ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รามเกียรติ์

    ลำดับตอนที่ #41 : ลักษณะนิสัยของตัวละคร

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 83.68K
      262
      5 ก.ย. 50

    ลักษณะนิสัยตัวละคร 

    นางสีดา  เป็นผู้หญิงที่รักนวลสงวนตัว  รักเดียวใจเดียวมีความมั่นคงต่อพระราม  มีความกล้าหาญ  ยอมลุยไฟเพื่อพิสูจน์ความรักและความมั่นคงที่มีต่อพระราม

    เห็นได้จาก....

    เมื่อนั้น                                     นวลนางสีดามารศรี   

    ได้ฟังดั่งต้องสายสุนี                            มิรู้ที่จะทูลให้เห็นจริง

    จึ่งบังคมก้มพักตร์พจนารถ                 อันข้าบาทยากเย็นเพราะเป็นหญิง

    จะว่าไปไม่มีที่อ้างอิง                           ใครจะเล็งเห็นจริงที่ในใจ

    เว้นแต่กองเพลิงกาลถ่านอัคคี              จะเป็นที่พึ่งพาของข้าได้

    ขอพระองค์จงสั่งให้กองไฟ                 ที่ในหน้าพลับพลาเวลานี้

    ข้าจะตั้งความสัตย์อธิษฐาน                 สาบานต่อเบื้องบทศรี

    แล้วจะลุยเข้าไปในอัคคี                      ถ้าแม้นชั่วชีวีจงวายปราณ

    ฯ ๘ คำ ฯ

    นางสีดารู้สึกเสียใจที่พระรามไม่เชื่อว่าตนเองบริสุทธิ์จึงยอมลุยไฟเพื่อพิสูจน์ว่าตนเองนั้นไม่มีอะไรเกินเลยกับทศกัณฐ์อย่างแน่นอน

    พระราม  เป็นผู้ชายที่มีรักมั่นคง  มีความเข้มแข็ง  อดทน  และมีอารมณ์อ่อนไหว  ดังจะเห็นได้จากตอนที่นางเบญจกายแปลงเป็นนางสีดาลอยน้ำมา

     

    ยอดเอยยอดมิ่ง                         เป็นความในใจจริงทุกสิ่งสรรพ์
    หวังสวาทมาดหมายไม่วายวัน             จะรับขวัญนัยนามาธานี
    ที่ผูกใจจึงไปดลจิตเจ้า                         ให้โฉมนงเยาว์มาถึงที่นี่
    ขอเชิญดวงดอกฟ้าสุมาลี                     อยู่เป็นศรีนคเรศนิเวศน์วัง
    เจ้าจงดูปราสาทราชฐาน                      ทั้งตึกกว้านมากมายหลายหลัง
    คลังเงินคลังทองสิบสองพระคลัง       ทรัพย์สินมั่งคั่งเรามากมี
    ขอเชิญโฉมเฉลาเป็นเจ้าของ                ครอบครองสารพัดสมบัติพี่
    จงผินผันพักตรามาข้างนี้                     พูดจาพาทีกับพี่ยา
    ควรหรือทำสะเทินเมินเฉย                   ไม่เห็นเลยว่ารักเจ้าหนักหนา
    มาหยุดอยู่นี่ไยไคลคลา                        ไปนั่งแท่นแว่นฟ้าเถิดเทวี

    ฯ ๑๐ คำ ฯ

    พระรามมีความรู้สึกเสียใจ  พยายามให้นางสีดาแปลงนั้นฟื้นคืนสติขึ้นมาพูดคุยกับตนแต่ก็สุดปัญญา  ซึ่งทำให้ทราบถึงอารมณ์ที่พระรามมีต่อนางสีดาอย่างทราบซึ้ง  นอกจากนั้นยังสื่อให้เห็นภาพว่าพระรามประคองนางสีดามาแนบตักและพูดกับนางด้วยความเสียใจและอาลัยยิ่งนัก

    พระลักษมณ์  เป็นน้องที่ดี  รักพี่  มีความเข้มแข็งและมีความเชื่อมั่นต่อพี่สะใภ้ว่าจะมั่นคงต่อพระรามแน่นอน

    หนุมาน  เป็นทหารเอกที่รู้ใจพระรามที่สุด  ฉลาดรอบรู้  ค่อนข้างหัวดื้อ  เช่น  ตอนที่หักกิ่งไม้  ทำลายอุทยานของทศกัณฐ์  ตอนเผาเมืองลงกา  เป็นต้น  ซึ่งเป็นการทำนอกเหนือคำสั่ง  เจ้าเล่ห์เพทุบาย  มีกลอุบายมากมายซึ่งเอาไว้ใช้ในการศึก  รักนายและพลีชีพเพื่อนาย

    องคต  มีความกตัญญูรู้คุณต่อพระราม  และนางมณโฑ  แต่เพื่อความถูกต้ององคตจึงทำในสิ่งที่ถูกต้อง

     

    สุครีพ  เป็นผู้ที่มีความกตัญู  เมื่อพระรามช่วยเหลือก็ตอบแทนบุณคุณ  จงรักภักดี  รักพี่น้องและเคารพกลัวเกรงพี่  เห็นได้จากตอนที่พาลีแย่งหญิงที่พระอิศวรประทานให้ก็ไม่โกรธเคืองอะไร  และเป็นผู้รอบรู้ในด้านการศึกสงคราม  เมื่อพระรามจะรบก็จะให้สุครีพเป็นผู้จัดทัพ

    ท้าวมาลีวราช  (ปู่ของทศกัณฐ์) เป็นผู้ที่มีความยุติธรรม  ให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายไม่คำนึงว่าหลานตนเป็นคนผิด  ( ไม่เข้าข้างคนผิด ) ดังตอนท้าวมาลีวราชว่าความ

    เมื่อนั้น                                     พระพงศ์พรหมบรมนาถา
    จึ่งว่ากูผู้พิจารณา                                 พิพากษาอาธรรม์หรือฉันใด
    ไม่ควรค้านพาลพาโลโกสีย์                 รถของเขามีเขาก็ให้
    เมื่อสืบสวนสมอ้างทุกอย่างไป             ยังแก้ไขคดเคี้ยวเกี่ยวพัน
    เป็นของข้าวเล่าเถิดว่าตกหล่น             นี่เก็บคนได้ดูก็ขบขัน
    เอ็งพูดไม่มีจริงสักสิ่งอัน                      แม่นมั่นมึงลักเมียพระราม
    จงควรคิดถอยหลังฟังกูว่า                   อย่าฉันทาทำบาปหยาบหยาม
    เร่งคืนส่งองค์สีดางางาม                      ให้พระรามผัวเขาอย่าเอาไว้

    ฯ ๘ คำ ฯ

     

    พิเภก  เป็นผู้ที่รู้ผิดชอบชั่วดี  แนะแนวทางที่ดีและถูกต้องให้แก่พี่ชายแต่เมื่อพี่ชายไม่ฟังจึงถูกขับออกจากเมืองต้องมาอยู่กับพระราม  ก็รู้คุณและช่วยเหลือพระรามมาโดยตลอด

    นางมณโฑ  มีความรักลูก  รักสามี  ไม่โกรธเคืองที่สามีหาผู้หญิงอื่นมาอยู่ด้วย

    ทศกัณฐ์  รักลูก  รักพวกพ้อง  แต่ไม่คำนึงถึงความผิดถูก  พาพวกพ้องมาสู้รบในเรื่องไม่เป็นเรื่องจนกระทั่งหมดวงศ์วาร  แต่ก็เป็นผู้ที่รู้จักสำนึกผิด  ดังจะเห็นได้ในตอนทัศกัณฐ์ล้ม  ซึ่งก่อนตายทศกัณฐ์จะกล่าวขอโทษ  และสั่งสอนให้พิเภกครองเมืองอย่างมีทศพิศราชธรรม อย่าปฏิบัติตัวเหมือนตนเอง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×