ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    **อารยธรรมตะวันตกสมัยโบราณ**

    ลำดับตอนที่ #30 : อารยธรรมโรมัน /// สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงอารยธรรม

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 773
      0
      10 ธ.ค. 54

    เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอารยธรรม

    การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองระหว่างปี 246 – 146 ก่อน ค.ศ.ช่วงระยะเวลาระหว่างสงครามพิวนิคทั้ง 3 ครั้ง ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโรม ส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงมาจากความเป็นมาในความมั่งคั่งร่ำรวย และความสำเร็จทางด้านการทหาร ซึ่งค่อย ๆ บ่อนทำลายคุณความดีดั้งเดิมของพลเมือง อีกนัยหนึ่งเมื่อโรม  พิชิตกรีกนั้น โรมค่อย ๆ ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของโลกเฮลเลนิสติค ทั้งความฟุ่มเฟือยและความเป็นปัจเจกชนนิยมอย่างเต็มที่ สิ่งเหล่านี้ได้กัดกร่อนความเป็นอนุรักษ์นิยม และการอุทิศต  นเพื่อส่วนรวมของคนโรมัน แต่การสูญเสียของโรมก็ได้รับการทดแทนในเรื่องของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาโรมได้รับหลักสโตอิคเกี่ยวกับเรื่องภราดรภาพสากลเป็นหลักปรัชญาที่เหมาะสมสำหรับจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ รัฐบุรุษโรมันหลายคนได้กลายเป็นพวกสโตอิค ส่วนทางด้านการเกษตรโรมได้รับเอาเทคนิคการเกษตรแบบเฮลเลนิสติคเข้ามาด้วย คือ การทำกสิกรรมขนาดใหญ่

    การทำกสิกรรมขนาดใหญ่ หรือ ลาติฟุนเดียเกิดขึ้นเนื่องจากการทำสงครามได้นำความมั่งคั่งและทาสจำนวนมากมาสู่ชาวโรมัน อิตาลีทางภาคกลาง และภาคใต้จึงเต็มไปด้วยผืนนาขนาดใหญ่เข้าแทนที่นาอิสระเล็ก ๆ นาอิสระเล็ก ๆ จะผลิตข้าวชนิดต่าง ๆ ส่วนลาติฟุนเดียมุ่งผลิตพืชผลที่ค้ากำไร เช่น องุ่น เพื่อทำเหล้า มะกอกเพื่อทำน้ำมันมะกอก รวมทั้งเลี้ยงแกะ ชาวนาเล็ก ๆ นั้น เมื่อถูกเกณฑ์ทหารบ่อยเข้า ได้ขายที่นาแก่เจ้าของลาติฟุนเดีย และในที่สุดต้องอพยพเข้าเมืองไปอยู่ตามเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะในกรุงโรม ต่อมาคนอพยพที่ว่างงานเหล่านี้จะก่อความไม่สงบหลายครั้ง จนทำให้รัฐบาลหวาดเกรงและใช้นโยบายให้อาหารตลอดจนการบันเทิงโดยไม่คิดมูลค่า จนเป็นการเพาะนิสัยว่าจะต้องได้ขนมปังและละครสัตว์

     

    ในขณะที่โรมต่อสู่กับคาร์เธจนั้น การค้าที่เติบโตขึ้นทำให้เกิดชนชั้นใหม่คือนักธุรกิจและผู้รับเหมางานสาธารณประโยชน์ เมื่อพวกนี้มั่งคั่งขึ้นจะกลายเป็นคู่แข่งของขุนนางสมาชิกสภาเซเนทเจ้าของที่ดิน ชนชั้นใหม่นี้เรียกว่า อัศวิน หรือ ผู้ขี่ม้าเพราะพวกนี้สามารถรับราชการในกองทัพโดยเป็นทหารม้ามากกว่าทหารราบ ชนชั้นขี่ม้านี้ปกติจะไม่สนใจการเมืองนอกจากเรื่องที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของตน ชัยชนะทางทหารและการติดต่อกับโลกเฮลเลนิสติค ทำให้พวกขุนนางเจ้าที่ดินและชนชั้นขี่ม้ามีความเป็นอยู่ที่ร่ำรวยฟุ่มเฟือย ช่วงระหว่างคนรวยกับคนจนก็ขยายกว้างไปเรื่อย ๆ แรงกดดันความไม่สงบในสังคมเริ่มคุกคามเสถียรภาพของสังคมโรมัน

    ข้าหลวงและขุนนางโรมันในสมัยนี้ปกครองแบบไม่ยุติธรรมซึ่งต่างจากในสมัยแรก มีการขูดรีดประชาชนประชาชนเพื่อแสวงหาความมั่งคั่งเป็นส่วนตัว การฉ้อราษฎร์บังหลวงนี้ได้รับการลงโทษสถานเบาเพราะผู้พิพากษาบางคนลังเลใจที่จะลงโทษขุนนางชั้นเดียวกับตน และบางคนก็รับสินบน

    ความรุนแรงและการปฏิวัติในศตวรรษสุดท้ายของสาธารณรัฐ (133 – 30 ปี ก่อน ค.ศ.)

    ท่ามกลางปัญหานั้นได้มีความพยายามที่จะปฏิรูปไทบีเรียส และไกอุส สองพี่น้อง สกุลราสชุส พยายามดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อประชาชน ทั้งสองเคยรับราชการในตำแหน่งทรีบูน แต่ความพยายามของเขาล้มเหลว ตัวของทั้งคู่ถูกฆาตกรรม ไทบีเรียสในปี 133 ก่อน ค.ศ. และไกอุส ในปี 121 ก่อน ค.ศ.

    หลังจากนั้นได้มีความพยายามของมวลชนและชนชั้นขี่ม้าที่จะสู้กับพวกสภาเซเนท บรรดาบุคคลทั้งหลายต่างพยายามแสวงหาทางใช้อาชีพทหารในการไต่เต้าขึ้นสู่อำนาจทางการเมือง ผู้บัญชาการทหารมักจะสู้กันเพื่อช่วงชิงความเป็นใหญ่ทางการเมือง เช่น ซุลลากับมาริคุส กองทหารโรมันเวลานี้กลายเป็นหนทางสู่เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ กองทัพมีท่าทีว่าจะเป็นทหารอาชีพและทหารเริ่มอยู่ใต้ผู้บังคับบัญชามากกว่าอยู่ใต้รัฐ ในปี 83 ก่อน ค.ศ. ซุลลาได้ยึดอำนาจและตั้งตนเป็นผู้เผด็จการ หลังจากได้ออกกฎหมายเพื่อเสริมอำนาจให้กับสภาเซเนทแล้วเขาก็ปลดเกษียณ ใช้ชีวิตส่วนตัวอย่างสบบายในคฤหาสน์นอกเมืองที่คัมปาเนีย

    ในช่วงทศวรรษที่ 60 ก่อน ค.ศ. ซิเซโร นักปรัชญาการเมืองและนักวาทศิลป์ พยายามรวมสภาเซเนทและชนชั้นขี่ม้าเข้าด้วยกันเพื่อต่อต้านการคุกคามที่รุนแรงขึ้นทั้งของพวกนายพลและมวลชน แต่ซิเซโรไม่ประสบผ  ลสำเร็จด้วยความด้อยสมรรถภาพของสภาเซเนทเอง ผู้นำทางการทหารเด่น ๆ เช่น ปอมเปอี จูเลียส ซีซาร์ ต่างพยายามหาความสนับสนุนจากชนชั้นต่ำ สาธารณรัฐใกล้จะเสื่อมสลายลงไป แต่ก็มีระบอบใหม่ที่ช่วยให้โรมดำรงความยิ่งใหญ่ต่อไปได้ คือ ระบอบปรินซ์ซิเปต

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×