ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    100 อันดับ โลกต้องจารึก

    ลำดับตอนที่ #137 : (ปริศนาโลกตะลึง) เบื้องหลังการรุมสังหาร จูเลียส ซีซาร์

    • อัปเดตล่าสุด 4 พ.ค. 50




    เบื้องหลังการรุมสังหาร จูเลียส ซีซาร์

    "Vini vidi vici ข้ามา ข้าเห็น ข้าชนะ"

    นี้คือประโยคอมตะของไกอุส จูเลียส ซีซาร์ หรือที่บ้านเรารู้จักกันดีว่า ซีซาร์ ได้กล่าวไว้หลังจากที่เขาสามารถกำจัดคู่แข่งทางการเมืองได้หมดแล้วและได้ปกครองโรมันแบบเผล็ดการด้วยอำนาจอันล้นพ้นดุลพระจักรพรรดิ(เขาเลี่ยงไม่รับตำแหน่งพระจักพรรดิ)

    แต่น่าเสียดายที่เขากำจัดศัตรูไม่หมด จึงต้องจบชีวิตแบบอนาถ

    เพราะเขาลืมกำจัดเพื่อน!

    เรื่องของเรื่องเกิดขึ้นเมื่อบรรดาสมาชิกสภาเซเนทที่ถูกซีซาร์ลิตรอนสิทธิและอำนาจ เกรงว่าซีซาร์อาจจะสังหารพวกตนและครองอำนาจคนเดียว จึงร่วมมือกันวางแผน โดยสมรู้ร่วมคิดร่วมกันสังหารเขา โดยมี มาร์คุก บรูตุส และ คัสสิดุส ซึ่งเป็นสหายสนิท โดยมีสมาชิกสภาเซเนทอีก 60 คนร่วมมือด้วย

    เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด

    ลางร้ายก่อนซีซาร์ถูกฆาตกรรม


    นักประวัติศาสตร์ได้กล่าวถึงลางร้ายก่อนวันลอบสังหารซีซาร์อย่างน่าสนใจว่า ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดเหตุการณ์ประหลาดอันเป็นลางสังหรณ์ก่อนวันที่ 15 มีนาคม หลายประเด็น เช่น

    นายทหารระดับคุมกำลังที่จะร่วมเดินทัพไปกับซีซาร์ต่างรู้สึกเซื่อมซึมไม่กระฉับกระเฉงเหมือนไปรบในครั้งก่อน ๆ

    ม้าของซีซาร์ที่เคยนำออกไปรบแตกตื่นหนีออกจากคอกข้ามแม่น้ำรูบิคอนไปยังวิหารเทพเจ้ามารส์ และไม่ยอมกินอาหาร น้ำตาไหลโดยไม่ทราบสาเหตุ

    ขณะที่ซีซาร์นอนพักอยู่ภายในบ้านพักในโรม ในวันที่ 14 มีนาคม ปรากฏว่าประตูและหน้าตางทุกบานเปิดออกเอง ราวกับมีพายุพัดอย่างรุนแรง

    เสื้อเกราะที่ซีซาร์เคยใช้ในขณะออกรบตามที่ต่างๆ ที่เก็บไว้ในตู้ชั้นบนตกลงมายังพื้นห้อง และมีหลายชิ้นที่แตกหัก

    คัลเปอร์เนียเภรรยาคนแรกของซีซาร์เคยได้รับคำทำนายจากโหรคนหนึ่งให้ซีซาร์พึงระวังวันที่ 15 เดือนมีนาคมให้ดีจะเกิดเรื่องร้ายแรงขึ้นกับเขา แต่เมื่อนางเอาเรื่องนี้ไปบอกซีซาร์ เขาก็ได้แต่หัวเราะและไม่กล่าวอะไร และเมื่อถึงวันที่ 14 มีนาคม นางฝันร้ายว่าซีซาร์ถูกลอบสังหารและวันรุ่งขึ้นเธอก็พยายามเตือนซีซาร์อีกครั้ง แต่ซีซาร์จำเป็นต้องเดินทางไปตามกำหนดการอยู่ดี

    เดินทางไปตาย!

    มีสมาชิกสภาเซเนทจำนวนถึง 60 คนมีส่วนร่วมกับแผนการสังหารปลิดชีพซีซาร์ โดยกำหนดการไว้ว่าการสังหารจะเกิดขึ้นทันทีที่ซีซาร์มาถึงสภาเซเนท ในระหว่างทางได้มีชายคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ไม่ได้บอกว่าเป็นใคร แต่น่าจะเป็นคนสนิทของซีซาร์) ได้เดินเข้ามาใกล้เสลี่ยงที่ซีซาร์นั่งอยู่ และยื่นกระดาษแผ่นเล็กๆ ที่ระบุรายละเอียดของแผนการลอบสังหารซีซาร์ ซีซาร์รับไว้แล้วกลับส่งต่อไปให้ทาสคนหนึ่งของเขา(ในประวัติศาสตร์บอกว่าซีซาร์ยังกำแผ่นกระดาษนั้นไว้ในมือไปตลอดทางจนกระทั้งเขาถูกสังหารเมื่อมีการตรวจสอบศพของเขาก็พบเอกสารแผ่นนั้นอยู่ในมือที่กำแน่นของเขาด้วย)

    ซีซาร์ได้อ่านเอกสารที่ผู้ปรารถนาดีเขียนหรือไม่อ่านเราไม่ทราบได้ แต่เขาก็ยังเดินทางต่อไปยังสภาเซเนท

    เมื่อครั้งถึงสภาเซเนท ซีซาร์ได้นั่งลงใต้รูปปั้นของปอมเปย์(อดีตผู้นำโรมัน คู่ปรับซีซาร์ แต่แพ้ซีซาร์ และถูกสังหารโดยทางการอียิปต์เพื่อเอาใจเขา) ในระหว่างที่เขานั่งก็มีนกตัวเล็กๆ ที่บินเข้าไปภายในหอประชุมสภาแล้วถูกนกอีกฝูงหนึ่งรุมจิกทำร้ายจนตายอย่างเวทนา

    ลางร้าย!


    แต่ซีซารืไม่สนใจ เพราะหลังจากนั้นทัลลิอุส ซิมเบอร์ เดินมาหาหาเพื่อขอร้องให้ซีซาร์อภัยโทษน้องชายเขาที่ถูกเนรเทศไปชายแดน

    ระหว่างที่ซีซารืกำลังสนทนากับทัลลิอุส ซิมเบอร์ นั้นเอง คัสกาได้เดินอ้อมหลังมาหาซีซร์และกระชากเสื้อคลุมของซีซาร์ออกและเอามีดจ้วงแทงเข้าไปที่หลังคนแรก เป็นสัญญาว่า "โว้ยตูเปิดก่อนแล้ว คนอื่นรุม(ไม่ใช้ลงแขก)" หลังจากนั้นทุกคนก็เข้ามาเหรุมแทงชายผู้ยิ่งใหญ่แต่ไร้อาวุธตามความต้องการว่าจะแทงมากน้อยเพียงใด

    และนั้นเองซีซาร์ได้หลุดปากออกเป็นคำสุดท้ายอำมตะว่า "Et tu Brute เจ้าด้วยหรือนี่บรูตุส" (ใครเคยอ่านเรื่อง QED น่าจะรู้) ด้วยอาการตกใจไม่เชื่อว่าเพื่อนรักของตนจะทรยศเขาในครั้งนี้

    แต่ในประวัติศาสตร์(ไม่แน่นอน) บางแห่งระบุว่า มีข่าวลือหนาหูว่า ซีซาร์อาจเคยมีความสัมพันธ์กับมารดาของบรูตุส หรืออีกอย่างว่าซีซาร์คือบิดาของบรูตุสนั้นเอง ส่วนบรุตุสนั้นเองแทงซีซาร์ที่บริเวณหัวเหน่าซึงทำให้คนมาตีความว่าเขาน่าจะมีความแค้นกับซีซาร์มานานแล้ว

    และแล้วซีซาร์ผู้ยิ่งใหญ่ก็สิ้นใจตายอยู่บนพื้นตรงหน้ารูปปั้นปอมเปย์อดีตคู่ปรับคู่แค้นของซีซาร์ โดยมีบาดแผลถูกแทงกว่า 23 แผล


    หลังจากที่ซีซาร์ถูกสังหารโหด วันรุ่งขึ้นคัสสิอุสและบรูตุสก็กล่าวอธิบายเหตุผลต่อสภาเซเนทว่าเขาจำเป็นต้องสังหารซีซาร์เพราะเขากำลังตั้งตัวเป็นเผล็ดการนั้นหมายถึงการปกครองแบบสาธารณรัฐโรมันที่ปกครองหลายร้อยปีจะจบสิ้นทันที นอกจากนี้เขายังมีแผนย้ายโรมไปยังอเล็กซาน เดรียที่อียิปต์เพื่อให้เขาได้อยู่กับคลีโอพัตราและบุตรชายซีซาเรี่ยน

    จนในที่สุด มาร์คุส อันโตนิอุส หรือมาร์ค แอน โธนี่ ก็ขึ้นมาสืบทอดอำนาจแม้ว่าเขาจะอภัยโทษบรรดาสมาชิกสภามือสังหารทั้งหลาย แต่บรรดาทหารที่จงรักภักดีต่อซีซาร์กลับลุกฮือขึ้นด้วยความไม่พอใจและเข้าปะทะกับทหารบรูตุส มาร์คุส

    แม้อันโตนิอุสจะสามารถยุติการลุกฮือได้ แต่หลังจากนั้นไม่นานบรูตุสและคัสสิอุสก็ถูกประชาชนกดดันจนฆ่าตัวตายทั้งคู่แทน

    การตีความคำพูดสุดท้ายของซีซาร์

    • ซีซาร์เป็นเผด็จการแต่ก็ไม่เคยเป็นจักรพรรดิ แม้ว่าเขาจะมีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนั้น อันเป็นเหตุให้ถูกลอบสังหารในที่สุด คำพูดสุดท้ายของซีซาร์ได้แก่ Et tu Brute ในภาษากรีก ภาษาของบุคคลชั้นสูงในกรุงโรม (หรือแปลเป็นภาษาละตินโดยซูเอโทนว่า "Tu quoque, fili" ซึ่งแปลว่า "เจ้าก็ด้วย ลูกชายของข้า") มีความเห็นต่างๆกันไปเกี่ยวกับความหมายในคำพูดสุดท้ายของจูเลียส ซีซาร์
    • การตีความที่พบบ่อยที่สุด คือซีซาร์รู้สึกประหลาดใจที่บุตรชายของตนเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้วางแผนทรยศ
    • บางคนเชื่อว่านี่เป็นคำสาปที่ซีซาร์แช่งให้บรูตุสได้รับชะตากรรมเดียวกับตน
    • การตีความอีกรูปแบบมีการอ้างอิงถึงสุขภาพที่ทรุดโทรมของซีซาร์ก่อนถึงแก่อสัญกรรม เขาอาจจะเป็นโรคเรื้อน ซึ่งทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาเจียนอย่างรุนแรง ไม่ฟังเสียงทัดทานของคนรอบข้าง และเลือกจะจบชีวิตตนเองในที่สุด คำพูดสุดท้ายของซีซาร์จึงอาจตีความได้ว่า "เจ้าก็ด้วย ลูกชายของข้า เจ้าจะต้องแก่และอ่อนแอ และมีชะตากับเดียวกับข้า"


    (
    จากหนังสือลอบสังหารผู้นำ โดยผศ.ดร.บรรพต กำเนิดศิริ)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×