ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดาวเคราะห์

    ลำดับตอนที่ #1 : ดาวพุธ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 98
      0
      2 พ.ย. 52

    ดาวพุธ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดของระบบสุริยะ ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 88 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้ดวงอาทิตย์ หรืออยู่ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ จึงสังเกตได้ไม่ง่ายนักด้วยกล้องโทรทรรศน์ ขณะทำมุมห่างมากที่สุดจะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 28.3° ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยสำรวจดาวพุธในระยะใกล้ คือ ยานมาริเนอร์ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2517-2518 (ค.ศ. 1974-1975) และสามารถทำแผนที่พื้นผิวดาวพุธได้เพียง 40-45% เท่านั้น

    ดาวพุธมีสภาพพื้นผิวใกล้เคียงกับดวงจันทร์มาก มีพื้นผิวขรุขระเนื่องจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวารรวมทั้งไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะสร้างชั้น บรรยากาศ ข้อแตกต่างประการเดียวระหว่างดวงจันทร์และดาวพุธคือ ดาวพุธมีแกนกลางเป็นเหล็กขนาดใหญ่ จึงทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของสนามแม่เหล็กโลกล้อมรอบดาวพุธไว้

                    ชื่อละตินของดาวพุธ (Mercury) มาจากคำเต็มว่า Mercurius เทพนำสารของพระเจ้า สัญลักษณ์แทนดาวพุธ คือ เป็นรูปคทาของเทพเจ้าเมอคิวรี ก่อนศตวรรษที่ 5 ดาวพุธมีสองชื่อ คือ เฮอร์เมส เมื่อปรากฏในเวลาหัวค่ำ และอพอลโล เมื่อปรากฏในเวลาเช้ามืด เชื่อว่าพีทาโกรัสเป็นคนแรกที่ระบุว่าทั้งสองเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวกัน

    บรรยากาศ

                    ดาวพุธมีขนาดเล็กเสียจนแรงดึงดูดของมันไม่เพียงพอที่จะยึดเอาชั้นบรรยากาศ เอาไว้เป็นเวลานานๆได้ ดาวพุธมีชั้นบรรยากาศบางๆ ที่เป็นก๊าซไฮโดรเจน ฮีเลียม ออกซิเจน โซเดียม แคลเซียม และ โพแทสเซียม ชั้นบรรยากาศของมันไม่ค่อยจะเสถียรนัก อะตอมในบรรยากาศเหล่านี้จะมีการ สูญเสียและถูกเติมอยู่ตลอดเวลา โดยมีแหล่งที่มาหลายแหล่ง ไฮโดรเจนและ ฮีเลียมอาจจะมาจากลมสุริยะ พวกมันแพร่เข้ามาผ่านสนามแม่เหล็กของ ดาวพุธก่อนจะหลุดออกจากบรรยากาศในที่สุด การสลายตัวของสารกัมมันตรังสี จากแกนของดาวก็อาจจะเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ช่วยเติมฮีเลียม โซเดียม และโพแทสเซียมให้กับ บรรยากาศดาวพุธ

    อุณหภูมิและแสงอาทิตย์

                    อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยของดาวพุธมีค่า 452 เคลวิน แต่แปรผันได้ระหว่าง 90-700 เคลวิน (เนื่องมาจากดาวพุธมีชั้นบรรยากาศที่บางมาก) เทียบกับโลกที่มีค่าแปรผันเพียง 11 เคลวิน (คำนึงเฉพาะการแผ่รังสีดวงอาทิตย์ ไม่รวมการเปลี่ยนแปลงจากภูมิอากาศหรือฤดูกาล) แสงอาทิตย์บนพื้นผิวดาวพุธมีความเข้มมากกว่าที่โลกราว 6.5 เท่า ความรับอาบรังสี (irradiance) โดยรวมมีค่า 9.13 kW/m²

                    ที่น่าประหลาดใจ คือ การสังเกตการณ์ด้วยเรดาร์ในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) แสดงว่ามีน้ำแข็งที่ขั้วเหนือของดาวพุธ เชื่อว่าน้ำแข็งอยู่ที่ก้นหลุมอุกกาบาตบาง หลุมที่อยู่ในหลืบมืดและไม่เคยถูกแสงอาทิตย์โดยตรงเลย การสำรวจได้เผยให้เห็นถึงแถบสะท้อนเรดาร์ขนาดใหญ่อยู่บริเวณขั้วของดาว ซึ่งน้ำแข็งเป็นหนึ่งในสารไม่กี่ชนิดที่สามารถสะท้อนเรดาร์ได้ดีเช่นนี้

                    บริเวณที่มีน้ำแข็งนั้นเชื่อกันว่าอยุ่ลึกลงไปใต้พื้นผิวเพียงไม่กี่เมตร และมีน้ำแข็งประมาณ 1014 - 1015 กิโลกรัม เปรียบเทียบกับน้ำแข็งที่แอนตาร์กติกาของโลกเราที่มีน้ำแข็งอยู่ 4 x 10 18 กิโลกรัม ที่มาของน้ำแข็งบนดาวพุธยังไม่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่าอาจจะมีที่มาจากดาวหางที่พุ่งชนดาวพุธเมื่อหลายล้านปีก่อน หรืออาจจะมาจากภายในของดาวพุธเอง

    องค์ประกอบภายใน

                    ดาวพุธมีแก่นที่ประกอบด้วยเหล็กในสัดส่วนที่สูง (แม้เมื่อเปรียบเทียบกับโลก) เป็นโลหะประมาณ 70% ที่เหลืออีก 30% เป็นซิลิเกต ความหนาแน่นเฉลี่ยมีค่า 5,430 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าความหนาแน่นของโลกอยู่เล็กน้อย สาเหตุที่ดาวพุธมีเหล็กอยู่มากแต่มีความหนาแน่นต่ำกว่าโลก เป็นเพราะในโลกมีการอัดตัวแน่นกว่าดาวพุธ ดาวพุธมีมวลเพียง 5.5% ของมวลโลก แก่นที่เป็นเหล็กมีปริมาตรราว 42% ของดวง (แก่นโลกมีสัดส่วนเพียง 17%) ล้อมรอบด้วยเนื้อดาวหรือแมนเทิลหนา 600 กิโลเมตร

    ------------------------------------------------------------------

    เม้นด้วยน้าครับบบบบ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×