ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวียงวัง

    ลำดับตอนที่ #313 : เล่าถึงรัฐธรรมนูญ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 272
      0
      22 ก.พ. 54

    เมื่อเล่าถึงรัฐธรรมนูญ ทำให้น่าจะเล่าถึงเหตุการณ์ต่างๆเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเกิดขึ้นในพระนคร (เวียง) และเกี่ยวพันกับวัง
             คงมีผู้ทราบกันน้อยนักว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ ๕ ปี ขณะนั้น พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี (ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๖ โดยทำการยึดอำนาจมาจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนแรก)
             จนกระทั่งถึง พ.ศ.๒๔๘๐ ดังกล่าว
             ก็เกิดเหตุการณ์ ซึ่งทำให้นายกรัฐมนตรีตัดสินใจลาออก แต่มิได้ยุบสภาผู้แทนราษฎร สภาฯจึง ยังคงทำหน้าที่อยู่
             ในวันเดียวกันคณะรัฐมนตรีทั้งคณะก็ลาออก
             และประธานผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ขณะนั้นยังทรงเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๑ ก็ทรงลาออก พร้อมกับผู้สำเร็จราชฯอีก ๒ ท่าน คือเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และ เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) ก็ลาออกตามเสด็จประธานฯไปด้วย
             การบริหารประเทศ จึงเกิดช่องว่างชะงักไปในขณะนั้น จะเรียกว่า �เว้นวรรค� ชะงักงันกันไปหมดก็คงได้ คือ ไม่มีทั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธย เพราะขณะนั้นสมเด็จพระมหากษัตริย์ ยังทรงพระเยาว์ พระชนมายุเพียง ๑๒ พรรษา ทั้งยังเสด็จประทับอยู่ต่างประเทศอีกด้วย
             ไม่มีทั้งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (ไม่มีนายกฯรักษาการ และคณะรัฐมนตรีรักษาการ)
             ก็ยังดีที่นายกฯเวลานั้นท่านมิได้ยุบสภาฯ ยังปล่อยให้ทำหน้าที่ �ผู้แทนของราษฎร� ต่อไป ท่านลาออกเฉพาะตัวท่านเอง โดยไม่อยู่รักษาการฯทั้งตัวท่านและคณะรัฐมนตรีของท่าน
    ก่อนจะเล่าถึงเรื่องเมื่อไม่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ไม่มีนายกรัฐมนตรีแล้ว จะทำอย่างไร
    ขอเล่าถึงเหตุที่ทำให้ พ.อ.พระยาพหลฯ นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจลาออกเสียก่อน
             เรื่องราวทั้งหมด ประมวลมาจากเอกสารต่างๆ รวมทั้งจากหนังสือพิมพ์บางฉบับเวลานั้นที่มีผู้คัดลอกเก็บเอาไว้ และพิมพ์เผยแพร่ในเวลาต่อมา
             คือเรื่องที่ผู้แทนราษฎร พากันซักถามเปิดโปงว่ามีการฉวยโอกาสทุจริตซื้อขายที่ดิน เริ่มที่ผู้แทนราษฎรผู้หนึ่ง ได้มีหนังสือไปยังนายกรัฐมนตรี และประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และประธานสภาผู้แทนราษฎร กับส่งถึงหนังสือพิมพ์อีกหลายฉบับ มีข้อความสำคัญตรงกันตอนหนึ่งว่า
              ...ในเดือนกรกฎาคม (พ.ศ.๒๔๘๐) ตั้งแต่วันที่ ๑-๑๙ รวม ๑๙ วัน ได้มีการโอนอสังหาริมทรัพย์ของพระคลังข้างที่ อันเป็นสมบัติของชาติเสียถึง ๒๔ โฉนด ในจำนวนที่โอนขายนี้ไม่มีชื่อตาแป๊ะ ตาสีตาสาเลย แต่กลับมีชื่อผู้สำคัญๆของแผ่นดินทั้งนั้น และข้อฉงนยิ่งเพิ่มขึ้นทุกที ได้สืบดูราคา เป็นสิ่งที่แน่นอนที่จะกล่าวได้ว่า ราคานั้นถ้าขายทอดตลาดโดยเปิดเผยและเป็นเงินสด จะได้เงินราว ๒ เท่า ของราคาที่ขายผ่อนให้กันนั้น ข้อสำคัญถ้ากรมพระคลังข้างที่จะขายที่รักษาผลประโยชน์โดยสุจริต ทำไมจึงไม่ประกาศขายให้ประชาชนมีโอกาสมาซื้อ นี่การณ์เป็นการขายให้แก่คนสำคัญๆมิใช่สามัญ จะทำให้เราสิ้นสงสัยอย่างไรได้ ทั้งปรากฏว่ามีการโอนกันชุกชุมหนักขึ้นในวันที่ ๑๙ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของพระคลังข้างที่จะไปอยู่ในความควบคุมของกระทรวงการ คลัง...
             (พระคลังข้างที่ หรือทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้น เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้ตกไปอยู่ในความดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี เพิ่งจะมีมติให้ไปอยู่ในความควบคุมของกระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐)
             เรื่องการซื้อการโอนที่ดินนี้ได้นำเข้าอภิปรายในรัฐสภา ปรากฏชื่อผู้ซื้อที่ดิน มีทั้งรองนายกรัฐมนตรี สมาชิกประเภท ๒ (หรือที่เปลี่ยนมาเป็นวุฒิสมาชิกโดยรัฐบาลแต่งตั้ง ซึ่งในสมัยนั้นล้อกันว่าเป็น �ฝักถั่ว� ของรัฐบาล คือยกมือสนับสนุนกันไสวเหมือนฝักถั่ว) เมื่ออภิปรายผู้แทนราษฎรพากันอภิปรายอย่าง ดุเดือด
             และโดยเหตุที่การอภิปรายได้พาดพิงไปถึงประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตอนหนึ่งว่า
             เห็นว่าการกระทำครั้งนี้ ถ้าเป็นทรัพย์ส่วนพระองค์ของผู้สำเร็จราชการทำได้ ถ้าเป็นของกษัตริย์ทำไม่ได้ ทั้งการกระทำครั้งนี้ก็ได้กระทำไปก่อนกฎหมาย...
             ในที่สุดพระยาพหลฯ นายกรัฐมนตรี ก็ได้ลาออก การอภิปรายสิ้นสุดลง เพราะรัฐมนตรีก็ลาออกทั้งคณะ เป็นอันว่า ไม่มีรัฐบาล จึงต้องรอตั้งรัฐบาลใหม่
    (สภาผู้แทนราษฎรยังอยู่)
    องค์ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ก็ทรงลาออก เพราะ
             เมื่อสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่าข้าพเจ้าเป็นผู้ที่ได้กระทำการ ซึ่งเป็นที่ข้องใจของประชาชนเช่นนี้แล้ว ข้าพเจ้าก็ใคร่ขอลาออกเสียจากคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
             เมื่อองค์ประธานลาออก คณะผู้สำเร็จฯ อีก ๒ ท่าน คือ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และ เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) ก็พลอยลาออก ทั้งคณะ
             สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีทั้งสมาชิกประเภท ๑ และประเภท ๒ รวม ๑๕๖ คน จึงมีหน้าที่ด่วน ๒ ประการคือ ประการแรก ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ก่อนประการที่ ๒ สรรหาและลงมติแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
              เพียงเวลาไม่ถึงอาทิตย์ การแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการ นั้น อลเวงและวุ่นวายตลอด ไม่ว่าจะกราบทูลเชิญพระองค์ใด หรือท่านผู้ใด ก็ไม่ทรงรับ และไม่รับ ตั้งแต่กราบทูลเชิญ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ์ ซึ่งประทับอยู่ชวาขณะนั้นให้ทรงเป็นประธาน ก็ไม่พอรับ รับสั่งว่า ทรงพระชรามากแล้ว ส่วนคณะฯอีก ๒ ท่าน คือเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ และเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศร์ นั้นยอมรับ
             แต่แล้วคณะผู้สำเร็จราชการฯ ชุดเก่าก็มีหนังสือมาขอถอนใบลาคืน โดยอ้างว่า ประเทศไม่มีทั้งผู้แทนพระองค์พระมหากษัตริย์และไม่มีรัฐบาล หากเกิดเหตุฉุกเฉินประการใด �ข้าพเจ้าทั้งสามก็ย่อมไม่พ้นความรับผิดชอบในเรื่องนี้�
    สภาฯ ประชุมแล้ว ลงมติไม่ยอมรับใบลาคืน
             แต่ทั้งเจ้าพระยาวงศาฯ และเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศร์ ท่านทราบมาว่า พวกทหารยังคงต้องการคณะผู้สำเร็จฯชุดเก่า ทั้ง ๒ ท่าน จึงขอถอนคำรับแต่แรก
             สภาฯ ประชุมใหญ่ ลงมติให้ทูลเชิญ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์เป็นประธาน ครั้นทูลท่าน ท่านไม่ยอมรับ
             ประชุมกันอีก ครั้งนี้ได้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ เป็นประธานฯตามเดิม อีก๒ ท่านคือเจ้าพระยาพิชเยนทรฯ และเจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) เจ้าพระยามหิธรไม่ยอมรับ
             โหวตกันอีก สำหรับคณะ ๒ ท่าน ส่วนประธานนั้นลงมติแล้วว่า คือ พระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ทีนี้โหวตได้ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) และ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ซึ่งปรากฏว่า เจ้าพระยาธรรมศักดิ์ฯ ได้คะแนนมากกว่าเจ้าพระยายมราช เจ้าพระยาธรรมศักดิ์ฯ ขณะนั้นอยู่ศรีราชา ตอบโทรเลขเชิญกลับมาว่าไม่รับ
             ในที่สุด ไปๆมาๆก็ได้คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชุดเดิม หลังจาก เว้นวรรค ไม่มีผู้แทนพระองค์พระมหากษัตริย์อยู่ ๑๐ วัน ตั้งแต่วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ถึงวันที่ ๖ สิงหาคม (วันเข้าปฏิญาณตนรับหน้าที่)
           ส่วนการตั้งนายกรัฐมนตรี ก็มีการซาวเสียง ปรากฏตามหนังสือพิมพ์เวลานั้นว่า ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดคือ พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันชุมเสน) ๑ ใน ๔ ทหารเสือหัวหน้าคณะผู้ก่อการฯ ฝ่ายทหาร ทว่า หม่อมราชวงศ์นิมิตรมงคล นวรัตน์ นักโทษการเมือง พ.ศ.๒๔๘๒ เขียนไว้ในหนังสือประวัติของท่านว่า
             ปรากฏว่าพระยาทรงฯได้คะแนนมากกว่า หลวงพิบูลฯมากมาย ครั้นทราบผลการลงคะแนนดังนี้แล้ว หลวงพิบูลฯจึงมาชี้แจงว่า การลงคะแนนครั้งนั้นเป็นการทดลองฟังเสียงของสมาชิกสภาฯเท่านั้น และได้เชิญให้พระยาพหลฯ กลับมาเป็นนายกฯต่อไป ทั้งๆที่สภาฯ มิได้ลงคะแนนให้�
             ซึ่งหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งเวลานั้นพาดหัวว่า
              การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีเลื่อนไปอีก (และ) ว่าการที่โหวตเมื่อวันก่อนไม่ถือเป็นจริงจัง
    ก็เป็นอันว่า พระยาพหลฯ นายกรัฐมนตรี �เว้นวรรค� ไปไม่ถึงเดือน ว่ากันว่านอนอยู่ในวังปารุสกวันนั่นเอง จนกระทั่งได้รับเชิญให้กลับมาเป็นนายกฯอีก

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×