ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    บทละครพูดร้อยแก้วภาษาไทย ที่ร. ๖ ทรงจินตนาการด้วยพระองค์เอง

    ลำดับตอนที่ #7 : เนื้อเรื่องย่อ ขนมสมกับน้ำยา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.2K
      0
      26 มี.ค. 48

    ขนมสมกับน้ำยา



    พระนามแฝง    ศรีอยุธยา



    ความยาว        ๑  องก์



    เรื่องย่อ



        หลวงวิชิตอัศดร  เป็นชาวบ้านนอกมีภรรยาเป็นนางละคร  หลวงวิชิต ฯ  กลัวภรรยามาก  จนเป็นที่เยาะเย้ยในหมู่เพื่อนฝูง  หลวงวิชิต ฯ อยากให้ภรรยาเลิกอาชีพการแสดง  แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ  นายจันมีชื่อ  หุ้มแพร  เห็นตัวอย่างการอยู่กินแบบคู่ของหลวงวิชิต ฯ แล้ว  ก็ปรารภกับหลวงภิรมย์ฤดีว่า  นี่คือสาเหตุที่ทำให้ตนไม่อยากมีครอบครัว  หลวงภิรมย์ ฯ จึงอวดว่าตนมีภรรยาที่อยู่ในถ้อยคำ  เพราะแม่สร้อยตกอยู่ในที่เสียเปรียบ  เนื่องจากได้พลาดท่ายอมเสียตัวแก่หลวงภิรมย์ ฯ ก่อนการสู่ขอและแต่งงานตามประเพณี  เผอิญแม่สร้อยได้ยินจึงโกรธ  และทำให้หลวงภิรมย์ ฯ เจ็บใจ  โดยบอกว่าเคยรักใคร่กับชายผู้หนึ่งจนมีลูกแล้วหนึ่งคน  เมื่อหลวงภิรมย์ ฯ  บังคับให้บอกชื่อ  แม่สร้อยไม่ยอมและขู่ว่าจะออกจากบ้านไป  หลวงภิรมย์ ฯ  ขอร้องให้แม่สร้อยอยู่ต่อไป   แม่สร้อย ฯ  จึงขอให้หลวงภิรมย์ ฯ สัญญาว่าจะไม่คุยอวดเพื่อนฝูงอีก  ทั้งสองจึงตกลงกันได้  เพราะยังมีความรักต่อกันอยู่  และแม่สร้อย ฯ ได้เปิดเผยในตอนท้ายว่า  ชู้ที่หล่อนได้เสียคบก่อนแต่งงานจนมีลูกด้วยกันนั้น  คือ  หลวงภิรมย์ฤดีนั่นเอง



    หมายเหตุ  นอกจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงระบุว่าเป็น  “ลครพูดสมัยใหม่องก์เดียว”  ยังทรงมีหมายเหตุไว้ว่า



        “ลครพูดเรื่องนี้  แต่งขึ้นโดยความมุ่งหมายให้จุน่ากระดาษ “ดุสิตสมิต”  มากกว่าอย่างอื่น , เพราะฉนั้นผู้แต่งไม่รับประกันว่าจะออกโรงสนุกได้  แต่ถ้าผู้ใดปรารถนาจะเล่น   ผู้แต่งก็ไม่ขัดขวาง  เป็นแต่ขอบอกกล่าวไว้ว่า  ถ้าผู้ดูเขาว่าไม่สนุกละก็ผู้แต่งไม่ขอรับผิดด้วยเป็นอันขาด”



        ดังนั้น บทละครเรื่องนี้จึงมีข้อสังเกตในด้านที่แตกต่างกับบทละครเรื่องอื่นในรายละเอียด  ต่อไปนี้ คือ



        ๑.  ลักษณะตัวละคร  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงบรรยายลักษณะตัวละครอย่างละเอียด   เช่น   ผิวคล้าม   ตาพอง   น่องทู่   ร่างเล็ก   ผิวขาว   รูปงาม   และยังมีภาพเขียนประกอบ  อาจจะเป็นเพราะว่า  เมื่อทรงตั้งพระทัยจะแต่งขึ้นเพื่อให้อ่าน  ก็ทรงเกรงว่าผู้อ่านจะไม่ได้ภาพเท่าที่จะชมจากการแสดง  จึงทรงบรรยายให้ละเอียด  จนผู้อ่านจะพอเห็นภาพพจน์เองได้  หรืออาจจะเป็นเพราะว่าทรงตั้งพระทัยจะให้อ่าน  ไม่ได้ตั้งพระทัยจะให้แสดงละคร  จึงทรงบรรยายอย่างละเอียดได้  เพราะถ้าจะทรงบรรยายอย่างละเอียดกำหนดลักษณะตายตัวลงไป   อาจจะทำให้หาตัวละครได้ไม่ตรงกับลักษณะที่ทรงบรรยายไว้ทุกข้อก็ได้

        ๒.  มีการใช้เครื่องหมายวรรคตอนอย่างละเอียด  อาจจะเพราะเป็นเรื่องที่ทรงตั้งพระทัยจะให้ลงหนังสือ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×