ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    มารู้จักประวัติอย่อๆของแบรนด์ดังระดับโลกกันเถิดทุกท่าน!

    ลำดับตอนที่ #17 : ~สิงห์ สิงห์ผงาดแห่งเมืองไทย~

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 61.26K
      12
      2 ธ.ค. 50


    บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด

                                                                                         

    ประวัติความเป็นมา

            พระยาภิรมย์ภักดี ก่อตั้งบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ขึ้นในปีพุทธศักราช 2476 เป็นโรงเบียร์แห่งแรกในประเทศไทยที่พัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพ อยู่เสมอ จนได้ชื่อว่าเป็นโรงเบียร์ที่มีศักยภาพในการผลิตสูงที่สุดคือ พันล้าน ลิตรต่อปี และเป็นโรงเบียร์ที่ใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัยที่สุดเพื่อผลิต สินค้าคุณภาพภายใต้เครื่องหมายการค้า "สิงห์" "ลีโอ" และ "มิดไวด้า"
            บริษัทฯ กระจายกำลังการผลิตไปทั่วราชอาณาจักร ด้วยการสร้างโรงเบียร์ 3 แห่ง และโรงงานผลิตโซดา น้ำดื่ม อีก 6 แห่ง ความสามารถในการผลิตเบียร์ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวผนึกกับเครือข่ายการจัด จำหน่ายที่รองรับตลาดอย่างทั่วถึงทำให้บุญรอด ยืนผงาดอยู่ในแนวหน้าของผู้ผลิตเบียร์ตราบจนทุกวันนี้ ยิ่งบริษัทฯ ได้รับเกียรติบัตร ISO 9002 รับรองมาตรฐานการผลิต ยิ่งทำให้ผู้บริโภค มั่นใจในสินค้าของบุญรอดฯ เมื่อเห็นว่าตลาดโลกมีความต้องการสินค้าคุณภาพของบุญรอด บริษัทฯ จึงเสริมกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในประเทศเยอรมันด้วย โรงเบียร์อีก 2 แห่ง และร่วมทุนทำโรงเบียร์ในประเทศจีนอีก 1 แห่ง

    ขณะเดียวกัน บุญรอดมีความสำนึกและภาคภูมิใจในความเป็นไทยตลอดมา จึงเน้นที่จะส่งเสริมกิจกรรมทางสังคมที่เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยเป็นหลัก นอกเหนือจากการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนกิจกรรมที่มีคุณค่าทุกประเภท เพื่อเป็นการตอบแทนสังคมที่อุดหนุนผลิตภัณฑ์ตราสิงห์ด้วยดีตลอดมา

     

    ส่วนผสม

    ในการทำเบียร์นั้น วัตถุดิบสำคัญที่ใช้คือ ข้าวมอลต์ (Malt) น้ำ ดอกฮ็อพ (Hop) และ ยีสต์ (Yeast)

    ข้าวมอลต์ ได้มาจากข้าวบาร์เลย์ ซึ่งเป็นธัญพืช ที่นิยมปลูกในประเทศ ที่มีภูมิอากาศเย็น จะมีการปลูกกันมาก ในประเทศทางทวีปยุโรป เช่น เยอรมนี ออสเตรีย อังกฤษ เดนมาร์ก และ ออสเตรเลีย ส่วนประเทศไทยมีการนำ สายพันธุ์ ข้าวบาร์เลย์เข้ามาปลูกในแถบ ภาคเหนือ ซึ่งมีภูมิอากาศเย็น มีการ ส่งเสริม การปลูกข้าวบาร์เลย์

    น้ำ เป็นวัตถุดิบที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง เนื่องจากเบียร์มีส่วนประกอบที่เป็น น้ำมากกว่า 90% คุณภาพของน้ำ ที่ใช้สำหรับการ ผลิตเบียร์ขึ้นอยู่กับ ลักษณะของเบียร์ที่จะผลิต ความอ่อน ความกระด้างของน้ำจะมีผลต่อ รสชาติของเบียร์ หรือมีผลต่อความ เปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นในกระบวน การผลิต


    สายผลิตภัณฑ์

    คุณภาพของสินค้าเป็นหัวใจสู่ความสำเร็จของกลุ่มบริษัทบุญรอด การให้ความสำคัญกับการผลิต สินค้าคุณภาพเยี่ยมทำให้บุญรอดสามารถรักษาปณิธานดั้งเดิมนี้ไว้ได้ โดยมีการเลือกสรรวัตถุดิบที่ดี ที่สุดจากธรรมชาติ ผ่านขั้นตอนการผลิตที่ทันสมัย และการตรวจสอบคุณภาพที่เข้มงวด ด้วยปัจจัยเหล่านี้ ทำให้สินค้าของบุญรอดเป็นสัญลักษณ์ของคุณภาพ ในทุกๆ วัน ผู้บริโภคนับล้านทั้งใน และต่างประเทศ ได้แสดงถึงความไว้วางใจในกลุ่มบริษัทของเรา โดยการเลือกซื้อสินค้าของบุญรอด ความเชื่อถือซึ่งมาจากการ ปูพื้นฐานภาพพจน์ด้านคุณภาพเป็นระยะเวลายาวนานถึง 6 ทศวรรษ


    โซดา

     รายละเอียด:

    จากแหล่งน้ำธรรมชาติ ผ่าน กระบวนการผลิตอย่างพิถีพิถัน แล้วจึงเติมก๊าซคาร์บอน

    ไดอ๊อกไซด์ ที่ให้พรายฟองซ่า... ช่วยเพิ่มรสชาติให้ เครื่องดื่มอร่อยซาบซ่ายิ่งขึ้น

    น้ำดื่มตราสิงห์


    รายละเอียด:

    ผลิตจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีคุณภาพ ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยโอโซนและรังสียูวี แล้วจึงปิดผนึก

    ด้วยวิธีไมโครฟิลเตอร์ เพื่อรับประกันความบริสุทธิ์ สะอาดอย่างแท้จริง

    น้ำผลไม้สิงห์เฟรส

     

    รายละเอียด:

    คัดสรรผลไม้สดใหม่ จากไร่บุญรอด ผ่าน กระบวนการผลิตที่ ผสานคุณค่า และ ความอร่อยไว้อย่างลงตัว และมีให้เลือกเติม ความสดชื่น ได้หลาย รสชาติ

    กาแฟ

     

    รายละเอียด:

    ผลิตจากเมล็ดกาแฟ พันธุ์ดี สำหรับคอกาแฟที่ ต้องการ รสชาติเข้มข้น กลมกล่อมของ

    กาแฟแท้

    สิงห์ลาเกอร์เบียร์

    รายละเอียด:

    เบียร์ลาเกอร์ระดับพรีเมี่ยมที่ ผลิตจาก วัตถุดิบชั้นเยี่ยม จึงเป็นเบียร์ที่ให้ รสชาติดี มีความเข้มข้นของบาร์เลย์ และฮอพแท้ 100%

    สิงห์โกลด์

     

    รายละเอียด:

    อีกทางเลือกสำหรับผู้ต้องการ รสชาติ เบียร์ที่สดชื่น ทั้งยังเบาด้วยปริมาณ แอลกอฮอล์และแคลอรี่

     

    สิงห์ดราฟท์

     รายละเอียด:

    เบียร์ที่เก็บความสดของรสชาติ ไว้ในกระป๋องได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยเทคโนโลยีการผลิต พิเศษที่ผ่านการสเตอริไลส์ ทำให้สามารถคงความ สดมันเช่นเดียวกับเบียร์สดในถัง

    เบียร์สดสิงห์

     

    รายละเอียด:

    เบียร์ลาเกอร์ที่ไม่ผ่าน กระบวนการพาสเจอร์ไรส์ ให้รสชาติเข้มข้นและ หอมมันของเบียร์สดในถัง

    ลีโอเบียร์

     รายละเอียด:

    เบียร์ลาเกอร์ที่เปี่ยมไป ด้วยรสชาตินุ่มอย่างลงตัว นับเป็นอีกสไตล์ที่ถูกใจคอเบียร์ ทั่วไป

     

     

    ซูเปอร์ลีโอเบียร์

     

    รายละเอียด:

    อีกทางเลือกจากตระกูลลีโอที่ให้ ความเข้มผสมผสานกับ รสชาติที่นุ่มพอดี...พอดี

    เบียร์มิทไวด้า

     รายละเอียด:

    "มิทไวด้า" เป็นเบียร์ Super Premium ที่ผลิตจากวัตถุดิบชั้นดี ผ่านกรรมวิธีการผลิตที่พิถีพิถัน ให้รสชาตินุ่มกลมกล่อมมีกลิ่นหอมลึกซึ้ง ของดอกฮ็อพและข้าวมอลท์ ให้ความรู้สึกสดชื่นทุกครั้งที่ดื่ม

     

    บริษัทในเครือ

      1. บริษัท บุญรอด เทรดดิ้ง จำกัด (ตัวแทนผลิตภัณฑ์สิงห์และบริษัทในเครือ)

                2. บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด (ผู้ผลิตภาชนะแก้ว)

                3. บริษัท พลาสติกส์ไทย จำกัด (ผู้ผลิตลังพลาสติก)

    1. บริษัท บี.บี กรูพ จำกัด (ผู้นำขนส่งเข้า)
    2. บริษัท เชียงใหม่ม้อลติ้ง จำกัด (ผู้ผลิตข้าวมอลท์)
    3. บริษัท พี.บี. แอร์ จำกัด (ขนส่งทางอากาศ)
    4. บริษัท บุญรอดเอเซีย จำกัด (ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำดื่ม และตัวแทนจำหน่ายอาหาร
    5. สำเร็จรูป)

    6. บริษัท ขอนแก่นบริวเวอรี่ จำกัด (ผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์ โซดา และน้ำดื่มสิงห์)
    7. บริษัท บุญรอดเอเซีย เบเวอเรช จำกัด (ผู้ผลิตน้ำดื่ม)
    8. บริษัท บี.บี. ดีเวลลอบเม้นต์ จำกัด (ผู้ผลิตน้ำผลไม้)
    9. บริษัท ซี.วี.เอส. ซินดีเคท จำกัด (ขนส่งและนำเข้าเบียร์)
    ที่มา้  http://web.udru.ac.th


    กว่า 72 ปี บนถนนสีอำพันของตระกูล “ภิรมย์ภักดี” กับกว่า 900 ล้านลิตรต่อปี ของผลิตภัณฑ์เบียร์ “สิงห์” ที่ผ่านฝีมือการสร้างสรรค์ของลูกหลานผู้สืบทอดพันธกิจแห่ง “พระยาภิรมย์ภักดี” สู่ผู้บริโภคคอเบียร์ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ




    “บุญรอดบริวเวอรี่” ที่วันนี้กลายมาเป็น “สิงห์ คอร์ปอเรชั่น” ได้ผ่านร้อนผ่านหนาวอยู่ในธุรกิจฟองเบียร์มานานกว่าค่อนศตวรรษ จนถึงวันนี้ก้าวสู่ยุคที่ 4 ของตำนาน “ภิรมย์ภักดี” กันแล้ว

    ย้อนกลับไปเมื่อปี 2476 “พระยาภิรมย์ภักดี” คือ ผู้ที่ทำให้ธุรกิจการผลิตเบียร์เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ในวันนั้นผู้ให้กำเนิดเบียร์สิงห์ท่านนี้ อาจนึกไม่ถึงด้วยซ้ำว่าวันนี้คนอีกซีกโลกหนึ่งจะมีโอกาสได้รู้จักประเทศไทย ผ่านสัญลักษณ์ “สิงห์” และน้ำสีอมฤตที่บรรจุอยู่ในกระป๋อง หรือขวดสีชาภายใต้แบรนด์ “Singha”

    “ประจวบ ภิรมย์ภักดี” คือ ทายาทรุ่น 2 ที่เข้ามาสานต่อธุรกิจของบิดาในฐานะบุตรชายคนโต ทำให้เขามีบทบาททางธุรกิจมากกว่าผู้เป็นน้องอย่าง “วิทย์” และ “จำนงค์” ซึ่งรุ่นนี้ต้องถือว่าเป็นยุคแห่งความมั่นคง และรุ่งเรืองยุคหนึ่งของ “บุญรอด บริวเวอรี่”

    “สิงห์” และ “บุญรอด บริวเวอรี่” เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง กระทั่งมาสู่รุ่นที่ 3 ในยุคของ “ปิยะ ภิรมย์ภักดี” และ “สันติ ภิรมย์ภักดี” บุตรชาย 2 ในจำนวนบุตร 5 คนของ “ประจวบ” ซึ่งยุคนี้เป็นยุคที่ใคร ๆ ก็อดคิดไม่ได้ว่า จะเป็นยุคทองของคน “ภิรมย์ภักดี” แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับกลายเป็นว่าเป็นยุคที่ถือว่าสาหัสสุดสุด ของลูกหลานสิงห์รุ่นที่ 3 เพราะด้วยภาวะการแข่งขันที่รุนแรงของตลาดเบียร์เมืองไทย และการเปิดเสรีทางการค้า ทำให้บุญรอดต้องกู้ศักดิ์ศรี และรักษาความเป็นเบอร์ 1 ในตลาดเบียร์เอาไว้ต่อไปให้ได้

    ทั้ง “สันติ” และ “ปิยะ” จึงต้องทำงานหนักมากกว่ายุคบุกเบิกในรุ่นปู่ หรือในช่วงของการขยายอาณาจักรในช่วงที่บิดาของเขาเป็นผู้ดูแลกิจการ โดย “สันติ” รับผิดชอบด้านการตลาด ส่วน “ปิยะ” รับหน้าที่ดูแลด้านการผลิต แต่ภายหลังขอถอนตัวออกไปลุยกับธุรกิจส่วนตัวด้วยการเป็นผู้ผลิตไวน์ในชื่อ ของ เขาใหญ่ ไวน์เนอรี่

    นอกจาก “สันติ” และ “ปิยะ” ทายาทรุ่นที่ 2 ยังมีญาติผู้น้อง “จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี” บุตรชายของ “จำนงค์” ได้ถูกดึงเข้ามาร่วมด้วยช่วยกันในยุควิกฤตเศรษฐกิจ โดยปัจจุบันมีภารกิจหลักอยู่ที่เรื่องของการขยายตลาดออกสู่ต่างประเทศ และผลักดันแบรนด์ “สิงห์” ให้ก้าวขึ้นสู่ Global Brand ได้อย่างสมศักดิ์ศรี



    Power of Gen 4

    ปัจจุบันถือเป็นยุคเชื่อมต่อของทายาทรุ่นที่ 3 และ 4 เป็นยุคที่ต้องเรียกว่ามีสีสัน และเรื่องราวที่น่าสนใจมากที่สุดของตำนาน “ภิรมย์ภักดี” ซึ่งผู้ที่มีบทบาทมากที่สุดในกลุ่มทายาทรุ่นเหลนของ “พระยาภิรมย์ภักดี” และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในวงสังคม และธุรกิจ ก็คงเป็นสองหนุ่มพี่น้อง “สันต์” และ “ปิติ” บุตรชายของ “สันติ” ที่เข้ามารับช่วงต่องานสำคัญในยุคที่วิกฤตเศรษฐกิจกำลังคลี่คลายประมาณปี 2545 เป็นช่วงที่องค์กรของสิงห์กำลังเข้าสู่ช่วงของการปรับเปลี่ยนโครงการทาง ธุรกิจ

    สันต์ ภิรมย์ภักดี ทายาทคนโตของตระกูล “ภิรมย์ภักดี” ในวัย 29 ปี กับหน้าที่รับผิดชอบในฐานะผู้จัดการฝ่ายการตลาดของ Non-Alcohol และผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ Business Innovation Center ที่เขาเป็นตัวตั้งตัวตีในการก่อตั้ง BIC ขึ้นมา หน่วยงานใหม่ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นในบุญรอด มีหน้าที่หลักกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด

    และชาเขียวพร้อมดื่ม “โมชิ” ก็เกิดขึ้นด้วยการทุ่มเทแรงกายแรงใจของเขา

    “ตามตำราบอกว่า ธุรกิจจะจบในรุ่นที่ 3 มาไม่ถึงรุ่นที่ 4 แต่นี่มาถึงรุ่นที่ 4 แล้ว ผมว่าก็น่าจะดี ความจริงเราทุกคนแฮปปี้ เรามี Service Mind ที่ดีขึ้น เราพยายามที่จะขยาย และมี Motivation ในการที่จะขยายบริษัทต่อไป ไม่ว่าเป็นทางผู้ใหญ่ หรือใคร ๆ ก็ล้วนแต่มี Vision ที่ชัดเจน มี Mission ที่มั่นคง พร้อมจะผลักดันให้บริษัท และตลาดเติบโตต่อไปในอนาคต” สันต์ บอกถึงความในใจของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นทายาทรุ่นที่ 4 ของเบียร์สิงห์

    “สันต์” ต้องพิสูจน์ตัวเองเพื่อก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารรุ่นใหม่ของ “บุญรอด” ด้วยการทำงานทุกอย่างที่ผู้ปฏิบัติงานระดับล่างทำ ไม่เว้นแม้แต่การล้างถังเบียร์ เพื่อให้รู้เท่าทันถึงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเข้ามาในอนาคต และเขาเป็นทายาทคนที่ 3 ต่อจาก “ประจวบ” และ “ปิยะ” ที่มีโอกาสไปร่ำเรียนวิชาปรุงเบียร์ หรือ Master in Brewery Management กันถึง World Brewing Academy ประเทศเยอรมนี เพราะเขาชอบเบียร์จึงใฝ่รู้ในเรื่องของเบียร์ แม้ว่างานหลักที่ต้องดูแลในวันนี้จะไม่เกี่ยวข้องกับเบียร์เลยก็ตาม

    “เราต้องยอมรับในจุด ๆ นี้ให้ได้ ด้วยการช่วยกันโตดีกว่ามานั่งคิดว่าทำไมเราถึงไม่ได้ทำในสิ่งที่ชอบ ผู้ใหญ่ต้องเห็นอะไรบางอย่างในตัวผม ผมอาจจะมีดีในด้าน Innovation และผมอาจจะชอบมากกว่าด้วยซ้ำไป เพราะมันเป็นเหมือนการได้เปิดโลกทัศน์ตัวเอง”

    “สันต์” ออกอาการยิ้มกว้าง เมื่อทราบว่า น้องชายเปรียบเทียบคาแร็กเตอร์ของเขาว่าเหมือน “สิงห์ไลท์” ด้วยบุคลิกของผู้บริหารรุ่นใหม่ไฟแรง เอาจริงเอาจัง มีการวางแผน มีความรวดเร็ว ชัดเจน และมีความทะเยอทะยาน

    “ความทะเยอทะยานผมเชื่อว่าทุกคนก็ต้องมี เพราะทุกคนอยากก้าวหน้า ไม่มีใครอยากทำงานแล้วอยู่กับที่ เพียงแต่ว่าเราจะทำให้ทีมของเราไปกับเราด้วยอย่างไร ผมว่าการทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งที่ดีที่สุด หากความสำเร็จคือ 10 วันนี้ผมยังอยู่แค่ 3 หรือ 4 ยังถือว่าเป็นช่วงของการเรียนรู้ และมองว่าเราจะทำอะไรต่อไป”

    ทายาทคนรองอย่าง ปิติ ภิรมย์ภักดี เป็นหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรงที่ผู้เป็นบิดาอย่าง “สันติ” ถึงกับเอ่ยปากทีเล่นทีจริงว่าอยากได้หนุ่มวัย 27 ปีเต็มผู้นี้ มาเป็น Ambassador คนต่อไปให้กับ “สิงห์”

    เขาเป็นหนุ่มวิศวอุตสาหกรรม ที่หันมาเอาดีกับการเรียนรู้หลักการตลาด และดูแลงานด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้กับผลิตภัณฑ์ในเครือบุญรอดฯ และมีทีท่าว่าจะไปได้สวยกับหน้าที่รับผิดชอบในตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายโฆษณาของบุญรอด เทรดดิ้ง

    การทำ Branding ให้กับผลิตภัณฑ์ใน Portfolio ของบุญรอดจึงเป็นภารกิจสำคัญของเขาในเวลานี้




    “สิ่งที่ผมสนใจ คือ การทำโฆษณา การสร้าง Branding เพราะสิ่งสำคัญของสินค้าคือตราสินค้า เวลาเราซื้อกล้อง ทำไมต้องซื้อ Sony เพราะเราเชื่อว่า Sony เป็นแบรนด์ที่มีประสิทธิภาพน่าเชื่อถือ เราอยากซื้อขนม ทำไมมองแค่ Packaging แล้วคิดว่าข้างในมันต้องอร่อย มันเป็นเสน่ห์เรื่อง First Impression เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก

    ตอนแรกคิดเพียงว่าทำ Packaging Branding สวย ๆ ก็พอแล้ว แต่พอมาทำจริงมันมากกว่านั้น เพราะมีการตลาด มีการโฆษณามากมายที่ต้องผสมผสานกัน ประสบการณ์เหล่านี้เรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น และทำให้ผมรู้ว่าโฆษณากับการตลาดมันเป็น 2 เรื่องที่ไม่ได้ไกลกันนัก มันมีนิยามเกิดขึ้นมามากมาย แต่ท้ายที่สุดก็คือความพยายามที่จะอธิบายปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับการ ตลาด”

    “ปิติ” เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีบทบาทหลากหลาย เพราะนอกจากจะมีตำแหน่งเป็นผู้บริหารหลักในค่ายบุญรอด ชีวิตอีกด้านหนึ่งเขายังเป็นพิธีรายการโทรทัศน์ อีกทั้งยังเป็นนักแข่งรถ และเป็นพรีเซ็นเตอร์หน้าใหม่ให้กับโฆษณาของสิงห์มาแล้วเช่นเดียวกับ “สันต์”

    ความที่เขาเป็นศิษย์เอกของ “รังสฤษดิ์ รักษิตานนท์” ผู้เปรียบเสมือนเพื่อนที่รู้ใจแทบทุกเรื่องของ “สันติ” อีกทั้งมีความสนิทสนมกับบิดามากเป็นพิเศษ ทำให้เขาได้รับการถ่ายทอด และซึมซับรับเอาเคล็ดลับการบริหารมาจาก 2 กุนซือใหญ่ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และยังทำให้บุคลิกของเขาดูไม่แตกต่างไปจากผู้เป็นบิดาเท่าใดนัก

    “ปิติ” บอกว่า เขาโชคดีกับการเป็นทายาทเจนเนอเรชั่นที่ 4 ของบุญรอด และไม่ได้มีแรงกดดันใด ๆ กับการทำงานในหน้าที่ดังกล่าว

    “รุ่นคุณพ่อผมอาจต้องศึกษา แต่รุ่นผมง่ายมาก โจทย์มีไว้หมดทุกอย่างแล้ว อยู่ที่ตัวผม อยู่ที่เจนเนอเรชั่นที่4 ว่าคุณพร้อมที่จะทุ่มเทกับงานแค่ไหน ต้องพร้อมที่จะสละความเป็นส่วนตัวของเรา

    ผมคิดว่าเป็นโชค เป็นโอกาสของผม ที่ได้ทำงานที่บุญรอดจะได้สานต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต มันไม่ใช่ความกดดันจากทางผู้ใหญ่ หรือจากข้างนอกว่าผมต้องทำได้ แต่ผมบอกกับตัวเองว่า ผมต้องทำได้ เพราะผมรู้ว่าผมต้องทำอะไร และผมทำได้”

    หาก “สันต์” ผู้เป็นพี่ชายเปรียบได้กับ “สิงห์ไลท์” ที่เป็นคนใจคอเด็ดเดี่ยว มีเหตุมีผล คาแร็กเตอร์ของ “ปิติ” คงเปรียบได้กับ “สิงห์ ออริจินัล” ที่เขาบอกว่า ค่อนข้างเป็นผู้ใหญ่ เป็นคนคิดรอบคอบ ไม่หวือหวา หากมีปัญหาก็จะใช้วิธีเจรจา ต่างจาก “ลีโอ” ที่จะใช้กำลังเข้าต่อกร

    แม้ในบางแง่มุมอาจดู Aggressive ไปบ้าง แต่ก็เป็นเพราะ “ปิติ” รักที่จะอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง ความจริง อะไรที่ออกจากปากต้อง 100% ไม่มี 50:50 ไม่มีสีเทา มีแต่ขาวกับดำ

    “ไม่ว่าบทบาทการเป็นพิธีกรกับสื่อมวลชน ด้านงานบันเทิง หรือการเป็นผู้จัดการฝ่ายโฆษณากับสื่อมวลชนทางด้านการตลาด คาแร็กเตอร์ของผมเหมือนเดิม อาจมีหลายบทบาท แต่มันเป็นส่วนเดียวกัน มันคือตัวผม คล้ายกันกับที่ผมต้องวาง Branding ให้ตัวเอง เหมือนสิงห์ไลท์ที่อยู่ในเมืองไทย และต่างประเทศ ก็คือเบียร์ตัวเดียวกัน ผมเหมือนกันไปอยู่ในที่ไหน ก็ต้องเป็นผม คนเดียวกัน” ปิติ ให้นิยามถึงตัวตนที่แท้จริงของเขา

    ในจำนวนวงศ์วานว่านเครือของรุ่นที่ 4 “พลิศร์ ภิรมย์ภักดี” ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทายาท “ภิรมย์ภักดี” ที่มีบทบาทสำคัญกับงานบริหารในระดับแถวหน้ากับตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้ จัดการ บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด ซึ่ง “พลิศร์” เป็น “ภิรมย์ภักดี” รุ่นหลานในสายของ “วิทย์” น้องชายคนรองของ “ประจวบ” บิดาของ “สันติ” เขาจึงมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับ “สันต์” และ “ปิติ”

    ปัจจุบัน “พลิศร์” รับผิดชอบเรื่องการบรรลุเป้าหมายการขาย พัฒนาระบบจัดจำหน่าย และระบบลอจิสติกส์ รวมถึงการสนับสนุนการขายให้กับเหล่าตัวแทนจำหน่ายในแต่ละระดับ เขามองว่า หัวใจหลักของธุรกิจเครื่องดื่ม ก็คือ ระบบการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ

    “พลิศร์” ยอมรับว่าหนักใจกับภารกิจสร้างความแข็งแกร่งให้กับสิงห์ในรุ่นที่ 4 นี้ แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าสนุก

    “ผมถือว่ามันเป็นภารกิจที่ท้าทาย เพราะความหนักใจ คือ ความท้าทาย จากสถิติแล้ว 80% ของธุรกิจครอบครัวจะไม่ผ่านเจนเนอเรชั่นที่ 3 เพราะส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนมือขายกิจการออกไป แต่สำหรับสิงห์ได้ผ่านช่วงนั้นเลยมาถึงเจนเนอเรชั่นที่ 4 แม้จะผสมกันอยู่ระหว่างรุ่นที่ 3 และ 4 ก็ตาม

    ต้องถือว่ารุ่นที่ 4 เข้ามามีบทบาทค่อนข้างมาก และยังคงความมั่นคงแข็งแกร่งไว้ได้ อีกทั้งยังแข็งแกร่งกว่าที่เคยเป็นมาด้วยซ้ำ เรายังคงยึดปรัชญาการทำธุรกิจมาตั้งแต่สมัย “พระยาภิรมย์ภักดี” ว่าจะทำธุรกิจถูกต้องและมีคุณธรรมไม่ว่าในอนาคตจะพัฒนาไปในทิศทางใด”

    จุดนี้ถือเป็นหน้าที่สำคัญที่ “พลิศร์” มองว่าต้องส่งต่อธุรกิจไปสู่รุ่นที่ 5 ด้วยความแข็งแกร่ง และมั่นคง

    ที่มา www.brandage.com

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×