ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวียงวัง

    ลำดับตอนที่ #10 : เจ้านายทางเหนือ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.48K
      6
      5 มิ.ย. 52

    อยากทราบเรื่องของเจ้านายทางฝ่ายเหนือบ้าง แต่ไม่ทราบว่าจะเกี่ยวข้องกับ"เวียงวัง" ที่เขียนอยู่หรือเปล่า เพราะเมื่อช่วงที่ผ่านมาได้อ่านทั้งใน "สกุลไทย" และนิตยสารหลายฉบับลงเกี่ยวกับการบูรณะพระตำหนักดาราภิรมย์ ของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี เห็นมีเจ้านายฝ่ายเหนือร่วมกันทำงานครั้งนี้ เช่นเจ้าวงศักดิ์ ณ เชียงใหม่ คุณหญิงเจ้าระวิพรรณ ณ เชียงใหม่ ฯลฯ สงสัยเพราะนอกจากเจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ แล้วก็ไม่คิดว่าจะมีเจ้านายฝ่ายเหนือท่านอื่นอีก มีกฎเกณฑ์การเป็นเจ้าอย่างไร
    -

    จดหมายฉบับนี้ค้างอยู่หลายเดือน จึงได้มีโอกาสตอบ ต้องขออภัยด้วยที่เนิ่นช้า

     
    "เวียงวัง" เจ้านายฝ่ายเหนือ เกี่ยวข้องกับ "เวียงวัง" กรุงรัตนโกสินทร์ มาตึงแต่รัชกาลที่ ๑

    ที่จริงแล้วเชียงใหม่เป็นเมืองหรือเวียงเก่าแก่ พระเจ้าเม็งราย หรือมังราย หรือพระยามังราย สร้างขึ้นตามที่ทราบๆ กันดีอยู่แล้ว ตั้งแต่ พ.ศ.๑๘๓๙ ยุคเดียวกับกรุงสุโขทัย


    ราชวงศ์ที่ปกครองเมืองเชียงใหม่ คือ ราชวงศ์มังราย ปกครองกันต่อๆ มา จนถึงกษัตริย์องค์ที่ ๒๐ พระเจ้ามกุฎ ครองราชย์ พ.ศ.๒๐๙๔-พ.ศ.๒๑๐๗

    ใน พ.ศ. ๒๑๐๑ พระเจ้าบุเรงนอง (ผู้ชนะลิบทิศนั่นแหละ) ยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ แค่สามวันเท่านั้นเองก็ยึดเมืองเชียงใหม่ได้ อีกหกปีต่อมา พม่าก็ปลดพระเจ้าเมถุนออกจากราชบัลลังก์ แต่งตั้งพระนางวิสุทธเทวีเชื้อสายราชวงศ์มังรายนั้นเองเป็นทางพระญาแทน ครองบัลลังก์อยู่ ๑๔ ปี สวรรคต

    เป็นอันว่าสิ้นราชวงศ์มังราย และหมดตัวเจ้านายเชื้อสายราชวงศ์มังรายในเวลาต่อมา เพราะพม่าแต่งตั้งเจ้านายและข้าราชการพม่ามาปกครอง ตาอยู่ในอำนาจพม่าถึง ๒๑๖ ปี


    ทั้งหมดนี้เก็บความมาจากพงศาวดารเมืองเชียงใหม่ ระหว่างที่พม่าปกครองบ้านเมืองอยู่ ก็มีผู้พยายามต่อต้านพม่าขึ้นปกครองเชียงใหม่ช่วงระยะเวลาสั้นๆ


    พระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมหมื่นสรรคพิไสยนรบดี ประทับเพียบทางซ้ายสมเด็จพระบรมชนกนาถ

    จนกระทั่ง พ.ศ.๒๒๗๒ ระหว่างที่เชียงใหม่ลำพูน ลำปาง อยู่ในอำนาจพม่า ลำพูนนั้นพม่าก็ปกครองอยู่ ลำพูนยกทัพมาตีลำปาง (เล่าอย่างภาษาเล่าเพราะ สมัยนั้นลำพูนคือหริภุญชัย ลำปาง ชื่อ เขลางคนดร) ทางลำปางมีวีรบุรุษชื่อ หนานทิพช้าง (หนาน-คำเรียกผู้ชายที่บวชแล้ว อย่างเดียวกับภาคกลางเรียกว่า "ทิด")


    หนานทิพช้าง เป็นผู้นำในการสู้รบสามารถขับไล่กองทัพลำพูนแตกหนีกลับไป ชาวเมืองลำปางจึงอภิเษกให้หนานทิพช้างเป็นเจ้าเมืองลำปาง เฉลิมนามว่า "พระญาสุลวฦาชัย"


    ลำปางในสมัยพระญาสุลวฦาชัยนั้นยังคงขึ้นต่อพม่า เมื่อพระยาสุลวฦาชัยถึงแก่อสัญกรรม เจ้าฟ้าชายแก้วได้เป็นผู้ปกครองบ้านเมืองต่อ กษัตริย์พม่าแต่งตั้งให้เป็นเจ้าฟ้าสิงหราชธานี แต่ต่อมาเกิดขัดกันขึ้นกับพวกพม่าที่ครอบครองเชียงใหม่ ถึงขนาดพม่าจับเจ้าฟ้าชายแก้วไปขังไว้ที่เชียงใหม่


    สรุปว่า ระยะเวลานั้น เป็นสมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.๒๓๑๗) เจ้ากาวิละราชบุตรใหญ่ของเจ้าฟ้าชายแก้ว เข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงโปรดให้ เจ้าพระยาจักรี และเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพไปช่วย ปราบพม่ายึดเมืองเชียงใหม่ได้ ทรงตั้งเจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองลำปาง

    เวลานี้เองที่เจ้าพระยาสุรสีห์ผูกสมัครรักใคร่ในเจ้าศรีอโนชา หรือ ศิริรจนา หรือศิริรจจา ได้เสกสมรสเป็นท่านผู้หญิงเอกภรรยา ต่อมาเมื่อสถาปนาพระบรมราชวงศ์จักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เจ้าศิรีรจนา จึงทรงดำรงที่พระอัครชายาในกรมพระราชวังบวรฯ (มิใช่พระอัครชายาเธอ เพราะพระอัครชายาเธอ เป็นตำแหน่งพระมเหสีชั้นหลานหลวงของทางวังหลวง) นับเป็นการเกี่ยวข้องกับ "เวียงวัง" กรุงรัตนโกสินทร์ครั้งแรก


    ในรัชกาลที่ ๑ นั้นเอง ต่อมาโปรดฯให้เจ้ากาวิละขึ้นไปครองเชียงใหม่ อภิเษกเป็น "พระเจ้าเชียงใหม่" อนุชาอีก ๖ องค์ แยกย้ายกันครองเมืองลำพูน ลำปางรวมทั้งเป็นอุปราชของทั้งสามนคร
    พระเจ้ากาวิละ พระเจ้าเชียงใหม่องค์แรกกับอนุชาทั้ง ๖ ผู้เป็นโอรสเจ้าฟ้าชายแก้ว และเป็นหลานปู่ของพระยาสุลวฦาชัย นี้แหละ ที่เรียกกันว่า "เจ้าเจ็ดตน"

      (ตน-คนหรือองค์)

    เจ้านายฝ่ายเหนือที่มีคำนำหน้านามว่า "เจ้า" ทุกท่าน ล้วนสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเจ็ดองค์ดังกล่าว เป็นราชวงศ์ฝ่ายเหนือทางล้านนาไทยเพียงวงศ์เดียว ไม่ว่าเจ้าลำพูน เจ้าเชียงใหม่เจ้าลำปาง

    เรื่องกฎเกณฑ์การสืบสกุลเป็น "เจ้า" นั้นครั้งหนึ่ง เจ้านายฝ่ายเหนือที่เข้ามาอยู่ในสำนักพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎฯ เคยบอกว่า ผู้ที่มีสิทธิใช้คำนำนามว่า "เจ้า" นั้น ต้องทั้งฝ่ายบิดา และมารดาเป็น "เจ้า" ด้วยกันทั้งคู่ คือสมรสกันในหมู่วงศ์ญาติ เชื้อสายเจ้าเจ็ดองค์

    นอกเสียจากว่า พระบิดาเป็นเจ้าหลวง (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง) แม้มารดาจะมิได้เป็นเจ้า บุตรทั้งชายหญิงก็ใช้ว่า "เจ้า"

    สำหรับชายาเอกเจ้าหลวงนั้นเรียกว่า "แม่เจ้า" หมายถึง "เทวี"


    ในหนังสือบัญชีการสืบสกุลเจ้าเจ็ดตน และเท่าที่เคยได้ยินนั้น เห็นเรียก "เจ้าหญิง" บางท่านว่า "เจ้าแม่"

    ซึ่งผู้ใหญ่ชาวเหนือ ท่านบอกว่า "เป็นการเรียก "เจ้าหญิง" ผู้สูงวัยด้วยความเคารพ แทนที่จะเรียกว่า "เจ้า" เฉยๆ

    ในหนังสือเรื่อง "เจ้าหลวงเชียงใหม่" ที่พิมพ์ในโอกาสสมโภชเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี

    ได้อธิบาย ถึงคำว่า "เจ้า" ไว้ว่า

     "เจ้า-เป็นคำเรียกขานนำหน้านามตามประเพณีนิยม แบบล้านนา ใช้กับผู้สืบสกุลของเจ้าหลวง แต่ทั้งนี้มีผู้สืบสกุลจำนวนไม่น้อยซึ่งดำรงชีวิตตามแบบสังคมเมืองปัจจุบัน แม้จะมีความผูกพันกับสายสกุลอยู่อย่างมาก แต่ก็เลือกที่จะไม่ใช้คำเรียกขายตามแบบโบราณประเพณีเช่นนี้"

    หลังจากพระอัครชายา ศิริรจนา หรือทางเหนือออพระนามว่า "แม่เจ้าศรีอโนชา" แล้ว ในรัชกาลที่ ๕ ก็มีเจ้าหญิงฝ่ายเหนือเข้ามารับราชการในพระบรมมหาราชวังอีกสองท่าน คือ เจ้าจอมมารดาเจ้าดารารัศมี (พระราชชายาเจ้าดารารัศมี) และเจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกษร เจ้าจอมมารดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี

    พระราชชายาฯ และเจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกษร นั้นนับลงมาจากพระเจ้ากาวิละแล้ว อยู่ในลำดับชั้นเดียวกัน พระเจ้าตา (พระเจ้ากาวิโรส) ของพระราชชายาฯ และเจ้าปู่ของเจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกษร เป็นโอรสของพระเจ้ากาวิละองค์ที่ ๑ และองค์ที่ ๓ ตามลำดับ

    สำหรับเจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ที่ถามมานั้น เจ้าพ่อ คือ เจ้ากาวิละวงศ์ เจ้าแม่คือ เจ้าหญิงศิริประกาย เป็นเจ้าทั้งสองฝ่าย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×