ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติของนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ฯลฯ

    ลำดับตอนที่ #3 : เกรเกอร์ โจฮันน์ เมนเดล

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 5.52K
      10
      15 มี.ค. 51




    เกรเกอร์ โจฮันน์ เมนเดล : Gregor Mendel
     

    เกิด        วันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1822 ที่เมืองโมราเวีย (Moravia) ประเทศสาธารณรัฐเชค (Republic of Czech)
    เสียชีวิต วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1884 ที่เมืองเบิร์น (Brunn) ประเทศสาธารณรัฐเชค (Republic of Czech)
    ผลงาน
      
    - ค้นพบลักษณะการถ่ายทอดพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต
                 - ให้กำเนิดวิชาพันธุศาสตร์ (Genetices)

            เมนเดลได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งพันธุศาสตร์ ด้วยผลงานการค้นพบความลับทางธรรมชาติ ที่ว่าด้วยการถ่ายทอด
    ลักษณะต่าง ๆ ของพ่อแม่ไปยังลูกหลาน หรือที่เรียกว่า กรรมพันธุ์ (Heredity)

             เมนเดลเกิดเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1822 ที่เมืองโมราเวีย ครอบครัวของเขาอยู่ในฐานะดีแต่ไม่ถึงกับมั่งคั่งนักบิดา
    ของเขาเป็นเกษตรกร ทำให้เมนเดลมีความรู้เกี่ยวกับพืชเป็นอย่างดีเมนเดลเริ่มต้นการศึกษาขั้นแรกที่โรงเรียนมัธยมในเมือง
    ทรอปโป (Troppau) ในระหว่างนี้ครอบครัวเขายากจนลงทำให้เมนเดลต้องลาออกจากโรงเรียนเพื่อช่วยทำงานภายใน
    ฟาร์ม ทั้งต่อมา บิดาของเขาได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ครอบครัวจึงตกลงขายที่ดิน และนำเงินมาแบ่งกันน้องสาวของเขาเห็นว่า
    เขามีความจำเป็นต้องใช้เงินในการศึกษาจึงมอบเงินส่วนของเธอให้กับเมนเดลเพื่อศึกษาต่อ แต่ถึงอย่างนั้นเงินที่มีอยู่ก็ยังคงไม่
    เพียงพอและจากความช่วยเหลือสนับสนุนจากครูผู้หนึ่ง ในปี ค.ศ.1843 เมนเดลจึงได้บวชเป็นเณรในสำนักออกัสทิเนียน
    (Augustinion Order) ที่เมืองบรูโน (Bruno) ต่อมาเมนเดลได้สอบเข้าโรงเรียนในเมืองบรูโน แต่ก็ไม่สามารถสอบเข้าได้
    ทั้ง ๆ ที่ได้พยายามอยู่หลายครั้ง ดังนั้นเมนเดลจึงได้เข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยโอลมุทซ์ (Olmutz College) ในที่สุดเมนเดลก็
    สำเร็จการศึกษา หลังจากจบการศึกษาเมนเดล ได้บวชเป็นพระอยู่ที่วิหารออกัสทิเนียนนั่นเอง และได้รับฉายาว่า เกรเกอร์
    หน้าชื่อของเขาเป็นเกรเกอร์โจฮันน์ เมนเดล

            แม้ว่าเมนเดลจะไม่ได้เข้าศึกษาต่อในวิชาประวัติศาสตร์ธรรมชาติตาที่เขาได้ตั้งใจไว้แต่นั้นก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคสำคัญ
    สำหรับการค้นคว้างานด้านนี้ นอกจากนั้นในปี ค.ศ. 1862 เขายังเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมก่อตั้ง Natural Science Society
    ซึ่งถือได้ว่าเป็นสถาบันที่มีความสำคัญในการศึกษางานด้านประวัติศาสตร์ธรรมชาติมากสถาบันหนึ่ง

            จากการที่เมนเดลเคยทำงานในฟาร์มมาก่อนทำให้เขามีความรู้ด้านพืชเป็นอย่างดีเมนเดลได้ปลูกพืชพันธ์ชนิดต่าง ๆ เป็น
    จำนวนมากในสวนหลังโบสถ์ที่มีเนื้อที่เพียง ? เอเคอร์ เท่านั้นเขาเริ่มสังเกตุเห็นความแตกต่างของต้นไม้แต่ละต้นทั้งที่เกิดจาก ต้นกำเนิดเดียวกันและต่างพันธุ์กันดังนั้นเขาจึงเริ่มหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องพันธุศาสตร์ และเริ่มทำการทดลอง ในปี
    ค.ศ. 1865 เมนเดลได้เริ่มต้นทำการทดลองเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ว่าเป็นไปได้มากน้อยเพียงไร เขาได้
    ทำการทดลองโดยใช้ต้นถั่วในการทดลอง เนื่องจากต้นถั่วเป็นพืชล้มลุก ใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตสั้น และมีพันธุ์ที่แตก
    ต่างกันมากมายหลายพันธุ์ เช่น ชนิดต้นใหญ่ ต้นเตี้ย ส่วนเมล็ดบางชนิดสีเขียว สีเหลือง และสีน้ำตาล ดังนั้นดอกก็ย่อมมีสีที่ แตกต่างกันด้วย เช่นกัน คือ ดอกบางชนิดสีขาว สีม่วงแกมแดง ซึ่งลักษณะของดอกต้นถั่วนี้คือเหตุผลที่สำคัญที่สุดเนื่องจาก
    ดอกของต้นถั่วซึ่งเรียกกันตามลัษณะทางพฤษศาสตร์ว่า ดอกสมบูรณ์เพศ (Rerfect flowered) คือ ดอกที่มีทั้งเกสรตัวผู้
    และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ย่อมเป็นการง่ายต่อการนำมาทดลองซึ่ง ในขั้นต้นเมนเดลได้หว่านเมล็ดพืชลงบริเวณแปลง
    ทดลอง ในเรือนเพาะชำ และปล่อยให้ต้นถัวผสมพันธ์และเจริญเติบโตกันเองตามธรรมชาติ จากผลการทดลองพบว่าต้นถั่ว
    มีขนาดไม่เท่ากันบางต้นสูง บางต้นเตี้ย อีกทั้งเมล็ดก็มีสีต่างกัน บางต้นเหลืออ่อน บางต้นสีน้ำตาล การทดลองครั้งแรกจึงไม่
    ประสบผลสำเร็จ เพราะเมนเดลไม่สามารถหาข้อสรุปได้

           จากนั้นเขาจึงทำการทดลองอีกครั้งหนึ่ง โดยการใช้กระดาษห่อดอกที่ต้องการผสมพันธุ์เพื่อป้องกันไม่ใช้เกิดการผสมพันธุ์
    กันเอง จากนั้นเอมเดลได้คัดเลือกเกสรของพันธ์ถั่วชนิดต่าง ๆ ที่มากถึง 7 พันธุ์ มาผสมข้ามพันธุ์กัน โดยการทดลองครั้งนี้
    เมนเดลได้มุ่งประเด็นไปที่ความสูงและความเตี้ยของต้นถั่วเป็นสำคัญ เมนเดลนำเกสรตัวผู้ของต้นสูง มาผสมกับเกสรตัวเมีย
    ของต้นเตี้ย จากผลการทดลองปรากฏว่าได้พันธุ์ทาง (Hybrid) ที่มีต้นเตี้ยและต้นสูง แลไม่มีต้นที่มีความสูงระดับปานกลาง
    จากนั้นเขาจึงทำให้การทดลองต่อไปโดยการสลับกัน คือ นำเกสรตัวผู้ของต้นเตี้ย มาผสมกับเกสรตัวเมียของต้นสูง จากนั้นเขา
    ได้สลับไปมาระหว่างต้นสูง และต้นเตี้ยกว่า 10 ครั้ง ทำให้เมนเดลมีเมล็ดถั่วจำนวนมาก เมนเดลได้นำเมล็ดถั่วมาทดลองปลูก
    ปรากฏว่าต้นถั่วชุดแรกได้พันธุ์สูงทั้งหมด ตามลักษณะเช่นนี้เมนเดลได้สันนิษฐานว่า พันธุ์ต้นสูงเป็นลักษณะพันธุ์เด่นที่ข่ม
    พันธ์เตี้ยซึ่งด้อยกว่าไว้

             จากนั้นเมนเดลได้ปล่อยให้ต้นถั่วผสมพันธุ์กันเอง และเมื่อเมนเดลเก็บเมล็ดถั่วมาปลูกในปีต่อมา ผลปรากฏว่าในจำนวน
    1,064 ต้น เป็นต้นสูง 787 ต้น ต้นเตี้ย 277 ต้น จากสิ่งที่ปรากฏขึ้นทำให้เมนเดลเกิดความสงสัยเป็นอันมาก ดังนั้นเขาจึงทำ
    การทดลองต่อไปในครั้งที่ 3 ซึ่งใช้วิธีการเดียวกับครั้งแรกและครั้งที่ 2 คือ ปล่อยให้ผสมกันเองตามธรรมชาติ ผลปรากฏว่า
    ได้พันธุ์แท้ตามลักษณะของพ่อแม่พันธุ์ คือ ต้นสูงได้ต้นสูง ต้นเตี้ยได้ต้นเตี้ย จากผลการทดลองหลายครั้งซึ่งในเวลานานหลายปี
    เขาสามารถสรุปได้ และเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมว่า ลักษณะเด่นและด้อยที่อยู่ในแต่ละพันธุ์
    จะไม่ถูกผสมกลมกลืน แต่ยังคงเก็บลักษณะต่าง ๆ ไว้เพื่อถ่ายทอดให้กับลูกหลานภายใน 2-3 ชั่วอายุ ซึ่งลูกที่ออกมาจะเป็นไปใน
    อัตราส่วน พันธุ์เด่น : พันธุ์ด้อย เท่ากับ 3 : 1เสมอ แต่ถ้ามี การผสมข้ามพันธุ์ไปอีกย่อมเกิดความเปลี่ยนแปลงไปอีกเช่นกัน ส่วนนี้
    เป็นเรื่องของพันธุ์ทาง แต่ถ้าเป็นพันธุ์แท้ คือไม่มีการผสมข้ามพันธุ์แล้วลูกย่อมมีลักษณะเช่นเดียวกับพ่อแม่ แม้จะต่อไปถึง 2-3
    ชั่วอายุแล้วก็ตาม

             เมนเดลยังคงอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ว่าลักษณะทางพันธุกรรมที่ว่านี้ถูกกำหนดโดย Heredity Atoms ซึ่งอยู่ ภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ปัจจุบันรู้จักกันดีในชื่อของ ยีนส์ (Genes) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ถ่ายทอดลักษณะทาง
    พันธุกรรมจากพ่อแม่ไปยังลูกหลาน โดยหน่วยของยีนส์จะอยู่ในทั้งเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้ (Male genetices) และเซลล์สืบพันธุ์
    ตัวเมีย (Female genetices)

             หลังจากการทดลองและพบความจริงของธรรมชาติเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษระทางพันธุกรรม เขาได้นำผลงานเสนอต่อ
    สมาคมวิทยาศาสตร์และธรรมชาติแห่งกรุงเบิร์น (Natural Science Society of Brunn) ทางสมาคมได้นำผลงานของ
    เมนเดลตีพิมพ์ลงในหนังสือชื่อว่า Proceedings of the Nature History Society of Brunn ในปี ค.ศ. 1866 และ
    ผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานทางวิทยาศาสตร์เพียงชิ้นเดียวของเขา แต่ผลงานชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ในปี ค.ศ. 1900 ภายหลังจาก
    ที่เขาเสียชีวิตไปแล้วถึง 34 ปี เนื่องจากมีบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ทำให้ผลงานของเขาได้เผยแพร่คือ อีริค เชอร์มัค (Erich
    Thshermak) ฮิวโก เดอร์ วีส (Hugo de Vries) และคาร์ล คอร์เรนส์ (Karl Correns) ซึ่งกำลังศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง
    พันธุศาสตร์ และได้ค้นเจอหนังสือเล่มนี้ของเมนเดลเกี่ยวกับการทดลองเรื่องถั่วในห้องสมุด ซึ่งการทดลองนี้ได้เป็นส่วนหนึ่ง
    ของความลับในการถ่ายทอดลักษระทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต รวมถึงมนุษย์ด้วย นอกจากนี้ยังมีบันทึกที่เกี่ยวกับสิ่งอื่น ๆ อีก
    ได้แก่การศึกษาชีวิตของผึ้ง ระยะเวลาของการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ อุณหภูมิประจำวัน ทิศทางของลม และการศึกษาการ
    เจริญเติบโต การขยายพันธ์ของพืชชนิดอื่น ๆ ซึ่งนับว่ามีประโยชน์อย่างมากสำหรับวงการวิทยาศาสตร์

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×