ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวียงวัง

    ลำดับตอนที่ #34 : เจ้าหญิงแห่งนครเชียงใหม่

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.42K
      4
      6 มิ.ย. 52

     

    เรื่องเจ้านายฝ่ายเหนือนั้น เป็นที่สนใจของผู้อ่านอยู่ไม่น้อย เห็นได้จากมีผู้ถามมาหลายครั้ง โดยเฉพาะเรื่องราวของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี เจ้าหญิงแห่งนครเชียงใหม่ ซึ่งโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระเกียรติยศพระภรรยาเจ้า ลำดับที่ ๕ ใน ๕ พระองค์ คือ

                    ๑. สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
                    ๒. สมเด็จพระบรมราชเทวี
                    ๓. พระอัครราชเทวี
                    ๔. พระอัครชายาเธอ
                    ๕. พระราชชายา

    ราชวงศ์ฝ่ายเหนือ ซึ่งเป็นเจ้าประเทศราชของกรุงสยามตั้งแต่แรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์นั้นมีอยู่ราชวงศ์เดียว คือ ทิพย์จักราธิวงศ์แยกสาขาใช้นามสกุล ณ เชียงใหม่” “ณลำปางและ ณ ลำพูนสามสาขา

    เคยเล่าเรื่องของเจ้านายฝ่ายเหนือลงใน เวียงวังและได้รับความเอื้อเฟื้อจากเจ้าในสกุล ณ ลำปาง ท่านหนึ่ง ท้วงติงมาในบางเรื่อง และได้กรุณาเล่าเรื่องเพิ่มเติมมาด้วย จึงขอนำลงโดยละเอียด เพื่อจะได้รู้จักราชวงศ์ ทิพย์จักราธิวงศ์หรือตระกูล เจ้าเจ็ดตนโดยถูกต้องดังนี้

     

    เจ้านายฝ่ายเหนือ

    จากความตอนหนึ่งของพระนิพนธ์คำปรารภใน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ทรงประทานไว้ในหนังสือดารารัศมีว่า คนภาคกลางส่วนหนึ่งมีความรู้เรื่องล้านนาน้อยมาก ไม่เคยนึกว่าเป็นเสมือนอีกประเทศหนึ่งที่มีวัฒนธรรมอันต่างกันฯชี้ชัดให้เห็นว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ทราบมาก่อนเลยว่าทางภาคเหนือของประเทศไทยนั้นเมื่อมีอดีตที่ควรค่าแก่การศึกษาและเป็นต้นกำเนิดแห่งราชวงศ์ฝ่ายเหนือ ทิพย์จักราธิวงศ์อันเป็นที่มาของเจ้านายฝ่ายเหนือที่ผู้อ่านสกุลไทยท่านหนึ่งสนใจและเขียนเป็นจดหมายมาถามท่านดังที่ท่านเคยได้ตอบผ่านทางคอลัมน์เวียงวังดังกล่าว

    และจากการที่ท่านได้ตอบจดหมายดังความที่ปรากฏแล้วนั้น พบว่ามีข้อความบางตอนที่ท่านนำลงเผยแพร่นั้นไม่ถูกต้องเริ่มตั้งแต่ลำปางในสมัยที่เจ้าพระญาสุลวฤาไชยสงครามหรือเจ้าทิพช้างปราบดาภิเษกเป็น พระเจ้าเหนือชีวิต พระเจ้าเหนือแผ่นดินล้านนานั้น นครเขลางค์หรือนครลำปางไม่ได้ขึ้นตรงต่อฝ่ายไหนทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นทางสยามและพม่า นครเขลางค์เป็นนครอิสระ แต่มีอาณาเขตใกล้กับทางพม่ามากกว่าทางสยาม ดังนั้นเจ้าพระยาสุลวฤาไชยสงครามจึงจัดเครื่องราชบรรณาการไปผูกสัมพันธ์กับทางพม่าทั้งนี้ เพื่อเป็นการปกป้องตนเองเกรงอิทธิพลพม่าที่มีกำลังแข็งกว่าจะเข้ามาครอบงำอีก ดังนั้นที่ท่านกล่าวว่านครลำปางในสมัยนั้นขึ้นต่อพม่าจึงผิดจากความเป็นจริง เพราะที่จริงแล้วนครลำปางผูกพันธ์กับพม่าก็เพื่อเป็นวิธีการเอาตัวรอดจากการเข้าครอบงำของพม่านั่นเอง

    อีกตอนหนึ่งที่ท่านกล่าวว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๑ นั้นได้โปรดให้เจ้ากาวิละไปครองนครเชียงใหม่ และโปรดให้เจ้าน้องอีก ๖ องค์ ไปครองนครลำพูนและลำปางในปี พ.ศ.๒๓๒๔ นั้น ขอเรียนให้พิจารณาแก้ไขเป็นในปี พ.ศ.๒๓๒๕ ภายหลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑ ทรงปราบดาภิเษกเป็นองค์ปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว ทรงโปรดเกล้าให้เจ้ากาวิละเจ้านครลำปาง องค์ที่ ๓ ไปครองนครเชียงใหม่เป็นพระเจ้านครเชียงให่องค์แรกโปรดให้เจ้าคำโสมอนุชาองค์ที่ ๒ ครองนครลำปางสืบแทนเป็นเจ้านครลำปางองค์ที่ ๔ และโปรดให้อนุชาอีก ๕ องค์ เป็นเจ้าอุปราช เจ้าราชวงศ์ และยังไม่มีการตั้งเมืองนครลำพูนในครั้งนี้

    เจ้านายพี่น้องทั้ง ๗ องค์ นี้เป็นพระโอรสของเจ้าฟ้าสิงหราชธานีหลวงชายแก้วกับแม่เจ้าจันตาเทวี ซึ่งเจ้านายพี่น้องทั้ง ๗ องค์ นี้ทรงได้เป็นผู้นำทัพล้านนาเข้าร่วมกับทัพหลวงกรุงธนบุรีทำการกวาดล้างพม่าให้ออกไปจากดินแดนล้านนา มหาชนชาวล้านนาทั้งปวงจึงพร้อมใจกันขนานนามเจ้านายพี่น้องทั้ง ๗ องค์ ว่า เจ้าเจ็ดตน ผู้ฟื้นแผ่นน้ำหนังดินล้านนา ซึ่งคำว่าตนนั้นหมายถึง องค์ ของทางไทยสยามนั่นเองและเจ้านายพี่น้องทั้ง ๗ องค์ ดังกล่าวทรงมีพระนามดังนี้

                    ๑. เจ้าชายกาวิละ เป็นเจ้านครลำปางองค์ที่ ๓ และเป็นพระเจ้านครเชียงใหม่องค์ที่ ๑ เหล่าบรรดาเจ้านายบุตรหลานในพระองค์ต่างสืบเชื้อสายมาถึงปัจจุบัน เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือในราชสกุล ณ เชียงใหม่

                    ๒. เจ้าชายคำโสม เป็นพระเจ้านครลำปางองค์ที่ ๔ เหล่าบรรดาเจ้านายบุตรหลานในพระองค์ต่างสืบเชื้อสายมาถึงปัจจุบัน เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือในราชสกุล ณ ลำปาง

                    ๓. เจ้าชายธรรมลังกา เป็นพระเจ้านครเชียงใหม่องค์ที่ ๒ เหล่าบรรดาเจ้านายบุตรหลานในพระองค์ต่างสืบเชื้อสายมาถึงปัจจุบันเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือในราชสกุล ณ เชียงใหม่

                    ๔. เจ้าชายดวงทิพ เป็นพระเจ้านครลำปางองค์ที่ ๕ เหล่าบรรดาเจ้านายบุตรหลานในพระองค์ต่างสืบเชื้อสายมาถึงปัจจุบัน เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือในราชสกุล ณ ลำปาง

                    ๕. เจ้าชายหมูหล้า เป็นเจ้าอุปราชเมืองนครลำปาง ถึงพิราลัยในตำแหน่งเจ้าอุปราช เหล่าบรรดาเจ้านายบุตรหลานในพระองค์ต่างสืบเชื้อสายมาถึงปัจจุบัน เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือในราชสกุล ณ ลำปาง

                    ๖. เจ้าชายคำฝั้น เป็นเจ้านครลำพูนองค์ที่ ๑ และเป็นพระเจ้านครเชียงใหม่องค์ที่ ๓ เหล่าบรรดาเจ้านายบุตรหลานในพระองค์ต่างสืบเชื้อสายมาถึงปัจจุบัน เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือในราชสกุล ณ ลำพูน และ ณ เชียงใหม่

                    ๗. เจ้าชายบุญมา เป็นพระเจ้านครลำพูน เหล่าบรรดาเจ้านายบุตรหลานในพระองค์ต่างสืบเชื้อสายมาถึงปัจจุบัน เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือในราชสกุล ณ ลำพูน และเชื้อเจ็ดตน

                    สำหรับในกรณีของผู้ที่มีสิทธิ์ใช้คำนำหน้านามว่า เจ้าที่ท่านได้กล่าวไว้นั้นถูกต้องแล้ว และจากที่ได้อ้างถึงหนังสือเจ้าหลวงเชียงใหม่ ที่ได้อธิบายถึงคำว่า เจ้านั้นก็ถูกต้องตามโบราณราชประเพณีและประการสำคัญการที่จะดำรงตนในวิถีชีวิตปัจจุบันนั้น ผู้ที่สืบเชื้อสายลงมาเป็น เจ้าจะต้องวางตัวในสถานะที่เหมาะสมรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีล้านนา มิใช่เพียงแค่ได้เป็นแต่เพียงผู้สืบเชื้อสายแล้วถูกเรียกขานนำหน้านามว่า เจ้าเท่านั้น ดังนั้นจากคำอธิบายถึงคำว่า เจ้าในหนังสือเจ้าหลวงเชียงใหม่นั้น ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนดีที่สุด

                    อีกประการหนึ่งที่ท่านได้กล่าวถึงว่าพบว่ามีการเรียกขาน เจ้าหญิงบางท่านว่า เจ้าแม่นั้นตามคำอธิบายที่ท่านกล่าวไว้ก็ถูกต้องด้วยประการทั้งปวง

                    และในปัจจุบันนี้ เจ้านายฝ่ายเหนือ ที่ได้สืบเชื้อสายลงมาแต่เจ้าผู้ครองนครหรือเจ้าหลวงนั้นพบว่า ทั้งสามเมืองนครอันได้แก่ นครลำปาง นครลำพูนและนครเชียงใหม่นั้น ปัจจุบันยังคงเหลือเพียงแต่เจ้าหญิงบุษบง ณ ลำปาง เจ้าหญิงชราวัย ๙๐ ปี ธิดาของมหาอำมาตย์โท พลตรีเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิตฯ เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้ายอีกเพียงหนึ่งองค์เท่านั้น นอกเหนือจากนั้นนับว่าเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือที่ได้สืบเชื้อสายต่อมาในระดับชั้นหลานของเจ้าผู้ครองนครทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นเจ้านายจากเมืองนครเชียงใหม่ นครลำปาง และนครลำพูน ทั้งนี้ผมได้หมายความรวมไปถึง เจ้าที่มีชื่อเสียงปรากฏในวงสังคมและข่าวสารต่างๆ ในปัจจุบันและ เจ้าที่ดำรงตนแบบเรียบง่ายที่มีอยู่อีกหลายท่านในประเทศไทย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×