ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สัตว์ในเทพนิยาย

    ลำดับตอนที่ #3 : ครุฑ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 183
      0
      24 มิ.ย. 49

         
           ครุฑ
    หรือ พญาครุฑ เป็นสัตว์กึ่งเทพ ในตำนานปรัมปราของอินเดีย ปรากฏในวรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง เช่น มหากาพย์มหาภารตะ เล่าว่า ครุฑเป็นพี่น้องกับพญานาค และทะเลาะเป็นศัตรูกัน นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์ปุราณะ ที่ชื่อว่า ครุฑปุราณะ เป็นเรื่องเล่าของพญาครุฑ

           ตามคติไทยโบราณ เชื่อว่าครุฑเป็นพญาแห่งนกที่เป็นพาหนะของพระนารายณ์ มีรูปเป็นครึ่งนกอินทรี ที่ได้รับพรให้เป็นอมตะ ไม่มีอาวุธใดทำลายลงได้ แม้กระทั่งสายฟ้าของพระอินทร์ ก็ได้แต่เพียงทำให้ขนของครุฑหลุดร่วงลงมาเพียงเส้นหนึ่งเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ครุฑจึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "สุบรรณ" ซึ่งหมายถึง "ขนวิเศษ"

           ครุฑเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ มีอานุภาพและพละกำลังมหาศาล แข็งแรง สามารถบินได้รวดเร็ว ทั้งยังมีสติปัญญาเฉียบแหลม เฉลียวฉลาด อ่อนน้อม ถ่อมตน และมีสัมมาคารวะ น่าสรรเสริญ

           ด้วยฤทธานุภาพของพญาครุฑนี้เอง จึงได้มีการสร้างรูป ครุฑพ่าห์ (หรือ พระครุฑพ่าห์) หมายถึง ครุฑซึ่งเป็นพาหนะ เป็นรูปครุฑกางปีก และใช้เป็นสัญลักษณ์หมายถึงพระราชบัลลังก์ และตราประจำแผ่นดินของไทย สืบต่อกันมาแต่สมัยอยุธยา ซึ่งพบโดยทั่วไป โดยเฉพาะตราประทับบนหัวจดหมายราชการ เรียกว่า ตราครุฑ ด้วยความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์คือ สมมุติเทพ เป็นพระนารายณ์อวตาร ผู้ทรงมีครุฑเป็นพระราชพาหนะนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ พระราชพาหนะของพระมหากษัตริย์จึงประดับธงมหาราช ซึ่งเป็นธงรูปครุฑ ขณะเดียวกัน ยังมีเรือพระราชพิธีหลายลำ ที่สลักโขนเรือเป็นรูปครุฑ เช่น เรือพระที่นั่งครุฑเหินระเห็จ ครุฑเตร็ดไตรจักร และเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9

         ผมเคยได้ยินมาว่าครั้งนึง ก่อนสมัยที่จะไปเป็น พาหนะครุฑออกมาอาละวาด และพระนายณ์ เสด็จลงไปปราบ แม่สามารถรู้ผลแพ้ชนะกันได้ จึงมีข้อแลกเปลี่ยนกันโดยยามพระนายณ์เสด็จไปไหนจะมีครุฑเป็นพาหนะ ยามประทับที่บังลังค์ครุฑจะเกาะอยู่เหนือบัลลังค์ 
          แสดงให้เห็นว่าพลังอำนาจของครุฑมิได้น้อยไปกว่ามหาเทพอย่างองค์พระนารายณ์เลยนะคับ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×