ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    กษัตริย์ในสมัยกรุงสุโขทัย

    ลำดับตอนที่ #4 : พระยางัวนำถุม และ พญาลิไท และ พระยาลือไทย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 6.66K
      12
      3 ก.พ. 50

    พระยางัวนำถุม กษัตริย์สุโขทัยลำดับที่ 5 (พ.ศ. 1866 - พ.ศ. 1890) เป็นพระโอรสพ่อขุนบานเมือง สันนิษฐานกันว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์คงอภิเสกสมรสกับพระธิดาของพ่อขุนศรีนาวนำถุม เหตุที่สันนิษฐานเช่นนั้นเนื่องจากเป็นธรรมเนียมของคนสมัยนั้นที่นิยมเอาชื่อบรรพบุรุษมาตั้งเป็นชื่อหลาน อาจารย์ประเสริฐฯ อธิบายว่า งั่ว เป็นคำนำหน้านามที่แสดงว่าเป็นบุตรชายคนที่ 5 และนำถุม ถาษาถิ่นแปลว่าน้ำท่วม

    พระยางั่วนำถุมเป็นกษัตริย์ครองเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยมาก่อนตามจารึกหลักที่ 15 แต่ขึ้นเป็นกษัตริย์ต่อจากพระยาเลอไทยซึ่งเป็นพระบิดาของพระยาลิไทยกบัตริย์ลำดับที่ 6

    เรื่องราวของพระยางั่วนำถมยังคลุมเครือเนื่องจากมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่มาก



    รัชสมัยก่อนหน้า:
    พระยาเลอไทย
    ราชวงศ์พระร่วง
    พระมหากษัตริย์ไทย
    อาณาจักรสุโขทัย

    ราชวงศ์พระร่วง ๑๘๘๔๑๘๙๐
    รัชสมัยถัดไป:
    พระมหาธรรมราชาที่ ๑
    (ลิไท)
    ราชวงศ์พระร่วง

    พญาลิไท หรือ พระยาลิไท หรือ พระศรีสุริยพงศ์รามมหาราชาธิราช หรือพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ครองราชย์ พ.ศ. 1897 - พ.ศ. 1919) พระมหากษัตริย์อาณาจักรสุโขทัยราชวงศ์พระร่วงลำดับที่ 5 พระโอรสพญาเลอไท และพระราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

    พญาลิไทเป็นกษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งกรุงสุโขทัย ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระยางัวนำถม จากหลักฐานในศิลาจารึกวัดพระมหาธาตุ พ.ศ. 1935 หลักที่ 8 ข. ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2499 ได้กล่าวว่า เมื่อพระยาเลอไทสวรรคตใน พ.ศ. 1884 พระยางัวนำถมได้ขึ้นครองราชย์ ต่อมาพระยาลิไทยกทัพมาแย่งชิงราชสมบัติได้ และขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 1890 ทรงพระนามว่า พระเจ้าศรีสุริยพงสรามมหาธรรมราชาธิราช ในศิลาจารึกมักเรียกพระนามเดิมว่า "พระยาลิไท" หรือเรียกย่อว่า พระมหาธรรมราชาที่ 1

    พญาลิไททรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ทรงผนวชในพระพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. 1905 ที่วัดป่ามะม่วง นอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตก ทรงอาราธนาพระสามิสังฆราชจากลังกา เข้ามาเป็นสังฆราชในกรุงสุโขทัย เผยแพร่เพิ่มความเจริญให้แก่พระศาสนามากยิ่งขึ้น ทรงสร้างและบูรณะวัดมากมายหลายแห่ง รวมทั้งการสร้างพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก เช่นพระพุทธชินสีห์ พระพุทธรูปองค์สำคัญองค์หนึ่งของประเทศ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดบวรนิเวศน์วิหาร พระพุทธชินราช

    พญาลิไท ทรงปราดเปรื่องในความรู้ในพระพุทธศาสนา ทรงมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก พระองค์ได้ทรงแบ่งพระสงฆ์ออกเป็น 2 ฝ่ายคือฝ่าย "คามวาสี" และฝ่าย "อรัญวาสี" โดยให้ฝ่ายคามวาสีเน้นหนักการสั่งสอนราษฎรในเมืองและเน้นการศึกษาพระไตรปิฎก ส่วนฝ่ายอรัญวาสีเน้นให้หนักด้านการวิปัสสนาและประจำอยู่ตามป่าหรือชนบท ด้วยทรงเป็นองค์อุปถัมภ์พระศาสนาตลอดพระชนม์ชีพ ราษฎรจึงถวายพระนามว่า "พระมหาธรรมราชา"

    นอกจากศาสนาพุทธแล้ว พญาลิไทยังทรงอุปถัมภ์ศาสนาพราหมณ์ด้วยโดยทรงสร้างเทวรูปขนาดใหญ่หลายองค์ซึ่งยังเหลือปรากฏให้ศึกษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในกรุงเทพมหานครและที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดพิษณุโลก

    ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญหลายประการ เช่น สร้างถนนพระร่วงตั้งแต่เมืองศรีสัชนาลัยผ่านกรุงสุโขทัยไปถึงเมืองนครชุม (กำแพงเพชร) บูรณะเมืองนครชุม สร้างเมืองสองแคว (พิษณุโลก) เป็นเมืองลูกหลวง

    ด้านอักษรศาสตร์ทรงพระปรีชาสามารถนิพนธ์หนังสือไตรภูมิพระร่วงที่นับเป็นงานนิพนธ์ที่เก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย

    รัชสมัยก่อนหน้า:
    พระยางั่วนำถุม
    ราชวงศ์พระร่วง
    พระมหากษัตริย์ไทย
    อาณาจักรสุโขทัย

    ราชวงศ์พระร่วง ๑๘๙๗๑๙๑๙
    รัชสมัยถัดไป:
    พระมหาธรรมราชาที่ ๒
    (ลือไท)
    ราชวงศ์พระร่วง

    พระยาลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยลำดับที่ 6 ครองราชย์สืบต่อจากพระยาลิไทย หรือ พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ครองราชย์ พ.ศ. 1911 - พ.ศ. 1942)

    พระยาลือไทย ขึ้นครองราชย์เมื่ออาณาจักรสุโขทัยอ่อนแอเสื่อมอำนาจ อาณาจักรถูกแบ่งออกเป็น 2 แคว้นคือ แคว้นชากังราวประกอบด้วยเมืองตาก ชากังราว (กำแพงเพชร) และนครสวรรค์ กับแคว้นสุโขทัย ประกอบด้วยเมืองสุโขทัย อุตรดิตถ์ สองแคว (พิษณุโลก) พิจิตร นอกจากนี้เมืองขึ้นสำคัญ เช่น เมืองหงสาวดีและเมืองอู่ทองต่างแข็งข้อ ลุถึง พ.ศ. 1921 สุโขทัยก็ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา พระยาลือไทยจึงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของอาณาจักรสุโขทัย

    อย่างไรก็ดี พระยาลือไทยยังทรงครองเมืองต่อไปที่ราชธานีพิษณุโลกในฐานะเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยาจนถึงประมาณ พ.ศ. 1931 และมีรัชทายาทครองเมืองสืบต่ออีก 2 พระองค์ จนถึงวาระที่เมืองพิษณุโลกถูกรวมไว้ในอาณาจักรอยุธยาโดยเด็ดขาดเมื่อ พ.ศ. 1981 โดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือ เจ้าสามพระยา ส่งพระโอรสคือพระราเมศวรขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกแทน มีผลให้อาณาจักรสุโขทัยสิ้นสุดลงโดยสิ้นเชิง

    รัชสมัยก่อนหน้า:
    พระมหาธรรมราชาที่ ๑
    (ลิไท)
    ราชวงศ์พระร่วง
    พระมหากษัตริย์ไทย
    อาณาจักรสุโขทัย

    ราชวงศ์พระร่วง ๑๙๑๙๑๙๒๐
    รัชสมัยถัดไป:
    พระมหาธรรมราชาที่ ๓
    (ไสลือไท)
    ราชวงศ์พระร่วง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×