ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เสื้อผ้าสตรี

    ลำดับตอนที่ #4 : การเย็บเครื่องเกาะเกี่ยว

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 11.4K
      36
      13 เม.ย. 52

    เครื่องเกาะเกี่ยว  เป็นวัสดุที่ใช้ยึดเสื้อผ้าให้ติดกันโดยสามารถเปิดและปิด  เพื่อการถอดออกหรือสวมใส่ได้สะดวก  มีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีวิธีติดและการใช้งานต่างกัน  เครื่องเกาะเกี่ยวสามารถใช้บังคับรูปร่างของเสื้อผ้า  และใช้เป็นสิ่งตกแต่งเสื้อผ้าได้  เช่น  การติดกระดุมที่มีรูปร่างลวดลายแปลกๆ  การใช้รังดุมเจาะหรือกุ๊นที่สวยงามประณีตสามารถทำให้เสื้อผ้าดูมีราคาขึ้นได้  เครื่องเกาะเกี่ยวที่ใช้กันทั่วไป  ได้แก่  กระดุม ตะขอ และซิป

                    กระดุม  เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวชนิดหนึ่งเพื่อบังคับไม่ให้รอยผ่าหรือรอยเปิดทับซ้อนกันโดยไม่แยกกระดุมที่ติดผ้าหรือสาบชิ้นล่าง  ในขณะที่ผ้าหรือสาบชิ้นบนต้องเจาะช่องเพื่อให้กระดุมลอดผ่านได้  ช่องที่เจาะนี้เรียกว่ารังดุม  กระดุมมีหลายแบบหลายชนิด  แต่ที่นิยมใช้กับเสื้อผ้าโดยทั่วๆ ไป ได้แก่

    1. .กระดุมแป็บ

                    กระดุมแป็บ เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวที่ใช้ติดกับระยะเปิดสั้นๆ ไม่เหมาะที่จะใช้กับสาบเปิดของเสื้อผ้ายาวๆ  ส่วนเปิดของเสื้อผ้าที่ควรใช้กระดุมแป็บเช่น                                                                                                         .....................
                         - สาบผ่าหน้าของเสื้อผ้าเด็กและเสื้อสตรี            

    .....................- ดิตที่มุมตอนบนและตอนล่างของสาบเสื้อ      

    .....................- ติดระหว่างรังดุมถักหรือรังดุมเจาะตามขวางที่มีระยะห่าง          

    .....................- ติดมุมสาบด้านในของสาบที่มีผ้าซ้อนมากๆ    

        .................- ติดสาบเปิดข้อมือเสื้อแขนยาว              

     ....................- ติดที่ปกที่ถอดได้

    การติดกระดุมแป็บ

                                    1. .วางกระดุมฝาบน(ตัวผู้) บนเส้นกลางตัวที่กำหนดตำแหน่งของกระดุม  แล้วใช้เย็บแบบคัทเวิร์ก รูละ 3 ครั้ง  เพื่อความสวยงาม  จนครบทั้ง 4 รู

                                    2.  ปิดสาบบนซ้อนตามรูปของแบบเสื้อ  กดกระดุมฝาบน (ตัวผู้) ให้กดทับสาบเสื้อสาบล่างจนเห็นรอยกดชัด วางฝากระดุมล่าง(ตัวเมีย) ให้ตรงกับรอยกด  แล้วเย็บแบบคัทเวิร์ก  รูละ 3 ครั้ง  เพื่อความสวยงาม  จนครบทั้ง 4 รู

    2.  กระดุมไม่มีก้าน

    การติดกระดุมไม่มีก้าน  การเย็บกระดุมชนิดนี้จะมองเห็นเส้นด้ายที่เย็บ

    1.  วางกระดุมตรงตำแหน่งเส้นกลางตัว 

                            2.  แทงเข็มขึ้นรูหนึ่งและแทงลงอีกรูหนึ่ง  ทำซ้ำประมาณ 2 - 3 ครั้ง  เพื่อให้แน่นหนา           ใช้ด้ายพันเส้นด้ายล่างเม็ดกระดุมหลายๆ รอบ  เพื่อให้เกิดเนื้อที่ว่าง

    3.  แทงเข็มลงใต้ผ้าเย็บหลายๆ ครั้ง  แล้วตัดด้ายออก

    หมายเหตุ  การเย็บกระดุม 2 รูและกระดุม 4 รู นั้นเหมือนกัน  โดยกระดุม 4 รูนั้นอาจแทงเข็มเส้นด้ายบนทแยงไขว้กันได้

    3.  กระดุมมีก้าน  คือกระดุมที่มีส่วนยื่นออกมาจากใต้เม็ดกระดุมเพื่อใช้เย็บติดกับเสื้อผ้า

    การติดกระดุมมีก้าน  การติดกระดุมชนิดนี้จะไม่มีเส้นด้ายเย็บปรากฏบนเม็ดกระดุม

                    1.  วางกระดุมตรงตำแหน่งเส้นกลางตัวให้ตรงกึ่งกลางรังดุม  ตัดผ้ารองใต้กระดุมทางด้านผิด

                    2.  แทงเข็มทางด้านถูกตรงห่วงก้านกระดุมกับแทงเข็มขึ้นลง 3-4 ครั้ง

        3.  แทงเข็มลงใต้ผ้าเย็บ 3-4 ครั้งและตัดเส้นด้าย

    รังดุม 

    การทำรังดุม  มีความจำเป็นสำหรับกระดุมมีก้านและกระดุมมีรู ทำให้กระดุมใช้งานง่าย  การทำรังดุมมี 3 แบบ คือ รังดุมห่วง รังดุมเจาะ และรังดุมกุ๊น  รังดุมที่นิยมใช้ได้แก่ รังดุมเจาะ ซึ่งเย็บริมโดยวิธีถัก  สามารถทำได้ด้วยมือและด้วยจักร

    การถักรังดุมด้วยจักร สามารถทำได้รวดเร็วกว่าการถักด้วยมือ โดยวิธีการถักขึ้นอยู่กับจักรแต่ละชนิด ส่วนการถักรังดุมด้วยมือนั้นจะสวยงาม ประณีตกว่าการถักด้วยจักร

    ตะขอ  ใช้สำหรับติดเสื้อ คอเสื้อ ขอบกระโปรง ขอบกางเกง ตะขอมี 2 ชนิด ได้แก่

    1.             ตะขอขนาดเล็ก 

    การติดตะขอขนาดเล็ก  ควรทำตามขั้นตอนดังนี้

                            1.  กำหนดตำแหน่งที่จะติดตะขอ

    2.  สอดด้ายลงใต้สาบ  สอยยึดปลายหัวตะขอเกี่ยวให้แน่นเพื่อป้องกันไม่ให้หัวตะขอเกี่ยวเคลื่อน

    3.  ตะขอเกี่ยวหรือตะขอสับติดด้านขวามือติดกับสาบบน  ให้หัวตะขอเลยสันทบเข้าไปเล็กน้อย  โดยใช้วิธีสอยพันด้วยมือรอบส่วนขาของตะขอเกี่ยว

    4.  ติดตะขอรับทางด้านซ้ายมือให้หัวตะขอยื่นออกไปจากสันทบเล็กน้อย เมื่อเกี่ยวกันแล้วจะไม่เห็นตะขอ  สอยพันยึดให้เรียบร้อยเช่นกัน

    5.  ตะขอเกี่ยวที่มีตัวรับถักเป็นตัวหนอน

    2.  ตะขอขนาดใหญ่

    การติดตะขอขนาดใหญ่   ควรทำตามชั้นตอนดังนี้

    1.             กำหนดตำแหน่งที่จะติดตะขอ

    2.             ติดตะขอเกี่ยวหรือตะขอสับบนเส้นกลางของตะเข็บข้างตัวหรือกลางลำตัว

    3.             ติดตะขอรับบนเส้นกลางตะเข็บทางด้านซ้ายมือ

    4.       ติดตะขอรับให้หัวตะขออยู่บนกลางตะเข็บทางด้านขวามือ  สอยพันหรือเย็บแบบรังดุม  สอยเรียงเส้นด้ายลงในช่องตะขอ

    ซิป  เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวที่เปิดปิดได้  ใช้กับของใช้ในบ้านและงานเสื้อผ้า  มีตั้งแต่ขนาด 3 - 24 นึ้ว  แต่ละขนาดใช้งานต่างกัน ควรใช้ให้เหมาะสมกับงานมีขนาดต่างๆกัน การติดซิปมี 2 ชนิด ได้แก่

    1.  การติดซิปด้วยมือ

    2.  การติดซิปด้วยจักร

    การเย็บซิปด้วยมือ

    1.  กะระยะหัวซิปให้ห่างจากเส้นเอว 1 เซนติเมตร

    2.  วัดความยาวซิปตามยาวตะเข็บทำเครื่องหมายไว้

    3.  เดินจักรจากด้านล่างขึ้นมาพอถึงจุดติดซิปให้ย้ำตะเข็บ

    4.  รีดแบะตะเข็บ เย็บด้นถอยหลังแบบดำน้ำ ด้านบนจะเห็นเป็นจุดตรึง

    5.  เย็บด้นถอยหลังแบบดำน้ำ ด้านบนตามภาพจนถึงหัวซิป

    การติดซิปด้วยจักร

                    1.  กะระยะซิปให้หัวห่างจากเส้นเอว 1 ซม.

        2.  เย็บส่วนด้านล่างเว้นช่องซิปไว้

                    3.  รีดแบะตะเข็บ

                    4.  เนาซิปตามภาพ

        5.  เนาด้านบนตามภาพ

        6.  เปลี่ยนตีนผีสำหรับเย็บซิป

        7.  เย็บซิปตามภาพ

                    8.  เย็บซิปจนถึงด้านล่าง

                    9.  เข็มปักไว้ยกตีนผีขึ้นหมุนตามภาพ 90 องศา แล้วเย็บประมาณ 8 มิลลิเมตร

                    10.  เย็บตามภาพจนสุดผ้า

    ซิปซ่อน

    การติดซิปซ่อน

    1.  กะระยะหัวซิปให้ห่างจากเส้นเอว 0.5 เซนติเมตร

    2.  เว้นความยาวของซิปไว้แล้วเย็บด้านล่าง

    3.  รีดแบะตะเข็บ

    4.  เนาซิปตามภาพ    

    5.  ใส่ตีนผีสำหรับเย็บซิปซ่อน

    6.  เริ่มเย็บซิปจากด้านบนทั้งสองข้าง

    7.  ดึงด้ายเนาออก

    8.  เย็บด้านในของซิปเพื่อตะเข็บซิปจะได้แข็งแรง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×