ผึ้งจิ๋ว แต่เเจ๋ว - ผึ้งจิ๋ว แต่เเจ๋ว นิยาย ผึ้งจิ๋ว แต่เเจ๋ว : Dek-D.com - Writer

    ผึ้งจิ๋ว แต่เเจ๋ว

    เล่าเรื่องการดำเนินชีวิตของผึ้ง

    ผู้เข้าชมรวม

    537

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    537

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  18 พ.ย. 49 / 10:53 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      ลำตัวของผึ้งแบ่งออกเป็นกี่ส่วน ลำตัวของผึ้งแบ่

      ลำตัวของผึ้งแบ่งออกเป็นกี่ส่วน


      [ ขยายดูภาพใหญ่ ]

      ลักษณะทั่วไปของผึ้ง

      ลำตัวของผึ้ง แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง

      ส่วนหัว เป็นที่ตั้งของหนวด ตา และปาก

      หนวดเป็นอวัยวะรับความรู้สึกและสัมผัสโดยเฉพาะการดมกลิ่นแทนจมูก

      ตา ผึ้งมีตาประกอบใหญ่ 1 คู่ ช่วยให้มองเห็นได้ในระยะไกลและเป็นบริเวณกว้าง สามารถมองเห็นดอกไม้สีต่างๆ ได้ในระยะไกล

      ปาก ของผึ้งเป็นแบบกัดดูด ประกอบด้วยอวัยวะเล็กๆ หลายส่วน คือ ปากบนมีกรามแข็งแรง 1 คู่ ด้านข้างเป็นฟัน ตรงกลางเป็นงวงทำหน้าที่ดูดน้ำหวาน ปากของผึ้งตัวผู้และนางพญาหดสั้นมากเพราะไม่ได้ใช้งาน เนื่องจากผึ้งงานช่วยป้อนอาหารให้ผึ้งทั้งสองวรรณะ

      ส่วนอก เป็นส่วนรวมของกล้ามเนื้อและเป็นที่ตั้งของเขาและปีก ขา มี 3 คู่ ขาหลังมีอวัยวะพิเศษสำหรับเก็บเกสรเรียกว่า ตะกร้าเก็บ เกสร ผึ้งตัวผู้และผึ้งนางพญาไม่มีอวัยวะนี้ เพราะไม่ต้องออกไปหาอาหาร

      ปีก มี 2 คู่ คู่แรกใหญ่กว่าคู่หลังเล็กน้อย ปีกคู่แรกและคู่หลังเกี่ยวกันด้วยตาขอเล็ก ๆ เรียงกันเป็นแถวเรียกว่า ฮามูไล (hamulai)

      ส่วนท้อง ของผึ้ง ประกอบกด้วย 6 ปล้อง ตัวผู้มี 7 ปล้อง ที่ปลายท้องของผึ้งงานและผึ้งนางพญามีเหล็กใน แต่ผึ้งตัวผู้ไม่มี เหล็กใน ด้านข้างแต่ละปล้องมีรูหายใจ ปล้องละ 1 คู่

      อวัยวะวางไข่ อยู่ที่ปล้องสุดท้ายในผึ้งงานและผึ้งนางพญา บางส่วนของอวัยวะวางไข่จะดัดแปลงเป็นเหล็กในมีลักษณะเป็ นเข็มแหลม

      รูหายใจ เป็นรูเปิดด้านข้างสวนอกและท้องมีทั้งหมด 10 คู่ 3 คู่แรกอยู่ที่ส่วนอก อีก 7 คู่อยู่ที่ส่วนท้อง รูหายใจจะปิดเปิดตลอดเวลาเพราะมันหายใจเข้าออกทางรูเหล่านี้ รูหายใจจะติดต่อกับท่อลมและถุงลม ผึ้งมีถุงลมใหญ่มากอยู่ ภายในลำตัว ช่วยพยุงตัวขณะ ที่ผึ้งบิน ทำให้ผึ้งสามารถบินเร็วและบินได้ไกลด้วย

      ขนตามลำตัว ของผึ้งมีจำนวนมากเป็นขนละเอียด มีเส้นประสาทรับความรู้สึกและรับสัมผัส เช่น ส่วนขนบริเวณหน้าใช้รับความ รู้สึก การเคลื่อนไหว และทิศทางลม ผึ้งมักจะบินทวนลมไปยังที่ตั้งของแหล่งอาหาร ขนที่ติดกับอกและท้องของผึ้งสามารถรับ ความรู้สึกเกี่ยว กับแรงดึงดูดของโลก ทำให้สามารถบอกความสูงต่ำได้ในขณะที่บิน นอกจากนั้นขนยังรับสัมผัสการเคลื่อนไหวของศัตรู และ รับสั มผัสอาหาร คือ เกสรและน้ำหวานจากพืชได้อีกด้วย

       

      บ้านของผึ้งมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร


      [ ขยายดูภาพใหญ่ ]

      ลักษณะของรวงรัง

      ลักษณะรวงรัง (comb) ของผึ้งทุกชนิดพบว่าประกอบด้วยหลอดรวง (cells) รูปหกเหลี่ยมด้านเท่าจำนวนพัน ๆ หลอดรวง ขนาดของหลอดรวงขึ้นอยู่กับชนิดของผึ้ง เช่น ผึ้งหลวงตัวใหญ่ขนาดของหลอดรวงก็ใหญ่ด้วย ผึ้งมิ้มมีขนาดเล็กที่สุด ดังนั้นขนาดหลอดรวงของผึ้งมิ้มจึ งเล็กที่สุดจำนวนหลอดรวงให้รังผึ้งขึ้นอยู่กับขนาดของรัง เช่น ผึ้งหลวงรังใหญ่ ๆ อาจจะมีจำนวนมากถึงหมื่นๆ หลอดรวงเช่นเดียว กับผึ้งเลี้ยง โดยเฉพาะผึ้งโพรงฝรั่งมีประชากรมากที่สุด รังผึ้งรังเดียวอาจจะซ้อนกันได้ถึง 3-4 หีบ แต่ละหีบมีรังผึ้ง 8-10 รว ง ดังนั้นจะมีปร ะชากรผึ้งงานมากกว่าแสนตัว

       

      รวงรังผึ้งเปรียบเหมือนบ้าน หลอดรวงเปรียบเหมือนอะไร


      [ ขยายดูภาพใหญ่ ]

      ลักษณะของหลอดรวง

      รวงรังผึ้งเปรียบเสมือนบ้าน หลอดรวงต่าง ๆ คือ ห้องนั่นเอง ดังนั้นจึงมีไว้เพื่อเป็นที่อาศัยของตัวอ่อน นางพญาจะวางไข่ลงที่ ฐานหลอดรวง ต่อมาตัวอ่อนหรือตัวหนอนจะเจริญในหลอดรวงเข้าดักแด้ เมื่อลอกคราบสุดท้ายตัวเต็มวัยผึ้งจะคลานออกมาจากหลอดรวง ในรวงรังผึ ้งชนิดเดียวกันจะมีหลอดรวงไม่เท่ากันเพราะขนาดของผึ้งในแต่ละวรรณะไม่เท่ากัน เช่น หลอดรวงของผึ้งงานมีขนาดเล็กที่ สุด ในรังผึ้งโพรงไทยหลอดรวงผึ้งงานกว้าง 0.18 นิ้ว ส่วนหลอดรวงผึ้งตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าคือกว้าง 0.21 นิ้ว หลอดรวงของผึ้งนาง พญามีลักษณะพิเศษ คือ หลอดรวงจะใหญ่ที่สุด เป็นหลอดยาวอยู่ทางด้านล่างของรวงในลักษณะที่ห้องหัวลง ผึ้งทุกวรรณะเมื่อเป็นตัวเต็มวัยแล้วจะไม่เข้าไปอยู่ในหลอดรวงอีก แต่จะอาศัยเกาะห้อมล้อมรอบๆ รวงรัง หลอดรวงตัวอ่อนนี้อาจจะใช้สำหรับเก็บน้ำผึ้งและเกสรไ ด้ด้วย โดยเฉพาะในฤดูดอกไม้บานป กติ หลอดรวงเก็บน้ำผึ้งจะอยู่บนสุด เราเรียกว่า หัวรวงหรือหัวน้ำผึ้ง ต่ำลงมาเป็นหลอดรวงเก็บเกสรและหลอดรวงตัวอ่อน

      การสร้างหรือซ่อมแซมรัง เป็นหน้าที่ของผึ้งงาน โดยใช้ไขผึ้งจากต่อมไขผึ้ง 4 คู่ ทางด้านล่างส่วนท้องของผึ้งงานที่มีอาย 12-18 วัน ไขผึ้งจะถูกผลิตออกมาเป็นแผ่น ในการสร้างหรือจะถูกผลิตออกมาเป็นแผ่น ๆ ในการสร้างหรือซ่อมแซมรัง ผึ้งงานจะเข ี่ยแผ่นไขผึ้งออ กมาจากท้อง แล้วเอามาเคี้ยวผสมกับน้ำลายให้อ่อนตัวลงแล้วจึงนำไปเชื่อมต่อ ๆ กันเป็นหลอดรวงรูปหกเหลี่ยมหลาย ๆ อัน ก่อให ้เกิดเป็นรวงรังขึ้น

       

      ครอบครัวของผึ้งประกอบด้วยใครบ้าง


      [ ขยายดูภาพใหญ่ ]

      วงจรชีวิตและสังคมผึ้ง

      ไม่มีผึ้งตัวหนึ่งตัวใด สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นระยะเวลานาน โดยขาดความสัมพันธ์กับผึ้งวรรณะอื่นภายในสังคมเดียวกันเพราะผึ้งเป็นแมลงสังคมที่มีวิวัฒนาการสูง มีระบบสังคมมาเป็นเวลาช้านานประมาณถึง 30 ล้านปี ผึ้งแต่ละรังเปรียบเสมือนครอ บครัวหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย 3 วรรณะคือ ผึ้งนางพญาหนึ่งตัว ผึ้งตัวผู้หลายร้อยตัว และผึ้งงานอีกจำนวนเป็นหมื่นตัว โดยเฉพาะผึ้งเลี้ยงอาจจะมี ผึ้งงานได้หลายหมื่นตัว

      ผึ้งนางพญา มีลักษณะตัวใหญ่กว่าผึ้งงานและลำตัวยาวกว่าผึ้งตัวผู้ ปกติจะมีอายุ 1-2 ปี แต่บางตัวอาจมีอายุนานถึง 3 ปี

      ผึ้งงาน เป็นผึ้งเพศเมีย มีขนาดเล็กที่สุดเนื่องจากในระยะที่เป็นตัวอ่อนได้รับอาหารพิเศษคือนมผึ้งหรือรอยัลเยลลี (royal jelly) เพียง 3 วัน หลังจากนั้นตัวอ่อนผึ้งงานที่มีอายุมากขึ้นจะได้กินแต่เกสรและน้ำผึ้ง ทำให้ขบวนการพัฒนาแตกต่างไปจากผึ้งนางพญาม าก ในขณะที่ผึ้งนางพญาได้กินนมผึ้งตั้งแต่เป็นตัวอ่อนอายุ 1 วัน และได้กินต่อไปจนตลอดชีวิต ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เพศ เมีย 2 วรรณะนี้ ผิดแผกแตกต่างกันทั้งลักษณะภายนอกและภายในตลอดจนภารกิจต่าง ๆ ผึ้งงานมีหน้าที่หลักในการทำงาน เช่น ท ำความสะอาดรัง เลี้ย งดูป้อนอาหารให้ผึ้งตัวอ่อน สร้างและซ่อมแซมรังเป็นทหารเฝ้ารังป้องกันศัตรูและหาอาหาร ผึ้งงานต้องรับภาระดังกล่าวเท่ ากันทุกตัว ไม่มีการเอาเปรียบแก่งแย่งกันหรือหลบงานเลย ทุกตัวรับผิดชอบงานของตนเองโดยไม่มีใครบังคับ และไม่ต้องสั ่งสอนกัน นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่ าผึ้งงานคือหุ่นยนต์ที่มีชีวิตตัวน้อย ทำงานเกือบตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย ดังนั้นผึ้งงานจึงมีอายุสั้นเพียง 6-8 สัปดาห์ เท่านั้น

      ผึ้งตัวผู้ มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนและสั้นกว่าผึ้งนางพญา ผึ้งตัวผู้ไม่มีเหล็กใน มีลิ้นสั้นหาอาหารเองไม่ได้ แต่จะรับอาหารจากผึ้งงานเท่านั้น ผึ้งตัวผู้ไม่มีหน้าที่ทำงานภายในรัง ดังนั้นจึงมีหน้าที่ผสมพันธุ์อย่างเดียว เมื่อผสมพันธ ุ์ในอาหารเสร็จจะตกลง มาตาย เมื่อหมดฤดูผสมพันธุ์ ผึ้งตัวผู้ที่ยังไม่มีโอกาสผสมพันธุ์จะถูกผึ้งงานปล่อยให้อดตายด้วย เราจะพบผึ้งตัวผู้ป รากฎในรังเฉพาะช่วยฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น หลังจากผสมพันธุ์กับนางพญาแล้ว ผึ้งตัวผู้จะตายทันที

       

      อะไรกันผึ้งเป็นแมลงเล็กๆ มีภาษาด้วยหรือ?


      [ ขยายดูภาพใหญ่ ]

      ภาษาผึ้ง เป็นภาษาใบ้ชนิดหนึ่ง เป็นอาการที่แสดงออกของผึ้ง เพื่อใช้บอกแหล่งอาหารให้สมาชิกในรังทราบและพากันบินไปหา อาหารนั้นทันที

      ภาษาผึ้งเป็นภาษาที่น่าสนใจและน่าแปลกประหลาด

      "อะไรกันผึ้งเป็นแมลงตัวเล็ก ๆ มีภาษาด้วยหรือ?"

      คำถามนี้ได้นำไปสู่การค้นพบโดยศาสตราจารย์ คาร์ล ฟอนฟริช แห่งประเทศเยอรมนี ผู้ได้เฝ้าดูผึ้งตัวน้อย ๆ บอกภาษากันด้วยการเต้ นรำ โดยศึกษาเรื่องนี้อยู่นานถึง 40 ปี จึงสรุปและอธิบายแง่มุมต่าง ๆ ของภาษาผึ้งได้อย่างละเอียดผลงานของเขาได้รับรางวัลสูง สุด คือรางวัลโนเบลในปี พ.ศ.2516

       

       

       

       

       

       

       

      งออกเป็นกี่ส่วน
         จจจาก  วิกิพีเดีย

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×