ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #379 : Yamishibai เรื่องเล่าผีญี่ปุ่น (ตอนที่ 2)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.65K
      0
      17 ก.พ. 59

    หลังจาก Yamishibai ภาคแรก ประสบความสำเร็จดี ไม่นานรักก็มีซีซั่นสองตามมาในชื่อYamishibai: Japanese Ghost Stories II (ฉายตอนแรก 6 กรกฎาคม 2014) เพียงแต่เปลี่ยนผู้กำกับ และเขียนบทเท่านั้น ส่วนเนื้อหาหลักยังคงมี 13 ตอน และยังคงเป็นการเล่านิทานของชายหน้ากากเหลืองอยู่

     

     

     

    โดยตอนทั้ง 13 ตอนมีดังต่อไปนี้

    ตอนที่ 1 “ทาโร่จัง” – เป็นเรื่องของตำรวจคนหนึ่งกำลังจะออกมาพูดเรื่องความปลอดภัยกับท้องถิ่นแก่คนในพื้นที่ แต่ออกมาพูดธรรมดาจึงน่าเบื่อ เขาเลยใช้วิธีเชิดหุ่น กับหุ่นเด็กผู้ชายชื่อ “ทาโร่-จัง” มาช่วย โดยหารู้ไม่ว่าหุ่นทาโร่จังนั้นไม่ธรรมดา

                    ตอนที่ 2 “ห้องครัว” –เป็นเรื่องราวของสาวนักศึกษาวิทยาลัยที่ได้รับเชิญไปทานอาหารที่อาร์ตเม้นต์ของเพื่อนคนหนึ่ง หากแต่ขณะที่เธอรออาหารอยู่นั้นเธอก็พบสิ่งประหลาดในห้องโดยไม่รู้ว่ามันคือตัวอะไรกันแน่....

                    ตอนที่ 3 “ข้างใน” – เป็นเรื่องราวของเด็กชายคนหนึ่งได้เก็บตุ๊กตาแม่ลูกรัสเซียแล้วเอากลับมาบ้าน หากแต่แม่เด็กเอาไปทิ้งเพราะสกปรก หากแต่วันต่อมาเธอก็พบว่าตุ๊กตายังอยู่ในบ้าน และเธอก็เริ่มสงสัยตุ๊กตาว่ามันคือตัวอะไรกันแน่

                    ตอนที่ 4 “กำแพงหญิงสาว”-เรื่องราวของนักศึกษาคนหนึ่งได้เห็นอะไรน่ากลัวที่นอกหน้าต่าง (เป็นตอนที่หลอนที่สุดในซีซั่น 2)

                    ตอนที่ 5 “ล็อคเกอร์” –สาวมัธยมคนหนึ่งแอบหลงรักชายหนุ่มคนหนึ่งในชมรมเบสบอล โดยไม่กล้าบอกรักเขา และอยากให้เขารักเธอ ต่อมาเธอได้ยินตำนานเมืองมาว่า “หากเอารูปคนที่เราแอบชอบไปให้ตุ๊กตาในล็อกเกอร์หยอดเหรียญในสถานีรถไฟใต้ดินจะสมหวังในความรัก” เธอเลยลองทำ โดยหารู้ไม่ว่ามันจะกลายเป็นเรื่องน่ากลัว

                    ตอนที่ 6  “นาโอะจัง” เรื่องราวของเด็กน้อยคนหนึ่งเล่าเรื่องเพื่อนใหม่ที่ชื่อ “นาโอะจัง” ให้พ่อแม่เขา เมื่อพ่อแม่สงสัยว่านาโอะจังคือใคร เด็กน้อยก็ชี้ไปที่เพดานของบ้าน แล้วบอกพ่อแม่ว่า “นาโอะจังอยู่นี้ไง”.....

                    ตอนที่ 7 “กาชาปอง” (เครื่องแคปซูสหยอดเหรียญ โดยของข้างในแคปซูสจะเป็นขนมหรือของเล่น) เรื่องราวของพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งขณะกลับบ้านด้วยความรู้สึกเหนื่อยและเบื่อจากที่ทำงาน ระหว่างทางเขาเห็นคนแก่คนหนึ่งกำลังเล่นกาชาปองโดยที่แคปซูสจำนวนมากกระจายเกลื่อนเต็มพื้น วันรชต่อมาด้วยความรู้สึกคาใจเขาเลยเล่นเครื่องกาชาปองเครื่องนี้ดู จนพบว่ามันไม่ใช่กาชาปองธรรมดา

                    ตอนที่ 8 “กล่าวลา” เป็นเรื่องราวของชายคนหนึ่งไปงานศพของญาติในชนบท ที่นั่นเขาก็พบพิธีศพแปลกๆ ที่ทุกคนในงานต้องบอกความลับแก่ผู้ตายเพื่อเป็นการบอกลา (เป็นตอนที่ฮ่ามากกว่า ขนลุก)

                    ตอนที่ 9 “โอมินิเอะซัง” เรื่องราวของครูแว่นที่ย้ายจากโตเกียวมาสอนให้เด็กในชนบท ที่ทุกอย่างล้วนดีไปหมด ยกเว้นสิ่งที่รับไม่ได้คืออาหารทิ้งถิ่นที่ชื่อ “โอมินิเอะซัง” มันรูปร่างก้อนๆ สีม่วงไม่น่ากินอย่างยิ่ง.....

                    ตอนที่ 10 “แมลงรังควาญ” เรื่องราวของชายวัยทำงานคนหนึ่งเขียนไดอารี่ ที่ส่วนใหญ่จะเล่าเรื่องแมลงรำคาญ

                    ตอนที่ 11 “เก็บได้” เป็นเรื่องของนักศึกษาชายคนหนึ่งได้เจอซองอะไรบางอย่างบนชั้นวางรถไฟ และเมื่อเปิดดูก็พบว่าเป็น “นิยาย” เรื่องหนึ่ง เขาเลยลองอ่านดู ปรากฏว่าอ่านเพลินจนมานั่งม้านั่งของสถานีชนบทที่ไหนก็ไม่รู้ ตอแรกๆ เขาก็แอบกลัก หากแต่เมื่อเขาพบป้ายประกาศรถไฟว่าจะมีการประกวดนิยาย ผู้ชนะจะได้เงินรางวัลสามล้านเยน เขาจึงส่งงานไป โดยไม่รู้ว่านั้นเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด

                    ตอนที่ 12 “หูห้อยกระเป๋า” (เนตสึเกะ) เรื่องราวนักศึกษาสาวคนหนึ่งได้ไปช่วยร้าขายของของคุณยาย แล้วเธอได้ขอของหนึงที่อยู่ในกล่อง มันหูห้อยประเป๋า (เนตสึเกะ) เธอจึงเอามาเป็นตุ้มหู โดยหารู้ไม่ง่าหูห้อยประเป๋านี้ไม่ธรรมดา

                    ตอนที่ 13 “ป๋องแป๊งรับแขก” – เรื่องของชายหญิงคู่หนึ่งย้ายจากในเมืองมาอยู่ชนบท และเมื่อทั้งคู่หมู่บ้านก็พบป๋องแป๊งที่ปักเรียงเป็นเส้นทาง โดยไม่รู้ว่าทำเพื่ออะไร



     

    แม้ว่า Yamishibai ซีซั่น 2 จะอยู่เรื่องผีๆ แต่หากเอาเข้าจริง เมื่อผมดูครบ 13 ตอน (ความจริงยังเหลือสองตอนที่ยังไม่ได้ดู) ก็พบว่าซีซั่นสอง จะมีความแตกต่างจากซีซั่นแรก และมีอะไรมากกว่าเรื่องผีหลอก

            อย่างไรแรกเลยที่เห็นได้ชัดว่า ซีซั่นสองนี้ มีตอนผีออกมาหลอกตุ้งชี่ เหมือนซีซั่นแรกน้อยมาก ที่เด่นๆ คือตอน ตอนที่ 4 “กำแพงหญิงสาว” ซึ่งการดำเนินเรื่องแบบผีหลอก เหมือนซีซั่นแรก ที่เริ่มต้นด้วยการนักศึกษาคนหนึ่งได้เห็นผู้หญิงคนหนึ่งในตึกตรงข้าม จากนั้นก็เรื่องก็ดำเนินไปเรื่อยๆ  จนพบว่าเธอไม่ใช่คน และเธอกำลังจะมาหาเขา จากนั้นก็เตรียมตัวเลยว่าผีจะออกมาตุ้งแช่เมื่อไหร่ ตามสูตร แม้ว่าจะสูตรสำเร็จ แต่ความสนุกมันอยู่ที่การเล่นสูตร “มันคือตัวอะไร” จากความสงสัย กลายเป็นความกลัว ความกดดันมากขึ้นเรื่อยๆ และตุ้งแช่ตอนจบ

                ความจริงแล้ว ซีซั่นนี้ ก็มีฉากผีออกมาตุ้งแช่ ออกมาหลอนคนหลายตอนอยู่เหมือนกัน แต่แทนที่จะทำให้คนดูรู้สึกหลอก รู้สึกกลัวจนนอนไม่หลับ  กลับกลายเป็นว่า สมองคนของดูตอบสนองด้วยการตั้งคำถามหลังดูจบแทนว่า “มันต้องการสื่ออะไร” ตลอดทั้งตอน

                 อย่างตอน 2 “ห้องครัว” สาวนักศึกษาวิทยาลัยที่พบสิ่งประหลาดในห้อง ที่ดูแล้วไม่ใช่ผี แม้ว่าสิ่งที่ว่าจะขยายใหญ่ และดูน่ากลัว หากแต่เมื่อถึงตอนจบแทนที่จะหลอน กลับตั้งคำถามว่า “มันต้องการอะไร” คำถามมันไม่เชิงว่าผีตนนั้นมันคืออะไร มีประวัติอะไร แม้ประเด็น “มันคืออะไร” ก็ถูกนำมาใช้ แต่ปัญหาคือมันขาดพลังความลุ้น ตื่นเต้น หรือการหักมุมตอนท้าย มันกลับเพิ่มความ งง ต่อคนดูมากกว่า ว่าสุดท้ายแล้ว  มันต้องการสื่ออะไรให้คนดู (พูดง่ายๆ ดูแล้ว งง ไม่รู้เรื่องนั้นเอง)


    ที่น่าสนใจคือ ซีซี่นนี้ผีดุน้อยลง....


    ที่น่าสนใจคือเรื่องนี้บางตอนออกไปทางตลกด้วยซ้ำ


    และที่น่าสนใจคือซีซั่นนี้ บางตอนผีไม่ปรากฏตัวตัวเลยแม้แต่เงา!?


    แล้วสรุปแล้วทิศทางการกำเนินเรื่องของซีซั่นสองคืออะไร?


    ผมพบกระทู้หนึ่งในเว็บพันทิป ได้วิเคราะห์ Yamishibai ซีซั่น 2 เอาไว้ว่าภาคนี้ ไม่ได้เน้นผีออกมาตุ้งแช่แล้วจบมุกเดิมๆ เหมือนภาคก่อน หากแต่ซีซั่น 2 นี้เป็นการนำเสนอความน่ากลัวในรูปแบบใหม่ คือการพยายามทำเรื่องน่ากลัวนั้นไม่ใช่เรื่องผีอย่างเดียว แต่ทำสิ่งน่ากลัวนั้นเป็นสิ่ง “มโนธรรม” เกี่ยวกับจิตใจของมนุษย์ พร้อมมีการสอดแทรกข้อคิดสอนแก่คนในสังคม ไม่ใช่สอนเรื่องบาปบุญคุณโทษอย่างเดียว

                  และนั้นเองทำให้ซีซั่นสองนำเสนอความน่ากลัวหลากหลายขึ้น

                 จะว่าไปสมัยนี้เขาก็ฮิตแนวแนวหนังผี มโนธรรม ที่บางเรื่องแทบไม่ปรากฏให้เห็นผีเลยสักตัว แต่เล่นจิตใจของมนุษย์ พร้อมกับตั้งคำถามว่าสิ่งที่พวกเขาเห็นนั้นแท้จริงแล้วมันเป็นเพียงคิดไปเอง หรือว่าเป็นผีตัวจริงกันแน่

    ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างภาพยนตร์ 1408 ห้องสุสานแตก ซึ่งตัวหนังแม้จะบอกว่าเป็นหนังผี แต่เอาเข้าจริงในเรื่อง เราแทบไม่เห็นผีตัวหลอกออกมาเลย หรืออกมาน้อยมาก (แถม...)  อีกทั้งถ้าตีความจริงๆ อีกว่า แท้จริงแล้วเรื่องนี้ไม่มีผี หากแต่เป็นจิตใจของตัวเอกของเรื่องที่ไม่สามารถยอมรับอดีตที่ปวดร้าวได้มันจึงเกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้นมา

    หรืออีกตัวอย่าง เช่น หนังไทยๆ ที่ตอนจบหักมุมอย่าง บอดี้ ศพ 19 ที่ชายหนุ่มคนหนึ่งที่ต้องเจอวิญญาณหลอกหลอน แต่เอาเข้าจริงในตอนจบก็เฉลยว่าสิ่งที่ชายหนุ่มคนนั้นเห็นนั้นไม่ใช่วิญญาณจริงๆ หากแต่มันเกิดจากอาการประสาทหลอน ความรู้สึกผิดในจิตใจมากกว่า

    ตีความ การเล่นกับจิตใจมนุษย์นั้น ปัจจุบันฮิตมากในสื่อบันเทิง การทำหนังผีหลอกออกมาตุ้งแช่อย่างสมัยก่อนนั้น มันไม่ได้สร้างความแปลกใหม่แก่คนดูอีกแล้ว แม้เนื้อหาจะตื่นเต้น สยอง แต่พอดูจบ ก็จบแล้วจบเลย มันไม่ได้ทำให้หนังเหล่านั้นน่าจดจำ จนต้องหยิบมาดูซ้ำอีก

    การเล่นมโนธรรมจิตใจมนุษย์นั้น ทำให้ตัวหนังเล่นกับคนดูมากขึ้น ต้องการให้คนดูคิด คิด ตีความเองว่า แท้จริงแล้วตัวหนังนั้นต้องการให้อะไรกับเรา ทำให้อินกับหนังมากขึ้น หนังดูมีคุณค่า และต้องดูหลายครั้งเพื่อเข้าใจมากขึ้น การตีความของนั้น ไม่มีผิด หรือถูก เพราะทุกอย่างเรื่องก็ไม่ได้เฉลย และยังอธิบายให้ชัดเจน ซึ่งตัวหนังจะโยนคำถามให้คนดูว่า “สาระของเรื่องอยู่ตรงไหน และเรื่องนี้สอนอะไรให้กับเรา”

    อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนัง หลายคนไม่ชอบหนังผีประเภทตีความมากนัก เพราะมันหนักสมอง อีกทั้งมันดูไม่รู้เรื่อง ดูแล้ว งง แทนที่จะสยองเข้าใจง่าย กลับกลายเป็นต้องมานั่งตีความให้ปวดหัวอีก

    Yamishibai ซีซั่น 2 จึงเป็นซีซั่นที่เราต้องตีความ ต้องคิดมากขึ้นกว่าซีซั่นแรก ไม่ใช่ดูผีตุ้งแช่แล้วจบ แต่เราต้องคิดว่าเรื่องนี้ให้อะไรกับเรา และมันต้องการสื่ออะไรกันแน่

    ยกตัวอย่าง ตอนที่ 1 “ทาโร่จัง” แม้พล็อตเนื้อเรื่องจะเป็นสูตรสำเร็จ ตำรวจได้หุ่นเชิดมือสอง ก็ตามสูตร หุ่นเชิดที่ว่ามีวิญญาณสิงสู่อยู่ เมื่อถึงเวลามันก็ขยับปากพูดเองเหมือนมีชีวิต

    อย่างไรก็ตาม ทาโร่จังกับไม่ได้สร้างความหลอนเหมือนโหดอย่างที่หลายคนคิด แม้ว่าทาโร่จะพูดเอง จ้อแบบไม่หยุดก็ตาม แต่สิ่งที่ทาโร่พูดนั้นทำให้เราได้หยุดคิด เพราะสิ่งที่ทาโร่พูดนั้นเหมือนจะพยายามจะแชร์ประสบการณ์ของตนเองที่ถึงแก่ความตายสมัยยังเป็นคน ซึ่งทาโร่บอกว่า “เขาชอบขับรถจักรยานเร็ว จนเกิดอุบัติเหตุจนตายตั้งแต่เด็กๆ”  ถือว่าเป็นการสร้างความน่ากลัวแบบเตือนสติที่ทำออกมามากกว่าผีออกมาตุ้งแช่อย่างเดียว

    อย่างไรก็ตาม ตอนที่ผมชอบมากที่สุดของซีซั่นนี้คือ “กาชาปอง” ซึ่งเป็นเรื่องราวของชายวัยทำงานที่พึ่งกลับจากทำงาน แล้วบ่นๆ ว่าวันนี้เหนื่อย ไม่อยากทำงาน แล้วมาเจอตู้กาชาประหลาดตู้หนึ่ง เขาเกิดสนใจจึงลองหยอดเหรียญเล่นดู แล้วสิ่งแรกที่กาซาออกมาคือ ยางลบรูปรถที่ถูกใช้งานแล้วอันหนึ่ง หากแต่ชายคนนั้นกลับจำได้ว่ามันเป็นยางลบที่เขาเคยทำหายตั้งแต่อดีต และเขาดีใจที่ได้เจอมันอีกครั้ง

    แทนที่ชายวัยทำงานจะแปลกใจ เขากลับหยอดเหรียญเปิดกาซ่าต่อไปเรื่อยๆ สิ่งที่กาซ่าออกมาก็ล้วนเป็นสิ่งชายวัยทำงานคิดถึงตั้งแต่อดีต ไม่ว่าเป็น สุนัขที่เขารักแต่ถูกเอาไปทิ้ง, เด็กผู้หญิงที่เป็นเพื่อนสมัยเด็กที่ย้ายบ้านโดยไม่บอกเขา ชายวัยกลางคนเห็นของเหล่านี้ก็ซาบซึ้งน้ำตาจะไหล แต่ในขณะเดียวกันเส้นผมชายวัยทำงานคนนั้นจู่ๆ ก็สีขาว และเข้าสู่วัยชรา ยิ่งเขาเปิดกาซ่ามากเท่าไหร่

    หากแต่เขาไม่สามารถหยุดความต้องการมันได้ เขาอยากรู้ว่ากาซ่าต่อไปจะเป็นอะไร และในขณะที่เขาจะหยอดเหรียญนั้นเองเขาก็หมดแรงแล้วเสียชีวิตหน้าตู้กาซ่านั้น

    แม้ว่าตอนนี้จะไม่มีผี แต่ก็น่ากลัว แล้วใช้แนวคิดตู้กาซ่าสูบพลังชีวิตของมนุษย์ ที่เราก็พบเห็นตามพล็อตทั่วๆ ไปมาใช้ แต่สิ่งหนึ่งที่น่าจะสอนเราเป็นอย่างดีว่า มนุษย์เรานั้นล้วนมีความทรงจำที่ดี หากแต่เมื่อเราโตมาเราอาจหลงลืมความทรงจำเหล่านั้นไป โดยเฉพาะความทรงจำในวัยเด็กถือว่าเป็นวัยที่ไม่ต้องคิดอะไร แค่สนุกไปวันๆ ดีกว่ามานั่งทำงาน

     อย่างไรก็ตาม บางคนอาจตีความตอนนี้ว่า “ชีวิตของคนเรานั้นสั้น ถ้ามัวแต่หลงไปกับอดีต มันก็ยิ่งทำให้อายุสั้นและตายเร็วไปอีก” อีกก็ได้

     นอกจากการสอดแทรกแง่คิดแล้ว ซีซั่นนี้ก็ยังมีการใส่เรื่องตลกร้ายๆ เข้าไปด้วย โดยการดำเนินเรื่องตอนแรกๆ ก็เริ่มจากสร้างบรรยากาศให้กดดัน ให้คนดูลุ้นว่าจะมีอะไรปรากฏออกมา ก่อนที่ตอนท้ายก็ระเบิดตูม ซึ่งนอกจากจะสยองขวัญแล้ว ยังทำให้รู้สึกตลก ขำตามไปด้วย

    อย่างตอน 8 “กล่าวลา” ซึ่งเป็นเรื่องของชายหนุ่มที่ไปงานศพคุณปู่ซึ่งเป็นญาติที่บ้านนอก และที่นั้นก็มีพิธีไว้อาลัยแบบแปลกๆ คือต้องกล่าวคำอาลัยบอกความลับกับศพ ซึ่งเหล่าผู้ร่วมงานต่างเผยความลับที่ตนปิดความลับไม่ให้ผู้ตายรู้ที่ละอย่าง ซึ่งศพของคุณปู่ก็ยังคงนอนตายสงบนิ่ง จนกระทั่งมาถึงตาชายหนุ่ม ซึ่งชายหนุ่มก็บอกความลับว่า “ผมฆ่าหมาของปู่เองครับ" เท่านี้แหละ ศพคุณปุ่ที่ได้ยิน ถึงกับลุงขึ้นมา แล้วตะโกนว่า “เฮ้ย!! จริงเรอะ!??????” (จบ) ถือว่าเป็นตอนที่สร้างบรรยากาศให้กดดัน สะดุ้ง และฮ่าตอนท้าย ตามสไตล์แบบผีๆ ได้อย่างน่าสนใจ

    มีหลายตอนที่ตลก แม้ว่าจะดำเนินเรื่องออกไปทางเชิงสยองขวัญ แต่ตอนท้ายออกไปชวนหัว แปลกๆ สักหน่อย เป็นต้นว่า ตอนที่ 5 “ล็อกเกอร์”, ตอนที่ 9 “โอมินิเอะซัง” ซึ่งมีอารมณ์แตกต่างจากเรื่องสยองของภาคแรก

    แม้ว่าหลายคนจะบ่นว่า Yami Shibai ซีซั่น 2 นั้นไม่หลอนเมื่อภาคแรก แต่สำหรับผมแล้ว ผมชอบภาคสอง มากกว่าภาคแรกด้วยซ้ำ เพราะได้เห็นสยองขวัญที่หลากหลายขึ้น ไม่ใช่มีแต่ผีออกมาตุ้งแช่อย่างเดียว มันเดาทางด้วยซ้ำ แต่ภาคสองนั้นมีหลายตอนที่ผมเดาทางไม่ได้ว่าจะเป็นยังไงต่อไป (แม้ลึกๆ แล้วจะรู้ก็เถอะ แต่เพราะการสร้างเรื่องราวขึ้นมาใหม่ ทำให้ความน่าติดตามมันออกมาเยอะกว่า) อีกทั้งไม่ได้เน้นผีอย่างเดียว แต่เล่นกับจิตใจของมนุษย์ บางตอนแฝงด้วยข้อคิด ปรัชญาชีวิต บางตอนก็ตลกแบบร้ายๆ บางตอนก็ออกไป

    อย่างไรก็ตาม ก็มีหลายตอนที่ผมดูแล้วไม่เข้าใจ ไม่เก็ต อย่างตอนที่ 13 “"ป๋องแป๋งต้อนรับ" (ซึ่งเป็นตอนที่ดูแล้ว งง ที่สุดในบรรดาตอนทั้งหมดของซีซั่น 2) กว่าจะเก็ตก็ต้องดูการวิเคราะห์ในบอร์ดพันทิปจึงเข้าใจว่าตอนนี้มันสื่ออะไร

     


    หลังจากYamishibai ซีซั่น 2 ฉายจบไป ไม่นานนัก Yamishibai ซีซั่น 3 ก็ตามมา (ฉายครั้งแรก 11 มกราคม 2016)

    ถ้าถามว่า Yamishibai ซีซั่น 3 แตกต่างจากซีซั่นแรก กับสอง ยังไงนั้น โดยส่วนตัว ซีซั่น 3 นั้นผีดุกว่าภาคแรกมาก และให้อารมณ์ตรงไปตรงมากว่าเดิม และไม่เน้นเสริมข้อคิดลึกซึ้งเหมือนซีซั่น 2 มากนัก และสิ่งที่แตกต่างคือชายหน้ากาเหลืองก็ไม่ได้เป็นเล่าเรื่อง เพราะเปลี่ยนเป็นเด็กชายคนหนึ่งที่สนามเด็กเล่นและร้องเพลงเด็กร้อง ว่า “เพื่อนจากฝั่งนั้น ข้ามฝั่งนี้สิ.... เพื่อนจากฝั่งนี้ ข้ามไปฝั่งนั้นซะ....” พร้อมกับวาดภาพสิ่งมีชีวิตรูปร่างประหลาดซึ่งปรากฏในตอนนั้นๆ แทน

    Yamishibai ซีซั่น 2 ยังคงเอามุกผีๆ ซีที่เราเห็นหนังผีบ่อยๆ คือ ประมาณว่า ขณะเรากำลังเดินอยู่ดีๆ ไปเจอสถานที่ไม่คุ้นเคยเข้า ดูยังไงก็ไม่น่าไว้วางใจ แต่ไม่รู้เพราะอะไร เราก็เข้าไปสถานที่น่ากลัวแห่งนั้น และสิ่งที่อยู่ข้างในนั้นพร้อมจะเอาชีวิตของเราก็ตาม

    ก็แปลกดี ที่มุกสยองขวัญประเภทนี้ มีให้เราเห็นบ่อยครั้ง ซึ่งแน่นอน หากเรามองก็คงมองว่าเป็นตัวละครที่โง่สิ้นดี รู้ทั้งรู้ว่าไม่น่าไว้วางใจ มันก็จะเข้าให้ได้ แต่ในอีกด้านหนึ่ง มันก็สื่อถึงความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ แม้ว่าสถานที่ว่ามันดูน่ากลัว ไม่น่าไว้วางใจแต่มันก็กระตุ้นให้เราอยากให้เข้าไปดูมากขึ้น ว่ามีอะไรอยู่ในนั้น

    ตอนที่ 1 “อุโมงค์ “-เรื่องราวชองชายสองคนกำลังขับรถเพื่อไปออนเซ็น หากแต่ระหว่างทางข้ามป่าเขานั้น น้ำมันรถจะหมด และระหว่างทางก็มีทางแยกสองทางระหว่าง ถนนอ้อมภูเขา และอุโมงค์ตัดภูเขาที่ไม่มีแผนที่ (ซึ่งดูแล้วไม่น่าวางใจเป็นอย่างยิ่ง) หากแต่ชายสองคนกลับเลือกอุโมงค์เพราะคิดว่าเป็นทางลัด และตามมุก ยังไม่ทันพ้นอุโมงค์ น้ำมันก็หมดพอดี และพวกเขาก็ถูกสิ่งมีชีวิตประหลาดจู่โจม.....

    ตอนที่ 2 “ขอยืมหน่อย”- เรื่องราวของชายคนหนึ่งกำลังเดินเส้นทางประจำ หากแต่ระหว่างทางเข้ากับพบโรงอาบน้ำสาธารณะที่เขาไม่เคยเห็นมาก่อน จึงเข้าไปใช้บริการ....

    ตอนที่ 3 “หนู” -เป็นเรื่องของเคนกับมาจิโกะ ย้ายเข้ามายังอพาร์ทเมนต์ราคาถูก หากแต่ห้องนั้นกลับเต็มไปด้วยหนู  มาจิโกะกลัวหนูมาก  แต่เคนก็ปลอบมาจิโกะว่ามันก็แค่หนู ทนๆ ไปเดี่ยวก็ชิน แล้วเคนก็ซื้อกรงดักหนูเข้าไว้ ต่อมาเคน ออกไปทำงานนอกบ้าน 2 วัน และเมื่อถึงเวลากลับบ้านเขาก็พบมาจิโกะเปลี่ยนไป....

    ตอนที่ 4 “ห้องพยาบาลที่เสียงดัง” -ชายคนหนึ่งชื่อ ไซโต้ ซึ่งเขาเข้าโรงพยาบาลเพื่อรอตรวจร่างกาย  ระหว่างอยู่ที่นั้นเขาก็ถูกพยาบาลเตือนเรื่องห้องปริศนาห้องหนึ่ง ซึ่งเป็นห้องที่เปิดแสงไปและมีเสียงหัวเราะ โดยนางพยาบาลเตือนว่า "อย่าไปเข้าใกล้ห้อนั้นเป็นอันขาด เพราะเป็นกฎของโรงพยาบาล" หากแต่ซาโต้ก็อยากรู้อยากเห็นเข้าห้องจนได้....

    ตอนที่ 5 “พิพิธภัณฑ์สตาฟ -คู่ชายหญิง กำลังไปเที่ยวเมืองหนึ่ง แต่อากาศไม่เป็นใจ จึงไปเที่ยว พิพิธภัณฑ์สตาฟเพื่อหลบฝน  ที่นั้นเต็มไปสัตว์ที่ถูกสตาฟหลายอย่าง แน่นอนว่ามันไม่ใช่สัตว์สตาฟธรรมดา

    ตอนที่ 6 “งานเทศกาลฝั่งโน้น” -เด็กสาวคนหนึ่งไปงานเทศกาลกับเพื่อนคนหนึ่ง เด็กสาวสองคนสนุกกับงานนี้มาก จนเด็กสาวพูดออกมา “ถ้าอยู่แบบนี้ตลอดไปก็ดีนะ” และทันใดนั้นเธอก็พบว่าตัวเธออยู่คนเดียว คนอื่นๆ หายไปหมด และเมื่อเธอตามหาคนอื่นก็พบว่างานเทศกาลเต็มไปด้วยภูตผี และสัตว์ประหลาด

    (ปล. ตอนที่เขียนบทความ ผมดูจนถึงตอนที่ 6 เป็นตอนล่าสุดพอดี ส่วนตอนอื่นๆ ไม่ขอเขียนนะครับ)

    ที่น่าสังเกตคือซีซั่นนี้  แม้จะดำเนินเรื่องเป็นเส้นตรงไป จนแทบเดาทางได้ แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่าคือภาคนี้ไม่ได้เน้นเรื่องผีสาวจากภาคแรก หรือสยองขวัญแบบเชิงนามธรรมแบบภาคสอง เพราะภาคสามนี้เน้นเรื่องอสูรกาย สัตว์ประหลาดมากขึ้น เป็นตอนว่าตอนที่ 1 “อุโมงค์” ก็เป็นสัตว์ประหลาดแมลงที่หน้ามนุษย์อยู่ส่วนต่างๆ (เช่นอยู่ที่ใบหน้า, เท้า เป็นต้น), ตอนที่ 2 “ขอยืมหน่อย” ก็เป็นสัตว์ประหลาดรูปร่างเหมือนผุ้หญิงถือกรรไกรแต่ปากใหญ่ หรือจะเป็นตอนที่ 6 “งานเทศกาลฝั่งโน้นที่เด็กสาวหลงมางานเทศกาลที่เต็มไปด้วยสัตว์ประหลาดรูปร่างพิลึกมากมาย (อารมณ์เหมือนการ์ตูนจิบบิเรื่องหนึ่ง)

    ไม่รู้ว่าทีมงานยังคงอารมณ์ค้างจากอนิเมะ Kagewani บันทึกของโซสุเกะก่อนหน้าหรือเปล่าทำให้อนิเมะซีซั่นสามนี้มีอารมณ์อสูรกายเข้ามาเต็มๆ เลย

    จากกะทู้หนึ่งพันทิปได้วิเคราะห์ว่าสัตว์ประหลาดแต่ละตอนไม่ได้วาดเอาส่งๆ แต่ตัวตนของสัตว์ประหลาดเท่านั้นคืออีกด้านของมนุษย์ ซึ้งก็แล้วแต่คุณที่จะต้องตีความเอาเอง

    สรุปได้ว่า Yamishibai แต่ละซีซั่นดำเนินเรื่องแตกต่างกันออกไป แต่กระนั้นจุดสำคัญก็ยังคงอยู่ที่การสร้างเรื่องสยองขวัญที่ดำเนินเรื่องไม่กี่นาที ซึ่งทำยังไงให้ออกมาให้คนดูรู้สึกกลัวมากที่สุด ภายใต้กราฟฟิกที่ตัวละครกระดาษแบนๆ เคลื่อนไหวแข็งๆ แต่กระนั้นด้วยบรรยากาศ ด้วยเสียงประกอบ ก็ทำให้น่าติดตามพอสมควร ซึ่งแต่ละตอนก็มีความชอบแตกต่างกันออกไป






    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×