ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตามรอยเรื่องลึกลับ

    ลำดับตอนที่ #16 : ซีลาแคนธ์ (Coelacanth)

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 6.72K
      5
      1 ก.พ. 51



    ซีลาแคนธ์
    (Coelacanth)

     

                     ปลาซีลาแคนธ์หรือซีลาคานท์หรือซีลาขันธ์ ถือเป็นสิ่งที่พิเศษที่สุดและถือว่าเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของนักสัตว์ลึกลับวิทยาก็ได้ครับ ที่ทำให้โลกนี้ได้รู้ว่าวิชานี้มันก็สำคัญน่ะจ๊ะบอกให้

    ครั้งหนึ่งปลาซีลาแคนธ์เคยมีอยู่อย่างมากกมาย และหลากหลายสายพันธุ์ แต่พวกมันไม่ได้มีชีวิตรอดมาจนถึงปัจจุบันได้ทั้งหมด โดยสูญพันธุ์ไปตั้งแต่เมื่อ สิ้นยุค Cretaceous เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่ออย่างนั้น

    แต่แล้วการค้นพบมันในปี พ.ศ. 2481 ถือได้ว่าเป็นการฉีกหน้านักวิทยาศาสตร์เต็มๆ

     

    ซีลาแคนธ์มีรายงานการค้นพบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ครั้งนั้นถูกจับได้ที่ปากแม่น้ำ Chalumna ทางชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกาใต้ โดยกลาสีเรือชาวสก็อตแลนด์โดย กัปตันเฮนดริค กูเซ่น (Capt. Hendric Goosen) และลูกเรือ พวกเขาคิดว่าปลาที่จับได้นี้แปลกประหลาดมาก และได้นำปลาที่จับได้ มายังท่าเรือของเมือง East London ในประเทศแอฟริกาใต้ แล้วแจ้งไปยังพิพิธพันธ์ท้องถิ่นในเมืองเล็กๆในแอฟริกาใต้ และเมื่อ ลาติเมอร์ Courtney-Latimer นักอารักษ์ของพิพิธภัณฑ์ที่นั่นได้เห็นปลารูปร่างประหลาด ได้แจ้งไปยังศาสตราจารย์ จี.แอล.บี สมิธ J.L.B Smith ผู้เชี่ยวชาญ เรื่องปลาแห่งมหาวิทยาลัยโรเดส ในประเทศแอฟริกาใต้ แล้วแจ้งไปยัง Courtney ให้เก็บรักษาตัวอย่างปลานี้ไว้ แต่ว่าข้อความนั้นมาช้าไปทำให้อวัยวะภายในของปลาซีลาแคนธ์นั้นเริ่มเน่าเสียเสียก่อน และแล้วสมิทก็ได้ออกแถลงการให้โลกรู้ว่า ปลาสีน้ำเงิน ความยาวเกือบสองเมตร นั่นคือปลาปลาซีลาแคนธ์ ที่มันเคยมีชีวิตอยู่เมื่อหลายร้อยล้านปีก่อน สมิธจึงได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของ ปลาบรรพบุรุษของมัน ตัวนี้ว่า Latimeria chalumlae เพื่อเป็นเกียรติแด่ นางลาติเมอร์ และตำแหน่งที่ค้นพบ คือบริเวณปากแม่น้ำ Chalumnae

    มีตัวแรกก็มีตัวที่สอง ตัวที่สองนั้นถูกจับได้โดยกลาสีเรือชื่อ อาเหม็ด ฮูเซียน ในบริเวณ Comores Archipelago ที่อยู่ใกล้เกาะมาดากัสกา ในอีก 14 ปีต่อมา และฮูเซียนก็ได้รับเงินรางวัล 50,000 ฟรังก์ ในฐานะที่จับปลาดึกดำบรรพ์ได้

    และแล้วปัญหาการอ้างกรรมสิทธิ์ของปลาที่จับได้ก็เกิดขึ้น ระหว่าง สมิธ กับรัฐบาลฝรั่งเศส เพราะว่าปลาที่ถูกจับได้อยู่ในบริเวณน่านน้ำของเกาะมาดากัสกา ซึ่งอยู่ในความปกครองของฝรั่งเศส แต่สมิธเป็นนักชีววิทยา คนแรกที่รู้จักปลาชนิดนี้ รัฐบาลฝรั่งเศสจึงตัดสินใจว่า หาก สมิธ สามารถเดินทางมารับซากปลาได้ภายในเวลา 24 ชั่วโมง เขาจะได้เป็นเจ้าของซากปลาตัวนั้น แต่ สมิธ นั้นอยู่ห่างจากฝรั่งเศสถึง 2,400 กิโลเมตร

    แต่ถึงกระนั้นระยะทาง 2,400 กิโลเมตรก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะว่า สมิธได้ขอร้องให้ นายกรัฐมนตรีของแอฟริกาใต้ให้จัดเครื่องบินของกองทัพอากาศ ไปรับซากปลาภายในเวลา 24 ชั่วโมง

    สมิธ ได้บินไปรับซากปลาที่เขารอคอย นานถึง 14 ปี ได้ทันเวลา และข่าวการพบปลาซีลาคานท์ ตัวที่สอง ได้แพร่กระจายไปทั่วโลก และโลกก็ประจักว่าทะเล Comores Archipelago คือถิ่นที่อยู่อาศัยของฝูงปลาซีลาแคนธ์

    เพราะปลาชนิดนี้ตัวที่ 3 นั้น ถูกจับได้ในอีก 1 ปี ต่อมา.

    พวกชาวเกาะ Comoran รู้จักปลาชนิดนี้ในนามของปลา Gombessa และทุกๆครั้งที่คนเหล่านี้จับปลาซีลาคานท์ได้ เขาจะปล่อยมันกลับลงทะเล เพราะเนื้อมันกินไม่ได้ ( ในช่วงเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ชาวประมงจับปลาซีลาคานท์ได้โดยบังเอิญ 3-12 ตัว

     

    นอกจากนี้ซีลาแคนธ์ยังพบในอินโดนีเซียเพียงแต่มีลักษณะแปลกกว่าของอาฟริกานิดหน่อย

    เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 1998 ปลาซีลาแคนธ์ได้ถูกจับขึ้นอีกครั้งหนึ่งในตาข่ายดักฉลามบริเวณทะเลลึก โดยชาวประมงท้องถิ่นห่างจากเกาะภูเขาไฟของ Manado Tua ทางเหนือของ สุลาเวสี อินโดนีเซีย ซึ่งที่ที่พบนี้อยู่ทางตะวันออกของ มหาสมุทรอินเดียตะวันตกไปประมาณ 10,000 กม.ชาวประมงนำปลาที่จับได้นี้ไปให้ Arnaz Menta Erdmann เมื่อพวกเขาได้ปลาซีลาแคนธ์จากสุลาเวซี เมื่อนำมาเทียบกับหลักฐานที่มีก็พบว่า ปลาซีลาแคนธ์แห่งเกาะสุลาเวสีนี้แตกต่างกับปลาซีลาแคนธ์ที่พบที่เกาะ Comoros ซึ่งจุดแตกต่างที่เห็นได้ชัดก็คือสี ปลาซีลาแคนธ์ที่ Comoros นั้นจะมีสีน้ำเงิน ส่วนซีลาแคนธ์ที่เกาะสุลาเวสี นี้มีสีน้ำตาล และในปี 1999 ปลาซีลาแคนธ์แห่งสุลาเวสี ถูกบรรยายว่าเป็นปลาซีลาแคนธ์ชนิดใหม่ โดยมีชื่อว่า Latimeria menadoensis จากการพบซีลาแคนธ์ชนิดใหม่นี้ ได้จุดประกายความเป็นไปได้ว่า ปลาซีลาแคนธ์อาจจะมีการแพร่กระจายที่กว้าง และมีจำนวนมากกว่าที่ได้เคยสันนิษฐานกันไว้เมื่อก่อน

     

    ปลาซีลาแคนธ์เป็นสัตว์เพียงไม่กี่ชนิด ที่รูปร่างของมันแทบจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงเลยในระยะเวลานับหลายร้อยล้านปี รูปร่างของมันทุกวันนี้เหมือนกับเมื่อ 140 ล้านปีก่อนทุกประการ

    ปลาซีลาแคนธ์ จัดได้ว่าเป็นญาติกับ Eusthenopteron ซึ่งเป็นปลาในยุคเริ่มแรกที่มีขา และเริ่มที่จะวิวัฒนาการมาเป็นพวกสัตว์บก แต่ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้เสนอแนวคิดใหม่ที่ว่า Icthyostega Panderirchthyes และ Acanthotega เป็นบรรพบุรุษของ Tetrapod (สัตว์ 4 เท้า เช่นพวก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ, สัตว์เลื้อยคลาน, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รวมถึงมนุษย์ด้วย) แต่แนวคิดนี้ก็ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ว่า ปลาซีลาแคนธ์ มีความใกล้ชิด และ เกี่ยวข้องกับปลา Rhipidistai มากกว่า Tetrapod สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ อีกทั้งยังมีปลาอีกชนิดหนึ่งที่เป็นปลาดึกดำบรรพ์ด้วยเช่นกันที่มีความเกี่ยวข้องกับ Tetrapod มากกว่าปลาซีลาแคนธ์ ซึ่งก็คือปลาปอด (Lung fish) ซึ่งยังหลงเหลือมาถึงปัจจุบันอยู่ 3 สกุล

    ฟอสซิลปลาซีลาแคนธ์ดึกดำบรรพ์ สามารถพบได้ในทุกทวีปยกเว้นทวีป Antarctica


                    ในช่วง
    200 ล้านปีก่อน พวกนั้นมีกันมากกว่า 30 ชนิด ที่อาศัยอยู่ในช่วงเวลานั้น ถือว่าเป็นยุคทองของปลาซีลาแคนธ์เลยก็ว่าได้ มีอยู่ 3 ชนิดจากทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด โดยมีอยู่ 2 ชนิดที่ไม่นับรวมเป็นปลาซีลาแคนธ์โบราณเนื่องจากว่า ทั้ง 2 ชนิดนี้มีขนาดค่อนข้างเล็ก น้อยตัวที่จะมีขนาดใหญ่กว่า 55 ซม. ส่วนปลาซีลาแคนธ์ที่พบในยุคปัจจุบันยาวได้ร่วม 6 ฟุต (1.8 เมตร) และมีน้ำหนักถึง 150 ปอนด์ หรือมากกว่านั้น (ยักษ์ใหญ่แห่งโมแซมบิค ตัวอย่างที่จับได้ตัวนี้เป็นตัวเมียที่มีขนาดใหญ่มากมีขนาดถึง 1.8 เมตร และหนังถึง 95 กิโลกรัม) โดยทั่วไปแล้วปลาซีลาแคนธ์จะมีขนาดเล็กกว่านี้ โดยเฉพาะตัวผู้มีขนาดเฉลี่ยอยู่ที่ 1.65 เมตร

    ในช่วงเริ่มต้นของยุค Devonian ปลาซีลาแคนธ์ยุคนั้นยังเป็นปลากระดูกอ่อน ซึ่งภายในกระดูกสันหลังประกอบด้วยท่อที่เป็นกระดูกอ่อนที่บรรจุของเหลวอยู่ภายใน ซึ่งสามารถโค้งงอได้ Hollow fin spine ซึ่งพบในฟอสซิลเป็นที่มาของชื่อ ซีลาแคนธ์ (Coelacanth) ซึ่งมีความหมายในภาษากรีกว่า Hollow spine ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างจาการที่ไม่มีขากรรไกร มาเป็น มีเหงือกหลักแบบบานพับ และมีกะโหลกที่แข็งแรง (ปลาในสมัยก่อนหน้านี้ กระดูกจะหุ้มส่วนหัวอยู่ภายนอก จนดูเหมือนใส่เกราะ เพื่อป้องกันส่วนหัวไม่ให้ได้รับอันตราย) ฟันถูกจัดวางบริเวณสันของขากรรไกรล่าง และฟันบนอยู่บริเวณเพดานปาก (ถือได้ว่าเป็นขากรรไกรแท้จริง) สมองมีขนาดเล็กอยู่ภายในกะโหลกแข็ง กระดูกพับบริเวณส่วนกลางช่วยขยายขนาดของปาก เพื่อใช้ในการกินอาหาร (ลักษณะเช่นนี้พบได้ในสัตว์จำพวกกบ) ตาได้ถูกพัฒนาให้ดีขึ้น โดยมีเซลล์สะท้อนแสงที่เรียกว่า tapila เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการมองในที่มืด, (Chamber heart pump blood)ห้องของหัวใจเป็นต้นแบบของมนุษย์ยุคปัจจุบัน บริเวณจมูกมีรอยเว้า 3 รอยแต่ละข้าง ซึ่งช่องนี้จะเรียกว่า Rostal Organ ภายในเต็มไปด้วยเจล อวัยวะส่วนนี้จะทำหน้าที่เป็นเครื่องรับกระแสไฟฟ้า (Electro receptor) เพื่อใช้ในการหาตำแหน่งของเหยื่อ, เส้นข้างลำตัวที่รับแรงสั่นสะเทือนจะพัฒนาไปเป็นส่วนรับสัมผัส (Ploximity) ในปลาชนิดอื่นๆ ซึ่งใช้ตรวจสอบสภาพแวดล้อมที่พวกมันอาศัยอยู่ จังไม่เป็นที่สงสัยเลยว่ามันจะมีประโยชน์แค่ไหนเมื่อพวกมันว่ายผ่านเข้าไปยังถ้ำใต้ทะเล

    ปลาซีลาแคนธ์มีครีบหลัง 2 คู่ และยังมีครีบอีกอีก 1 ครีบบริเวณช่วงข้อต่อของส่วนหาง โดยครีบ 2 คู่แรกจะอยู่ตรงครีบอก และครีบตรงเชิงกราน ครีบเหล่านี้จะเป็นลักษณะพูเนื้อมีกระดูกเป็นแกนอยู่ภายในคล้ายกับ Eusthenopteron ซึ่งต่อมาจะพัฒนาไปเป็นแขนและขา ในพวกสัตว์บก อย่างไรก็ตามปลาซีลาแคนธ์ยังไม่สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนใหญ่จะใช้ในการเดินใต้พื้นทะเล. ครีบอกและครีบบริเวณเชิงกราน จะเป็นรูปแบบ pre-adaption (รูปแบบดั้งเดิมก่อนจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นอวัยวะที่ใช้เคลื่อนไหวบนบก). การใช้ประโยชน์ครีบเหล่านี้ในน้ำนั้นนอกจากจะใช้เดินใต้พื้นทะเลแล้ว ยังใช้ในการคอยรักษาความนิ่ง ความสมดุล แต่ในญาติของปลาซีลาแคนธ์ Eusthenopteron จะทำหน้าที่เหมือนเป็นขาทั้ง 4 ข้างเพื่อใช้ในการเดิน

    เกล็ดของปลาซีลาแคนธ์มีความหนาและเป็นเส้นโดยวางตัวในลักษณะฟันปลาเรียงกันแน่น, การแยกปลาซีลาแคนธ์ออกจากปลาชนิดอื่นทำได้ง่ายเนื่องจากว่า ลักษณะหางของปลาซีลาแคนธ์จะมีลักษณะเป็น 3 พู

    ปลาซีลาแคนธ์นั้นสามารถกินปลาได้แทบทุกชนิดที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นทะเลไม่ว่าจะเป็น ปลาหมึกทุกชนิด, ปลาไหลใต้ทะเลลึก และปลาทั่วๆไปที่พบได้ในบริเวณ แนวหินใต้ทะเลลึก ส่วนสีสันของปลาซีลาแคนธ์นั้นจะเป็นสีน้ำเงิน มีจุดสีขาวกระจายตามลำตัว และยังมีอีกชนิดที่รูปร่างคล้ายกันแต่ต่างกันตรงที่พื้นสีที่จะเป็นสีน้ำตาลแทนที่จะเป็นสีน้ำเงิน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าความมีลักษณะเฉพาะตัวของซีลาแคนธ์ ทำให้มันมีชีวิตได้ยืนยาวกว่า 60 ปี

    ปลาซีลาแคนธ์ นั้นชอบอาศัยอยู่ในน้ำลึก ตั้งแต่ 150-300 เมตร และสามารถว่ายน้ำถอยหลังได้ และว่ายน้ำแบบหงายท้องก็ได้ นอกจากนี้มันชอบอาศัยอยู่ในถ้ำใต้น้ำ และพักผ่อนในตอนกลางวัน

     

    นอกจากนี้ซีลาแคนธ์ นั้นไม่ชอบอพยพไปอยู่ที่อื่นเพราะเครื่องส่งสัญญาณที่ติดตามตัวปลาแสดงให้เห็นว่าปลาซีลาแคนธ์ ไม่ชอบว่ายน้ำไปไกลจากถิ่นที่อาศัยอยู่มากนัก การที่จำนวนมันลดลงก็เท่ากับว่ามันตายไปแล้วและสาเหตุสำคัญอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มันสูญพันธุ์ได้ง่ายก็เพราะว่าวิธีการสืบพันธุ์ของมัน ตัวเมียตามปกติจะอุ้มท้องที่มีไข่ ซึ่งถูกผสมพันธุ์แล้วประมาณ 20 ใบ มันจะไม่วางไข่ แต่จะใช้เวลานานถึง 13 เดือน ในการฟักไข่ และไข่ที่ถูกฟักเป็นตัวมีจำนวนประมาณ 5 ฟอง และทันทีที่ลูกปลาออกจากไข่มันจะกินพี่น้องตัวที่อ่อนแอที่สุด ดังนั้นการที่เราจับปลาซีลาคานท์ตัวเมียได้เปรียบเสมือนการฆ่ามันทั้งตระกูลเชียวล่ะ

     

    ปัจจุบันซีลาแคนธ์ถูกจัดอยู่ในสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งยวด โดยเฉพาะถิ่นที่อยู่อาศัยในบริเวณนั้นถูกคุกคามจากการจับทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจซึ่งเมื่อถูกจับขึ้นมา จะถูกทิ้งไว้ทิ้งบริเวณผิวน้ำซึ่งปลาไม่สามารถกลับลงไปในระดับเดิมได้และตายลงในที่สุด อีกทั้งเชื่อว่าของเหลวในแกนสันหลังของปลาทำยาอายุวัฒนะได้ จึงถูกสั่งซื้อโดยประเทศจีน ไต้หวัน ปลามีราคาสูงถึง 500-2,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในตลาดจีน และ ไต้หวัน

    คาดว่าประชากรซีลาแคนธ์ที่เกาะ Grand Comoro มีจำนวนไม่ถึง 100 ตัว

    แต่อย่างไรก็ตามได้ซีลาแคนธ์ ถูกบรรจุอยู่ในบัญชี CITES อีกทั้งสมาคมนักอนุรักษ์ทั้งหลายก็พยายามอนุรักษ์ ปลาดึกดำบรรพ์นี้โดยขอร้องให้รัฐบาล Comoran ออกกฎหมายห้ามชาวประมงจับปลาน้ำลึกและให้ธนาคารโลกสนับสนุนโครงการติดตั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพใต้น้ำระยะไกลเพื่อจับภาพตามถ้ำที่ปลาซีลาแคนธ์ อาศัยอยู่เป็นวีดีโอสดๆให้นักท่องเที่ยวและนักวิทยาศาสตร์ได้ชมกันแทนที่จะไปดำด๔ตัวเป็นๆ?

    แต่ถึงแม้จะได้รับความคุ้มครองเพียงใด ซีลาแคนธ์ นั้น ก็ลดจำนวนเหลือน้อยลงไปทุกที สาเหตุเพราะ การลักลอบฆ่ามันเพื่อแลกกับเงิน 10,000-50,000 บาท ในขณะที่รายได้ต่อปีของประชากรชาว Comoran เพียง 10,000 บาทต่อปีเท่านั้น และการที่ชาวเกาะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นก็ทำให้การลักลอบจับซีลาแคนธ์ มีมากขึ้นตามไปด้วย

     

    หวังเป็นอย่างยิ่งว่าปลาซีลาแคนธ์คงจะดำเนินชีวิตอยู่ในท้องทะเลไปอีกนานแสนนานน่ะ......

     

    http://www.nicaonline.com/articles8/site/view_article.asp?idarticle=90

    http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=ancplanet&date=16-02-2007&group=2&gblog=2

    http://www.mythland.org/html/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=9+ +

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×