ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #26 : Sayonara Zetsubou Sensei มองญี่ปุ่นในแง่ร้ายจะเป็นไรไป

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 14.6K
      11
      11 ก.ค. 60


                    ผมว่านะทุกสิ่งบนโลกนี้ มีสิ่งดีและไม่ดีปะปนกันไป  ไม่มีที่ไหนสมบูรณ์แบบเต็มร้อยหรอก

     

    ซาโยนาระคุณครูผู้สิ้นหวัง

    Sayonara Zetsubou Sensei

    วิบูลย์กิจ

     

                    ซาโยนาระคุณครูผู้สิ้นหวัง (Sayonara Zetsubou Sensei) เป็นการ์ตูนมุกฮาๆ ที่เสียดสีสังคมของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแนวถนัดของนักเขียน Kohji Kumeta ที่ก่อนหน้านี้เขาเคยเขียนการ์ตูนเรื่องพระเจ้าจอร์ดมันยอดมากฯ ของสำนักพิมพ์บูรพัฒน์มาแล้ว(23 เล่มยังไม่จบ)

                    หลายๆ คนคงคิดว่า  พระเจ้าจอร์ดมันยอดมากฯ คือผลงานแรกของนักเขียนคนนี้ใช่หรือเปล่า คำตอบคือไม่ใช้ การ์ตูนเรื่องแรกของเขานั้นคือเรื่อง Go!! Southern Ice Hockey Club(1991-1996 มี 23 เล่มจบ) ก็แนวขายมุกเหมือนกัน เพียงแต่มันมีการดำเนินเรื่องแบบดราม่านิดๆ

                    จุดเด่นของการ์ตูนของ Kohji Kumeta จะเป็นการ์ตูนขายมุก ที่ล้อทุกอย่างเกี่ยวกับญี่ปุ่น ที่บางอันก็แรงมาก บางอันก็บั่นทอนปัญญา หรือบางอันอาจ งง ในสายตาของชาวไทย เพราะบางเรื่องก็ล้อเรื่องการเมืองญี่ปุ่น คดีญี่ปุ่นดาราญี่ปุ่น การ์ตูนของญี่ปุ่น นักกีฬาญี่ปุ่น โฆษณาญี่ปุ่น เกมญี่ปุ่น บางอันก็สมัยใหม่ บางอันก็เก่าจัดสมัยรุ่นพ่อรุ่นแม่ อย่าง อังปังแมนเดี๋ยวนี้เด็กจะเข้าใจสักกี่คน ขนาดเด็กญี่ปุ่นบางคนยังไม่รู้เลย ทำให้การ์ตูนเรื่องนี้เต็มไปด้วยหมายเหตุเมื่อนำมาแปลไทย

                    ดังนั้นคนที่อ่านการ์ตูนของ Kohji Kumeta นั้นต้องมีเลเวลสูงๆ รู้เรื่องญี่ปุ่นชนิดแฟนพันธุ์แท้ และต้องเก่งเรื่องการ์ตูน, เกมส์, ดารา. คอมพิวเตอร์, จิตวิทยา เรียกได้ว่าศาสตร์ต่างๆ ทั้งหมดบนโลกใบนี้ถึงจะอ่านการ์ตูนเรื่องนี้รู้เรื่อง(ว่าไปนั้น) ขนาดผมอ่านยังไม่เข้าใจหลายมุกเลย

                    ไม่แนะนำให้อ่านภาษาอังกฤษ อย่างยิ่ง เพราะยิ่งอ่านยิ่ง งง (ขนาดภาษาไทยยังอ่าน งง แปลจะขนาดไหน)

                    ลายเส้นของ Kohji Kumeta ขอบอกว่าน่ารักมากๆ วาดแบบง่ายๆ แต่น่ารักสุด ไม่ว่าจะเป็นตัวละครชายหรือหญิง แม้เรื่อง Kong ตัวละครจะผอมๆ แบนๆ และไร้เอกลักษณ์ แต่สองเรื่องต่อมาคือพระเจ้าจอร์ดฯ ซาโยนาระ นั้นดูเหมือนคนเขียนจะพัฒนาขึ้น ทำให้ตัวละครออกมาน่ารักสุดๆ และมีลักษณะไม่เหมือนใครเลยจริงๆ

                    ส่วนเรื่องราวการ์ตูนนี้เป็นเรื่องราวของอาจารย์โรงเรียนมัธยมอิโตะชิคิ โมโซมุ(Itoshiki NozomuX ผู้มองโลกในแง่ร้ายจนสุดโต่งแถมโปรดปรานการฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องความสนใจเป็นที่สุด เขาจะต้องมาสู้รบปรบมือกับชั้นเรียนที่ไม่ธรรมดา เพราะเป็นแหล่งชุมนุมของเหล่านักเรียนเพี้ยนๆบ้าๆระดับ MAX  เป็นหน้าที่ของเขาที่ต้องช่วยแก้ปัญหาให้กับเด็กพวกนี้ ที่ดูเหมือนว่ากับเพิ่มปัญหาให้เด็กมากกว่า แล้วแบบนี้จะไปรอดถึงฝั่งไหมนี้ โปรดติดตามเอาเองเถอะ

                     นอกจากนี้ยังมีอมิเนชั่นด้วย 12 จบ(ไม่มีทางเข้าไทย) ขอบอกว่าภาพสวยมากๆ ส่งผลให้โคจิ คุเมตะได้รับราวัลหนังสือการ์ตูนยอดเยี่ยมของโคดันฉะ สาขาการ์ตูนผู้ชายประจำปี นอกจากนี้ยังมีอมิเนชั่นด้วย 12 จบ(ไม่มีทางเข้าไทย) ขอบอกว่าภาพสวยมากๆ ส่งผลให้โคจิ คุเมตะได้รับราวัลหนังสือการ์ตูนยอดเยี่ยมของโคดันฉะ สาขาการ์ตูนผู้ชายประจำปี

                    และเชื่อหรือไม่ว่ามีการ์ตูนเรื่องนี้แบบโดจินโป๊!!

                    
                    หลังจากที่อ่าน พูดตามตรงนะผมชอบพระเจ้าจอร์ดฯ มากกว่าซาโยนาระ

                    โอเค ซาโยนาระนั้นดังกว่าพระเจ้าจอร์ด แต่มุกส่วนใหญ่จะเน้นสังคมญี่ปุ่น เสียดสีเรื่องญี่ปุ่น ตัวละครเยอะกว่า น่ารักกว่า แต่ยังไงผมก็ชอบพระเจ้าจอร์ด(ติดในหนึ่งการ์ตูนสุดห่วง 1 ใน 10)

                    เหตุผลง่ายๆ คือ เรื่องพระเจ้าจอร์ดนั้น ตัวละครน้อยกว่า(ชื่อจำง่าย), เนื้อหาแรงกว่า, ดังน้อยกว่า(ในไทย) สากลมากกว่า และตัวละครหลุดโลกมากกว่า และนางเอก(มั้ง)ที่ชื่ออุมิน่ารักและนิสัยโรคจิตกว่าเหล่าสาวๆ ในเรื่องซาโยนาระมาก เรื่องพระเจ้าจอร์ดเน้นจิตวิทยามากกว่า จะมีบางมุกบ้างที่เกี่ยวกับญี่ปุ่น แต่ละเรื่องนั้นโดนใจผมมาก และผมก็ได้นำมุกนี้มาใช้ชีวิตจริงๆ ผมด้วย(ติดตามในเรื่องพระเจ้าจอร์ดฯ ตอนหน้า)

                    สิ่งที่ขาดในเรื่องซาโยนาระคือตัวละครอย่างจินตัน ซึ่งเป็นตัวละครในพระเจ้าจอร์ด ที่เป็นศูนย์รวมของนิสัยที่ไม่ดีของญี่ปุ่นทั้งหมด และเป็นด้านที่อ่อนแอในตัวมนุษย์ แต่ในเรื่องพระเจ้าจอร์ดไม่มีตัวละครแบบนี้ ไม่มีตัวโกง ไม่มีตัวอิจฉา จะมีบางก็เด็กหัวเถิงนาม(นามอะไรหว่า) ที่ตัวตนเขาค่อนข้างเบาบาง และเน้นมุกเกี่ยวกับหัวล้านเท่านั้น(จิตันก็เล่นมุกนี้) ไม่ค่อยเด่น ตลกเท่านัก(สำหรับผม)

                    ในขณะที่เรื่องซาโยนาระได้เอาสิ่งที่ไม่ดีของคนญี่ปุ่นไปกระจายตัวไปในตัวละครของแต่ละคน ไม่ได้รวมไว้ที่ตัวคนใดใดหนึ่งอีกต่อไป

                    ใช่แล้วตัวละครในเรื่องนั้นคือ ตัวแทนในเรื่องนิสัยที่ไม่ดีของญี่ปุ่น นอกจากมุขตลกร้ายที่เป็นจุดขายสำคัญของเรื่อง(พระเจ้าจอร์ดมุกร้ายกาจกว่า)  ยังตัวละครที่ไม่ธรรมดาตั้งแต่ชื่อยันนิสัยที่เอกลักษณ์ที่จะแนะนำให้รู้จักกันสักหน่อย

                    
                    เริ่มจากพระเอกของเรื่อง อิโตะชิคิ โนโซมุ พระเอกของเรื่องเป็นอาจารย์ประจำชั้น หล่อและรวย แต่มองโลกในแง่ร้ายสุด และชอบพูดว่า “สิ้นหวังแล้ว” และชอบผูกคอตาย(แต่ก็ไม่สำเร็จสักที) และมักมีนิสัยประหลาดๆ ชอบใส่ชุดประจำชาติญี่ปุ่น(เขาเรียกชุดอะไร ใครก็ได้บอกผมที)ไม่ว่าจะอยู่ในชั้นเรียนหรือที่บ้านก็ใส่ชุดนี้ตลอด แต่พออยู่บ้านเกิดกลับกลายเป็นว่าแต่งชุดวัยรุ่นจ๋า

                    แน่นอนตัวละครนี้มาจากนิสัยไม่ดีของญี่ปุ่นคือผู้ที่ชอบฆ่าตัวตาย เห็นเรื่องการตายคือการหนีปัญหา หลักฐานคือชื่อและนามสกุลของเขาถ้านำมาเขียนรวมกันจะเป็นคำว่า เซ็ทสึโบ แปลว่าความสิ้นหวัง เดี๋ยวนี้เรามักเห็นญี่ปุ่นมีข่าวเรื่องการฆ่าตัวตายปล่อยๆ ด้วยสาเหตุเริ่มไร้สาระขึ้นเหมือนพระเอก เช่นคะแนนสอบห่วย, โดนไล่ออก, เบื่อโลก, เงินหมด บางครั้งก็ไม่ตายเปล่าแต่ลากคนอื่นนำมาร่วมตายด้วย สำหรับเรื่องฆ๋าตัวตายนั้นผมเล่าหมดแล้วในการ์ตูน “ฮานาโกะกับเรื่องขนหัวลุก” จึงไม่ขอพูดอีก

                    
                    ฟุอระ คะฟุกะ
    (นามปากกา?) เด็กหญิงลึกลับผู้ไม่เปิดเผยชื่อจริง เธอเป็นคนมองโลกในแง่ดีมากจนน่ากลัว เช่นขนาดมองการผูกคอตายเป็นการเพิ่มความสูงตอนแรกก็นึกว่าเป็นนางเอก แต่หลังๆ เริ่มไม่แน่ใจเพราะว่าบทบาทของเธอน้อยเหลือเกินจนน่าตกใจ และเริ่มกลายเป็นคนน่ากลัวคือมองโลกนี้เหมือนไม่มีค่า ทำร้ายจิตใจคนอื่นอย่างหน้าตาเฉย หรือเลือดเย็นราวกับน้ำแข็ง(มีคนเขียนว่าชื่อของเธอนั้นมาจาก นิยายชาวยิวชื่อ Franz Kafka)

                    ฟุอระ คะฟุกะ เป็นตัวแทนโลกหนีความจริงและวัฏจักรการกู้หนี้ยืมสิ้นของคนญี่ปุ่น ถ้าเราอ่านหลายๆ เล่ม เราจะพบเธออยู่ในครอบครัวที่ตกเป็นหนี้เงินกู้นอกระบบ โดนยากูซ่าทวงหนี้อย่างร้ายกาจ บางเรื่องเราอาจได้ยินเธอเปลื่อยๆ เรื่องการฆ่าตัวตายครอบครัว (ในการ์ตูนโป๊โดจินมีฉากยากูซ่าข่มขืนเธอ)

                    
                     คัทสึ จิริ สาวน้อยที่ยึดติดแต่เรื่องละเอียดอ่อนและความถูกต้องพิถีพิถัน(เกินไป) จนเหมือนหัวหน้าห้อง(ทั้งๆ ที่ไม่ใช่) ไว้ส่งผลแสกกลาง และมีนิสัยหลุดๆ เป็นฆาตกรโหดเหมือนอุมิ(แต่อุมิโหดกว่า) ชื่อของเธอมาจากคำแผลงว่า  
    kicchiri หมายความว่า "ถูกต้องตรงเผง"

                    คัทสึ จิริ เป็นคนที่มีบทออกมามากที่สุด และดูเหมือนคนเขียนพยายามให้เธอเป็นเหมือนอุมิ แต่สำหรับผมแล้วอุมินั้นหลุดโลกกว่าเด็กคนนี้มาก แน่นอนเธอเป็นตัวแทนของสังคมที่ระเบียบเคร่งครัด(ชนิดสุดโด่ง)ของญี่ปุ่น สังคมที่มีประเพณีที่เคร่งครัด โบราณ ซึ่งแน่นอนญี่ปุ่นภูมิใจกับสิ่งนั้นมาก แต่ดูเหมือนว่าวัยรุ่นปัจจุบันจะมองความเคร่งครัดว่าเป็นพวกหัวโบราณ(มีหลายๆ ฉากที่เพื่อนๆ ในห้องแอบด่า คัทสึ จิริ)

                    
                  โคโมริ สาวน้อยฮิคิโมริ น่ารักมากๆ แต่บทบาทของเธอมันช่างน้อยเหลือจะกล่าว น่าเสียดายจัง ชื่อของเธอเขียนได้อีกแบบ
    แปลว่าขังตัวเองอยู่ในห้อง)

                    แน่นอนโคโมริคือตัวแทนของคนเป็นโรคฮิคิโมริ โรคจิตเฉพาะที่มีอยู่ญี่ปุ่นที่เดียวการเกิดขึ้นของฮิคิโคโมริมาจากความตึงเครียดในสังคม โดยเฉพาะในโรงเรียน ที่มีการแข่งขันกันสูง การแก่งแย่งชิงดีที่ผู้แพ้เป็นคนที่ไม่มีค่า ทำให้เด็กจำนวนมากต้องถูกรังแกและเกิดการต่อต้านสังคม จึงเลิกไปโรงเรียนโดยเด็ดขาด และขังตัวเองไว้ในห้องนอน โดยแทบจะไม่ได้ออกมาจากห้องเลย เวลากินก็จะกินตอนดึกๆที่คนอื่นนอนไปแล้ว เรียกว่าตัดขาดจากทุกอย่างจนเหลือที่ๆปลอดภัยที่สุดสำหรับตัวเองคือห้องนอน

                    
                    โอโตะนาชิ เมรุ (นามสกุล แปลว่า
    "ไม่มีเสียง") สาวน้อยเตี้ย น่ารัก แต่ไม่ค่อยพูดจา(คือไม่พูดเลยว่างั้นเถอะ) เวลาจะพูดสื่อสารคนอื่นเธอจะ ส่งเมลทางโทรศัพท์มือถือ แต่เมลที่เธอส่งมันนรกมาก คือด่าจัด หยาบ เหยียดยาม และพูดประชดประชัน จนไม่น่าเชื่อว่าผู้ส่งเมลจะเป็นเด็กน่ารักแบบนี้

                    ผมไม่รู้ว่าสาเหตุอะไรทำไมเธอถึงไม่พูด บางทีอาจจะมีปัญหาเรื่องอดีต จากบางตอนจะเห็นว่าเธอมีปัญหาเกี่ยวกับการคบเพื่อน  บางทีแล้วปากของเธออาจจัดไม่แพ้เมล์ก็ได้นะ เธอเป็นตัวแทนของ(อะไรดีละ)โรคเสพย์มือถือก็ไม่ใช้ คงจะเป็นเมล์ละมั้ง ที่เป็นวีถีชีวิตหนึ่งของญี่ปุ่นไปแล้ว ผมได้ยินเรื่องเกี่ยวกับญี่ปุ่นว่าเวลาเพื่อนตอบเมล์ช้าถึงขั้นเลิกคบเลยนะ แสดงให้เห็นว่าสังคมการคบเพื่อนของญี่ปุ่นละเอียดอ่อนกว่าไทยมาก

                    
                     เซคิอุทสึ มาเรีย ทาโร่ เด็กประถมแต่มาเรียนมัธยมปลาย ชาวต่างด้าวที่ลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย และเธอซื้อตัวตนจาก เซคิอุทสึ ทาโร่ ตัวจริงซึ่งเคยเป็นนักเรียนในชั้นมาก่อน บทของเธอออกมาเยอะและบ่อยๆ เนื่องจากคนเขียนชอบล้อมุกเรื่องชาวต่างด้าวอ่ะนะ ส่วนชื่อ “เซคิอุทสึ ทาโร่” ถ้าเปลี่ยนเสียง
    tsu เป็นเสียงควบจะเป็น Sekiuttarou แปลว่า จะขายชื่อตัวเอง(ผมดูของเขามาอีกที มันเขียนไงไม่รู้ ไม่เข้าใจเหมือนกัน) ส่วนชื่อเล่น Mataro ของมาเรียมาจากการ์ตูนเรื่องหนึ่งของฟูจิโกะ(A) ชื่อ Mataro ga Kuru!!

                    แน่นอนมาเรียเป็นตัวแทนของผู้ลักลอบเข้าญี่ปุ่นอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งตามกฎหมายญี่ปุ่นนั้นค่อนข้างจำกัดแรงงานต่างชาตินะครับ แรงกว่าของไทยมาก ใครที่ให้ชาวต่างชาติทำงานนี้ถือว่าผิดกฎหมายเลย(ส่วนมากแรงงานชาวต่างด้าวจะทำพวกอุตสาหกรรมรถ) แต่ก็อย่างที่เห็นในตัวละครที่ชื่อมาเรีย เราได้เห็นชีวิตแรงงานต่างด้าวเถื่อนในญี่ปุ่นอย่างดีเลย แม้เธอจะยิ้มแย้ม ร่าเริงตลอดเวลา แต่ลึกๆ แล้วชีวิตเธอน่าสงสารไม่เปล่า ประเทศบ้านเกิดเกิดสงคราม ประเทศของมาเรียผมเดาว่าน่าจะเป็นฟิลิปปินส์ เพราะประเทศนี้มีแรงงานเถื่อนในญี่ปุ่นมากที่สุด(ผมเดาเอา) เธอเลยมาอยู่ญี่ปุ่นเอาดาบหน้าดีกว่ามาตายในบ้านเกิดตัวเอง

                    แล้วฟิลิปปินส์นั้นเกิดสงครามเหรอ คำตอบคือ เกิดประเทศฟิลปปินส์เป็นเป็นประเทศที่มีหมู่เกาะหลายเกาะ ทำให้การกระจายอำนาจไม่ทั่วถึง จนเกิดกลุ่มก่อการร้ายและกลุ่มแบ่งแยกดินแดนหลายกลุ่มที่พร้อมจะสร้างปัญหาแก่ชาวบ้าน และเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาของประเทศฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน เช่น JI , ชนส่วนน้อยโมโร,กบฎอาบู ซายาฟ(ดาบของพระเจ้า), กองทัพประชาชนใหม่ (กบฎคอมมิวนิสต์) จนประเทศนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีกลุ่มก่อการร้ายมากที่สุดในโลก

                    เราจะเห็นสภาพความเป็นอยู่ของมาเรีย เธออาศัยอยู่กับแรงงานต่างด้าวที่มีอยู่หลายคน ในห้องแคบๆ ที่มีแต่ทีวีเครื่องเดียว อันเนื่องจากค่าครองชีพของญี่ปุ่นสูงเกินกว่าแรงงานต่างด้าวพวกนี้จะรับมือไหว

                    ความจริง ประเทศพัฒนาแล้วจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าวระดับล่างอยู่มาก ญี่ปุ่นก็เช่นกันสังคมที่นั้นเป็นสังคมของผู้สูงอายุ ในขณะที่อัตราการเกิดในประเทศอยู่ในระดับต่ำ จึงจำเป็นจะต้องอาศัยแรงงานต่างด้าวมาคอยให้บริการแก่ประชาชน เพื่อทดแทนหนุ่มสาววัยทำงานที่ขาดแคลน จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ทั้งรัฐบาลและสังคมญี่ปุ่นกลับกีดกันแรงงานต่างด้าวระดับล่างที่ไร้ทักษะ แรงงานต่างด้าวผิวเข้มจากบังคลาเทศ เนปาล ฯลฯ หรือแรงงานจากจีน ทำให้มักได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม  แต่แรงงานต่างด้าวก็ยังมาที่ญี่ปุ่น แม้งานจะหนักและน่ารังเกียจ แต่ก็ยังตกงานในประเทศของตนเอง และรายได้ที่ตนสามารถเก็บหอมรอบริบได้แม้จะเล็กน้อยแต่ก็สามารถส่งไปเลี้ยงดูครอบครัวที่ประเทศบ้านเกิดได้ สามารถส่งเสียให้ลูกเรียน ปลูกบ้านใหม่ให้พ่อแม่ (http://www.itd.or.th/th/node/438/print)

                    
                    โคะบุซิ อามิรุ นักเรียนหญิงผู้คลั่งไคล้"หาง"ระดับเข้าเส้นเลือด และชอบมีบาดแผลเป็นประจำเพราะชอบไปดึงหางสัตว์ที่สวนสัตว์อยู่เป็นประจำ จนหลายๆ คนคิดว่าเธอถูกซ้อมโดยคนครอบครัว  ชื่อของเธอเขียนอีกแบบว่า
    Kobushi abiru แปลคร่าวๆว่า โดนยำเละ เป็นอีกคนที่มีบทน้อย แต่ในโดจินโป๊มีเรื่องเธอมากกว่าครึ่ง!!(คนกับสัตว์!!)

                    จะเปรียบเธอเป็นตัวแทนอะไรดีละ โอตากุหรือความรุนแรงในครอบครัวดี ช่างเถอะ แต่สิ่งที่ผมเห็นในตัว โคะบุซิ อามิรุคือดูเหมือนพ่อของเธอไม่ค่อยสนใจเธอมากนัก ขนาดลูกสาวเป็นโรคจิต มีบาดแผล ไม่ยักเป็นห่วง

                    
                    ฟูจิโยชิ ฮารุมิ สาวแว่น ตัวตบมุก เป็น โอตาคุสาย Yaoi เต็มขั้น นามสกุลเธอแผลงได้เป็น Fujoshiหมายถึง แฟนการ์ตูนยาโอยหญิง มีบทค่อนข้างเยอะและมักเป็นตัวรองรับอารมณ์ร้ายๆ ของคิทสึ จิริเสมอ เธอเปรียบเสมือนตัวแทนโอตาคุ(ผ่านๆ)

                   
                     
    ฮิโต นามิ  สาวน้อยปกติ ธรรมดา ไม่มีจุดเด่น จืดจางจนคนดูลืมหน้าได้ง่ายๆ แต่บทของเธอดันออกมาเยอะผิดคาด

                    
                    สึเนะสึคิ นาโตอิ
    เด็กสาวนัก stalk (สทอลคฺ) ชื่อเธอเขียนได้อีกอย่างว่า “ตามติดไม่ยอมปล่อย”ตอนแรกตามติดแฟนตลอด 24 ชั่วโมงแบบแทบหายใจรดต้นคอ แต่มาตอนหลังหันมาตามติดพระเอกแทน

                    สิ่งที่ผมรู้จากตัวละครนี้คือ “ผมเข้าใจผิดมาตั้งนาน” ตอนแรกผมคือว่า สโตรคเกอร์ ซึ่งหมายถึงนักโรคจิตที่ชอบตามติดคนอื่นตลอดเวลาไม่ว่าเป็นเวลาเช้าหรือเย็น แต่ความจริงแล้วถ้าเกิดเรามาดูพจนานุกรมคำว่า สโตรคเกอร์ มาจากคำว่า stroker(สโทรคเกอร์ แปลได้ว่าผู้ลูบไล้ นักลูบไล้

                    ไม่เกี่ยวกับตามติดเลยสักนิด!!

                    คำที่ถูกต้องสำหรับนักตามติดคือ คำว่า stalk ซึ่งหมายถึงสะกดรอยตาม เหมือนอย่างเช่นพวกสายลับ นักสืบ หรือจะเป็นแบบการล่าตามเหยื่อที่เป็นสัตว์ก็ได้ โดยคำนี้ถ้าเขียนเป็นภาษาไทยจะเป็น สตอล์คเกอร์

                    แต่ทำไมคำว่า สโตรคเกอร์ จึงเป็นคำที่ใช้ในการ์ตูนญี่ปุ่นก็อันเนื่องมากจากเวลาเขียนเป็นตัว Katakana แบบญี่ปุ่น จะเป็น  SU-TO-RU-KA ซึ่ง stroker และ stalker นั้นมีออกเสียงเหมือนๆ กัน บวกกับคำว่า สโตรเกอร์ คือนักซุ่มประเภทหนึ่ง เป็นพวกที่คอยซุ่มติดตามเป้าหมายหนึ่งๆในระยะตามติดแต่เป้าหมายไม่รู้ตัว ซึ่งจะใช้เรียกเหมารวมไม่ว่าจะตามติดด้วยเหตุผลใด เช่นคลั่งไคล้ ถูกจ้างเป็นบอดี้การ์ดจากบุคคลที่3 หรือแม้กระทั่งลอบฆ่า ปาปาราซซี่ก็ถือว่าเป็นสโตรเกอร์ประเภทหนึ่งดังนั้นผู้แปลการ์ตูนญี่ปุ่นจะใช้ภาษาไทยทับศัพท์ไปว่า สโตรกเกอร์

                   

                    คิมุระ คาเอเระ และเคเอดะ นักเรียนสาว 2 บุคลิก (bipolar) ซึ่งเกิดจากอาการ culture shock เธอจึงมีบุคลิกซ้อนกัน 2 แบบระหว่างคิมุระ หญิงมั่นตะวันตกจ๋า มีเรื่องนิดหน่อยก็จะฟ้องศาลท่าเดียว แถมไม่ชอบอะไรของญี่ปุ่นเสียเลย และมักมีฝากเปิดกระโปรงให้กางเกงในเกือบทุกฉาก แต่น่าเสียดายบทเธอออกมาน้อยเหลือเกิน ส่วนบุคลิกที่สองคือเคเอดะเป็น กุลสตรีญี่ปุ่นจ๋า มารยาทเรียบร้อย เรียกได้ว่าตรงข้ามกับคิมุระทุกรูปแบบฆในการ์ตูนโป๊เธอจะออกมาแบบหน้าอกใหญ่มโหราฬ)

                    รู้สึกว่าเทรนคนสองบุคลิกนั้นจะมาแรง การ์ตูนญี่ปุ่นเกือบทุกเรื่องก็ต้องมีตัวละครแบบนี้เกือบทุกตัว ทั้งๆ ที่คนสองบุคลิกนั้นเกิดขึ้นยากมาก ในสมัยก่อนคนญี่ปุ่นเชื่อว่าอาการทางจิตแบบนี้คือถูกจิ้งจอกสิงหรือโดนผีร้ายสิง คนบุคลิก 2 นั้นจะแตกต่างกันไปจากบุคลิกเดิมคือนิสัยและภาษาที่ใช่ ความสามารถพิเศษและเพศ จนไม่เชื่อว่าเป็นคนเดียวกัน เชื่อว่าอาการแบบนี้อาจมีสาเหตุจากความเครียด วัยเด็กที่ถูกทำร้าย หรือเจอเหตุการณ์หวาดกลัวจนจิตใจรับไม่ได้ จึงได้สร่งบุคลิกที่สามารถทนต่อสิ่งเหล่านั้น ได้ขึ้นมาแล้วซ่อนตัวตนเดิมไว้ เมื่อใดที่เกิดเหตุร้ายขึ้นบุคลิกนั้นจะปรากฏซ้ำ

                    แต่โรคนี้ไม่ใช้โรคจิตเภทแน่นอน

                    นอกจากนั้นยังมีตัวละครสมทบเพียบ และมีตัวละครที่ผมชอบเยอะ แต่บทบาทออกมาน้อยเหลือเกิน เช่น มิทะมะ มะโย(สาวตาดุน่ารัก), คางะ ไอ(สาวที่เอาแต่ขอโทษ) คุโด จุน(นักอ่านหนังสือ) และครอบครัวของพระเอกที่บ้าไม่แพ้นักเรียน

                    หลายๆ คนมักพูดว่าการ์ตูนเรื่องนี้มีมุกบั่นทอนปัญญา แต่ผมไม่คิดเลยว่ามันบั่นทอนสักนิดครับ มุกที่เขาเอามาเสนอนั้นเป็นเรื่องจริงและตลกร้ายมาก บางอันก็แฝงเรื่องจิตวิทยา

                    
                     อย่างที่ผมขึ้นต้นไว้ “มองญี่ปุ่นด้านไม่ดีบ้างจะเป็นไรไป”

                    ในที่สุดก็เข้าเรื่องเสียที เออ........พวกเรามักมองญี่ปุ่นเป็นอย่างบ้างครับ ในสมัยก่อนเรารู้จักญี่ปุ่นในฐานะประเทศที่ทันสมัย ผู้คนขยันทำงานอย่างมีระเบียบแบบแผน ครอบครัวที่มีแม่บ้านมีหน้าที่ทำอาหารทำงานบ้านเพื่อต้อนรับสามีที่กลับมา และสิ่งดีๆ ที่ญี่ปุ่นมาให้กับเรา เช่น แฟชั่นญี่ปุ่น อาหารญี่ปุ่น ความน่ารักคิกขุ(ศัพท์นี้ยังล้าสมัยหรือเปล่า)

                    แต่หลังจากอ่านการ์ตูนซาโยนาระนี้แล้วคุณอาจเปลี่ยนความคิดใหม่จากญี่ปุ่น

                   
                    
    ผมเคยเขียนเรื่องญี่ปุ่นในเรื่อง “ฮานาโกะ”กับเรื่องขนหัวลุก มีหลายๆ คนมาว่าผม ว่าผมใจแคบไป บอกว่าที่จริงคนญี่ปุ่นมีน้ำใจ ตอนที่เขาไปเที่ยวนั้นเขาถามสถานที คนในชุดทำงานในญี่ปุ่นยินดีเสียสละบอกสถานที่หมายให้ โดยไม่ได้แล้งน้ำใจแต่อย่างใด

                    ผมได้อ่านประโยคนี้ สิ่งที่ผมคิดคือ “ญี่ปุ่นใจดีเฉพาะกับชาวต่างชาติหรือเปล่า ถ้าคนที่ถามนั้นเป็นคนญี่ปุ่นเขาจะยินดีเสียสละไหม”

                    ซาโยนะได้ให้คำตอบเรื่องนี้ไว้ในตอนตอนที่ 55 เล่ม 6 ชื่อตอน “ช่างทำให้เดือดร้อนอะไรอย่างนี้” ที่กล่าวถึงตัวละครที่ชื่อ คางะ ไอ ที่เอาแต่ขอโทษเพราะเชื่อว่าเธอเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเดือดร้อนกับคนอื่น ซึ่งพระเอกได้อธิบายที่มาอาการนี้ว่าเป็นเพราะสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นทำความเดือดร้อนต่อประเทศอื่นไว้มาก ทำให้พวกผู้ใหญ่มักสอนเด็กให้กลายเป็นพวกหวาดระแวงไปหมดว่าจะสร้างความเดือดร้อนแก่ใครหรือเปล่า จากนั้นพระเอกก็ยกตัวอย่าง เช่น เวลาคนญี่ปุ่นไปดูหนังจะหวาดระแวงว่าตนเองจะบังคนที่นั่งดูหนังแถวหลัง, ไม่กล้าจ่ายเศษเงินเพราะกลัวว่าคนเก็บเงินที่เคาน์เตอร์จะลำบาก, กลัวจะเข้าห้องน้ำ(บ้านเช่า)ตอนดึกเพราะเพื่อนบ้านจะหนวกหู

                    ฟังดูอาจเวอร์ๆ ในสายตาคนไทย แต่ปรากฏว่ามันเป็นเรื่องจริง!!

                    “บางที่คนญี่ปุ่นที่ยินดีเสียสละในใจเขาคนนั้นคงกลัวเราว่าเราจะมองเขาทำให้เราเดือดร้อนหรือเปล่าหนอ”

                    นี่แค่ตัวอย่าง

                    
                   ในการ์ตูนซาโยนะยังมีหลายมุกที่แสดงให้ญี่ปุ่นนั้นเปลี่ยนไปแล้ว  ไม่ว่าจะเป็นนิสัยคนญี่ปุ่นที่ไม่ดีทั้งหลาย, ลัทธิที่หวังประโยชน์, ยากูซ่า, การกู้หนี้นอกระบบ,

                    จริงอยู่ญี่ปุ่นนั้นเจริญกว่าไทย แต่ความเจริญนี้ได้ทำให้ญี่ปุ่นเปลี่ยนไปอย่างไม่รู้ตัว สังคมทุนนิยมที่เงินเป็นตัวกำหนดทุกสิ่ง กลายเป็นดาบสองคม หลายฉากที่เราเห็น ก็เช่น คนจรจัดที่อาศัยในกล่องสาธารณะที่การ์ตูนเล่นมุกว่าคนเหล่านั้นครั้งหนึ่งเคยเป็นเจ้าของบริษัทหลายพันล้านหรือพนักงานในบริษัทชื่อดังแต่ต้องมาตกต่ำเพราะพิษเศรษฐ์กิจ หรือฉากภาพพนักงานตกงานที่มานั่งเล่นชิงช้าทำหน้าตาเหมือนสิ้นหวัง การ์ตูนเหมือนจะล้อ แต่ในความจริงเรื่องนี้ขำไม่ออกเลย สิ่งที่ผมรู้เกี่ยวกับบริษัทของญี่ปุ่นคือ บริษัทญี่ปุ่นนั้นใช้ระบบสมัยโบราณ คือไม่ค่อยเปลี่ยนโครงสร้างอะไรมากมายในการทำงานมากนัก คนแก่คนเก่าก็ทำงานกันไป  ให้ความสำคัญด้านอายุมากกว่าความสามารถ  และเมื่อไล่คนเก่าออก คนเก่านี้ส่วนมากจะอายุมากสมัครงานที่ไหนก็ยากเพราะบริษัทฉากได้พวกรุ่นใหม่ไฟแรง มักจบปัญหาด้านการฆ่าตัวตายหรือขอทานคนจรจัดในที่สุด

                    ภาพเศรษฐกิจที่รุ่งเรื่องของญี่ปุ่นนั้นไม่มีอีกแล้ว ความจริงประเทศญี่ปุ่นเองมีสภาพภาวะชะงักงันต่อเนื่องยาวนานมาสิบกว่าปี จริงอยู่ความชะงักงันทางเศรษฐกิจที่ยาวนานมีที่มาส่วนหนึ่งจากปัญหาโครงสร้างในบริษัทที่เรื้องรังมานาน บวกกับเศรษฐกิจที่พึ่งสหรัฐทำให้ลุ่มๆ ดอนๆ ฟื้นได้สักพัก ทำหค่าเงินของญี่ปุ่นแพงมากจนคนญี่ปุ่นนิยมจะประหยัดเงินมากกว่าจะใช้จ่ายมากเหมือนเมื่อก่อน

                    มุกที่ผมขำไม่ออก การล้อนายทหารญี่ปุ่นคนหนึ่งชื่อฮีรุ โอโนดะ (Hiroo Onoda) ตอนกลับญี่ปุ่นทหารคนนั้นต่างพึ่งพำเลยว่าตนทำเพื่อชาติ สามารถปกป้องมาตุภูมิได้ แต่เมื่อเขากลับมาญี่ปุ่น ภาพญี่ปุ่นที่สวยงามของเขาได้เปลี่ยนไปแล้ว (มีอุมิกับไคโซปรากฏบนฉากด้วยล่ะ)

                    ญี่ปุ่นเปลี่ยนไปแล้วจริงๆ

                    หนึ่งในเรื่องการ์ตูนที่ญี่ปุ่นล้อคือวันสำคัญแปลกๆ ของญี่ปุ่น ซึ่งผมก็รู้ว่าวันเหล่านั้นบางวันมีอยู่จริง เช่นวันแบล็กเดย์ (Black Day) เป็นวันสำคัญตรงกับวันที่ 14 เมษายน ความจริงเป็นวันของเกาหลีใต้ แต่ญี่ปุ่นก็รับวัฒนธรรมนี้มาเช่นกัน เป็นวันฉลองสำหรับคนที่ไม่มีคนรัก โดยจะมีการรวมตัวกันของคนที่ยังไม่มีคู่รักและกินบะหมี่ราดด้วยซอสถั่วดำ จะเป็นบะหมี่สีดำ ที่เรียกว่า จาจังมยอน (Jjajangmyeon) เพื่อรวมตัวฉลองสำหรับผู้ที่ไม่ได้รับของขวัญในวันวาเลนไทน์หรือในวันไวต์เดย์โดยมีความเชื่อกันว่าหากได้กินจาจังมยอนในวันนี้ จะทำให้ได้พบเจอคนรักในเร็ววัน

                    
                   ความจริงแล้ววันวาเลนไทน์เป็นวันสำคัญทางศาสนาคริสต์ แต่ญี่ปุ่นสามารถรับวัฒนธรรมนี้โดยไม่สนว่าจุดประสงค์ของวันนี้คืออะไรกันแน่ เชื่อหรือไมว่าประเพณีให้ช็อกโกแลตเพื่อคนรักนั้นญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ทำ ซึ่งประเทศที่นับถือคริสต์ไม่ได้ทำแบบญี่ปุ่นเลย(ยกเว้นไทย วันไหนรับมาหมด)

                    อีกมุกหนึ่งคือมุกที่สาวหนุ่มเหมือนช้างน้ำแต่งตัวเหมือนโลลิต้า ซึ้งคนเขียนต้องการล้อเรื่อง “ความน่ารัก” ความน่ารัก ซึ่งมันได้กลายเป็นลักษณะที่โดดเด่นของวัฒนธรรมสมัยนิยมของญี่ปุ่น เสียแล้ว ตั้งแต่สิ่งบันเทิง เสื้อผ้า อาหาร ของเล่น เครื่องประดับ เครื่องบิน(โปเกมอน) ถุงยางอนามัย ไปจนถึงพฤติกรรมของผู้คน ชาวต่างชาติมักพบว่าความน่ารักนั้นดึงดูดใจ แต่บางครั้งก็พบว่าการที่ชาวญี่ปุ่นใส่ความน่ารักลงไปในหลายๆอย่างมากเกินไป ทำให้ดูตลกหรือเหมือนเด็กๆ

                    ถ้าผมเจาะลึกในแต่ละตอน ว่าแต่ละตอนต้องการนำเสนออะไร คงไม่แคว้นยาวเป็นสิบตอนแน่ๆ คงพอแค่นี้แหละครับ

                    สำหรับในไทยมีการตั้งกระทู้ถามนิสัยคนญี่ปุ่นว่าแท้จริงแล้วพวกเขาเป็นคนยังไงกันแน่ ผมไปอ่านมา เขาเขียนแรงกว่าผมในตอนฮานาโกะเสียอีก(ฮานาโกะนั้นผมมีหลักฐานเลย แต่กระทู้นั้นเขาด่าคนญี่ปุ่นโดยไม่มีหลีกฐานใดๆ ทั้งสิ้น) สิ่งที่ว่าญี่ปุ่นไม่ดีรู้ไหมเขาว่าอะไรบ้าง(ในซาโยนาระก็กล่าวถึง) ไม่ว่าจะเป็น  ไม่จริงใจ, อยู่แต่ในห้อง 6 เสื่อ, ไม่ให้เกียรติ์ผู้หญิง(แต่งงานก็ต้องลาออก อยู่บ้านเลี้ยงลูก),บูชาเงิน(เด็กญี่ปุ่นไปถ่ายนู้ด สื่อลามกกะอาชีพประหลาดๆเกลื่อนเมือง พวกโฮสต์คลับ ก็มาออกหน้าออกตาในจอทีวี ถึงขั้นมีสารคดีว่าทำงานเชียร์เหล้าได้เงินเดือนละเป็นล้านๆ พิธีกรตื่นเต้นจนเวอร์  )

                    แต่คนเขียนเม้นนั้น คงลืมนึกว่าคนไทยก็ใช้ว่าจะเป็นคนดีในสายตาคนทั่วโลกเหมือนกัน

                    เช่นเดียวกับพวกโลกที่มองไทยว่าสยามเมืองยิ้ม แต่ตอนนี้รอยยิ้มนั้นกลายเป็นรอยยิ้มที่แฝงอันตรายเสียแล้ว ยิ้มเฉพาะด้านหน้าแต่ข้างหลังถือมีด นั้นก็เป็นข้อเสียของคนไทยที่หลายๆ คนต่างส่ายหัวเหมือนกัน

                    ดังนั้นเราก็ไปว่าคนญี่ปุ่นเขามากก็ไม่ได้ บ้านเขาบ้านเรา เขาก็มีปัญหาของเขา เราก็มีปัญหาของเราสังคมที่นั้นแตกต่างจากของเรามาก อาจมีหลายเรื่องที่เรายอมรับไม่ได้(เช่นบ่ออาบน้ำรวมญี่ปุ่น, ความตรงเวลาสุดขีดของคนญี่ปุ่น) แม้แต่เราเองก็มีข้อดีข้อเสียเหมือนกัน แต่ต่างญี่ปุ่นหน่อยเท่านั้นแหละ คุณอย่าลืมนะว่า ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของประเทศนี้แตกต่างจากของเรา  หลังจากพวกเขาแพ้สงคราม  พวกเขาต้องสูญเสียมากขนาดไหน ใช้ความพยายามเท่าไหร่ถึงจะกลับมาเจริญสุดขีดเหมือนปัจจุบัน ผู้ชายต้องเป็นฝ่ายรับบทหนักในการพัฒนาประเทศ ประชากรญี่ปุ่นก็มีมากและทรัพยากรก็มีจำกัด จนเกิดการแข่งขัน เวลาของเขามีค่า จนเป็นเหตุให้เกิดสิ่งที่ไทยเรามองว่า “นิสัยไม่ดี” ในที่สุด

                    
                    สรุป ก็สนุก เพียงแต่ว่าผมชอบพระเจ้าจอร์ดมากกว่า เพราะพระเจ้าจอร์ดมีทั้งตัวปู, ตัวหยอดมุก, ตัวตบมุกและตัวละครที่น่าตืบอย่างจิตัน แต่เรื่องซาโยนาระไม่มีตัวละครที่ฮ่ามากนักอีกทั้งบางมุกนั้น “ฮ่ากริบ” คนไทยตาดำๆ งง เป็นแถว  แต่อย่างไรด้วยความด้วยตัวละครในเรื่องน่ารักมากๆ ก็ช่วยให้เรื่องน่าดูยิ่งขึ้น แต่ก็ควรทำใจที่ตัวละครบางตัวที่ชอบนั้นออกมาน้อยเหลือเกิน

                    สิ่งที่ผมอยากจะบอกถึงการ์ตูนเรื่องนี้คือผู้แปลจะเอาอย่างไรกันแน่ จะเอามุกไทยหรือมุกญี่ปุ่นมาใช้ หลายตอนที่ก็เอาชื่อคนดังไทยมาใส่ แต่บางตอนก็แซวคนดังญี่ปุ่น ซึ่งผมก็อยากรู้เหมือนกันว่าคนที่ถูกเปลี่ยนเป็นคนดังไทยแท้จริงแล้วต้นฉบับเขาล้อใครกันแน่

                    เช่นเล่มที่ 3 ตอนที่ 25 ที่คนแปลต้องการล้อตัวละครคนหนึ่งที่เป็นคนแก่ๆ แต่มาเรียนชั้นประถมแบบมีปริศนาว่า แท้จริงแล้วคนแก่คือ “พี่เหลี่ยมไทย” ของเรานี้เอง แน่นอนถ้าต้นฉบับนั้นคงไม่ใช้ “พี่เหลี่ยม”แน่นอน ซึ่งเสียดายมาก เพราะผมอยากรู้ต้นฉบับเหมือนกันว่าเขาล้อใครกันแน่ บางที่ต้นฉบับของญี่ปุ่นคงล้อว่าคนแก่คนนี้คือ นายอัลเบอร์โต ฟูจิโมริ อดีตนายกรัฐมนตรีเปรูที่โดนชาวเปรูขับไล่ออกจากนอกประเทศเพราะการบริหารงานย่ำแย่ เต็มไปด้วยคอรัปชั่น ชีวิตของเขานั้นไม่ต่างอะไรกับพี่เหลี่ยมของไทยเลย

                    อีกเรื่องก็เล่มที่ที่ว่ามุกเอ๋อของคนไทย เล่ม4 ตอน 34 ตอนที่มาเรียที่เถียงในสภาญี่ปุ่นในมุกไทยเรื่องเขาพระวิหาร ผมอยากรู้เหมือนกันว่าต้นฉบับที่แท้จริงนั้นเขาต้องการล้ออะไรกันแน่ บางทีอาจเป็นเรื่อง การเมืองของญี่ปุ่นกับเกาหลีร้อนระอุในกรณีพิพาทเหนือหมู่เกาะในทะเลญี่ปุ่นเกาะนั้นมีชื่อว่า หมู่เกาะ ทาเคชิมา(Takeshima) ในภาษาญี่ปุ่น หรือ ด็อคโด(Dokdo) ในภาษาเกาหลี เกาะนี้มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและการประมงที่อุดมสมบูรณ์ และพอดีเกาะนี้จั้งอยู่ระหว่างเขตแดนทั้งสองประเทศพอดี จึงไม่แปลกแต่อย่างใดที่เกิดเหตุการณ์พิพากษเสมือนหนึ่งไทยกับกัมพูชา

                    ที่นี้ลองคิดดูนะว่ามุกดัดแปลงเป็นไทยกับมุกญี่ปุ่นแบบต้นฉบับอันไหนขำกว่ากัน

                    ไหนๆ ก็ได้ลิขสิทธิ์อ่านจากขวาไปซ้าย แปลก็น่าจะตรงตามต้นฉบับหน่อยก็ดีครับ ทุกวันนี้ผมก็หงุดหงิดหลายเรื่อง เช่น เราได้ลิขสิทธิ์เขามา ทำไมต้องมีอักษรศิลธรรมบังมืดจนไม่เห็นภาพด้วย อย่างการ์ตูนเรื่อง เดอะบิซสตาร์มันชุดวอลเลย์บอลชายหาดนะเอ็งจะเอาอักษรศีลธรรมบังทำไม นี้หรือคือการให้เกียรติผลงานต้นฉบับ ถ้าอ้างว่าเพื่อเหมาะสมกับคนไทย อย่างงี้แล้วไม่ต้องซื้อลิขสิทธิ์มาหรอกนะ สู้ซื้อการ์ตูนพวกที่ไม่มีฉากเซอร์วิตจะดีกว่า (ขอบ่นหน่อยเถอะ) ขนาดน้าต๋อยพากษ์การ์ตูน เด็กสมัยนี้โทรและเขียนกระทู้ด่าเลยว่าพากษ์ไม่ตรงตามต้นฉบับ ผมก็ชักเริ่มหวั่นๆ แล้วนะครับว่าการ์ตูนเรื่องนี้จะมีคนแบบว่ามาด่าหรือเปล่า(ส่วนผมบ่นคนเดียวเฉยๆ)

                    จบๆ

                    เออ.....ลืมบอกไปน้องสาวผม(แท้ๆ)จะไปญี่ปุ่น ผมว่าจะสั่งน้องซื้อการ์ตูนโป๊ญี่ปุ่นสักหน่อย ไม่รู้มันจะได้เรื่องหรือเปล่า

                    ส่วนตอนหน้าจะเป็นตอนอะไรนั้น ก็ติดตามกันต่อไป

    + +

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×