ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    +"+"+สูตรน้ำผักผลไม้เพื่อสุขภาพ+"+"+

    ลำดับตอนที่ #33 : น้ำตาลสด

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 655
      0
      29 มี.ค. 50



    ชื่ออื่น ตาลโตนด ตาลใหญ่ (กลาง) ท้าง(เชียงใหม่ กะเหรียง-ตาก) ทอถู (กะเหรียง-แม่ฮ่องสอน) ตาล (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) โหนด(ใต้) ทะเนาต์ (เขมร)    
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ การใช้ประโยชน์
    ต้น เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 30 เมตร ต้นกลม เรียว ไม่แตกกิ่งก้านสาขา เปลือกเป็นเสี้ยนแข็ง   ใช้เป็นอาหาร ดอกอ่อน กินได้ทั้งดอกตัวผู้และตัวเมีย ใช้แกง จั่นให้น้ำตาลทำน้ำตาลปึก และน้ำตาลปีบ
    ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ หนาแน่นบริเวณเรือนยอด รูปพัด แต่ละแฉกคล้ายดาบ ยาวได้ถึง 140 ซม. ปลายแยกเป็น 2 แฉก แผ่นใบมีเกล็ดเล็ก ๆ ทั้งสองด้านก้านใบเป็นกาบหนาแข็ง ขอบ เป็นหนามแบน คม สีดำ   คุณค่าทาง โภชนาการ ลูกตาลอ่อน ธาตุฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินซีเล็กน้อย และอื่น ๆ จาวตาล มี ธาตุฟอสฟอรัสสูง วิตามินซี และอื่น ๆ งวงตาลทำน้ำตาลโตนดประกอบด้วย น้ำตาลหลายชนิด
    ดอก ออกเป็นช่อแตกแขนง ขนาดใหญ่ ดอกย่อยจะ แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกตัวผู้เป็นช่อรูปทรง กระบอกยาวเป็นงวงสีเขียว เมื่อแก่มีสีน้ำตาล ดอกตัวเมียเป็นช่อเรียกว่า จั่นให้น้ำตาล   ใช้เป็นยา รากแก้ร้อนใส กระหายน้ำ แก้ไข้ แก้ทอน ซินอักเสบ แก้ซางเด็ก ชูกำลัง ขับพยาธิ ใบ แก้อาการกระสับกระส่ายหลังคลอด คั่วให้เหลืองแล้วบดเป็นผง ใช้สูบหรือ เป่าลดความดันโลหิต งวงแก้พิษตาน ซาง ขับพยาธิ ทำให้สดชื่น กาบหรือ ก้านใบสดอังไฟแล้วบีบเอาแต่น้ำ แก้ท้อง ร่วง ท้องเสีย อมแก้ปากเปื่อย
    ผล ผลทรงกลม ติดเป็นทะลาย เมื่อสุกก้นมีสีดำ หัวสีเหลือง กลิ่นหอม   น้ำตาลสด

    วิธีทำ
    น้ำตาลสด ได้มาจากน้ำหวานของงวง ตาล (ช่อดอกของต้นตาล) โดยการใช้ มีดคม ๆ ปาดงวงตาลให้น้ำหวานหยด ลงในกระบอกไม้ไผ่ซึ่งรมควันให้แห้ง สนิท ที่ก้นกระบอกไม้ไผ่ใส่ไม้ฝาด เปลือกไม้ตะเคียน พยอมหรือไม้เคี่ยม 3-4 ชิ้น เพื่อกันน้ำตาลสดบูด (เปลือกไม้ดัง กล่าวมีสารช่วยยับยั้งการสลายตัวของ น้ำตาลสด)
    ทำน้ำตาลสดตามปริมาณที่ต้องการ มา ต้มให้เดือด ใส่เกลือป่นเล็กน้อย ชิมดู ตามใจชอบ ทิ้งให้เย็น ใส่ภาชนะสะอาด เวลาดื่มเติมน้ำแข็งทุบ หรือเก็บใส่ตู้เย็น เป็นเครื่องดื่ม สมุนไพรที่มีรสหวาน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×