ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ++มุมปันรายงานภาษาไทย++

    ลำดับตอนที่ #2 : ศึกษาบทนมัสการคุณานุคุณ (บทสวดพระพุทธคุณ)

    • อัปเดตล่าสุด 9 ก.ย. 50


    บทสวดพระพุทธคุณ

                องค์ใดพระสัมพุทธ            สุวิสุทธสันดาน
    ตัดมูลเกลศมาร                            บ มิหม่นมิหมองมัว
                หนึ่งในพระทัยท่าน            ก็เบิกบานคือดอกบัว
    ราคี บ พันพัว                               สุวคนธกำจร
                องค์ใดประกอบด้วย           พระกรุณาดังสาคร
    โปรดหมู่ประชากร                         มละโอฆกันดาร
                ชี้ทางบรรเทาทุกข์                         และชี้สุขเกษมสานต์
    ชี้ทางพระนฤพาน                          อันพ้นโศกวิโยคภัย 
      พร้อมเบญจพิธจัก             ษุจรัสวิมลใส
    เห็นเหตุที่ใกล้ไกล                                     ก็เจนจบประจักษ์จริง
                กำจัดน้ำใจหยาบ               สันดานบาปแห่งชายหญิง
    สัตว์โลกได้พึ่งพิง                          มละบาปบำเพ็ญบุญ
    ข้าขอประณตน้อม                         ศิรเกล้าบังคมคุณ
    สัมพุทธการุญ                              ญภาพนั้นนิรันดร 


    ศึกษาบทนมัสการพระพุทธคุณและพิจารณาคุณค่าการนำไปใช้

     

     

    1. ความเป็นมา

                แต่งขึ้นเพื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า  มีที่มามาจาก บทสวดพระพุทธคุณ ภาษาบาลี

     

    2. ประวัติผู้แต่ง

                พระยาศรีสุนทรโวหาร นามเดิมของท่านคือ น้อย อาจารยางกูร เกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2365  เป็นชาวฉะเชิงเทราโดยกำเนิด  ท่านมีผลงานที่เด่นมากในวงการศึกษา ท่านเป็นผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย ซึ่งในสมัยนั้น เรียกว่า "แบบเรียนหลวง" ใช้สอนในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ (โรงเรียนหลวงแห่งแรก) และหนังสือกวีนิพนธ์ที่มีคุณค่าอีกหลายเรื่อง งานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง คือ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็น แม่กลองตรวจโคลงบรรยายประกอบรูปภาพเรื่อง "รามเกียรติ์" รอบระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 100 ปี และตัวท่านเองก็ได้รับหน้าที่เป็นผู้แต่งด้วยท่านหนึ่ง   ท่านถึงแก่อสัญญกรรมเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2434

     

    3. ลักษณะคำประพันธ์

                อินทรวิเชียร ฉันท์ ๑๑

     

    4. คำศัพท์ยากที่ปรากฏในคำประพันธ์

                เกลศ                 กิเลสเครื่องทําใจให้เศร้าหมอง

                เกษมสานต         ชื่นชมยินดี

                เบญจพิธจักษุ      ปัญญาทั้งห้า เป็นคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า

                วิโยค                 การจากไป การพลัดพราก

                กันดาร               ลําบาก อัตคัด

                โอฆ                  ห้วงฟ้า

                นฤพาน               ความดับกิเลส

                มละ                   ละทิ้ง

                ราคี                   ความมัวหมอง

                สุวคนธ               กลิ่นหอม

                ประณต              ไหว้

     

    5. ถอดความคำประพันธ์

                นมัสการพระพุทธคุณ กล่าวสรรเสริญคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงค้นพบหลักธรรมในการประพฤติปฏิบัติและในการดําเนินชีวิตเพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข ละเว้นความชั่ว ปราศจากกิเลศทั้งปวง และชี้ทางแห่งความสุข คือ นิพพาน ที่จะทำให้พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง

    6. คุณค่าของคำประพันธ์

                การศึกษาคำประพันธ์ บทนมัสการพระพุทธคุณนี้ ทำให้ตระหนักถึงคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า   ผู้ที่ค้นพบหลักธรรมแห่งการพ้นทุกข์  ดับกิเลสได้ แล้วนำมาเผยแพร่ ชี้ทาให้คนทั่วไปได้ทราบในพระธรรมที่พระองค์ค้นพบ   ซึ่งเป็นความเมตตา กรุณาต่อสัตว์โลกที่พระองค์มีให้  เราจึงควรตระหนึกถึงคุณนี้ และน้อมเกล้าเคารพ บูชา ในพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

     

    7. การนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

                การกราบไหวบูชาพระพุทธ เป็นสิ่งอันสมควรอย่างยิ่ง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×