ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ศัพท์ในวิชาชีววิทยา

    ลำดับตอนที่ #6 : คำศัพท์ในวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม บทที่ 4 ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 34.78K
      52
      3 มี.ค. 56

    คำศัพท์ในวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม (รูปมดน้อย)

    บทที่ 4 ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์
    (บทนี้ขี้เกียจหายิ่งกว่าบทที่แล้วอีก...)

     

    กรดซิตริก

    Citric acid

     

    กรดไพรูวิก

    Pyruvic acid

     

    กรดออกซาโลแอซิติก

    Oxsaloacetic acid

     

    กระบวนการการถ่ายทอดอิเล็กตรอน

    Electron transport chain

     

    กระบวนการหมัก

    Fermentation

    การเปลี่ยนแปลงสารอินทรีย์ให้เกิดพลังงานโดยไม่ใช้ตัวรับอิเล็กตรอน และเกิดในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน

    กระเพาะพักอาหาร

    Crop

    ลักษณะเป็นถุงผนังบาง ในแมลงกระเพาะพักอาหารเป็นทางเดินอาหารที่พองออกจนเป็นถุงใหญ่สำหรับเก็บอาหาร ส่วนในสัตว์ปีกจะทำหน้าที่เก็บอาหารสำรองไว้ย่อยภายหลัง

    กระเพาะอาหาร

    Stomach

    อยู่ในช่องท้องด้านซ้ายใต้กระบังลม ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนบางส่วน

    กล่องเสียง

    Larynx

    ส่วนที่อยู่เหนือสุดของท่อลม ภายในมีแผ่นเยื่อยื่นออกมา 2 คู่ เรียกว่า สายเสียง ซึ่งควบคุมอาการที่ออกจากภายในออกมาทางช่องระหว่างสายเสียง ทำให้เกิดเสียงขึ้น

    การย่อยอาหาร

    Digestion

    การเปลี่ยนแปลงอาหารที่กินเข้าไปให้มีขนาดเล็กลงพอที่เซลล์จะดูดซึมไปใช้ได้

    การสลายสารอาหาร / การหายใจระดับเซลล์

    Cellular respiration

    กระบวนการสลายสารอาหารในเซลล์เพื่อให้ได้พลังงาน

    แกสตริน

    Gastrin

    เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากเซลล์ในกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่กระตุ้นการหลั่งกรดไฮโดรคลอลิก

    เกลือน้ำดี

    Bile salt

    ส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำดี   ทำหน้าที่แตกไขมันให้เป็นหยดเล็กๆ ซึ่งจะถูกเอนไซม์ลิเพส         ย่อยต่อ

    ไกลโคลิซิส

    Glycolysis

    กระบวนการสลายกลูโคสซึ่งมีคาร์บอน 6 อะตอม ให้อยู่ในรูปของกรดไพรูวิก ซึ่งมีคาร์บอน      3 อะตอม จำนวน 2 โมเลกุล

    กึ๋น

    Gizzard

    อวัยวะทีมีผนังกล้ามเนื้อหนา แข็งแรง ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารแทนฟัน พบในสัตว์ปีก แมลง ไส้เดือนดิน

    คอหอย

    Pharynx

    ในหนอนตัวแบน คอหอยมีลักษณะเมือนท่อยื่นออกมาและปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยอาหารให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย

    คาร์บอกซิเพปทิเดส

    Carboxypeptidase

    เอนไซม์ที่เปลี่ยนมาจาก             โพรคาร์บอกซิเพปทิเดส    

    โคเอโนไซต์

    Choanocyte

    เซลล์ที่มีแฟลเจลัมและมีปลอกหุ้มอยู่ในผนังด้านในลำตัวของฟองน้ำ

    โคเอนไซม์เอ

    Coenzyme A : CoA

     

    ไคโมทริปซิน

    Chymotrypsin

    เอนไซม์ที่เปลี่ยนมาจาก             ไคโมทริปซิโนเจน

    ไคโมทริปซิโนเจน

    Chymotrypsinogen

    เอนไซม์ที่สร้างจากตับอ่อนส่งให้ลำไส้เล็กซึ่งจะถูกทริปซินเปลี่ยนให้เป็นไคโมทริปซิน

    เจจูนัม

    Jejunum

    ลำไส้เล็กช่วงกลาง ยาวประมาณ 2.7 เมตร

    ดีซ่าน

    Jaundice

    อาการตัวเหลืองและตาเหลือง เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น ท่อน้ำดีอุดตัน หรือภาวะตับอักเสบ เป็นต้น

    ดูโอดีนัม

    duodenum

    ลำไส้เล็กตอนต้น ยาวประมาณ   25 ซม. เป็นส่วนที่มีการย่อยอาหารมากที่สุด

    เดกซ์ทริน

    Dextrin

     

    ตับอ่อน

    Pancreas

    เป็นทั้งต่อมไร้ท่อและต่อมมีท่อ ส่วนที่เป็นต่อมมีท่อจะสร้างน้ำย่อย ย่อยแป้ง โปรตีน และไขมัน ส่วนที่เป็นต่อมไร้ท่อจะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่ควบคุมน้ำตาลในเลือด

    ตัวฟัน

    Crown

    ส่วนของฟันที่โผล่พ้นออกมาจากเหงือก

    ตัวให้อิเล็กตรอน หรือ       ตัวรีดิวซ์

    Reducing agent

     

    ถุงน้ำดี

    Gall bladder

    น้ำดีที่ออกจากตับเป็นน้ำดีจืดจาง ร่างกายจะเก็บน้ำดีไว้ในถุงน้ำดี  ถุงน้ำดีมีหน้าที่ทำให้น้ำดีมีความเข้มข้นมากขึ้น

    ทริปซิน

    Trypsin

    เอนไซม์ที่เปลี่ยนมาจาก           ทริปซิโนเจน

    ทริปซิโนเจน

    Trypsinogen

    เอนไซม์ที่สร้างจากตับอ่อนส่งให้ลำไส้เล็ก ซึ่งจะไม่ทำงานจนกว่าจะเข้าสู่ลำไส้เล็กและถูกเอนไซม์เอนเทอโรไคเนสเปลี่ยนให้เป็น ทริปซิน

    ทวารหนัก

    Anus

    ทางออกของอุจจาระ

    เทนทาเคิล

    Tentacle

    ส่วนที่ยืดยาวคล้ายเส้นด้าย ไม่มีปล้อง  ยื่นออกจากร่างกายสัตว์ เช่น เทนทาเคิลที่อยู่รอบปากของไฮดรา

    น้ำดี

    Bile

    เป็นของเหลวสีเหลืองหรือเขียว มีรสขม สร้างมาจากตับและเก็บไว้ในถุงน้ำดี

    นิโคตินาไมด์อะดีนีน         ไดนิวคลีโอไทด์

    Nicotinamide adenine dinucleotide ; NAD

     

    นิ่วในถุงน้ำดี

    Gallstone

    เกิดจากการที่ตับมีการหลั่งน้ำดีที่มีความเข้มข้นของคอลเลสเตอรอลสูงกว่าปกติ

    เนื้อฟัน

    Dentine

    ชั้นที่อยู่ถัดเข้ามาจากชั้น            สารเคลือบฟัน

    ผงถ่านคาร์บอน

    Charcoal

     

    ฝาปิดกล่องเสียง

    Epiglottis

    แผ่นปิดกั้นหลอดลมที่ป้องกันไม่ให้อาหารหรือน้ำเข้าไปในหลอดลมขณะที่กลืนอาหาร

    เพดานอ่อน

    Soft palate

    ทำหน้าที่ปิดกั้นอาหารไม่ให้ผ่านเข้าไปในโพรงจมูกขณะกลืนอาหาร

    เพปซิน

    Pepsin

    เอนไซม์ในกระเพาะอาหารที่สามารถสลายพันธะเพปไทด์ได้บางพันธะเท่านั้น

    เฟปซิโนเจน

    Pepsinogen

    เอนไซม์ในกระเพาะอาหารที่ถูกกรดไฮโดรคลอริกเปลี่ยนให้เป็นเพปซิน

    เพอริสตัลซิส

    Peristalsis

    การหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ หลอดอาหาร เพื่อให้อาหารเคลื่อนที่

    โพรคาร์บอกซิเพปทิเดส

    Procaboxypeptidase

    เอนไซม์ที่สร้างจากตับอ่อนส่งให้ลำไส้เล็กซึ่งจะถูกทริปซินเปลี่ยนให้เป็นคาร์บอกซิเพปทิเดส

    โพรงฟัน

    Pulp cavity

    ชั้นที่ถัดเข้ามาจากชั้นเนื้อฟันภายในมีหลอดเลือดและเส้นประสาท

    ฟลาวินอะดีนีนไดนิวคลีโอไทด์

    Flavin adenine dinucleotide ; FAD

     

    ฟอสโฟรีเลชัน

    Phosphorylation

     

    ไมโครวิลลัส

    Microvillus

    ส่วนที่ยื่นออกไป ซึ่งอยู่ด้านนอกของเซลล์บุผิว

    ร่องปาก

    Oral groove

     

    รากฟัน

    Root

    ส่วนของฟันที่ฝังอยู่ในเบ้ากระดูกขากรรไกร

    ลำไส้ใหญ่ส่วนกลาง

    Colon

    อยู่ระหว่างลำไส้ใหญ่ส่วนกลางและส่วนปลาย

    ลำไส้ใหญ่ส่วนต้น

    Caecum

    มีลักษณะเป็นถุงยื่นลงมายาวประมาณ 5-8 ซม. ตอนปลายจะมีไส้ติ่ง ซึ่งในคนไม่ได้ใช้ในการย่อยอาหาร

    ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายหรือ  ไส้ตรง

    Rectum

    ส่วนที่ต่อกับทวารหนัก

    วัฏจักรเครปส์

    Krebs cycle

    กระบวนการที่เกิดขึ้นบริเวณ     เมทริกซ์ ซึ่งเป็นของเหลวใน        ไมโทรคอนเดรีย โดยมีการสลายสารแอซิทิลโคเอนไซต์เอ ให้ได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และเก็บพลังงานที่ได้ไว้ในรูปของ NADH FADH2 และ ATP

    วิลลัส

    Villus

    ส่วนยื่นคล้ายนิ้วมือออกจากผิวด้านในของลำไส้เล็ก ทำหน้าที่รับอาหารที่ย่อยแล้ว เพื่อลำเลียงไปยังเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย

    สารเคลือบฟัน

    Enamel

    สารสีขาวเนื้อแน่น แข็งมากที่สุด ปกคลุมอยู่ชั้นนอกสุดของตัวฟัน

    สารเคลือบรากฟัน

    Cementum

    ชั้นนอกสุดของรากฟัน

    หลอดอาหาร

    Esophagus

    เป็นท่อยาว 25 ซม. อยู่ติดกับหลอดลม ทำหน้าที่นำอาหารจากปากลงสู่กระเพาะอาหาร

    อะดีโนซีนไดฟอสเฟต

    Adenosine diphosphate ; ADP

     

    อะดีโนซีนมอโนฟอสเฟต

    Adenosine monophosphate ; AMP

     

    อะไมเลส

    Amylase

    เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยแป้งให้มีโมเลกุลเล็กลง

    อิมัลชัน

    Emulsion

    คอลลอยด์ที่เกิดจากการนำของเหลว 2 ชนิดมาเขย่ารวมกันจนของเหลวทั้ง 2 ชนิดแตกตัวเป็นอนุภาคเล็กๆ กระจายตัวแทรกอยู่ระหว่างกันอย่างทั่วถึง

    เอนเทอไรโคเนส

    Enterokinase

     

    แอซิทิลโคเอนไซต์เอ

    Acetyl coenzyme A

    สิ่งที่ได้จากการทำปฏิกิริยาของกรดไพรูวิกกับโคเอนไซต์เอใน ไมโทรคอนเดรีย

    ไอเลียม

    Ileum

    ลำไส้เล็กตอนปลาย ยาวประมาณ 4 เมตร

    ไฮโดรไลซิส

    Hydrolysis

    กระบวนการย่อยสารโมเลกุลใหญ่ให้เป็นโมเลกุลเล็กโดยใช้น้ำ

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×