ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #161 : Guilty Crown สูตรสำเร็จของความทะเยอทะยาน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 14.59K
      5
      1 ธ.ค. 54


     

    สิ่งที่เป็นเป้าหมายสูงสุดของคนทำอนิเมชั่นก็คือการทำให้อนนิเมชั่นของตนประสบผลสำเร็จ กลายเป็นที่โจษจันของเหล่าผู้คนอย่างไม่รู้จบ แน่นอนว่าเป้าหมายดังกล่าวนั้นค่อนข้างยากเพราะนอกจากคุณภาพของอนิเมชั่นแล้ว ก็ยังมีปัจจัยต่างๆ เข้ามาประกอบด้วย ไม่ว่าจะเป็นชื่อผู้กำกับ เนื้อหา ตัวละคร การดำเนินเรื่อง ความแปลกใหม่ ทุนการสร้าง ฯลฯ

                    แน่นอนอนิเมชั่นเดือนตุลาคม ปี 2011  ผู้ผลิตหลายค่ายก็หวังว่าอนิเมชั่นของตนจะทำให้โด่งดังบ้าง และมีค่ายหนึ่งที่หวังจะทำอนิเมชั่นเรื่องใหม่ของพวกเขา โด่งดัง ด้วยการจัดหนักทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นทีมงาน เงินทุน การแต่งเพลง และพวกเขาจะทำสำเร็จได้หรือไม่ และในบทความนี้ผมก็ขอบังอาจเขียนถึงอนิเมชั่นเรื่องดังกล่าวว่าจะถึงฝั่งฝันหรือเปล่า?

                   

       

    Guilty Crown

    แอ็คชั่น,ไซไฟ

     

    Guilty Crown  หรือ "มงกุฏแห่งบาป" เป็นผลงานซีรีย์ออริจินัลที่ผลิตโดยสตูดิโอ Production IG  ที่ผลงานดังหลายเรื่องหากแต่ซีซั่นสองซีซั่นที่ผ่านมามีแต่เสียงเงียบเป็นส่วนมาก (Blood-D, และ Usagi Drop) หากแต่มาครั้งนี้ได้ผู้กำกับ Tetsuro Araki (ผลงาน Highschool of the Dead (2010) และเขียนบทโดย Hiroyuki Yoshino (ผลงาน Code Geass: Lelouch of the Rebellion จึงไม่แปลกใจแต่อย่างใดที่การ์ตูนดังกล่าวมีส่วนๆ คล้ายกัน ) และอนิเมชั่นดังกล่าวพวกเขาหวังจะให้อนิเมชั่นดัง  เลยใช้ ทุนสูง ใช้นักแต่งเพลงชื่อดังมาประกอบเพลงการ์ตูน  และต่อมาก็ถูกสร้างเป็นมังงะและเกมซึ่งจะออกจำหน่ายในปี 2012 (นิยายภาพ ของ  Nitroplus)

    เรื่อง Guilty Crown เป็นเรื่องราวของญี่ปุ่นยุคอนาคตปี 2029 ที่ญี่ปุ่นประสบปัญหาไวรัสลึกลับชนิดหนึ่งชื่อ “Apocalypse” แพร่กระจายและจู่โจม จนเป็นเหตุทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศเหตุฉุกเฉินและเรียกเหตุการณ์นี้ว่า "Lost Christmas" และหลังจากนั้นองค์กรระหว่างประเทศองค์กรหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อ GHQ ก็เข้ามาแทรกแซงและประกาศกฎอัยการศึกเข้าควบคุมประเทศญี่ป่นจนกลายเป็นประเทศที่ขาดความอิสระไป

    10 ปีต่อมา 2039 พระเอกคนหนึ่งชื่อ โอวมะ ชู (หลายคนเรียก บักชู) เด็กนักเรียนอายุ 17 ปี ที่ชีวิตอยู่อย่างน่าเบื่อหน่าย และไม่ค่อยมีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้นสักเท่าไหร่ และไม่สนหรอกว่าประเทศที่เขาอยู่จะปกครองระบอบแบบไหนก็ตาม แต่กระนั้นเขาเป็นแฟนแพลงของยูซึริฮะ อิโนริ นักร้องที่โด่งดังในอินเตอร์เน็ต ซึ่งเขาหลงใหลและปลื้มเธอเป็นพิเศษ จนกระทั้งวันหนึ่งเขาก็ได้พบฮิโมริที่บาดเจ็บเนื่องจากโดนทหารไล่ล่าจนเธอหนีเข้ามาในตึกร้างที่เขาใช้เป็นฐานลับเข้า และเขาก็รู้ภายหลังว่าเธอเป็นสมาชิกขององค์กร "Undertakers" (ที่จริงผมอยากเรียกองค์กรนี้ว่าสัปเหร่อ แต่ดูเหมือนคนแปลซับจะไม่ชอบ พยายามเรียกเท่ๆ เช่น ผู้ฝังศพ หรือไม่ก็ผู้จัดการศพ และผมขอเรียกเท่ๆ ว่าผู้ฝังศพล่ะกัน) กลุ่มต่อต้านที่มีจุดมุ่งหมายปลดปล่อยประเทศจาก GHQ ด้วยการใช้วิธีรุนแรง รบแบบกองโจร ในขณะทั้งสองสองกำลังรู้จักกันและกันนั่นเอง พวกทหารก็บุกเข้ามาจับกุมอิโนริไปสอบสวน ส่วนเขาก็หนีไปซ่อนตัวเพราะกลัวทหาร และเมื่อพวกทหารออกไป เขาก็รู้สึกผิด (ที่ไม่สามารถโชว์เมพมัดใจสาวที่ชอบได้) เลยพยายามทำหน้าที่ของฮิโมริต่อ  คือเอาของสิ่งหนึ่งที่อิโมริซ่อนเอาไว้นั้นคือ "วอยล์เกม่อน" ที่เขาต้องเอาไปให้ “ไก” ซึ่งเป็นหัวหน้าขององค์กรผู้ฝังศพ และเมื่อเขาพบไกกลับเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นเมื่อพลังในวอลยล์แตกออกมาเข้าสู่ตัวชู ซึ่งทำให้เขาเป็นผุ้มีพลังวิเศษ และด้วยพลังนี้เองทำให้ชีวิตของเด็กหนุ่มธรรมดาต้องเปลี่ยนไป และนั่นเองคือจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมด

     
               แน่นอนครับ คนที่มาอ่านบทความผมในตอนนี้ คงรู้จักเรื่องนี้ไม่มากก็ไม่น้อยเห็นได้จากดิสเพสแต่ละคนเป็นรูปของหนู ฮิโนริค่อนข้างเยอะ และหลายคนก็บอกให้ผมดู และอยากให้ผมเขียนรีวิวเรื่องนี้บ้างว่าผมมีความคิดเห็นกับการ์ตูนเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

    แต่!!

    กว่าที่ผมดูการ์ตูนเรื่องนี้แบบจริงจังนั่น อนิเมชั่นก็ฉายปาไปถึงตอนที่ 6 ครับ สาเหตุเป็นเพราะตอนที่ผมดูตอนแรกแล้วผมเกิดอาการง่วงเหงาหาวนอนอย่างรุนแรง ตามความรู้สึกผมบรรยายข้างล่าง(หลังจากที่ได้ดูตอนแรก)

    “การ์ตูน Guilty Crown เป็นการ์ตูนแนวไซไฟที่เอามุก เอาสูตรสำเร็จแต่ละเรื่องมารวมกันให้เป็นเรื่องเดียว ไม่ว่าจะเป็น พระเอกที่มีอดีตเจ็บปวด(ปัญหาเยอะชิบหาย) ไปพบนางเอกบาดเจ็บ ถูกไล่ล่าโดยฝ่ายศัตรู กลุ่มต่อต้าน สาวน้อยเก่งเครื่องจักร พระเอกได้พลังวิเศษ (เชื่อเถอะเดี๋ยวตอนหลังถูกจับฝึกพิเศษอีก) พูดตรงๆ เนื้อหาสูตรสำเร็จมากๆ ใครดูการ์ตูนพวกนี้นับลองพูดเป็นเสียงเดียวกัน  ดีตรงที่ภาพสวย ทุนสูง ฉากระเบิดวินาศ เพลงเพราะเท่านั้น

    ถ้าถามผมว่าผมจะติดตามไหม อันนี้ก็พูดยากเหมือนกัน ก็คงดูแบบ ดูบ้างไม่ดูบ้างละกัน ที่จริงในใจก็เริ่มเบื่อๆ แนวนี้แล้วเหมือนกัน อยากให้แหวกสักหน่อย แบบพระเอกเป็นบักแสง ณ เดธโน๊ต ยึดครองโลกแบบไม่บ้าระห่ำ วันหลังก็ลองทำแนวกัดสูตรสำเร็จนี้บ้าง เช่นพระเอกเห็นนางเอกแล้วไม่ช่วย พลังวิเศษก็เอาไปเกรียนใส่คนอื่น หรืออยากอยู่อย่างสงบๆ ท่าจะดี  หรือดำเนินเนื้อเรื่องแบบ Fractale หน่อย เอาเถอะหวังอะไรมากไม่ค่อยได้เพราะมันขายได้นี้น่า...........”

    นี่แหละครับความรู้สึกตอนแรกๆ ที่ผมดูการ์ตูนเรื่องนี้ ที่ผมพูดนี่ไม่เกินจริงแต่อย่างใด หากใครที่ได้ดู การ์ตูนแนวไซไฟแนวสู้กับรัฐบาลหรือองค์กรใหญ่ๆ ที่ปกครองโลกชั่วร้ายจะมีแนวเนื้อหาคล้ายๆ กันแบบนี้ไม่มากก็ไม่น้อย ตัวเช่นเรื่อง Overman King Gainer (2002), Eureka Seven (2005), Bounen no Xamdou (2008) มังงะไม่ต้องพูดถึง มีเพียบ!!

    ดังนั้นความรู้สึกผมตอนแรกก็คือ ผมหยุดดูการ์ตูนดังกล่าวไปพักใหญ่ครับ เพื่อดูอนิเมชั่นเรื่องอื่นๆ ต่อ และกว่าจะกลับดูอีกครั้งก็เป็นช่วงไม่มีอนิเมชั่นให้ดูแหละครับ หลังจากอนิเมชั่นคาดหวังไว้ตอนแรกทำไม่สนุกเลย ไม่ว่าจะเป็น C3 หรือ ทำได้เซ็งจิต

    หลังจากนั้นผมก็กลับไปดูอนิเมชั่นเรื่องนี้ต่อ และผลปรากฏว่าผมชักรู้สึกชอบแล้วสิ สาเหตุที่ชอบไม่ได้อยู่ที่เนื้อเรื่องครับ(ก็อย่างที่บอกเนื้อเรื่องมันสูตรสำเร็จ เดาทางง่าย) แต่สิ่งที่น่าสนใจอยู่ที่ตัวละครคือพระเอกและนางเอกแม้ว่าสองตัวดังกล่าวจะมีสูตรสำเร็จก็ตาม แต่ก็น่ะก็ทำออกมาเข้าท่าครับ ดูแล้วเพลินดีครับ เพราะผู้ผลิตสามารถให้ผู้ดูเกิดความรู้สึกผูกพันและมีความรู้สึกอารมณ์ร่วมกับตัวละครได้

      

                   Guilty Crown เป็นอนิเมชั่นเรื่องหนึ่งที่ผู้สร้างเองมีความหวังที่อยากให้เรื่องนี้โด่งดังในช่วงเดือนธันวาคม ปี 2011 เห็นง่ายๆ เลยคือการใช้ทุนมหาศาลในการบรรจงสร้างภาพอนิเมชั่นให้สวยงาน อลังการ งดงามตา บวกกับบทเพลงเพราะๆ ที่ร้องโดยศิลปินดังวง supercell (J - POP )การออกแบบตัวละครที่มีเสน่ห์ ฯลฯ

    อย่างไรก็ตามหลังจากที่อนิเมชั่นออกฉายช่วงต้นๆ ก็มีเสียงตอบรับการ์ตูนอนิเมชั่นเรื่องนี้แบ่งออกเป็น 2 เสียง เสียงแรกคือยอมรับว่าเป็นการ์ตูนที่ดีที่สุดในเดือนตุลาคม(ฤดูใบไม้ร่วม(ปีนี้อย่างไม่ต้องสงสัย อีกทั้งบ้านเราเองก็เริ่มมีคนให้ความสนใจออกมาคุยเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องนี้ในบอร์ดการ์ตูนหนาตามากขึ้นแล้ว หากแต่เสียงที่สองนั้นกลับให้ความเห็นว่าไม่แน่สามารถพันธงได้ว่าการ์ตูนดีที่สุดเพราะว่าเนื้อเรื่องและเนื้อหาไม่ได้มีความแปลกใหม่อะไรเลย ยังคงต้องติดตามต่อไปว่าเนื้อเรื่องจะทำได้ถูกใจครองใจผู้ดูหรือไม่ และแล้วผลกังวลความคิดเห็นสองก็เป็นจริง เมื่อมีการสำรวจความคิดเห็นอนิเมชั่นครั้งแรก การ์ตูนเรื่องนี้อยู่อันดับที่ 5 ยอดนิยม  (ทั้งนี้การสำรวจดังกล่าวอาจทำขึ้น ในช่วงการ์ตูนเรื่องนี้ออกฉายช่วงแรกๆ ก็ได้ คงต้องดูช่วงท้ายๆ ถึงจะสามารถตัดสินได้ว่าการ์ตูนเรื่องนี้ดีที่สุดหรือเปล่า)

    (อ้างอิงอันดับจาก) http://www.azhime.com/2011/10/top-10-anime-of-autumn-2011.html

    โอเคครับ ภาพสวยทุนสูง แต่นี้ไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้การ์ตูนเรื่องนี้ประสบผลสำเร็จอย่างงดงามครับ เพราะมีปัจจัยหลายปัจจัยเข้ามาประกอบอีกมากมาย

    อย่างไรก็ตาม ตามความคิดเห็นการ์ตูนเรื่อง อาจไม่ใช่การ์ตูนที่ดีที่สุดในปี 2011 แม้ว่าทุนและฉากจะสวยเท่าใดก็ตาม สาเหตุเพราะการ์ตูนดังกล่าวยังขาดปัจจัยที่ยังหลายอย่างที่อาจไม่ไปถึงฝั่งฝัน  และเพราะสาเหตุอะไรถึงเป็นเช่นนี้ก็ขอวิเคราะห์ไล่ตามปัจจัยต่างๆ ก่อนละกัน

      

    ปัจจัยหลักๆ ที่จะทำให้อนิเมชั่นการ์ตูนเรื่องหนึ่งประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่โจษจันให้หลายคนกล่าวขานได้นั่นจะต้องประกอบด้วย คุณภาพ, ตัวละคร, เนื้อเรื่อง และความแปลกใหม่

    คุณภาพ หากอนิเมชั่นเรื่องหนึ่งจะประสบผลสำเร็จได้นั่นคุณภาพจะต้องมาก่อน คุณภาพในที่นี่หมายถึงภาพและการเคลื่อนไหวของการ์ตูนต้องออกมาสวยงาม ลื่นไหล อลังการ ไม่มีจุดให้เผาให้ได้จับผิดมากนัก เช่นสัดส่วนตัวละครเพี้ยน สีของภาพไม่ดีไม่เหมาะสมในเทคโนโลยีการสร้าง(ในสมัยที่สร้าง)  เพราะปัจจุบันแฟนการ์ตูนหลายคนให้ความสำคัญกับเรื่องภาพมาก

    เรื่องคุณภาพของ Guilty Crown ถือสอบผ่านอย่างงดงาม เพราะใช้ทุนสร้างค่อนข้างสูง ทำให้คุณภาพออกมาเยี่ยมด้วย เปิดฉากได้เลิศหรูอลังการเป็นอย่างมาก ด้วยฉากเมืองไซไฟที่ดูยิ่งใหญ่อลังการ ทันสมัยล้ำยุค ฉากระเบิดตูมตามมันสะใจ ฉากพลังวิเศษของพระเอกตื่นตา 

    อย่างไรก็ตามคุณภาพอาจไม่ใช่สูตรสำเร็จในการทำให้อนิเมชั่นเรื่องนั่นดังได้  เพราะมีอนิเมชั่นมากมายที่แม้ว่าจะลงทุนก็เจ๊งเป็นแทบๆ มาแล้ว และบางอนิเมชั่นก็ประสบผลสำเร็จทั้งๆ ที่งานภาพเผา (ซึ่งเผาแบบจงใจ) ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับการวางบท กลวิธีการนำเสนอมากกว่า

     ตัวละคร การจะทำให้อนิเมชั่นเรื่องหนึ่งๆ ประสบผลสำเร็จได้นั่น สิ่งสำคัญที่สุดก็ตัวละครในเรื่องจะต้องมีความโดดเด่น โดยเฉพาะพระเอกและนางเอก และตัวประกอบจะต้องคัดเลืออกอย่างพิถีพิถันวามารถเข้ากับเนื้อเรื่องและความสำคัญต่อเนื่องเรื่องได้
                      

                    โอวมะ ชู พระเอกการ์ตูนเรื่องนี้ อายุ 17 ปี เป็นคนไม่ค่อยเข้าสังคม(แต่มีเพื่อน มีคนแอบชอบด้วยน่ะเอ่อ) มีความฉลาดเฉลียว เป็นสมาชิกชมรมวิจัยวีดีโอภาพ และต่อมาก็ได้รู้จักนางเอกและได้พลังมือขวา “Voids” สามารถดึงวัตถุต่างๆ จากร่างของคนอื่นได้ (โดยวัตถุจะแตกต่างกันแล้วแต่บุคลิกลักษณะของเจ้าของ) แต่ต้องมีเงื่อนไขคือคนที่สามารถดึงได้นั่นจะต้องเป็นคนที่ไม่บรรลุนิติภาวะ และต่อมาเขาก็เข้าร่วมหน่วยต่อต้านรัฐบาลผู้จัดการศพแบบไม่เต็มใจมากนัก และดูเหมือนเขาจะมีอดีตลึกลับอยู่ ปัจจุบันอาศัยอยู่กับแม่ที่ทำงานนักวิจัยสถาบันเซฟีร่า เกโนมิคซ์(องค์กรรัฐบาล

    วิเคราะห์ การสร้างตัวละครการ์ตูนเรื่องหนึ่งในดังๆ มันไม่เหมือนแต่ก่อนแล้ว สมัยก่อนหลายคนนิยมพระเอก เก่ง เท่ นิสัยพระเอกแมนๆ และบ้าพลัง ทำอะไรก็เก่งไปหมด (หมัดพระเจ้าดาวเหนือ, ดราก้อนบอล, แฟนตาซีสมัยเก่าทั้งหลาย) แต่สมัยนี้พระเอกแบบนี้ตกกระป๋องไปแล้ว เพราะพวกคนดูชอบพระเอกที่มีความเป็นมนุษย์ธรรมดาเดินดินมากกว่าที่จะมีความเก่งกาจอะไรไปเสียหมด ทำให้พระเอกคนธรรมดาสามัญชนถือกำเนิดขึ้น โดยนิสัยจะออกมาแคะๆ มีข้อบกพร่อง มีด้านมืด รูปร่างอ่อนแอ ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง ต้องให้คนอื่นประคบประคองเสมอ  มีปมอดีต   มีการพัฒนาจิตใจ ได้รู้จักมิตรภาพ รู้สึกว่าตนเองให้ประโยชน์แก่ผู้อื่น ทำให้มีความรับผิดชอบ มีความมั่นใจขึ้น ฯลฯ ทำให้มีความรู้สึกผูกพัน

    อย่างไรไม่ตามตัวละครดังกล่าวไม่ควรเป็นแบบจัมป์ ประเภทฝึกวิชา หรือเก็บเลเวล แต่ควรพัฒนาด้านจิตใจและฝีมือแบบตามธรรมชาติ ให้ลื่นไหล และจุดอ่อนพระเอกแบบแคะๆ ก็คือเป็นตัวละครที่มักถูกกลบง่ายๆ หากมีกรณีที่มีตัวละครพระรองหรือตัวละครชายเท่ๆ ฝ่ายรุกปรากฏในเรื่อง(พูดง่ายๆ ขโมยซีน) ทำให้การ์ตูนแอ็คชั่นไซไฟส่วนใหญ่จะไม่มีตัวละครแนวเท่ๆ ฝ่ายรุกดังกล่าว ปรากฏตัวมากนัก

    ส่วนคาแร็คเตอร์ของชู ยังไม่ได้ฉีกแนวไปจากตัวละครพระเอกแอ็คชั่นไซไฟเรื่องทั่วๆ ไปเท่าไหร่ (เหมือนที่ยกตัวอย่างข้างต้น) แต่กระนั้นซูเป็นอีกตัวละครหนึ่งที่ดูสนุกครับ สนุกตรงที่เขามีมีปมอะไรเยอะดี เป็นคนโดดเดี๋ยว แต่กระนั้นก็อยากมีเพื่อน ใครเข้าหาเขา เขาก็ดีตอบ แต่กระนั้นเรื่องก็ช่างโหดร้าย(หักมุม) เพราะสิ่งที่เขาได้รับจากการเชื่อใจกลับเป็นการหักหลัง ตรงนี้สงสสารชูยังไงบอกไม่ถูก ทั้งๆ ที่ตัวเอกก็อยากอยู่แบบคนธรรมดาสามัญชนแท้ๆ เรื่องการเมืองหรืออุดมการณ์นี้ไม่สนใจสักนิด แต่ต้องเข้าองค์กรต่อต้านรัฐบาลใต้ดินเพราะกลัวผู้หญิงชอบเป็นอันตราย ตอนหลังก็โดนหลอกเข้าองค์กรแบบถอนตัวก็ไม่ได้ เข้าทำนองเนื้อไม่ได้กินหนังไม่ได้รองนั่งกระดูกแขวนคอ ต้องทำภารกิจบ้าๆ เห็นคนมาตายต่อหน้าต่อตาอีกซวยเป็นบ้า (ที่จริงผมหวังอยากให้ซูหักหลังจะสะใจมาก) ทำให้ได้ลุ้นอีกยาวว่าชูจะพัฒนาจิตใจไปทางไหน นอกจากนี้พลังวิเศษของชูก็น่าสน เพราะลุ้นดีว่าเวลาชูล้วงไปวอยด์คนอื่นจะได้อาวุธแบบไหน เทพขนาดไหน และนอกจากนี้การ์ตูนยังแทรกเรื่องฮาเร็มระหว่างซูกับบรรดาสาวๆ ในเรื่องเข้ามาร่วมด้วย ทำให้ลดความตึงเครียดลง และเพิ่มความน่าอิจฉาชูมากขึ้นด้วย (อย่างไรก็ตามเป็นการอิจฉาที่อยากให้ชูสมหวังนะครับ  และนอกจากนี้อยากให้เรื่องมันฮาเร็ม แม้ว่าตัวการ์ตูนจะไม่ฮาเร็มก็เถอะ ฮ่าๆ ส่วนตัวจริงๆ ครับ)

     ส่วนตัวชอบพระเอกแบบนี้ดีแล้วครับ  หากพระเอกหน่มหล่อเท่นี้ผมว่าไม่ไหว มันต้องเคะๆ ฝ่ายรับนี้แหละถึงจะดี ดูแล้วมีปมดี ส่วนการกระทำของพระเอกที่ตอนแรกๆ หลายคนบอกว่ารู้สึกขัดๆ นั้น ผมเข้าใจน่ะแบบว่าที่พระเอกทำแบบนี้เพราะอยากโชว์มหาเมพ (ปล. เข้าใจความรู้สึกพระเอกเห็นคนทำร้ายคนที่แอบชอบนี้ทนไม่ไหวว่ะ อยากกระทืบมัน แต่เรามันอ่อนแอนี้หว่า ก็มาแบบที่พระเอกทำแหละ)

                    

                    ยูซึริฮะ อิโนริ นางเอกหลักของภาพยนตร์เรื่องนี้ อายุ 16 ปี สมาชิกคนสำคัญชององค์กรผู้ฝังศพ โดยตอนแรกซูรู้จักฮิโนริในฐานะนักร้องนำวงที่ฮิตในอินเทอร์เน็ต ซึ่งเขาเป็นแฟนเพลงเธอ และหลังจากที่ได้พบเธอครั้งแรกเขาก็พยายามทุกอย่างเพื่อเธอปลื้มเขาบ้าง แม้ว่าตอนนี้เธอจะอาศัยอยู่กับชูและสนิทกับชูแล้วก็ตาม  ปัจจุบันเธอยังมีความลับมากมายที่ยังไม่ได้บอกกับชู โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับไก (ซึ่งเป็นอุปสรรค์ความรักของซูกับอิโนริ) นิสัยน่ารัก เหมือนเด็กที่ยังเรียนรู้โลกอีกมาก น่าทะนุถนอม เงียบๆ และขี้อ้อน(??) หากแต่เมื่อถึงเวลาเธอก็บทโหดเป็นเหมือนกัน และนอกจากนี้เธอยังเป็นคนที่ชูดึงวอยด์ออกมาบ่อยมากที่สุด ซึ่งวอยด์ของเธอก็คือดาบขนาดใหญ่ มีอำนาจพลังทำลายล้างสูง

                    วิเคราะห์  สอบผ่านนางเอกในดวงใจของหลายคนเป็นที่เรียบร้อย และเป็นนางเอกที่ผมชอบและเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ผมดูอนิเมชั่นเรื่องนี้ต่อด้วย ไม่ว่าจะเป็นนิสัยที่ไม่ซึน(แต่มีข้อเสียคือชอบหักหลังจิตใจชู โดยเฉพาะตอนที่ 5 ต่อด้วยฉากยิงคนในตอนที่ 6 เล่นเอาผมเบื่อฮิโนริไปพักใหญ่) อย่างไรก็ตามช่วงต้นเธอน่ารักมากๆ ไม่ว่าจะเป็นบทร้องเพลงใน MV ที่แสนโดนใจ แถมมีสกิลไอดอลและชุดสุดแสนโมเอะเหมือนชุดว่ายน้ำผสมกิโมโนทำให้มีความรู้สึกเหมือนเป็นเจ้าหญิงทำให้น่ารักโครต ด้วยเหตุนี้เธอจึงอยู่ติดหนึ่งในฮาเร็มเด็ดดวงผมเป็นที่เรียบร้อย ชนิดว่าผมต้องเข้าเว็บไปหาว่าโดจินโป๊นางเอกคนนี้มายังจะได้เสพ(แต่ปรากฏว่าตอนนี้ยังไม่มีอ่ะ) พูดง่ายๆ ดูการ์ตูนเรื่องนี้เพราะนางเอก  เล่นเอาเก็บไปฝัน เล่นเอาคนไม่มีแฟนโสดสนิทอายุจะ 30 คลั่งไปพักใหญ่เลยทีเดียว (ถ้าการ์ตูนจบไม่ดี ละก็เจะเอาระเบิดบกไปถล่ม)

                  อย่างไรก็ตามคาแร็คเตอร์ของอิโนริไม่ได้แตกต่างไปจากนางเอกแนวแอ็คชั่นไซไฟทั่วไปสักเท่าไหร่ คืออยู่กลุ่มต่อต้านรัฐบาล พระเอกไปพบเข้า และอยู่ใกล้ชิดพระเอก แต่สิ่งที่ทำให้เธอโดดเด่นคือการบทเธอที่หักมุมหลายครั้ง เป็นต้นว่าบทอ้อนชูก็ได้ใจ แต่พอถึงบททำร้ายจิตใจชูเล่นเอาหลายคนไม่ชอบฮิโนริไปเลย โดยเฉพาะตอนที่ 5 อิโนริกลับทำเรื่องร้ายกาจกับชูเข้า จนถูกบางคนบอกว่า “ไม่ชอบผู้หญิงหลอกลวง!!” หรือ “อึ้งฉากฮินาริเข้าห้องไกตอนกลางคืน!!” จนหลายคนอึ้ง(ซึ่งความจริงแล้วไปพยาบาลให้ไกต่างหาก ซึ่งผู้สร้างเองก็เล็งจุดนี้ เลยพยายามเฉลยแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้เหล่าแฟนมีเคื่อง) อย่างไรก็ตามอนิเมชั่นก็เผยว่าสิ่งที่อิโนริหลอกลวงชูก็เพื่อตัวของชูเอง ให้ชูมีจิตใจเข้มแข็งขึ้น และกล้าตัดสินใจด้วยตัวเองเป็น

    ที่น่าสังเกตก็คือการทำให้ตัวละครใดตัวละครหนึ่งน่าติดตามคือการซ่อมปมอดีตของตัวละครนั่นเอาไว้ และค่อยๆ เผยที่เล็กทีละน้อยเมื่อเรื่องดำเนินไป อย่างไรก็ตามมันก็อาจเป็นดาบสองคมหากวางบทย้อนอดีตไม่ได้ ทำแล้วไม่โดนใจอาจตกม้าตายในตอนจบก็ได้ ซึ่งก็ต้องติดตามต่อไปว่าฮิริจะทำให้หลายคนโดนใจหรือไม่

                      

    ซึงามิ ไก เด็กหนุ่มอายุ 17 ปี หัวหน้ากลุ่มต่อต้าน ที่เขาและพรรคพวกมักก่อการร้ายเพื่อให้เกิดการปฏิวัติในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีอดีตหวานอมขมกลืน ซับซ้อน ซ่อนเงื่อน ทำให้กลายเป็นคนเจนโลก และเขาก็หวังพลังวิเศษของชูว่าจะเป็นพลังสำคัญในการใช้ต่อสู้กับ GHQ  เป็นคนมีเสน่ห์และเป็นคู่แข่งของชู (เก่งมุกจีบสาวเชยๆ ด้วยน่ะเอ่อ) และสามารถมองเห็นจิตใจคนได้ถ่องแท้(ส่งผลทำให้ชูดึงวอยด์ออกมาถูกประเภท ถูกที่ ถูกเวลาด้วย)

    วิเคราะห์ ก็ไม่แตกต่างจากคาแร็คเตอร์แนวหัวหน้า และเป็นธรรมเนียมแล้วมั้งการ์ตูนแนวต่อสู้กับพวกองค์กรรัฐบาล กลุ่มต่อต้านใต้ดินมักมีหัวหน้าเก่งเท่ เป็นผู้ใหญ่ ชอบใช้พระเอกทำงานภารกิจบ้าๆ ประจำ (แถมพระเอกดันตอบตกลงทำง่ายๆ ซะงั้น) นอกจากนี้ยังเก่งเรื่องวางแผน พวกพรรคเชื่อใจยอมสละชีวิต และเก่งเรื่องวางแผน (ขนาดหลอกพวกเดียวกันได้) และจีบผู้หญิงเก่งกว่าพระเอก(!?~) เห็นไหมครับคาแร็คเตอร์ที่ว่าซ้ำกับการ์ตูนหลายเรื่องที่ผมยกตัวอย่างก็ว่าได้

    ไม่รู้ทำไมผมดูเจ้าไก แล้วเหม็นขี้หน้ายังไงบอกไม่ถูก (ไม่สนใครจะอวยหรอก)  ปกตินี้ผมก็ไม่ได้เกลียดพวกหัวหน้ากลุ่มต่อต้านอะไรมากมาย แต่ไกนี้พิเศษเลยก็ว่าได้ เพราะวีรกรรมหลายอย่างเล่นเอาคนดูแค้น ไม่ว่าจะเป็นแย่งฮาเร็มชู (อันนี้สำคัญ) เจ้าแผนการชอบหลอกคนอื่น (อีกทั้งหลายคนเกือบเกลียดด้วยซ้ำในช่วง ตอนที่ 5 ตอนที่พาอิโนริเข้าห้องตอนกลางคืน!!) ถ้าผมเป็นชูนี้ผมว่าผมไม่ทำตามคำสั่งของไกหรอกครับ เป็นผมเลือกผมม่วง(เซไก)ยังน่าฟัง น่าให้ความร่วมมือมากกว่า

    ข้อเสียของไกคือการรวมอำนาจในองค์กรมาไว้ที่ตนเองคนเดียว (พูดง่ายๆ คือเวลามีงานอะไรตนเองก็เหมาทำหมด) ทำให้คนอื่นเอาแต่หวังพึ่งแต่ไกอย่างเดียว  แม้ประโยคคือคำสั่งของไกเป็นคำขาด สามารถสั่งงานได้ไม่มีการขัดแย้ง แต่หากวันใดวันหนึ่งไม่มีไกขึ้นมาองค์กรนี้คงไปไม่รอด เพราะคนอื่นสั่งงานไม่เป็น มีสิทธิทำให้องค์กรล่มสลายในพริบตา นอกจากนี้เจ้าไกวางแผนเก่งเกินเหตุ(จนหลายคนดูแล้วมันเวอร์ไปไหม?) ชนิดเรียกว่าแผนของไกหลายแผนผิดพลาดนิดเดียวตายยกรัง (ตอนที่ 6 ที่ได้ชัดเลยว่าไกทำพลาด)

    ถ้าวิเคราะห์ตัวละครในเรื่อง หลังจากที่ผมดูมาแล้ว 6 ตอน ผลก็คือตัวละครทั้งหลายในเรื่องไม่แตกต่างจากการ์ตูนแนวแอ็คชั่นไซไฟมากนัก แม้ตัวละครหลายตัวจะออกแบบสูตรสำเร็จบ้าง แต่กระนั้นก็มีสเน่ห์ สนุกใช้ได้  ดูได้เพลินๆ ติดตามกันได้ยาวๆ เพราะมีจุดวิเคราะห์มากมาย ว่าทำไมตัวละครถึงติดสินใจแบบนี้ ทำไมถึงทำอย่างงั้นโดยเฉพาะพระเอกหรือนางเอก หรือฝ่ายตัวโกงผมม่วง(เซไก) มีหลายคนชอบตัวละครผู้ร้ายคนนี้มาก  เพราะมันบ้าได้ใจดี อีกทั้งยังเป็นตัวร้ายที่มีอุดมคติเป็นของตนเอง ซึ่งผมเองก็ชอบฉากตอนสอบสวนซู(ตอนที่ 4) ที่พูดโน้มน้าวซูให้คล้อยตามได้ดีกว่าไกเสียอีก ส่วนตัวละครอื่นๆ ที่ชอบเป็นพิเศษก็ เช่น แม่พระเอกที่ยังสาวสวย หรือฮาเระเพื่อนพระเอกที่ชอบชูจากใจจริง (เชื่อว่าบทเธอน่าจะเด่นในอนาคต ผมเชื่อแบบนี้)

                     

    การดำเนินเนื้อเรื่อง จุดสำคัญที่สุดที่จะทำให้อนิเมชั่นการ์ตูนเรื่องหนึ่งดังก็คือการดำเนินเนื้อเรื่องว่ามีความแปลกใหม่ หักมุม และสามารถทำให้ผู้เกิดอารมณ์ร่วมอยากติดตามต่อไปได้หรือเปล่า

     แนวของการ์ตูนที่ได้รับความนิยมส่วนมาก มักเป็นแนวแอ็คชั่นต่อสู้กัน เนื่องจากมีกลุ่มผู้ดูหลายกลุ่ม อีกทั้งการเล่าเรื่องยังสามารถทำให้ผู้ดูเกาะติดได้อย่างทันที สร้างความอยากรู้อยากเห็นได้ง่าย เพราะมีทั้งจุดไคกแมกซ์ จุดหักมุม ซึ่งมีประสิทธิภาพในการเล่าเรื่องเข้าใจง่าย

    สังเกตอนิเมชั่นที่ดังๆ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบออริจินัล สาเหตุก็ง่ายๆ เพราะทำให้ผู้ดูลุ้นติดตามได้มากกว่าเพราะเราไม่สามารถสามารถรู้เนื้อหาตอนต่อไปได้เลย ซึ่งหากเป็นอนิเมชั่นที่สร้างจากมังงะแล้วเราก็รู้ทันทีว่าตอนต่อไปมันเป็นจะเป็นยังไงต่อ ทำให้ไม่มีแรงจูงใจในการติดตาม หรือไม่มีอะไรลุ้น ดังนั้นอนิเมชั่นที่สร้างต้นฉบับมังงะ, เกม, ไลน์โนเวล ส่วนใหญ่ผู้ดูจะดูเอาบรรยากาศ หรืออยากเห็นฉากที่เราชอบ ซึ่งส่วนมากอนิเมชั่นมักจะทำตรงต้นฉบับให้มากที่สุด อย่าคาดเคลื่อนจากเดิมจนน่าเกลียดมากนัก (แต่กระนั้นเท่าที่ดูมาอนิเมชั่นที่สร้างจากมังงะที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุดทั้งที่เนื้อหาไม่ตรงต้นฉบับเลยคงจะเป็น Elfen Lied ซึ่งมีเนื้อหาดีกว่าต้นฉบับเสียอีก)

    อย่างไรก็ตามเพราะสูตรสำเร็จของการ์ตูนเรื่องนี้เอง ที่ทำให้แฟนการ์ตูนบางส่วนอาจรู้สึกเบื่อหน่าย สูตรสำเร็จหรือพล็อตตลาด มีความหมายว่าพล็อตเรื่องที่มีลักษณะคล้ายๆ กับเรื่องที่ได้รับนิยมในท้องตลาด ที่เขียนขึ้นเพื่อหารายได้เพียงอย่างเดียว (หรือบางครั้งตั้งใจไม่ให้เหมือนพล็อตตลาด แต่เนื้อหาก็ไม่แตกต่างไปจากเรื่องในท้องตลาด เนื่องจากคนทำไม่ศึกษามาให้ดีนั่นเอง) ซึ่งการ์ตูนดังกล่าวพล็อตคล้ายกับ Code Geass (ความจริงแล้วผมว่าเหมือนการ์ตูนแอ็คชั่นไซไฟหลายเรื่องรวมกันมากกว่า) โดยเฉพาะตอนต้นเรื่องสูตรสำเร็จชัดๆ ส่งผลทำให้หลายคนเปรียบเทียบว่าเหมือน Code Geass แถมบางคนออกความเห็นด้วยว่า เหมือน แต่ Code Geass เหนือกว่า ทำให้บางคนเกิดอาการไม่มีแรงจูงใจในการดูการ์ตูนเรื่องนี้บริยาย

    หากเดาความคิดผู้สร้างเขาคงอยากทำสูตรสำเร็จแบบนี้ก็เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจง่ายๆ สามารถดูการ์ตูนเรื่องนี้ได้ไม่มีการงงสับสนกับเนื้อหาในเรื่อง อีกทั้ง หากทำแหวกแนวหรือเฉพาะตัวเกินไป จำพวก หักมุมจนผู้ดูตกใจ (ตัวอย่างการ์ตูน Mahou Shoujo Madoka Magica) หรือใช้มุมมองแปลกใหม่ก็คงทำไม่ได้ เพราะมันจะเป็นการเสี่ยงมากเกินไป ซึ่งสาเหตุนี้เองทำให้ภาพยนตร์ทุนสูงๆ หรือละครน้ำเน่าบ้านเรามันทำพล็อตออกมาสูตรสำเร็จส่วนมากเพราะไม่กล้าเสี่ยง

    อย่างไรก็ตามพอดีผมไม่ได้ดู Code Geass เลยไม่รู้ว่ามันเหมือนตรงไหนบ้าง เลยดูการ์ตูนเรื่องนี้เพลินๆ ไป (แต่ไม่วายเปรียบเรื่องอื่นที่ได้ดูก่อนหน้านี่แทน เพราะมันสูตรสำเร็จนั่นแหละ) และจุดสำคัญที่สุดที่ทำให้อนิเมชั่นประสบสำเร็จคือ “อย่าหักหลังคนดู” เช่น มีฉากประทับใจที่โดนใจคนดู เช่น อวยตัวละครที่คนดูชอบให้มากๆ การตายของตัวละครต้องทำให้รับได้ อย่าง Code Geass ตอนสุดท้ายพระเอกตาย(ผมเข้าใจถูกเปล่า?) แต่เป็นการตายที่คนดูรับได้  และฉากจบที่สำคัญที่สุด ต้องจบแบบแอปปี้ มีความสุขตลอดไปตามสูตรของแอ็คชั่นไซไฟ(ฮาเร็มได้ผมจะอวยไปเลย) ไม่ควรจบแบบโศกนาฏกรรม  จบห่วย หรือจะจบคลุมเครือ และอย่าจบแบบหักหลังคนดู (เช่นมันเป็นแค่ความมฝัน หรือพระเอกชูตาย ซึ่งไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะชูไม่ได้ฆ่าคนหรือมีความคิดแบบดาร์ทๆ หากตายนี้มันไม่ใช่หักมุม แต่เป็นการหักหลังผู้ดูไป)

    นอกเหนือธีมของเรื่อง Guilty Crown จะเป็นการพัฒoาจิตใจของชูแล้ว เรื่องราวหลักยังเกี่ยวกับการต่อต้านการองค์ GHQ ยึดครองที่เข้ายึดครองญี่ปุ่น พล็อตดังกล่าวยังสูตรสำเร็จค่อนข้างมาก แต่กระนั้นดูนานๆ เข้าก็ทันสมัยดีครับ ตรงกับกระแสโลก ดูแล้วนึกถึงสหรัฐยึดครองอีรัก หรือการยกเลิกระบอบเผด็จการในประเทศลีเบีย ซึ่งความจริงแนวเรื่องไม่ได้ตั้งใจสื่อกระแสโลกแนวดังกล่าวหรอกครับ หากแต่ต้องการสื่อเรื่องการเข้ามาแทรกแซงการเมืองของประเทศญี่ปุ่นของสหรัฐเสียมากกว่า ตัวอย่างเด่นชัด คือ ค่ายทหารสหรัฐที่เข้ามาตั้งฐานทัพในโอกินาวา ที่ญี่ปุ่นอยากให้ย้ายฐานทัพออกนักออกหนา(แต่ก็ไม่สามารถทำได้) แต่การ์ตูนก็สื่อไม่ดราม่าการเมืองมากนัก แต่กระนั้นก็เห็นภาพเลยว่าทั้งสองฝ่ายใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยความรุนแรง เขารุนแรงมา เขาก็รุนแรงตอบ เป็นแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เจ็บกันทั้งสองฝ่าย ลากผู้บริสุทธิ์ล้มตายนับไม่ถ้วน ในขณะที่ประชาชนทั่วไปก็ชาชินกับเรื่องดังกล่าวเหมือนกับเป็นเรื่องปกติประจำวัน  ซึ่งตอนนี้เรื่องราวของการ์ตูนก็ยังไม่ได้เฉลยว่าฝ่ายไหนถูกหรือผิดกันแน่ ซึ่งก็น่าติดตามว่าจะเป็นยังไงต่อไป

     นอกจากนี้ยังมีปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้อนิเมชั่นเรื่องหนึ่งประสบผลสำเร็จ เช่น เวลาที่ออกฉาย ชื่อชั้นผู้กำกับ และดวง ซึ่งเป็นส่วนน้อย แต่กระนั้นก็เรียกทำให้ผู้ดูสนใจระดับหนึ่ง และ เมื่อเราเอาองค์ประกอบที่กล่าวมาทั้งหมดรวมกัน Guilty Crown ก็เป็นอนิเมชั่นที่ทุนสูงและมีสูตรสำเร็จจากเรื่องต่างๆ ค่อนข้างมาก ทำให้สามารถเดาเนื้อเรื่องตอนต่อไปได้(แถมความถูกต้องประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์อีก) แต่กระนั้นก็ดูได้เพลินๆ อย่าไปคิดมาก บางคนอาจอินหรือไม่อิน ก็แล้วแต่รสนิยมคนดู แต่จะโด่งดังได้หรือไม่นั้น ก็ตอบได้ว่าต้องดูอีกยาว ว่าเขาจะทำฉากประทับใจได้ดีแค่ไหน จบแบบหักหลังคนดูหรือเปล่า  แต่อย่างไรก็ตามอนิเมชั่นมาถูกทางแล้วเพราะมีเสียงตอบรับค่อนข้างดี เป็นบวก เนื่องจากหลายคนชอบพระเอกและนางเอก เพลงประกอบเพราะๆ ใครที่ชอบแนวแอ็คชั่นไซไฟก็แนะนำดูล่ะกัน เอาเป็นว่าหากมีประเด็นใหม่ๆ ห้กล่าวถึงในช่วงกลางตอนผมจะมาเพิ่มเนื้อหาอีกในอนาคตน่ะครับ

    + +

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×