ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สนทนาภาษาศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #4 : ฉีกหน้าประวัติศาสตร์

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 547
      2
      25 ก.พ. 49

    ฉีกหน้าประวัติศาสตร์

     

    จงศึกษาประวัติศาสตร์เถิด เพราะในนั้นคือปรัชญาที่แท้จริง

     

    ข้อความข้างต้นปรากฏอยู่ในจดหมายของนโปเลียนที่เขียนขึ้นในที่คุมขังบนเกาะเซนต์เฮเลนา  เพื่อส่งให้กับลูกชาย  แสดงให้เห็นถึงประโยชน์อันยิ่งใหญ่และล้ำลึกถึงขั้นปรัชญา (Sophia/ Sofia – ความรู้ขั้นสูง ตรงกับคำว่า Wisdom) ของประวัติศาสตร์  ซึ่งตัวนโปเลียนเองได้ใช้ชีวิตทั้งชีวิตพิสูจน์ความจริงข้อนี้

     

    การศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อเข้าถึงความจริงที่อยู่เบื้องหลังจนสามารถรับรู้ปรัชญาได้ดังที่นโปเลียนกล่าวนั้น  ต้องอาศัยวิธีการที่ถูกต้อง  ประวัติศาสตร์ไม่ใช่แค่วิชาท่องจำที่น่าเบื่อหน่ายอย่างที่หลายคนคิด  แต่เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่อาศัยระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ (Scientific methods) เป็นเครื่องมือสำคัญ  เช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  การแสวงหาความจริงทางประวัติศาสตร์เริ่มต้นด้วยการกำหนดปัญหา  ตั้งสมมติฐานเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง  จะผิดกันก็แต่ผลสรุปทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์นั้นอยู่ในรูปของกฎหรือทฤษฎีธรรมชาติ  ในขณะที่ผลสรุปทางประวัติศาสตร์นั้นอยู่ในรูปของความจริงของเหตุการณ์

     

    เป็นที่เชื่อกันในหมู่นักประวัติศาสตร์ว่า  การปรากฏขึ้นของเหตุการณ์ต่างๆ  ล้วนไม่ได้เกิดเองโดยเจตจำนงเสรี (Free will) กล่าวให้ง่ายขึ้นก็คือ  เหตุการณ์หนึ่งๆไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยไร้จุดมุ่งหมาย  ในทางกลับกัน  จะต้องมีบางสิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดเหตุการณ์ในลำดับต่อมาเป็นอนุกรม  นั่นหมายความว่า การเกิดขึ้นของเหตุการณ์ใดๆย่อมเป็นผลมาจากเหตุการณ์ก่อนหน้า (Previous Event) เสมอ  โดยที่เหตุการณ์ก่อนหน้าจะมีเพียงหนึ่งหรือมากกว่าก็ได้  (ตรงกับหลัก อิทปฺปจฺจยตา ในพระพุทธศาสนา)  เพราะเหตุนี้  หน้าที่ของนักประวัติศาสตร์จึงไม่ได้จำกัดเพียงแค่ศึกษาผลของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเท่านั้น  แต่ยังต้องสืบหาความจริงของเหตุการณ์ก่อนหน้าซึ่งเป็นตัวขับดันให้พบ  พิสูจน์ความมีอยู่จริงและความเกี่ยวข้องสัมพันธ์  ก่อนที่จะสรุปผลออกมา

     

    และผลสรุปที่นักประวัติศาสตร์ได้ค้นพบด้วยวิธีการข้างต้นนี้  ก็คือบทปรัชญาเบื้องหลังความจริงที่เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ได้มอบไว้เป็นมรดกแก่โลก

     

    แต่รูปแบบการศึกษาประวัติศาสตร์ในชั้นเรียนปัจจุบันยังก้าวไปไม่ถึงขั้นนั้น  ด้วยข้อจำกัดทางการศึกษาหลายๆอย่าง ซึ่งรวมถึงการครอบงำทางความคิดของผู้มีอิทธิพลในแต่ละยุคสมัย  และการหลงอยู่กับรูปแบบประวัติศาสตร์  ล้าหลัง คลั่งชาติ  ผู้เรียนจึงถูกทำให้รู้จักเพียงแค่การท่องจำเนื้อหาเพื่อสอบ  น้อยครั้งที่จะตั้งคำถามหรือสมมติฐาน  นั่นคือผู้เรียนเรียนแค่รู้โดยที่ไม่ได้ต่อยอดความรู้นั้นต่อไป  ผลที่เกิดขึ้นจึงเป็นเสมือนการปิดประตูที่จะเข้าสู่โลกแห่งปรัชญาเบื้องหลังความจริงทางประวัติศาสตร์  โดยที่ยังไม่ทันได้เห็นประตุนั้นด้วยซ้ำ

     

    เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว  ผู้เรียนต้องปรับรูปแบบการศึกษา  โดยกล้าที่จะตั้งคำถามกับสิ่งที่กำลังศึกษา  กล้าที่จะสืบหาความจริงเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน  กล้าพิสูจน์ความเชื่อ  และที่สำคัญคือ  กล้าที่จะปลดแอกความเชื่อเดิมๆเมื่อพบหลักฐานใหม่ที่ชัดเจน

     

    เพราะประวัติศาสตร์ คือ วิทยาศาสตร์แห่งอดีต  เป็นวิทยสังคมศาสตร์ (Social science) ที่มีทั้งความสถิตย์และพลวัต (Static and Dynamic) ในตัวเอง

     

    เมื่อเข้าใจดังนี้แล้ว  ประวัติศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องที่น่าเบื่ออีกต่อไป

     

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×