พระราชวังพญาไท - พระราชวังพญาไท นิยาย พระราชวังพญาไท : Dek-D.com - Writer

    พระราชวังพญาไท

    เมืองไทยมีดีกว่าที่คุณคิด เคยไปกันหรือยัง "พระราชวังพญาไท Phya Thai Palace"

    ผู้เข้าชมรวม

    1,095

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    1.09K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  5 พ.ย. 49 / 09:47 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

                                                            พระราชวังพญาไท หรือ Phya Thai Palace

      ตั้งอยู่ที่ ถนนราชวิถี ติดกับ รพ.พระมงกุฎ

      มีข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ นำมาบอกเล่า ว่า พระราชวังพญาไท แห่งนี้
      เคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 (พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว) ตั้งแต่ปี 2463

      ในพระราชวังพญาไท จะประกอบไปด้วย

      1.พระที่นั่งพิมานจักรี
      2.พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน
      3.พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส
      4.พระที่นั่งเทวาราชสภารมย์
      5.พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์
      6.พระตำหนักเมขลารูจี
      7.อาคารเทียบรถพระที่นั่ง
      และ 8 สวนโรมัน

      ซึ่งหลังจากที่รัชกาลที่ 6 ทรงเสด็จสวรรคต พระราชวังแห่งนี้ถูกปล่อยทิ้งไม่ได้ใช้เป็นพระราชฐานที่ประทับ
      ได้มีการดัดแปลงมาเป็นโรงแรมชัดหนึ่งชื่อ "โฮเต็ลพญาไท"

      ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชานุญาต
      ให้ใช้ส่วนหนึ่งของพระราชวังเป็นที่ตั้งของสถานีวิทยุกระจายเสียง
      มีการถ่ายทอดพระราชดำรัส เป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ปี 2473

      และต่อมา ...เมื่อสถานีวิทยุแห่งนี้ได้ย้ายไปรวมกับสถานีวิทยุกระจายเสียงศาลาแดง
      ทางราชการจึงได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตใช้เป็นที่ตั้งกองเสนารักษ์จังหวัดทหารบกกรุงเทพฯ

      และได้แปรเป็นโรงพยาบาล และได้อัญเชิญพระปรมาภิไธย
      พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวมาสถาปนาเป็นชื่อ โรงพยาบาล

      โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ...จวบจนปัจจุบัน
                                                                             
      ภายในพระที่นั่งพิมานจักรี ...ที่ได้รับการบูรณะแล้ว

      ซึ่งการบูรณะนี้ ได้มีการคงความเป็นเอกลักษณ์ และทำให้เหมือนของเก่าดั้งเดิมที่สุด

      ดังนั้น ..ความงามจึงไม่อาจจะถ่ายทอดผ่านภาพได้หมด
      อยากให้ได้มาเห็นด้วยตาตัวเองค่ะว่า งดงามแค่ไหน

      ห้องนี้ ..รัชกาลที่ 6 เป็นผู้ออกแบบด้วยพระองค์เอง
      มีเตาผิง ..แต่ไม่เคยได้ใช้งาน เพราะเมืองไทยเป็นเมืองร้อน
      แต่คาดกันว่า ...พระองค์ท่านคงทำเพื่อ ...เป็นที่ระลึกถึงประเทศอังกฤษ
      ที่ท่านเคยทรงเสด็จไปศึกษา ก่อนจะกลับมาปกครองประเทศไทย


      นี่คือ ... พระที่นั่งเทวราชสภารมย์
      ซึ่งเคยเป็นพระราชฐานของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนี ของ รัชกาลที่ 6
      นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต มาอยู่ ณ พระตำหนักนี้เป็นการถาวรจนตลอดพระชนมายุ

      บรรยากาศด้านใน ..
      ที่มีการตกแต่งให้คงสภาพเดิมๆ ..เอาไว้อย่างสวยงาม
      อลังการมากๆ ค่ะ มีน้อยคนนะคะ ...ที่จะได้เห็นภาพการตกแต่งภายในเช่นนี้
      เพราะส่วนใหญ่เขาจะปิดประตูค่ะ



      มีเจ้าหน้าที่คอยให้เกร็ดความรู้ทางประวัติศาสตร์ ^-^
      รัชกาลที่ 6 ของเรานี่แหล่ะค่ะ
      ที่ท่านทรงพยายามปูพื้นฐานคำว่า "ประชาธิปไตย" ให้แก่ชาวไทย
      โดยท่านได้สร้างเมืองจำลอง เพื่อสอนแก่ข้าราชบริพารของพระองค์
      ให้รู้ และเข้าใจถึงคำๆ นี้ ...มากกว่านามธรรม

      โดยใช้ชื่อ "เมืองดุสิตธานี" ...



      ภาพนี้คือ สวนโรมัน ...


      ภาพวาดภายในห้องพระบรรทม ของ รัชกาลที่ 6
      และเป็นห้องที่ พระองค์ท่านทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง "มัทธพาธา"
      ลวดลายภายในห้อง ...จะเป็น กุหลาบ ..สีทอง สวยงามมาก

      ภาพที่เห็น ...เป็นภาพที่อยู่บนเพดานห้องค่ะ
      เป็นเทวดาน้อยๆ สี่องค์ กำลังทรงดนตรีขับกล่อม ..
      แต่เพราะผู้วาดเป็นศิลปินชาวต่างชาติ เทวดา จึงเป็นเทวดาฝรั่งนั่นเอง


      ที่พระราชวังพญาไท นี้ เปิดให้เข้าชมทุกวันนะคะ
      สามารถติดต่อสอบถาม ได้ที่ สำนักงานชมรมคนรักวังฯ
      โทร.0-2354-7660 ต่อ 93646
      โดยวันเสาร์เปิด 2 รอบ ..เวลา 9.30 น. และ 13.30 น. ค่ะ

      ถ้าเข้าไปชมเฉยๆ ไม่มีผู้นำชม ก็จะไม่ซาบซึ้งกับเกร็ดประวัติสักเท่าไร
      ขอแนะนำว่าควรจะไปตามรอบการเข้าชม รับรองได้ว่าจะประทับใจมาก ^-^



      นี่เป็นเพียงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยยังไง ก็ลองไปเที่ยวชมกันนะคะ เมืองไทยมีดีไม่ไปไม่รู้ สิบปากว่าก็ไม่เท่าตาเห็น คร้า ^-^

      ที่มา : ขอบคุณป้าจิ๊กกับคำบรรยายและฝีมือการผ่านภาพ พี่ตุ๊กตาเจ้าของบ้าน "ชีวิตในอเมริกานะคะ ^-^"

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×