อุปราคา 2554 - อุปราคา 2554 นิยาย อุปราคา 2554 : Dek-D.com - Writer

    อุปราคา 2554

    โดย ammeapiss

    อุปราคาที่มีในปี 2554

    ผู้เข้าชมรวม

    240

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    240

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  อื่นๆ
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  27 มี.ค. 54 / 09:45 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
     
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
       ในปีพศ.2554 นี้จะมีปรากฏการณ์เกี่ยวอุปราคา 6 ครั้งบนโลก โดยเป็นสุริยุปราคา 4 ครั้ง และ จันทรุปราคาอีก 2 ครั้ง แต่เป็นที่น่าเสียดายสำหรับประเทศไทยจะไม่มีโอกาสได้เห็นสุริยุปราคาในปีนี้เลย แต่จะเห็นจันทรุปราคาที่เกิดขึ้นทั้ง 2 ครั้ง  ซึ่งอุปราคาทั้ง 6 ครั้งบนโลก ได้แก่

           
      1) สุริยุปราคาบางส่วน (Partial Solar Eclipse) วันที่ 4 มกราคม 2554  เกิดขึ้นบริเวณยุโรปและอาฟริกาตอนบน และไม่สามารถมองเห็นสุริยุปราคาได้ในประเทศไทย

           2) สุริยุปราคาบางส่วน (Partial Solar Eclipse) วันที่ 1 มิถุนายน 2554 เกิดขึ้นทางแถบขั้วโลกเหนือและแคนาดาตอนบน  ไม่สามารถเห็นได้ในประเทศไทย

           3) จันทรุปราคาเต็มดวง (Total Lunar Eclipse) วันที่ 15 มิถุนายน 2554 เกิดขึ้นทางแถบเอเซีย ยุโรป และอาฟริกาบางส่วน สำหรับประเทศไทยเห็นได้ตลอดช่วง หลังเที่ยงคืน  

           4) สุริยุปราคาบางส่วน
       (Partial Solar Eclipse) วันที่ 1 กรกฏาคม 2554  เกิดขึ้นในมหาสมุทรแอนตาร์คติกทางตอนใต้ของทวีปอาฟริกา ซึ่งไม่สามารถมองเห็นในประเทศไทย 

           5) สุริยุปราคาบางส่วน (Partial Solar Eclipse) ันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 เกิดขึ้นในแถบทวีปแอนตาร์คติก ไม่สามารถเห็นได้ในประเทศไทย  

          6) จันทรุปราคาเต็มดวง 
      (Total Lunar Eclipse) ันที่ 10 ธันวาคม 2554  เห็นได้เป็นส่วนใหญ่ของโลก และ สำหรับประเทศไทยเห็นได้ตลอดทั้งช่วง ตอนหัวค่ำ 

           รายละเอียดของอุปราคาทั้ง 6 ครั้งมีดังนี้

             
            สุริยุปราคาบางส่วน 
      (Partial Solar Eclipse) วันอังคารที่ 4 มกราคม 2554
            ตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เป็นสุริยุปราคาครั้งแรกที่เกิดขึ้นในปี 2554 แต่เป็นแบบบางส่วน มองเห็นได้บริเวณแถบยุโรป และตอนเหนือของทวีปอาฟริกา โดยมีสัมผัสแรกเกิดขึ้นที่ประเทศอัลจีเรีย เวลา 06.40 
      UT  ากนั้นแนวอุปราคาจะเคลื่อนที่ไปทางยุโรปผ่านสเปน  ฝรั่งเศส สวีเดน และตอนเหนือของทวีปเอเซีย โดยมีจุดศูนย์กลางการเกิดอุปราคานานที่สุด อยู่ที่ประเทศสวีเดน และสิ้นสุดแถบมองโกเลียเวลา 11.00 UT   ซึ่งNode องดวงจันทร์ขณะนั้นอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius) 
            สุริยุปราคาบางส่วนครั้งนี้เป็นครั้งที่ 14 ของการหวนกลับมาของอุปราคา หรือที่เรียกว่า ซารอส
      (Saros)ลำดับที่ 151  และไม่สามารถมองเห็นได้ในประเทศไทย           
                             
       
       

              
      สุริยุปราคาบางส่วน (Partial Solar Eclipse) วันพุธที่ 1 มิถุนายน 2554 
              ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เป็นสุริยุปราคาบางส่วนที่เกิดขึ้น ทางแถบขั้วโลกเหนือและแคนาดาตอนบน ทำให้  ไม่สามารถมองเห็นได้ในประเทศไทย  
             สุริยุปราคาบางส่วนครั้งนี้ เริ่มต้นทางแถบไซบีเรียและจีนตอนบน เวลา 19.25 
      UT ้ามชายฝั่งอาร์คติก ไปสิ้นสุดที่มหาสมุทรแอตแลนติก เวลา 23.06 UT ึ่งขณะนั้น Node องดวงจันทร์อยู่ในกลุ่มดาววัว(Taurus) พอดี  สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นครั้งที่ 68 ของการหวนกลับมาของอุปราคา หรือที่เรียกว่า ซารอส(Saros) ลำดับที่ 118                  
                                     
           
                สุริยุปราคาบางส่วน
       (Partial Solar Eclipse) วันศุกร์ที่ 1 กรกฏาคม 255
                ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เป็นสุริยุปราคาบางส่วนที่เกิดขึ้นใกล้ชายฝั่งแอนตาร์คติก ทางใต้ของทวีปอาฟริกาไม่สามารถมองเห็นได้ในประเทศไทยเช่นกัน เวลาที่เกิดปรากฏการณ์ 08.38 
      UT และเป็นครั้งแรกของซารอสลำดับที่ 156  
                                     


                สุริยุปราคาบางส่วน 
      (Partial Solar Eclipse) ันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2554
                ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เป็นสุริยปุราคาครั้งสุดท้ายของปี 2554 เกิดขึ้นขณะที่ 
      Node องดวงจันทร์อยู่ที่กลุ่มดาวแมงป่อง เกิดขึ้นบริเวณทวีปแอนตาร์คติกทั้งหมดเวลา 06.20 UT  สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นครั้งที่ 53 ของการหวนกลับมาของอุปราคา หรือที่เรียกว่า ซารอส(Saros) ลำดับที่ 123   ไม่สามารถเห็นได้ในประเทศไทยเช่นกัน  
                                    


          
         
             จันทรุปราคาเต็มดวง 
      (Total Lunar Eclipse) วันพฤหัสที่ 16 มิถุนายน 2554
            
       ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ หลังจากการเกิดสุริยุปราคาบางส่วนในวันที่ 1 มิถุนายน อีก 15 วันต่อมาดวงจันทร์ก็เคลื่อนมาอยู่ฝั่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ และเข้าไปอยู่ในเงามืดของโลกพอดี ทำให้เกิดจันทรุปราคาเต็มดวงซึ่งอยู่ในแนวกึ่งกลางเงามืดของโลกพอดี จึงทำให้ช่วงเวลาที่ดวงจันทร์อยู่ในเงามืดนานที่สุด  
             พื้นที่ในการสังเกตปรากฏการณ์ครั้งนี้จะครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลก ยกเว้นเพียงทวีปอเมริกาเหนือและแคนาดาเท่านั้น  สำหรับประเทศไทยจะเห็นปรากฏการณ์ครั้งนี้ตลอดช่วงจนดวงจันทร์กำลังจะตก 

                 

               โดยที่สัมผัสแรกที่ดวงจันทร์เข้าไปอยู่ในเงามัวเวลา 17.24 UT หรือ 00.24 น. หลังเที่ยงคืน หรือวันใหม่ของวันที่ 16 มิถุนายน ตามเวลาในประเทศไทย  แต่ไม่สามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ช่วงนี้
                จนกระทั้งเริ่มเข้าสัมผัสเงามืดเวลา 18.22
       UT หรือ 01.22 น. ตามเวลาของประเทศไทย จนมืดหมดทั้งดวงเวลา 19.2UT หรือ 02.22 น. 
                โดยเข้าเงามืดสูงสุดเวลา 20.12 
      UT รือ 03.12 น. และเริ่มออกจากเงามืดเวลา 21.02 UT หรือ 04.02 น. รวมเวลาอยู่ในเงามืดนาน 1 ชั่วโมง 40 นาที และออกจากเงามืดจนหมดเวลา 22.02 UT หรือ 05.02 น. ตามเวลาประเทศไทย กินเวลาทั้งสิ้นนาน 3 ชั่วโมง 40 นาที
                         
                               
            

           
      จันทรุปราคาเต็มดวง (Total Lunar Eclipse) ันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม 2554
            ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ คือหลังจากที่เกิดสุริยุปราคาบางส่วนในวันที่ 25 พฤศจิกายน อีก 15 วันต่อมาดวงจันทร์ก็เคลื่อนไปอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ โดยเข้าไปอยู่ในเงามืดของโลกเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง แต่ก็ไม่ได้เข้าไปอยู่ในแนวกึ่งกลางเงามืดเหมือนวันที่ 15 มิถุนายน 2554  
            สำหรับพื้นที่ในการเห็นปรากฏการณ์นี้จะกินพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลก ยกเว้นทวีปอเมริกาใต้ และชายฝั่งตะวันตกของอาฟริกาเท่านั้น   สำหรับประเทศไทยจะเห็นปรากฏการณ์ครั้งนี้ตลอดทั้งช่วง

        
              
           
         โดยที่ดวงจันทร์เริ่มเข้าสัมผัสเงามัวตั้งแต่เวลา 11.33 UT หรือ 18.33 น. ของวันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม ตามเวลาประเทศไทย แต่ก็ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก
              จนกระทั้งเริ่มสัมผัสเงามืดเวลา 12.45 
      UT หรือ 19.45 น. ตามเวลาประเทศไทย และเข้าในเงามืดจนหมดเวลา 14.06 UT หรือ 21.06 น. แล้วเริ่มออกจากเงามืดเวลา 14.57 UT หรือ 21.57 น. รวมเวลาที่อยู่ในเงามืดนาน 51 นาที แล้วออกจากเงามืดจนหมดเวลา 16.17 UT หรือ 23.17 น. ตามเวลาประเทศไทย กินเวลานานทั้งสิ้น 3 ชั่วโมง 32 นาที                  

                                       

       
       http://sunearth.gsfc.nasa.gov/eclipse/eclipse.html  

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×