ที่มาของช็อกโกแลตแสนอร่อย - ที่มาของช็อกโกแลตแสนอร่อย นิยาย ที่มาของช็อกโกแลตแสนอร่อย : Dek-D.com - Writer

    ที่มาของช็อกโกแลตแสนอร่อย

    ช็อกโกแลต เป็นชื่อที่หลายๆคนฟังแล้วน้ำลายสอ โดยเฉพาะสาวสวยทั้งหลาย บางคนขนาดลดความอ้วนโดยการไม่ทานข้าว ก็ยังเลือกที่จะทานช็อกโกแลตรองท้อง แต่จะมีใครซักกี่คนที่รู้ว่าช็อกโกแลตมีที่มาอย่างไร

    ผู้เข้าชมรวม

    916

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    916

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  8 ก.ค. 53 / 13:25 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ประวัติช็อกโกแลต

       
                เชื่อกันว่า 2000 ปีก่อนคริสตกาล โกโก้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกแถบลุ่มแม่น้ำอเมซอน
      แต่หลักฐานการบันทึกเป็นลายลักษณ์  ที่เก่าแก่ที่สุดเป็นของชาวมายัน เมื่อ 600 ปีหลังคริสตกาล กล่าวว่า ชาวมายันบริเวณตอนใต้ของเม็กซิโกและอเมริกากลางในปัจจุบันรู้จักและดื่มช็อกโกแลตมาเนิ่นนานแล้วโดยถือเอาหลักฐานที่ว่า cacao อันหมายถึงเมล็ดโกโก้นั้นเป็นภาษามายัน และ chocolate ก็มาจากภาษามายันว่า xocoatl ซึ่งหมายถึง น้ำที่มีรสขม
                ชาวมายันเชื่อว่าฝักโกโก้เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตและความอุดมสมบูรณ์  มีการค้นพบภาพแกะสลักบนก้อนหินและภาพเขียนลายบนเครื่องปั้นดินเผาเป็นภาพฝักโกโก้ นอกจากจะใช้ฝักโกโก้ในพิธีกรรมทางศาสนาแล้ว  วรรณคดีมายายังกล่าวถึงโกโก้ว่าเป็นอาหารของเทพเจ้าอีกด้วย  กระนั้นก็ยังมีบางคนเชื่อว่าช็อกโกแลตน่าจะมีประวัติเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยอารยธรรมโอลเม็ค (Olmec) ที่เกิดก่อนอารยธรรมมายา
       
       
                ต่อมาเมื่อวัฒนธรรมแอซเทคแผ่ขยายเข้าสู่ดินแดนเม็กซิโกกลางในราวปีค.ศ. 1200 ชนเผ่าแอซเทคเชื่อว่าต้นโกโก้เป็นผลงานของเทพเจ้าเควตซาโคตล์ (Quetzacoatl) โดยพระองค์เสด็จลงจากสวรรค์พร้อมกับต้นโกโก้หนึ่งต้น และทรงสอนให้มนุษย์ทำเครื่องดื่มจากเมล็ดโกโก้นั้นซึ่งมีผลทำให้ผู้ดื่มเกิดปัญญาและพลัง
      ในสมัยนั้นการดื่มช็อกโกแลตทำโดยการบดเมล็ดโกโก้กับส่วนผสมพื้นบ้าน  บางครั้งก็ใช้น้ำ  ไวน์  และอาจปรุงรสด้วยวานิลลา พริกสเปน  และพริกแห้งป่น  เชื่อกันว่าช็อกโกแลตนี้สามารถรักษาอาการท้องเสียและโรคบิดได้  บางตำรายังว่ามีสรรพคุณเป็นยาปลุกเซ็กส์อีกด้วย
                ส่วนชาวยุโรปเริ่มรู้จักช็อกโกแลต  เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสเดินทางกลับไปยังสเปนหลังจากได้พิชิตทวีปอเมริกันแล้ว  เขาเป็นชาวยุโรปคนแรกที่รู้จักกับโกโก้  โดยเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1502  ซึ่งเป็นการเดินทางไปยังทวีปอเมริกาเป็นครั้งที่4 และครั้งสุดท้าย  โคลัมบัสและลูกเรือพบเรือที่ทำจากไม้ซุงลำใหญ่จอดอยู่ใกล้กับเกาะนอกชายฝั่งที่ปัจจุบันคือ ฮอนดูรัส  เรือลำนี้เป็นเรือท้องถิ่นลำใหญ่ที่สุดเท่าที่ชาวสเปนเคยเห็นภายในบรรจุสินค้าพื้นเมืองมากมายรวมทั้งเมล็ดโกโก้ด้วยโคลัมบัสจึงยึดเรือกับสินค้าไว้แล้วจับกัปตันมาเป็นคนนำทาง

       

                ต่อมาเฟอร์ดินานต์  ลูกชายของโคลัมบัส  ได้เขียนบันทึกถึงการพบเรือครั้งนี้ว่า  ทั้งเขาและโคลัมบัสประหลาดใจที่รู้ว่าชาวพื้นเมืองให้ความสำคัญกับเมล็ดโกโก้มาก  เฟอร์ดินานต์ถึงกับออกปากว่า  “ ชาวพื้นเมืองที่นี่ดูเหมือนจะเทิดทูนอัลมอนต์พวกนี้ (ซึ่งหมายถึงเมล็ดโกโก้) มากเหลือเกิน ตอนที่พาขึ้นเรือก็ขนมาด้วย  พออัลมอนต์ตกแค่เม็ดเดียว  ยังต้องก้มลงเก็บอย่างกับทำลูกตาหล่น ”  เฟอร์ดินานต์กับลูกเรือนั้นหารู้ไม่ว่าเมล็ดโกโก้ที่เห็นถือเป็นเงินสกุลหนึ่งที่ใช้ในบางที่ของอเมริกากลางเล่ากันว่า 4 เมล็ดใช้ซื้อไก่งวงได้ 1 ตัว เพิ่งเลิกใช้ไปเมื่อราวต้นศตวรรษที่แล้วนี่เอง
      เป็นไปได้ว่าโคลัมบัสนำเมล็ดโกโก้ที่ยึดไว้กลับมายุโรปด้วยและได้ถวายต่อกษัตริย์เฟอร์ดินานต์และพระราชินีอิสเบลลาเป็นจำนวนมาก แต่ทางราชสำนักกลับมองข้ามไป

       

                กล่าวกันว่า 20 ปีต่อมาเฮอร์นาโด คอร์เทซ (Hernando Cortez) นักสำรวจชาวสเปนผู้พิชิตดินแดนที่เป็นเม็กซิโกในปัจจุบันได้ค้นพบความสำคัญของเมล็ดโกโก้พวกนั้นด้วยตัวเอง  ในภายหลังเมื่อเข้ายึดครองดินแดนของชาวแอซเทค เขาสังเกตเห็นว่าชาวแอซเทคใช้เมล็ดโกโก้ปรุงเป็นเครื่องดื่มสำหรับกษัตริย์และแขกเมือง  โดนเรียกเครื่องดื่มชนิดนี้ว่า chocolatl ซึ่งหมายถึง ของเหลวอุ่น  หนำซ้ำยังเล่าต่อกันมาอีกว่า จักรพรรดิโมเทคอูห์โซมา (Motecuhzoma) ของชาวแอซเทคนั้น  ดื่มช็อกโกแลตถึงวันละกว่า 50 ถ้วยทองทีเดียว  ส่วนคอร์เทซเองก็ได้ลองชิม chocolatl นี้ด้วย  แต่ไม่ชอบเนื่องจากมีรสขมเกินไป  อย่างไรก็ตามเขาได้เขียนจดหมายไปรายงานกษัตริย์คาร์ลอสที่ 1 แห่งสเปนว่า  ช็อกโกแลตที่เรียกว่า xocoalt นั้นเป็นเครื่องดื่มที่สร้างภูมิต้านทานและช่วยแก้ง่วงได้ชะงัด
      คอร์เทซได้นำเมล็กโกโก้จำนวน 3 หีบ กลับไปถวายราชสำนักสเปนอีกครั้ง  พร้อมกับสูตรในการปรุงเครื่องดื่มช็อกโกแลต  ความขมได้ถูกปรับให้ลดลงโดยการใส่น้ำตาลให้หวานหอมถูกปากถูกใจคนสเปนนอกจากนี้ยังเติมเครื่องเทศอื่นๆอย่างลูกจันทน์เทศ  วานิลลา  และอบเชยด้วย  ไม่นานนักเครื่องดื่มชนิดใหม่นี้ก็เป็นที่นิยมอย่างสูงในหมู่ขุนนางสเปน


                สำหรับคนยุโรปแล้วการอื่มช็อกโกแลตที่ยังไม่ได้ปรุงแต่งรสหวานเป็นประสบการณ์ที่ต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง  โฮเซ่ เดออะคอสตา (Jose de Acosta) มิชชันนารีชาวสเปน  ซึ่งอาศัยอยู่ในเปรู เมื่อปลายทศวรรษที่ 1500 กล่าวถึงช็อกโกแลตไว้ว่า  เป็นเครื่องดื่มที่อาจจะไม่น่าพิสมัยนักสำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับมัน  ด้วยฟองที่ลอยฟู่อยู่ทำให้ไม่น่าชิม  แต่กระนั้นช็อกโกแลตก็เป็นเครื่องดื่มชั้นสูงที่อินเดียนแดงใช้เลี้ยงต้อนรับขุนนางต่างแดนที่เดินทางไปมาหาสู่กันส่วนชาวสเปนที่อยู่ในดินแดนอาณานิคมนี้นิยมดื่มกันจนคุ้นเคยและจะหวงสูตรลับในการชงช็อกโกแลตอย่างมาก  พวกเขาปรุงช็อกโกแลตกันหลายแบบ  ทั้งแบบร้อน เย็น อุ่น และแบบใส่พริกแห้ง  จนถึงแบบเข้มข้น  ซึ่งเชื่อว่าดีต่อระบบทางเดินอาหารและป้องกันเยื่อบุคอและจมูกอักเสบได้
                ต่อมาไม่นานนักนักช็อกโกแลตก็ได้เดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปปรากฏอยู่ที่สเปนและแพร่ขยายไปทั่วทวีปยุโรป  การขนส่งช็อกโกแลตอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นเมื่อปี 1585 จากเมืองเวราครูซ (Veracruz ) แห่งเม็กซิโก  ไปยังเมืองเซวิย่า (Seville) ในสเปน  เมื่อชาวสเปนนำช็อกโกแลตกลับประเทศไปในระยะแรกๆนั้น  ยังนิยมกินกันในรูปเครื่องดื่มอยู่  ซึ่งต่อมาได้มีวิวัฒนาการที่สำคัญของช็อกโกแลตเมื่อมีการใช้น้ำตาลผสมในน้ำช็อกโกแลตแทนพริกแห้งช็อกโกแลตสูตรใหม่ที่หวานอร่อยนี้จึงกลายเป็นอาหารชั้นสูงที่น้อยคนนักจะหาซื้อมาชิมได้
      แต่พอศตวรรษที่ 17  เครื่องดื่มชนิดนี้ก็แพร่หลายเป็นเครื่องดื่มสามัญทั่วยุโรป  เริ่มจากประเทศอังกฤษซึ่งถือว่าเป็นประชาธิปไตยมากกว่าประเทศอื่นๆ  นั้นสามารถหาซื้อช็อกโกแลตได้ในราคาไม่สูงและมีวางขายอยู่ทั่วไป  ทั้งนี้คนอังกฤษยังสามารถไปนั่งดื่มช็อกโกแลตได้ตามร้านกาแฟและร้านช็อกโกแลตต่างๆ ร้านช็อกโกแลตแห่งแรกในลอนดอนเปิดขึ้นโดยชาวฝรั่งเศสเมื่อปีค.ศ. 1657
                จากนั้นเมื่อประเทศต่างๆ พากันท้าทายการผูกขาดโกโก้ของสเปนช็อกโกแลตจึงยิ่งแพร่หลายเป็นเท่าทวีคูณฝรั่งเศส อังกฤษ และฮอลแลนด์ก็เริ่มเพาะปลูกโกโก้ที่ดินแดนอาณานิคมของตนบริเวณทะเลแคริบเบียน และแถบอื่นๆทั่วโลก
                ในเวลาต่อมา  เมื่อมีผลผลิตมากขึ้น  ราคาจึงลดลง ทั้งชาวยุโรปและอเมริกันสามารถลิ้มรสช็อกโกแลตกันได้อย่างทั่วถึง  อย่างไรก็ตามหลายๆคนเห็นว่าการผลิตโกโก้มากขึ้นในทวีปอเมริกา หรือ New World นั้น คือการใช้แรงงานทาสและความยากลำบากของชนชั้นแรงงาน  เพราะการผลิตโกโก้นั้นหมายถึงการใช้แรงงานของชาวพื้นเมืองและแรงงานทาสที่นำเข้ามาจากแอฟริกา

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×