ค่าเริ่มต้น
- เลื่อนอัตโนมัติ
- ฟอนต์ THSarabunNew
- ฟอนต์ Sarabun
- ฟอนต์ Mali
- ฟอนต์ Trirong
- ฟอนต์ Maitree
- ฟอนต์ Taviraj
- ฟอนต์ Kodchasan
- ฟอนต์ ChakraPetch
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #50 : (พละ)ประวัติของกีฬาเเฮนด์บอล
ประวัติของกีฬาเเฮนด์บอล
กีฬาเเฮนด์บอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นในประเทศทางแถบยุโรปและอเมริกา เนื่องจากเป็นกีฬาที่เล่นสนุกเเละมีการดัดเเปลงวิธีการเล่นโดยอาศัยทักษะพื้นฐานของการเล่นฟุตบอลเเละบาสเกตบอล
กีฬาแฮนด์บอลได้เริ่มต้นมาจากประเทศเยอรมัน (GERMAN) ในราวศตวรรษที่ 19 โดยครูสอนพลศึกษาชื่อ ดอนเเรด คอช (Donrad Koch) ซึ่งได้ดัดเเปลงวิธีการเล่นอาศัยทักษะพื้นฐานจากการเล่นฟุตบอลเเละบาสเกตบอล ระยะเเรกเรียกชื่อกีฬาแฮนด์บอลแตกต่างกันเช่น ฮอกกี้มือ โปโลบก เเละมีจำนวนผู้เล่นทีมละ 11 คนเหมือนฟุตบอล
ในอดีตประเทศยุโรปในฤดูหนาวไม่สามารถเล่นกีฬากลางแจ้งได้ จึงใช้ห้องพลศึกษาดัดแปลงเล่นกีฬาด้วยมือ ตอนแรกใช้ผู้เล่น 11 คนเท่ากับฟุตบอล แต่ไม่สะดวก เพราะสถานที่คับแคบ จึงลดจำนวนผู้เล่นเหลือข้างละ 7 คน จึงกลายมาเป็นกีฬาแฮนด์บอลแบบการเล่นในปัจจุบัน ในช่วงนั้นแฮนด์บอลมิได้ถือว่าเป็นกีฬาอย่างหนึ่ง เพราะไม่มีหน่วยงานเป็นของตนเอง แต่คณะกรรมการที่ก่อตั้งและดำเนินการก็มาจากสหพันธ์กีฬาสมัครเล่นระหว่างชาติ (The International Amateur Athletic Federation) มีชื่อย่อๆ ว่า I.A.A.F. คณะกรรมการชุดนี้เป็นคณะกรรมการที่มีหน้าที่จัดดำเนินการต่างๆ ในทวีปยุโรปสมัยนั้น
หลังจากปี พ.ศ. 2447 กีฬาแฮนด์บอลซึ่งอยู่ในความดูแลของ I.A.A.F. ก็มีความมั่นคงขึ้น และหลายๆ ประเทศให้ความสนใจ และมีการจัดบรรจุในรายการกิจกรรมการกีฬาของประเทศนั้นๆ ด้วย ตลอดจนได้มีการแข่งขันทั้งภายในและภายนอกประเทศมากขึ้น
ในปี พ.ศ. 2469 I.A.A.F. ได้ตั้งคณะกรรมการกีฬาแฮนด์บอลขึ้นโดยเฉพาะ โดยมีคณะกรรมการที่มาจากประเทศต่างๆ ในเครือสมาชิกของกีฬาประเภทนี้มีการประชุมตกลงเรื่องกติกาซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่กีฬาแฮนด์บอลได้ตั้งเป็นกีฬาประเภทหนึ่งโดยเอกเทศ และมีการริเริ่มตั้งสหพันธ์แฮนด์บอลขึ้นในปี พ.ศ. 2471 ประเทศกลุ่มสมาชิก 11 ประเทศได้เข้าร่วมประชุมในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่เมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศฮอลแลนด์ The International amateur Handball Federation ก็ได้จัดตั้งขึ้น และบุคคลที่มีความสำคัญของการกีฬาสหพันธ์คือ Every Brundage ประธานของ I.O.C. ได้เป็นสมาชิกขององค์การใหม่นี้ด้วย
ในปี พ.ศ. 2471 กีฬาแฮนด์บอลก็ได้มีการสาธิตขึ้นในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 แฮนด์บอลก็ได้บรรจุเข้าเป็นรายการแข่งขันกีฬาระหว่างชาติ โดยการยอมรับของ I.O.C. หลังจากการประชุมที่กรุงอัมสเตอร์ดัม สมาชิกทั้งหมด 11 ประเทศ ก็ได้เพิ่มเป็น 25 ประเทศในปี พ.ศ. 2477 ซึ่งเป็นจุดที่ชี้ให้เห็นว่ากีฬาแฮนด์บอลได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ในปี พ.ศ. 2479 ก็ได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน หรือที่เรียกว่า Nazi Olympic
สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สร้างปัญหาต่างๆ ให้กับการกีฬาเป็นอย่างมากแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการประชุมร่วมกันอีกครั้งหนึ่งที่โคเปนเฮเกน เพื่อที่จะฟื้นฟูกีฬาแฮนด์บอลขึ้นมาใหม่ แต่ก็ล้มเหลว จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2499 จึงได้มีการแก้ไขกติกาแฮนด์บอลขึ้นใหม่ และยอมรับทักษะการเล่นสมัยก่อน ซึ่งทำให้ลักษณะของการเล่นและกติกาเปลี่ยนแปลงไป โดยอาศัยกติกาของฟุตบอลและบาสเกตบอลมาผสมกัน
สมัยก่อนนิยมการเล่นแบบ 11 คน เช่นเดียวกับฟุตบอล แต่ในยุโรปตอนเหนือได้มีการเล่นแบบ 7 คน และเล่นกันในร่ม ตอนแรกๆ ก็ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก แต่ต่อมาการเล่นแฮนด์บอลแบบ 7 คน ก็เป็นที่นิยมแพร่หลายในยุโรป ทำให้การเล่นแบบ 11 คนได้หายไป ซึ่งในปัจจุบันทั่วโลกก็ยอมรับการเล่นแบบ 7 คน และจากผลของการวิจัยต่างๆ ปรากฏว่าแฮนด์บอลเป็นกีฬาที่มีความเร็วเป็นอันดับสองของโลกรองลงมาจากกีฬาฮอกกี้น้ำแข็ง เหตุที่แฮนด์บอล 7 คนนิยมเล่นในร่มก็อาจเป็นเพราะเนื้อที่สนามน้อย สามารถเล่นในที่แคบๆ ได้ และอีกอย่างก็คือสภาพของดินฟ้าอากาศในฤดูหนาวของทวีปยุโรปนั้นจะปกคลุมไปด้วยหิมะและน้ำแข็ง ดังนั้นแฮนด์บอลจึงไม่สามารถเล่นในสนามกลางแจ้งได้ ด้วยเหตุผลนี้แฮนด์บอลจึงเป็นที่นิยมเล่นกันในร่มหรือโรงยิมเนเซียมแทน
จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่ากีฬาแฮนด์บอลเป็นกีฬาของโลกอย่างหนึ่งเพราะการแข่งขันกีฬาสำคัญระหว่างชาติก็มีการแข่งแฮนด์บอลด้วย เช่น กีฬาเอเชียนเกมส์ ที่ประเทศอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2525 ก็ได้มีการแข่งขันแฮนด์บอล หลังจากที่บรรจุไว้ในกีฬาโอลิมปิก เมื่อปี พ.ศ. 2479 แล้ว และในปี พ.ศ. 2516 ได้บรรจุในโปรแกรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่นครมิวนิค ประเทศเยอรมันตะวันตกด้วย
ประวัติของกีฬาเเฮนด์บอลในประเทศไทย
กีฬาแฮนด์บอลได้นำเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 โดย อาจารย์ กอง วิสุทธารมย์ อดีตอธิบดีกรมพลศึกษา ในสมัยนั้นแฮนด์บอลยังนิยมการเล่นแบบ 11 คนอยู่ แต่คนไทยเราไม่ค่อยจะนิยมเล่นกีฬาประเภทนี้กันเลยถูกยกเลิกไป ซึ่งอาจเป็นเพราะประเทศไทยสามารถเล่นฟุตบอลได้ตลอดฤดูกาล กีฬาแฮนด์บอลจึงไม่เป็นที่นิยมเล่นดังกล่าว
ต่อมาในปี พ.ศ.2500 อาจารย์ ชนิต คงมนต์ ได้ไปดูงานด้านพลศึกษาในประเทศเดนมาร์ก และสวีเดน ได้นำกีฬาแฮนด์บอลนี้มาเผยแพร่อีกครั้งหนึ่ง เพราะเห็นว่ากีฬานี้มีประโยชน์มากเนื่องจากใช้สถานที่ไม่กว้างมาก จะใช้สนามหญ้า สนามคอนกรีต พื้นดิน หรือพื้นไม้ก็ได้ ดังนั้นเมื่อกลับมาเมืองไทยจึงได้เริ่มบรรจุเข้าสอนในโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย และวิทยาลัยพลศึกษาก่อนที่อื่นเพื่อเป็นการทดลอง และต่อมาก็ได้เผยแพร่ไปตามโรงเรียนต่างๆ บ้าง แต่ก็ยังไม่กว้างขวางนัก
ปัจจุบันวิทยาลัยพลศึกษาทั่วประเทศได้บรรจุวิชาแฮนด์บอลไว้ในหลักสูตร ตลอดจนหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2518 ได้กำหนดเป็นวิชาบังคับ จึงนับได้ว่ากีฬาแฮนด์บอลเป็นที่รู้จักและนิยมกันอย่างกว้างขวางในหมู่นักเรียนวิทยาลัยพลศึกษา และประชาชนคนไทยมากยิ่งขึ้น
แฮนด์บอลได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาของวิทยาลัยพลศึกษาทั่วประเทศที่กรมพลศึกษาเป็นเจ้าภาพ เมื่อ พ.ศ. 2524 โดยการใช้กติกาการแข่งขันสากลฝ่ายละ 7 คน ปัจจุบัน นายปรีดา รอดโพธิ์ทอง อธิบดีกรมพลศึกษา ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า กีฬาแฮนด์บอลเป็นกีฬาที่มีความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ และสภาพของคนไทย จึงได้ส่งเสริมและให้มีการฟื้นฟูกีฬาประเภทนี้ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยให้กองกีฬากรมพลศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งจัดให้มีการอบรมผู้ฝึกสอน อบรมผู้ตัดสิน พร้อมทั้งจัดให้มีการแข่งขันกีฬาแฮนด์บอลในกีฬากรมพลศึกษาเป็นประจำทุกปี
กฎกติกา และ มารยาท
การแข่งขันแฮนด์บอล ทีมชายและทีมหญิงอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป แบ่งเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 30 นาที พัก 10 นาที ถ้าครึ่งแรกเล่นเกินเวลาที่กำหนดไว้ในครึ่งหลังก็จะต้องหักเวลาที่เกินออกไป แล้วเล่นจนเต็มเวลา 30 นาทีของครึ่งหลัง ถ้าผลเสมอกันในช่วงเวลาปกติ ให้เพิ่มเวลาพิเศษ หลังจากพักแล้ว 5 นาที เพื่อเสี่ยงเลือกส่งหรือเลือกแดนสำหรับเวลาในการต่อเวลาพิเศษ โดยช่วงเวลาที่เพิ่มจะแบ่งเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 5 นาที (เปลี่ยนแดนกันในครึ่ง โดยไม่มีเวลาพัก) ถ้าผลยังเสมอกันอีก ก็ให้ต่อเวลาพิเศษในช่วงที่ 2 โดยให้เสี่ยงเลือกส่งหรือเลือกแดน และการแข่งขันจะไม่มีการพัก (ถ้าผลจากการต่อเวลาพิเศษยังเสมอกันอยู่ ให้ประยุกต์กติกานี้เพื่อหาผู้ชนะ)
ทีมที่เข้าแข่งขัน
ต้องส่งรายชื่อผู้เล่นทีมละ 12 คนลง (ผู้เล่น 6 คน ผู้รักษาประตู 1 คน) ที่เหลือเป็นผู้เล่นตัวสำรอง ขณะเริ่มแข่งขันทีมหนึ่งจะต้องมีผู้เล่นไม่น้อยกว่า 5 คน เมื่อแข่งไปจะมีผู้เล่นน้อยกว่า 5 คนก็ได้ การเปลี่ยนตัวเข้าออกได้ตลอดเวลา เปลี่ยนออกมาแล้วก็เปลี่ยนกลับลงไปเล่นได้อีก โดยไม่ต้องบอกผู้บันทึกและผู้จับเวลา แต่จะต้องรอให้ผู้เล่นในสนามออกจากสนามก่อน แล้วก็จะต้องเข้าออกตรงบริเวณเส้นเปลี่ยนตัวของฝ่ายตนเองเท่านั้น ถ้ามีการเข้ามาเกินผู้เล่นคนนั้นจะถูกสั่งพัก 2 นาที และผู้เล่นในทีมนั้นจะต้องออกจากสนาม 1 คน ให้เหลือ 6 คน อยู่ 2 นาทีแล้วแต่ผู้ตัดสินจะกำหนดให้ใครออก
ผู้รักษาประตู
สามารถออกไปเล่นในสนามได้ และสามารถที่จะเปลี่ยนเป็นผู้รักษาประตูได้ตลอดเวลาแต่จะต้องเปลี่ยนเสื้อกันด้วย เคลื่อนที่ไปในเขตประตูพร้อมกับลูกบอลได้โดยไม่มีขีดจำกัดแต่จะพาลูกออกไปนอกเขตประตูไม่ได้ ถ้าออกมานอกเขตแล้วจะกลับเข้าเขตประตูพร้อมกับลูกบอลไม่ได้ ให้นับเป็นประตู ถ้าผู้เล่นเจตนาส่งลูกบอลกลับเข้าประตูของตนก็ให้นับประตูนั้นด้วย
การเล่นลูกบอล
1. อนุญาตให้ผู้เล่น ขว้าง จับ หยุด ผลัก หรือตีลูกบอลด้วยมีทั้งสองได้ รวมทั้งแขน ศีรษะ ลำตัว ต้นขาเข่า จับลูกบอลไว้ในมือเดียวหรือ 2 มือ จะทำได้ไม่เกิน 3 วินาที หรือก้าวได้ไม่เกิน 3 ก้าวการพิจารณาก้าว คือ
*ผู้เล่นยืนด้วยเท้าทั้ง 2 ข้างบนพื้น แล้วยกเท้าหนึ่งวางลงหรือเคลื่อนไปที่อื่น
*ผู้เล่นสัมผัสพื้นเพียงเท้าเดียว จับลูกบอลแล้วใช้เท้าข้างหนึ่งสัมผัสพื้น
*ก้าวขากระโดดลงพื้นด้วยเท้าเดียว และกระโจนด้วยเท้าเดิมหรือสัมผัสพื้นด้วยเท้าอื่น
*กระโดดลงสัมผัสพื้นด้วยเท้าทั้ง 2 พร้อมกัน แล้วยกเท้าข้างหนึ่งแล้ววางเท้านั้นลง หรือเคลื่อนเท้าหนึ่งไปยังที่อื่น (ให้ลากเท้าอีกข้างตามได้)
*ในขณะยืนหรือวิ่ง กระดอนลูกครั้งหนึ่งและจับด้วยมือเดียวหรือ 2 มือ
*การเลี้ยงลูกบอล กระดอนซ้ำด้วยมือเดียวหรือกลิ้งบอล หลังจากนั้นจึงจับลูกบอลหรือเก็บลูกบอลขึ้นมาด้วยมือเดียวหรือ 2 มือ
*ขณะที่จับลูกบอลด้วยมือเดียวหรือ 2 มือนั้น ทำได้ภายใน 3 วินาที หรือจากก้าวไม่เกิน 3 ก้าว การกระดอนลูกสามารถใช้ส่วนต่างๆ ได้ เมื่อลูกบอลถูกผู้เล่นคนอื่นหรือถูกประตูผู้เล่นสามารถที่จะปัด และจับลูกบอลได้อีก
*ส่งบอลจากมือหนึ่งไปยังอีกมือหนึ่ง
2. เล่นลูกบอลในขณะที่กำลังคุกเข่า นั่ง หรือนอนอยู่บนพื้นไม่อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำดังนี้
*ถูกลูกบอลมากกว่า 1 ครั้ง นอกจากลูกบอลไปถูกผู้เล่นอื่น หรือเสาประตู
*การพยายามครองลูกบอลพลาด (Fumbling) จะไม่ถูกลงโทษ
หมายเหตุ ลูกบอลพลาด หมายถึงการที่ผู้เล่นพยายามที่จะจับหรือหยุดลูกบอล แต่พลาดจากการครอบครอง
*ถูกลูกบอลด้วยเท้าหรือขาซึ่งอยู่ต่ำกว่าเข่าลงไปยกเว้นในกรณีที่คู่ต่อสู้ได้ขว้างลูกบอลมาถูกผู้เล่น แต่อย่างไรก็ตาม
การทำผิดอย่างนี้จะไม่ถูกลงโทษถ้าไม่เป็นการทำให้เกิดการได้เปรียบกับผู้เล่นหรือทีมของเขา
*ทิ้งตัวลงเล่นในขณะที่ลูกบอลวางอยู่บนพื้นหรือกำลังกลิ้งอยู่ แต่กติกาข้อนี้จะต้องไม่นำไปใช้กับผู้รักษาประตูในขณะที่อยู่ในเขตประตูของตัวเอง
*เจตนาทำลูกบอลออกนอกเส้นข้างหรือเส้นประตู กติกาข้อนี้จะต้องไม่นำไปใช้กับผู้รักษาประตูในขณะที่พยายามที่จะครอบครองลูกบอลพลาดภายในเขตประตู และลูกบอลได้ออกไปทางเส้นประตูโดยตรง (ส่งจากประตู)
*ครอบครองลูกบอลอยู่ภายในทีม โดยไม่พยายามที่จะรุกหรือทำประตู การเล่นในลักษณะนี้จะถูกลงโทษโดยให้ส่งลูกกินเปล่าจากจุดที่ลูกได้หยุดลง
*การเล่นจะดำเนินต่อไปถ้าลูกบอลถูกผู้ตัดสินในสนาม
* การนับประตู
จะนับเป็นประตู เมื่อลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านเข้าไปในเส้นประตูโดยผู้ทำประตูและเพื่อนร่วมทีมไม่ทำผิดกติกาก่อน ถ้าลูกบอลจะเข้าประตูแน่นอนแต่บุคคลอื่นหรือสิ่งอื่นที่ไม่มีสิทธิ์เข้าไปในสนามมาป้องกันไม่ให้ลูกบอลเข้าประตู ผู้ตัดสินพิจารณาให้เป็นประตู เมื่อผู้ตัดสินเป่านกหวีดให้ส่งเริ่มเล่นต่อไปแล้ว ประตูที่ได้จะเปลี่ยนแปลไม่ได้ ผู้ที่ทำประตูได้มากกว่าถือว่าเป็นผู้ขนะการแข่งขัน
หมายเหตุ ถ้าทั้ง 2 ทีมได้คะแนนเสมอกัน ให้ถือว่าเสมอกัน
* การส่งเริ่มเล่น
จะทำที่จุดกึ่งกลางสนามในในทิศทางใดก็ได้ต้องทำภายใน 3 วินาที ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องอยู่ห่างจากผู้ส่งเริ่มเล่นอย่างน้อย 3 เมตร (ยกเว้นผู้กระโดด)
* การส่งลูกเข้าเล่น
ต้องส่ง ณ บริเวณที่ลูกบอลออกโดยผู้ส่งลูกเข้าเล่นจะต้องมีเท้าข้างหนึ่งอยู่บนเส้นข้างจนกว่าลูกจะหลุดมือแล้วผู้ตัดสินไม่ต้องใช้สัญญาณนกหวีด
* ผู้รักษาประตูส่งลูก
จะต้องส่งลูกบอลข้ามเส้นเขตประตูไม่ต้องมีสัญญาณนกหวีดจากผู้ตัดสิน
* การส่งลูกกินเปล่า
1. การส่งลูกกินเปล่าจะกระทำในกรณีดังนี้
-การเปลี่ยนตัวไม่ถูกต้อง หรือเข้าสู้สนามผิดกติกา
-ผู้รักษาประตูทำผิดกติกา
-ผู้เล่นในสนามทำผิดกติกาในเขตประตู
-เล่นลูกบอลโดยไม่ถูกต้อง
-เจตนาทำให้ลูกบอลออกนอกเส้นประตูหรือเส้นข้าง
-ถ่วงเวลาในการเล่น
-การฟาวล์เนื่องจากการเข้าเล่นกับคู่ต่อสู้
-การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งเริ่มเล่น
-การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งเข้าเล่น
-การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งจากประตู
-การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งลูกกินเปล่า
-การหยุดเล่นโดยที่ไม่มีการทำผิดกติกา
-การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการยิงประตูโทษ
-การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการโยนลูกของผู้ตัดสิน
-ทำผิดระเบียบเกี่ยวกับการส่ง
-การกระทำที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา
-การรุกราน
2. ส่ง ณ จุดที่ผิดกติกาโดยไม่ต้องมีสัญญาณนกหวีดจากผู้ตัดสิน ถ้าฝ่ายรุกได้ส่งลูกกินเปล่า และจุดที่ผิดกติกาอยู่ระหว่างเส้นเขตประตูกับเส้นส่งลูกกินเปล่าของฝ่ายรับ การส่งนี้ให้ส่ง ณ จุดที่ใกล้ที่สุดกับจุดที่ผิดกติกานอกเส้นส่งลูกกินเปล่า
3. ในขณะที่ผู้เล่นฝ่ายรุกอยู่ในตำแหน่งพร้อมลูกบอลแล้ว เขาจะเลี้ยงลูกบอลหรือวางลูกบอลลงแล้วเก็บขึ้นมาอีกไม่ได้
4. ผู้เล่นฝ่ายรุกจะต้องไม่ถูกหรือข้ามเส้นส่งลูกกินเปล่าของฝ่ายตรงข้ามในขณะที่ทำการส่งลูกกินเปล่า ผู้ตัดสินจะต้องจัดตำแหน่งผู้เล่นฝ่ายรุกที่เข้าไปอยู่ในเส้นส่งลูกกินเปล่าให้ถูกต้องจากนั้นผู้ตัดสินจึงให้สัญญาณนกหวีดเพื่อส่งลูกกินเปล่า
5. ในขณะส่งลูกกินเปล่า ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องอยู่ห่างจากจุดส่งลูกกินเปล่าอย่างน้อย 3 เมตร แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นฝ่ายรับอาจยืนใกล้จุดนอกเส้นเขตประตูได้ ถ้าการส่งลูกกินเปล่าได้ทำการส่งบนเส้นส่งลูกกินเปล่า
6. ผู้ตัดสินจะต้องไม่ให้มีการส่งลูกกินเปล่าในขณะที่ฝ่ายป้องกันทำผิดกติกา ซึ่งจะทำให้ฝ่ายรุกเกิดการเสียเปรียบ ถ้าการทำผิดกติกานั้นเป็นเหตุให้ฝ่ายรุกเสียการครอบครองลูกบอล จะต้องให้ฝ่ายรุกได้ส่งลูกกินเปล่าเป็นอย่างน้อยถ้ามีการทำผิดกติกา แล้วฝ่ายรุกยังคงครอบครองลูกบอลได้อีกครั้ง จะต้องไม่ให้มีการส่งลูกกินเปล่า
7. ในกรณีที่การเล่นได้หยุดลงโดยไม่มีฝ่ายใดทำผิดกติกา และมีทีมหนึ่งครอบครองลูกบอลอยู่ การเล่นจะเริ่มใหม่โดยทีมที่ครอบครองลูกบอล ณ จุดที่การเล่นได้หยุดลง โดยการส่งลูกกินเปล่าหรือการส่งตามข้อกำหนด และผู้ตัดสินต้องให้สัญญาณนกหวีด
8. ในขณะที่มีการตัดสิน ฝ่ายที่กำลังครอบครองลูกบอลอยู่จะต้องวางลูกบอลลงใกล้ๆ กับผู้เล่นนั้นทันที
* การยิงลูกโทษ
-ฝ่ายรับจะต้องอยู่ห่างจากจุดยิง ไม่น้อยกว่า 3 เมตร -ถ้าในขณะที่มีการยิงลูกโทษ ผู้รักษาประตูแตะหรือข้ามเส้นเขตผู้รักษาประตู (เส้น 4 เมตร) ก่อนที่ลูกจะหลุดจากมือผู้ยิงลูกโทษ ให้ทำการยิงประตูลูกโทษใหม่ (ถ้าลูกนั้นไม่ได้ประตู)
* การโยนลูกโดยผู้ตัดสิน
เมื่อมีการทำผิดกติกาพร้อมกัน โดยผู้เล่นทั้ง 2 ทีม หรือหยุดการเล่นโดยไม่มีฝ่ายใดทำ กระทำที่จุดกึ่งกลางสนาม
* การสั่งพัก 2 นาที
จะส่งเมื่อมีการเปลี่ยนตัวไม่ถูกต้องหรือกระทำผิดซ้ำ ฯลฯ ถ้าคนเดิมถูกสั่งพักครั้งที่ 3 คนนั้นจะถูกตัดสินออกจากการแข่งขัน ในการเตือนจะให้ใบเหลืองเพื่อแสดงให้ผู้บันทึกทราบ และให้ใบแดงในกรณีที่ทำผิดรุนแรงเกินกว่าเหตุอื่นๆ อาจจะให้แก่ผู้เล่น
* ผู้ตัดสิน 2 คน
สวมชุดสีดำ ถ้าความเห็นขัดกัน ยึดผู้ตัดสินที่อยู่ในสนามเป็นหลัก (ผู้ตัดสินที่มีชื่อแรก) และมีหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บรวบรวมใบบันทึกที่สมบูรณ์ถูกต้อง ผู้ตัดสินสามารถยุติการแข่งขันได้ แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องดำเนินการแข่งขันต่อไปก่อนที่จะมีการตัดสินให้ยุติการแข่งขัน
* การเข้าเล่นกับฝ่ายตรงข้าม
อนุญาตให้กระทำดังต่อไปนี้
*ใช้มือหรือแขนเพื่อประโยชน์ในการครอบครองลูกบอล
*แบมือเล่นลูกบอลจากคู่ต่อสู้ได้ทุกทิศทาง
*ใช้ลำตัวบังคับคู่ต่อสู้ ถ้าคู่ต่อสู้ไม่ได้เป็นฝ่ายครอบครองลูกบอล
ไม่อนุญาตให้กระทำดังต่อไปนี้
*กีดกันคู่ต่อสู้ด้วยมือ แขน หรือขา
*ผลักคู่ต่อสู้ให้เข้าไปอยู่ในเขตประตู
*ดึงหรือตีลูกบอลด้วยมือเดียวหรือ 2 มือให้ออกจากมือคู่ต่อสู้ที่ครอบครองลูกบอลอยู่
*ใช้กำปั้นทุบลูกบอลจากคู่ต่อสู้
*ใช้ลูกบอลทำให้คู่ต่อสู้เกิดอันตราย
*ทำให้ผู้รักษาประตูเกิดอันตราย
*ดึงคู่ต่อสู้ด้วยมือเดียวหรือ 2 มือ หรือผลักคู่ต่อสู้
*ทำฟาวล์เกี่ยวกับการเข้าเล่นกับฝ่ายตรงข้าม จะถูกลงโทษโดยการส่งลูกกินเปล่า หรือให้ยิงลูกโทษ
*การทำฟาวล์เกี่ยวกับการเข้าเล่นกับฝ่ายตรงข้าม การกระทำฟาวล์ในลักษณะดังกล่าว เว้นแต่การเข้าหาคู่ต่อสู้โดยที่มิได้ครอบครองลูกบอลจะถูกลงโทษซ้ำให้พิจารณาถึงการกระทำที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬาด้วย
*การทำฟาวล์ที่ร้ายแรงเกี่ยวกับการเข้าเล่นกับฝ่ายตรงข้าม หรือลักษณะการกระทำที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬาจะต้องถูกลงโทษโดยการตัดสิทธิ์ผู้เล่นคนนั้น
*ผู้เล่นที่ทำร้ายผู้อื่นในสนามจะถูกไล่ออก
*การลงโทษ
1. การเตือนโดยไม่มีการบันทึก
2. การเตือนที่ผู้ตัดสินแจ้งให้กับผู้จับเวลาและผู้บันทึกทราบ โดยการใช้บัตรสีเหลือง หมายเหตุ การเตือนทั้งทีมไม่ควรเกิน 3 ครั้ง ผู้เล่นคนอื่นๆ ทำผิดอีกจะไม่มีการเตือน แต่จะให้เป็นการสั่งพักเท่านั้น
3. การสั่งพัก จะต้องแสดงสัญญาณมือให้ผู้เล่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้บันทึก ผู้จับเวลา ได้เห็นอย่างชัดเจน (ชูมือข้างหนึ่งขึ้นและเหยียดนิ้วขึ้น 2 นิ้ว) การสั่งพักโดยปกติหยุดพัก 2 นาที แต่ถ้าเป็นผู้เล่นคนเดิมถูกสั่งพักเป็นครั้งที่ 3 ผู้เล่นคนนั้นจะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน
4. การตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
-ผู้เล่นที่ไม่มีสิทธิ์เกี่ยวข้องเข้าไปในสนาม
-การทำผิดอย่างร้ายแรงที่เกี่ยวกับการเข้าเล่นกับคู่ต่อสู้
-กระทำโดยไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา
-เถียงผู้ตัดสิน
มารยาทการเป็นผู้เล่นที่ดี
จุดมุ่งหมายของการเล่นกีฬาที่สำคัญนั้นมิใช่มุ่งเน้นเเต่เพียงเฉพาะผลแพ้ – ชนะ เเต่มุ่งไปในมิตรภาพความมีน้ำใจนักกีฬา อันเป็นคุณลักษณะทางจิตใจ นักกีฬาที่ดีควรมีมารยาทในการเล่นจึงจะได้ชื่อว่าเป็นนักกีฬาที่สมบูรณ์ ดังนั้นผู้ที่เล่นควรมีเเนวปฏิบัติดังนี้
1. แต่งกายให้สุภาพสะอาดเรียบร้อย ถูกต้องเหมาะสมตามกติกาการเเข่งขัน
2. เเสดงออกซึ่งมิตรภาพโดยการจับมือผู้ร่วมเเข่งขันทั้งก่อนเเละหลังการเเข่งขัน
3. เล่นด้วยความสนุกสนาน ยิ้มเเย้มแจ่มใส เล่นด้วยความสุภาพ อ่อนโยนไม่ก้าวร้าวทั้งต่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
และผู้ตัดสิน เเละเล่นตามกติกา
4. เมื่อชนะไม่ควรเเสดงความดีใจจนเกินไปในลักษณะข่มฝ่ายตรงข้าม
5. เชื่อฟังผู้ตัดสิน โดยถือเอาคำตัดสินเป็นเด็ดขาด
6. ไม่เเสดงหรือตำหนิผู้เล่นฝ่ายเดียวกันเมื่อเล่นผิดพลาด
7. ไม่ส่อเจตนากลั่นเเกล้ง หรือยั่วยุคู่ต่อสู้
8. ไม่นำเอาผลเเพ้ – ชนะมาเป็นข้อพิพาทในการทะเลาะวิวาทซึ่งกันเเละกัน
9. แสดงความสามารถให้เต็มที่ในการเเข่งขัน และไม่ซ้ำเติมคู่ต่อสู้ที่มีฝีมือด้อยกว่า
10. เชื่อฟังเเละปฏิบัติตามผู้ฝึกสอน และแสดงมารยาทที่ดีต่อผู้ดูทั่วไป มีความสุภาพเรียบร้อยทั้งในเเละนอก
สนามการเเข่งขัน
มารยาทของการเป็นผู้ชมที่ดี
เนื่องจากผู้ดูเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่จะทำให้เกมการเเข่งขันสนุกสนานเร้าใจเพิ่มมากขึ้น ไม่ใช่ขึ้นอยู่เเต่เพียงเฉพาะ กรรมการตัดสิน เจ้าหน้าที่จัดการ หรือตัวนักกีฬาเอง ฉะนั้นเเนวทางการเป็นผู้ชมที่ดีควรปฏิบัติดังนี้
1. ปรบมือต้อนรับผู้เเข่งขันทั้งสองฝ่าย รวมทั้งกรรมการตัดสินเข้าสู่สนาม ตลอดจนอาจมีการปรบมือให้
เกียรติเเก่ผู้เล่นที่เล่นดีทั้งสองฝ่ายด้วย
2. เคารพเเละยอมรับในคำตัดสินของกรรมการ
3. มีความเห็นอกเห็นใจผู้เล่นทั้งสองฝ่ายเเละกรรมการผู้ตัดสิน โดยไม่เเสดงอาการไม่สุภาพเมื่อมีการตัด
สินผิดพลาด เเละไม่กระทำการใดๆที่ทำให้กรรมการตัดสินปฏิบัติหน้าที่ไม่สะดวก
4. ช่วยกันรักษาความสะอาดของสถานที่ ไม่ทำลายสิ่งของใดๆ
5. ไม่เชียร์ในสิ่งที่เป็นการเเสดงอาการส่อเสียดไปในทางไม่ดีต่อทีมใดทีมหนึ่ง
6. ควรใช้วิจารณญาณในการเชียร์
เเบบฝึกของการเล่นกีฬาเเฮนด์บอล
ขั้นเเรกของการฝึกจะต้องมีการเตรียมร่างกายของผู้ที่จะทำการฝึกโดยการออกกำลังกายหรือการฝึกอวัยวะในส่วนต่างๆเสียก่อน (เรียกว่าการอบอุ่นร่างกายหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการวอร์มอัพนั้นเอง)
ทักษะในการเล่นที่สำคัญได้เเก่
การทรงตัว : ท่าการทรงเป็นรากฐานที่สำคัญอย่างมาก เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวในการปฏิบัติของเท้าเเละส่วนอื่นๆ เเนวทางในการฝึกหัดมีดังนี้
ท่าของการทรงตัว
1. ยืนเเล้วก้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย งอเข่า ศีรษะตั้งตรง ตามองไปข้างหน้า
2. เหยียดเเขนไปข้างหน้า งอศอกตามธรรมชาติ เเบมือเเละกางนิ้วออก โดยไม่ต้องเกร็ง
3. เท้าทั้งสองยืนห่างกันประมาณช่วงไหล่ พร้อมที่จะเคลื่อนไหวตลอดเวลา
การทรงตัวขณะเคลื่อนที่
1. เลื่อนเท้าไปข้างหน้า เเล้วลากเท้าอีกข้างหนึ่งตามมาชิดในท่าของการยืนทรงตัวเมื่อต้องการเคลื่อนที่
2. ถ้าต้องการเคลื่อนที่ไปข้างๆให้ใช้เท้าที่ถนัดสืบเท้านำไปข้างๆแลวลากเท้าที่เหลือมาชิด
การทรงตัวเมื่อต้องการหยุด
1. การหยุดเเบบเท้าอยู่ข้างหน้าโดยการใช้เท้าใดเท้าหนึ่งก้าวนำ งอเข่า ลำตัวเอนมาด้านหลังเล็กน้อย
2. ย่อตัวต่ำลง ศีรษะตั้งตรง ตามองไปที่เป้าหมาย กางแขนเท้าหลังยึดเเน่นกับพื้น
3. การหยุดเเบบเท้าคู่ (นิยมใช้ในทีมรับ) กระโดดเเล้วลงสองเท้าพร้อมกัน ให้เท้าห่างกันพอสมควร
การครอบครองลูก : การถือบอลสามารถจับหรือถือได้ทั้งมือเดียวหรือสองมือ สามารถเปลี่ยนมือไปมาได้ เเต่ต้องไม่เกิน 3 วินาที เเละสามารถถือลูกบอลพร้อมทั้งก้าวได้ 3 ก้าว
การรับส่งลูก : เเบมือทั้งสองออกทุกนิ้วกางนิ้วเเยกออกจากกันให้หงายฝ่ามือขึ้นเมื่อต้องการรับลูกที่มาต่ำ อีกกรณีทำได้โดยการคว่ำฝ่ามือหันหลังมือเข้าหาลำตัว นิ้วมือทั้งสองเกือบจรดกัน นิ้วห่างกันเล็กน้อย (คล้ายรูปชาม) เมื่อบอลกระทบมือใช้นิ้วต่างๆรวมจับลูกอย่าให้ลูกกระทบอุ้งมือพร้อมทั้งดึงลูกเข้าหาลำตัว
1. ขณะรับส่งลูกสายตาจ้องมาลูกบอลเสมอ ไม่ควรมองดูตัวผู้เล่น
2. ตำเเหน่งการทรงตัวจะต้องมั่นคง พร้อมที่จะส่งบอลในทุกทิศทาง
3. อย่ายืนรอรับบอลเฉยๆ ควรวิ่งเข้าหาบอล ถ้าบอลมาสูงก็กระโดดรับ ถ้ามาต่ำก็ก้มรับ เมื่อได้บอลเเล้วรีบดึงบอลเข้าหาลำตัว
การฝึกรับส่งบอลอาจทำการฝึกในหลายๆรูปเเบบ เพื่อเพิ่มทักษะการรับเเละการส่ง ได้เเก่
1. การรับบอลในอากาศด้านหน้า
2. การรับลูกที่ส่งมาไม่ตรงตัวทางเเขนด้านที่ถนัด
3. การรับลูกที่ส่งมไม่ตรงตัวทางเเขนด้านที่ไม่ถนัด
4. การรับลูกที่กลิ้งมาตามพื้น
การส่งลูก : เป้าหมายในการส่งคือระดับอกของผู้รับ ความเร็วต้องมีการกะระยะทางระหว่างผู้ส่งเเละผู้รับเพื่อที่จะได้ส่งลูกออกไปตามเเรงที่เหมาะสม การส่งลูกถ้าผู้ส่งถนัดขวาก็ต้องให้เท้าซ้ายอยู่หน้าเท้าขวาในขณะส่ง โน้มตัวไปข้างหน้า ถ่ายน้ำหนักตัวไปข้างหน้าเพื่อเสริมเเรงทำให้ลูกวิ่งได้เร็วเเละเเรงขึ้น การส่งลูกบอลอาจทำได้ในหลายๆรูปเเบบ เพื่อหลอกล่อคู่ต่อสู้ เเละการส่งอาจทำได้ทั้งการยืนส่งลูก หรือการกระโดดส่งลูก ดังนี้
การยืนส่งลูกมือเดียว ซึ่งได้เเก่ ส่งลูกมือเดียวเหนือหัวไหล่ การส่งไปด้านหน้าด้วยมือที่ถนัดเเละไม่ถนัดเหนือหัวไหล่ ส่งลูกมือเดียวระดับล่าง ส่งบอลระดับกลางด้านข้าง การพลิกมือส่ง (ลูกบอลต้องอยู่ในระดับข้อมือ เเละบอลอยู่ชิดลำตัว) การส่งลูกมือเดียวอ้อมหลัง ส่งลูกมือเดียวอ้อมไหล่ ส่งลูกเเบบผลัก ส่งลูกเเบบตวัด ฯลฯ
การยืนส่งลูกสองมือ ซึ่งได้เเก่ ส่งลูกระดับอก ส่งลูกเหนือศีรษะ ส่งลูกสองมือด้านหน้า ฯลฯ
การกระโดดส่งลูกมือเดียว ซึ่งได้เเก่ กระโดดส่งลูกมือเดียวตรงหน้า กระโดดส่งด้านข้างมือเดียว กระโดดส่งลูกด้วยสองมือ กระโดดส่งลูกกลับด้านหลัง กระโดดสองเท้าส่งลูกสองมือ
ข้อเเนะนำในการรับ – ส่งลูกบอล
1. ไม่ควรเเสดงว่าจะส่งลูกไปทางไหน
2. การส่งลูกอย่าส่งเเรงหรือเร็วเกินไป เป้าหมายการส่งลูกโดยที่ผู้รับเคลื่อนที่ประมาณข้างหน้าของผู้รับระยะ 1 ช่วงเเขน ไม่ส่งย้อยหลัง สูงหรือต่ำเกินไป
3. ไม่ควรส่งกระดอนหรือลูกพลิกเเพลงบ่อย ในขณะที่ไม่มีความชำนาญ
4. อย่าส่งลูกขณะที่ผู้รับยังหันหลังอยู่ เเละไม่ควรส่งลูกข้ามคน (อาจถูกตัดเเย่งเอาลูกบอลไปได้)
การเลี้ยงลูก : ขณะยืนหรือเคลื่อนที่พยายามบังคับลูกบอลให้กระทบพื้น ผู้เล่นจะก้าวกี่ก้าวก็ได้ในขณะที่เลี้ยงลูกบอล สามารถทำได้โดยการปัดลูกบอลไปบนพื้นสนาม ให้ผู้ฝึกกางนิ้วมือที่จะใช้เลี้ยงลูกออกทุกนิ้วเวลาผลักลูกบอลลงสู่พื้นนั้นใช้เฉพาะนิ้วทั้งห้าเท่านั้น ห้ามใช้ฝ่ามือผลักลูกเด็ดขาด ตำแหน่งของร่างกายขณะเลี้ยงลูกบอล ให้ก้มตัวไปข้างหน้าย่อเข่า แขนข้างหนึ่งกางออกเพื่อการทรงตัว เท้าอยู่ในลักษณะมีเท้านำและเท้าตาม ลำตัวเอียงโน้มไปข้างหน้า หรือด้านข้างเพื่อช่วยในการหลบหลีกและทำการป้องกันจากคู่ต่อสู้ เมื่อต้องการหยุดกดลูกให้ต่ำลงหรือจับลูกบอลด้วยมือเดียวหรือสองมือก็ได้
การเลี้ยงลูกบอลมีหลากหลายลักษณะขึ้นอยู่กับโอกาสและความชำนาญของผู้ฝึก ในที่นี้จะขอกล่าวแต่ถึงรูปแบบการเลี้ยงที่มีการใช้บ่อย ได้แก่
การเลี้ยงลูกต่ำ – จุดมุ่งหมายเพื่อหลบหลีกคู่ต่อสู้
การเลี้ยงลูกสูง - จุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้การเลี้ยงลูกบอลไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว
การหมุนตัว : การหมุนตัวเป็นทักษะที่ต้องการการฝึกฝนอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆได้ดังนี้
1. การหมุนตัวอยู่กับที่ : หมุนตัวโดยใช้เท้าใดเท้าหนึ่งเป็นหลัก หมุนไปตามทิศที่ต้องการ โดยที่เท้าที่ใช้เป็นหลักจะต้องยึดมั่นอยู่กับที่ เขย่งส้นเท้าขั้นให้ปลายเท้าติดอยู่กับพื้น ขณะที่หมุนตัวต้องก้มลำตัวและงอเข่าให้มากที่สุด ใช้สายตากะระยะคู่ต่อสู้ ในการครองลูก ให้ถือลูกให้มั่นด้วยมือทั้งสองข้าง ลูกบอลแนบชิดกับหน้าท้อง กางข้อศอกเพื่อป้องกันคู่ต่อสู้แย่งลูกบอล
2. การหลอกหมุนตัวกลับ : เป็นพื้นฐานนำไปสู่การยิงประตู จุดมุ่งหมายหลักคือ การหลอกล่อ หนีฝ่ายป้องกัน สามารถทำได้โดยวิ่งตัดผ่านพื้นที่เหนือเส้นเขตประตูเพื่อรับลูกบอลโดยไม่ให้ฝ่ายป้องกันรู้ตัว ในการหยุดเท้าต้องขนานกัน ช่วงเท้าทั้งสองห่างกว่าปกติเล็กน้อยย่อเข่าให้สะโพกต่ำ เวลาเหมุนตัวกลับต้องทำให้เร็วน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าหลักในการหมุน (อาจทำได้ทั้ง ซ้าย – ขวา)
การยิงประตู : การเข้าทำประตูฝ่ายตรงข้ามมีวิธีการและทักษะแตกต่างกัน ทั้งนี้การเลือกนำไปใช้ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และการตัดสินใจของผู้เล่น จึงแยกออกได้ดังนี้คือ
1. ยืนยิงประตู
- การยืนยิงประตูอยู่กับที่มือเดียวเหนือไหล่
- การยืนยิงประตูอยู่กับที่มือเดียวระดับไหล่
- การยืนยิงประตูอยู่กับที่แบบเหวี่ยง
- การยืนยิงประตูอยู่กับที่มือเดียวระดับต่ำ
- การยืนยิงประตูด้วยสองมือ
- การยืนยิงประตูแบบกลับหลัง
2. การกระโดดยิงประตู
- การกระโดดยิงประตูแนวดิ่งด้วยเท้าคู่
- การกระโดดยิงประตูแนวดิ่งด้วยเท้าเดียว
- การวิ่งกระโดดยิงประตู
- การพุ่งตัวตรงหน้ายิงประตู
- การล้มตัวยิงประตูทางด้านหน้า
- การพลิกตัวยิงประตู
- การหมุนตัวประตูแบบขว้างจักร
ข้อแนะนำในการยิงประตู
1. ผู้ยิงประตูที่ดี ต้องหมั่นฝึกฝนอยู่เสมอและควรมีทักษะในการยิงประตูมากกว่า 1 ท่าขึ้นไป
2. ต้องมีการหลอกล่อ และคอยหาโอกาส
3. ต้องยิงประได้ทั้งมือซ้ายและมือขวา
4. ไม่ควรยิงในทิศทางเดียวกันเสมออาจทำให้ถูกจับทิศทาง
5. ระดับของการยิงประตูให้พิจารณาดังนี้
5.1) รูปร่าง ส่วนสูง ของผู้รักษาประตู
ก. คนเตี้ยให้ยิงระดับสูง
ข. คนสูงให้ยิงระดับต่ำ
ค. หากรูปร่างเก้งก้างลำตัวยาวให้ยิงประตูระดับกลางของประตู
5.2) ตำแหน่งการยิงของผู้รักษาประตู
ก. ให้ยิงประตูไปยังด้านที่เปิด (มุมไกล) ด้านกว้าง
ข. ศึกษาจุดอ่อนของผู้รักษาประตูว่าถนัดและไม่ถนัด
5.3) ทักษะบางอย่างของผู้รักษาประตู
ก. ถ้าผู้รักษาประตูชอบพุ่งตัวรับ ให้ยิงลูกต่ำ
ข. ถ้าผู้รักษาประตูใช้เท้าได้ดี แต่ใช้มือไม่ดี การยิงให้ยิงลูกกระดอนพื้น
การฝึกในแบบทีม
ในการเล่นประเภททีมจะต้องทำการแบ่งฝ่ายออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ผู้เล่นฝ่ายรุก (ฝ่ายที่ได้ครอบครองลูก) และผู้เล่นฝ่ายรับ
ผุ้เล่นฝ่ายรุกประกอบด้วย
1. ตำแหน่งหลัง (Backs) ในการเล่นแฮนด์บอลถือว่าผู้เล่นกองหลังเป็นหัวใจและมันสมองของทีม ผู้เล่นในตำแหน่งนี้จะต้องมีรูปร่างแข็งแรง มีประสบการณ์และความชำนาญที่ดี สามารถสั่งการและบัญชาการเกมได้
2. ตำแหน่งปีก (Wingers) จะต้องมีความเร็วคล่องตัวมีสมรรถภาพทางกายดี สามารถยิงประตูได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะการยิงประตูทางมุมแคบจากทางด้านข้าง
3. ตำแหน่งหน้า (Forward or line players) ต้องมีการสร้างสรรค์เกมรุกด้านหน้า ต้องมีรูปร่างแข็งแรงบึกบึนและมีความคล่องตัวสูง
การป้องกันในการเล่นแฮนด์บอลมีจุดมุ่งหมายคือป้องกันการทำประ๕จากฝ่ายที่ได้ครอบครองลูก ทักษะป้องกันพื้นฐานที่สำคัญมี 3 ประการ คือ
1. การป้องกันแบบตัวต่อตัว
2. การป้องกันแบบทีม
3. การป้องกันตามสถานการณ์ต่างๆ
ที่มา + จำไม่ได้ค่ะ ขอโทษนะคะ
20ความคิดเห็น