....

                    สาเหตุการตายน่าจะสู้กับปลาวาฬสเปิร์ม ซากส่วนหนึ่งอาจถูกคู่ต่อสู้กินไป และที่เหลือโดนพายุพัดเกยฝั่ง (เวบบ์ยังเชื่อว่าซากที่เขาเห็นเป็นปลาหมึกและตามความเชื่อตามตำนานปลาวาฬสเปิร์มเป็นศัตรูกับปลาหมึกยักษ์ เจอกันเมื่อไหร่ต้องพักกันให้ตาย)

                   

                    แต่แล้วผลการตรวจสอบก้อนเนื้อที่ตัดออกไปตอนแรกก็ออกมา เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2440  ผลตรวจสอบปรากฏออกมา  ทั้งสองคนนั้นคิดผิดครับ มันไม่ใช้ปลาหมึก...................

                    เนื้อส่วนที่ได้มันประกอบจากริ้วและเส้นใยเชื่อมต่อสีขาวและยืดหยุ่นที่เหนียวมาก โครงสร้างของมันคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม(เช่นปลาวาฬหรือพะยูน) สัตว์พวกนี้ไม่ใช้พวกหมึกสายอย่างที่คิด มันน่าจะเป็นวาฬมากกว่า(จะบ้าเรอะปลาวาฬบ้านไหนมีหนวด)

                    สัตว์ตัวนี้เป็นวาฬสเปิร์ม!!

                    หากเราจินตนาการว่านี้คือวาฬสเปิร์มลกะก็ ซากที่เราพบอาจเป็นหัวยื่นออกมาข้างหน้าซึ่งเป็นก้อนใหญ่ ซึ่งในนั้นจะมีโพรงใหญ่มากตรงกลาง ซึ่งเมื่อจมูกก้อนนี้หลุดจากตัวแล้วลอยในทะเล ถูกคลื่นซัดไปเกยหาดบนเกาะเซนต์ออกัสติน และถูกเชื้อโรคกัดทำให้ขนาดและรูปร่างเปลี่ยนไปบิดเบี้ยวไป แต่น่าสังเกตก้อนเนื้อนี้ไม่มีรูน้ำพุ

                    แน่นอนเมื่อผลตัดสินนั้น หลายฝ่ายรับไม่ได้มาก ทำให้หลายคนเลิกให้ความสนใจก้อนเนื้อดังกล่าวอย่างสิ้นเชิง

                    ก้อนเนื้อแห่งเซนตต์ ออกัสตินปิดฉากลงตรงนี้ แม้จะมีก้อนเนื้อที่สามที่ถูกน้ำพัดจากทะเลอีกครั้งโดยเกยที่ทางรถไฟ แต่ต่อจากนั้นไม่มีใครรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับมัน แม้กระทั้งก้อนเนื้อที่ถูกระบุว่าเป็นวาฬสเปิร์มก็หายไปจากพิพิธภัณฑ์ในระหว่างขนส่งด้วย

                   

                    และเรื่องก้อนเนื้อแห่งเซนต์ ออกัสติน ก็จางหายไปตามกาลเวลา

     

                    กระทั้ง พ.ศ.2550 ก้อนเนื้อเซนต์ ออกัสตินก็กลับมาอีกครั้ง เมื่อ ฟอร์เรสต์ จี.วู้ด นักชีววิทยาทางทะเลจากคาลิฟอเนียได้งานทำอยู่มารีนแลนด์ เขาพบกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ตัดข่าวก้อนเนื้อประหลาดดังกล่าวเก็บไว้ วู้ดคิดว่าสถานที่เกิดเหตุอยู่ใกล้บริเวณรับผิดชอบไม่กี่ไมล์ ทั้งๆ ที่เขามีชื่อเสียงแต่ทำไมไม่รู้จักก้อนเนื้อนี้ฟ่ะ!! วู้ดเลยต้องขุดคุ้ยแล้วก็ประหลาดใจว่าช่วงพบเนื้อก้อนนี้หนังสือพิมพ์และสื่อต่างๆ ลงเรื่องนี้ครึกโครม แต่หลังจากผลสรุปว่ามันเป็นวาฬ เรื่องนี้ก็เงียบสนิท

                    สิ่งที่ทำให้วู้ดสนใจจะศึกษาคือ จดหมายต่างๆ ที่เวบบ์เขียนไปถึงเวอร์ริลรวมทั้งรูปถ่าย ภาพวาด ยกเว้นอย่างเดียวคือไม่มีชิ้นเนื้อ ข้อมูลเหล่านี้ทำให้เขาเชื่อว่ามีการสรุปผิด เขาจึงติดต่อไปสถาบันสมิธโซเนี่ยม เพื่อขอชิ้นเนื้อเยื่อมาตรวจสอบ(มันเป็นชิ้นเดียวที่เหลืออยู่) มาตรวจสอบที่ห้องแล็บ พบว่ามันฝานยากมาก จนทำให้มีดทื่อไป 4 เล่ม

                    เมื่อฝานชิ้นเนื้อได้แล้วเอาไปส่องในกล้องจุลทรรศน์ ไม่พบสารที่มีลักษณะเป็นโพรงอยู่ในเนื้อเยื่อ จนเขาคิดว่ามันเน่า แต่เมื่อมีการส่องเนื้อเยื่อหมึกสายกับหมึกกล้วยเปรียบเทียบกัน ก็พบว่ามันเป็นหมึกชนิดใหม่ที่ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนและต้องมีขนาดยักษ์มาก มากกว่าที่มนุษย์จะวัดหมึกยักษ์ได้ เพราะจากสถิตหมึกสายขนาดยักษ์ที่สามารถจับได้วัดได้อยู่แปฟิคเหนือ วัดหนวดข้างหนึ่งได้ 30 ฟิต แต่ตัวที่เกยตื้นชายหาดนั้นมีหนวดยาวถึง 75-100 ฟิต

                    อย่างไรก็ตามเรื่องหมึกยักษ์นี้ไม่ใช้ของแปลกใหม่แต่อย่างใด เพราะที่เกาะบาฮามา ชาวพื้นเมืองนั้นรู้จักกันดี และเรียกมันว่า สคัตเติลยักษ์(แปลว่าหมึกสาย) ซึ่งมันมีอยู่จริง ชอบอยู่น้ำลึก ไม่ชอบมาน้ำตื้นหากไม่เจ็บหรือกำลังตาย และไม่ทำอันตรายต่อคน

     

    (ติดตามตอนต่อไป+ +)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×