ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    **อารยธรรมตะวันตกสมัยโบราณ**

    ลำดับตอนที่ #9 : อารยธรรมเมโสโปเตเมีย /// อักษรรูปลิ่ม(คูนิฟอร์ม)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.72K
      5
      10 ธ.ค. 54

    อักษรรูปลิ่ม หรือ คูนิฟอร์ม

     

    อักษรรูปลิ่ม หรือ คูนิฟอร์ม เป็นระบบการเขียน ที่หลากหลาย เป็นได้ทั้ง อักษรพยางค์ อักษรคำ และอักษรที่มีระบบสระ - พยัญชนะ คำว่า “cuneiform” มาจากภาษาละติน “cuneus” แปลว่า ลิ่ม ดังนั้นอักษรรูปลิ่มจึงรวมอักษรที่มีรูปร่างคล้ายลิ่มทั้งหมด ภาษาหลายตระกูล ทั้งตระกูลเซมิติค ตระกูลอินโด - ยุโรเปียน และอื่นๆ ที่เขียนด้วย อักษรนี้ เช่น

    ·         อักษรสุเมเรีย

    ·         อักษรอัคคาเดีย/ บาบิโลเนีย/ อัสซีเรีย (เซมิติคตะวันออก)

    ·         อักษรอีลาไมต์

    ·         อักษรเอบลาไอต์

    ·         อักษรฮิตไตน์

    ·         อักษรฮูร์เรีย

    ·         อักษรอูตาร์เตีย

    ·         อักษรยูการิติค (ระบบพยัญชนะ)

    ·         อักษรเปอร์เซียโบราณ (ส่วนใหญ่ใช้แทนพยางค์)

      

    ตัวอย่างเก่าสุดของอักษรในเมโสโปเตเมีย เริ่มราว 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช พบในบริเวณ อูรุก (Uruk) นิปเปอร์ ซูซา และเออร์ (Ur) ส่วนใหญ่เป็นบันทึกเกี่ยวกับการค้าขาย บันทึกเหล่านี้ พัฒนามาจาก ระบบการนับ ที่ใช้มาตั้งแต่ 5,000 ปี ก่อนหน้านั้น แผ่นดินเหนียวเริ่มใช้ตั้งแต่ 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในเมโสโปเตเมีย โดยทั่วไป เป็นรูปทรง 3 มิติ มี 2 ชนิดคือ แบบแผ่นแบน และแผ่นซ้อน

    ·         แบบแผ่นแบน เป็นรูปแบบโบราณ พบตั้งแต่ 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในบริเวณกว้าง ตั้งแต่ ตุรกี ซีเรีย อิสราเอล จอร์แดน อิหร่าน และอิรัก เป็นแบบที่แพร่หลายกว่า คล้ายกับว่าเป็นแบบที่ใช้ในการนับทางเกษตรกรรม เช่น การนับธัญพืช

    ·         แบบแผ่นซ้อน เป็นแบบที่ตกแต่งด้วยเครื่องหมาย เริ่มพบในช่วง 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทางภาคใต้ของเมโสโปเตเมีย ใช้บันทึกเกี่ยวกับสินค้าแปรรูป ซึ่งพบในบริเวณ ที่มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว เช่น สุเมเรีย ตัวอย่างที่เก่าสุด พบในวิหารเทพีอินอันนา เทพีแห่งความรักและความอุดมสมบูรณ์ ของชาวสุเมเรีย ในเมืองอูรุก ซึ่งทางวิหารใช้บันทึก เกี่ยวกับการแปรรูปสินค้าของวิหาร

    แผ่นดินเหนียวเหล่านี้ ถูกเก็บในห่อที่แข็งแรง ทำด้วยดินเหนียว เรียกว่าบุลลา (bulla) เพื่อป้องกันการสูญหาย เนื่องจากการนับแผ่นดินเหนียวภายในบุลลา หลังการผนึกทำได้ยาก การแก้ปัญหาจึงใช้การกดแผ่นดินเหนียว ลงบนผิวนอกของบุลลา ในขณะที่ดินเหนียวยังอ่อนตัวอยู่ แล้วจึงใส่แผ่นดินเหนียวเข้าไปข้างใน และปิดผนึก การนับจำนวนแผ่นดินเหนียวอีกครั้ง ใช้การนับรอยกดบนผิวด้านนอก จากรอยกดนี้ ชาวสุเมเรียได้พัฒนามาเป็นสัญลักษณ์รูปลิ่ม เพื่อใช้บอกความหมายและจำนวน เช่นรูปลิ่ม 1 อัน หมายถึง 1 รูปวงกลม หมายถึง 10 การบันทึกว่า แกะ 5 ตัวใช้การกดลงบนดินเหนียวเป็นรูปลิ่ม 5 อัน แล้วตามด้วยสัญลักษณ์ของแกะ

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×