ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    แหล่งสูบงาน+ความรู้ชั้นยอด คลิ๊กเลยค่ะ~

    ลำดับตอนที่ #43 : (ชีวะ) สิ่งมีชีวิตกับสภาวะแวดล้อม

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.37K
      0
      12 ก.ค. 50

    สิ่งมีชีวิตกับสภาวะแวดล้อม

    นิเวศวิทยา คือ วิทยาศาสตร์ที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่ง

    มีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่

    ประกอบกันเป็นแหล่งที่อยู่

    ระดับความสัมพันธ์ ของสิ่งมีชีวิตมี 3 ระดับคือ

    1.ระดับประชากร (Population) หมายถึงการอยู่ร่วมกันเป็น

    กลุ่มของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวในสถานที่ใดที่หนึ่ง เช่น ประชากรของ

    ผึ้งในรังหนึ่ง ประชากรของปลาหางนกยุงในโอ่งน้ำ

    2. ระดับกลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community) หมายถึงการอยู่ร่วมกัน

    ของสิ่งมีชีวิตหลาย ๆ ชนิด ที่อาศัยอยู่ในบริเวณหนึ่ง เช่น กลุ่มสิ่งมี

    ชีวิตในบ่อน้ำ

    3. ระดับระบบนิเวศ (Ecosystem) หมายถึงระบบที่รวมความ

    สัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตหลาย ๆ กลุ่ม หลาย ๆ ชนิด และความสัม

    พันธ์กับสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบนิเวศในทุ่งนา

    ชีวภูมิภาค (Biomes) หมายถึงบริเวณหรือสถานที่ใดสถานที่

    หนึ่งที่ประกอบด้วยระบบนิเวศหลาย ๆ ระบบนิเวศมาสัมพันธ์กัน

    เช่นป่าชายเลน ฯลฯ

    โลกของสิ่งมีชีวิต (Biosphere) หมายถึงชีวภูมิภาค (Biomes)

    หลาย ๆ แบบที่มาประกอบกันเข้าเป็นระบบเดียวกัน ซึ่งรวมความ

    สัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตทุก ๆ ชนิดในโลก

    องค์ประกอบของระบบนิเวศ

    1. ผู้ผลิต (Producer) หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารเอง

    ได้ และเป็นจุดเริ่มต้นของพลังงานที่จะถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตกลุ่ม

    อื่น ๆ

    2. ผู้บริโภค (Consumer) หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารไม่ได้

    ต้องบริโภคสิ่งอื่นเป็นอาหาร

    3. ผู้ย่อยสลายอินทรียสาร (Decomposer) หรือผู้แปรสภาพสาร

    (Transformer) หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เองแต่

    จะได้อาหารจากการย่อยสลายซากพืช และซากสัตว์ (สารอินทรีย์)

    ให้กลายเป็นสารอนินทรีย์กลับคืนสู่สิ่งแวดล้อม

    ผู้บริโภค จำแนกออกได้เป็น 4 ชนิด คือ

    1.สัตว์กินพืช (Herbivore)

    2. สัตว์กินสัตว์ (Carnivore)

    3. สัตว์ที่กินทั้งพืช และสัตว์ (Omnivore)

    4. ผู้บริโภคซากอินทรีย์ (Scavenger หรือ Detritivore)

    อิทธิพลของสภาวะแวดล้อมทางกายภาพ

    อิทธิพลของอุณหภูมิที่มีต่อสิ่งมีชีวิต

    1.ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นอัตราการละลายของออกซิเจนในน้ำจะลดลง

    2. เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นจากเดิมสิ่งมีชีวิตจะต้องการออกซิเจน ใน

    อัตราที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิม

    3. มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในร่างกาย

    ตัวอย่างเช่น

    - การจำศีลในฤดูหนาว เพื่อลดอัตราเมตาโบลิซึม เช่น กบ

    - การจำศีลในฤดูร้อน เช่น ค้างคาว สุนัขป่า แล้วออกหากินใน

    เวลากลางคืน หรือหอยโข่งลาย จะฝังตัวในดินเฉย ๆ เมื่ออากาศ

    ร้อน

    4. อิทธิพลต่อการอพยพ (migration)

    - การอพยพของนกปากห่าง

    - การอพยพของนกนางแอ่น

    อิทธิพลของแสงสว่างที่มีต่อสิ่งมีชีวิต

    1. มีอิทธิพลต่อการะบวนการสังเคราะห์แสงของพืชสีเขียว

    2. มีอิทธิพลต่อการดำรงชีพและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต เช่น

    การออกหากิน

    3. มีอิทธิพลต่อการออกดอก การหุบ-บานของดอกไม้

    4. เป็นปัจจัยสำคัญในการจำกัดฤดูผสมพันธุ์ของสัตว์ป่าบางชนิด

    5. มีอิทธิพลต่อการปรับตัวเพื่อการป้องกันตัว และเลียนแบบ

    อิทธิต่อความกดดันที่มีต่อสิ่งมีชีวิต

    1. พืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเลลึก จะต้องมีการปรับตัวให้มี

    โครงสร้างที่แข็งแรง ทนต่อความกดดันได้

    2. มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนที่และการเจริญเติบโต

    3. มีอิทธิพลต่อระบบสรีรวิทยา

    อิทธิพลของกระแสน้ำ กระแสลม และไฟ

    1. กระแสน้ำทำให้ความเข้มข้นของออกซิเจนเปลี่ยนไป

    2. กระแสลมเป็นสาเหตุในการกระจายสิ่งมีชีวิตให้กว้างออกไป

    3.ไฟสามารถเปลี่ยนแปลงแหล่งที่อยู่

    อิทธิพลของน้ำและความชื้น

    1. น้ำเป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ของสิ่งมีชีวิต

    2. ช่วยให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ ในร่างกายของสิ่งมีชีวิต

    3. ความชื้นมีผลต่อการระเหย และการคายน้ำของพืช

    การมาอยู่รวมกันของสิ่งมีชีวิต (symbiosis) มีหลายแบบ คือ

    1. การล่าเหยื่อ (Predation) ใช้สัญลักษณ์แทนด้วย +, - หมายถึง

    ลักษณะของการอยู่รวมกันของสิ่งมีชีวิตโดยฝ่ายหนึ่งจะกิน

    อีกฝ่ายหนึ่งเป็นอาหาร

    2. ภาวะอิงอาศัย (Commensalism) ใชัสัญลักษณ์แทนด้วย +, 0

    หมายถึง ลักษณะการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

    ได้รับประโยชน์ ส่วนอีกฝ่ายไม่ได้เสียผลประโยชน์

    3.ภาวะที่ต้องพึ่งพา (Mutualism) ใช้สัญลักษณ์แทนด้วย +, +

    หมายถึง ลักษณ์การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต โดยต่างฝ่ายต่าง

    ได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน

    4.ภาวะมีปรสิต (Parasitism) ใช้สัญลักษณ์ แทนด้วย + , - หมาย

    ถึง ลักษณะการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตโดยฝ่ายหนึ่งจะแย่งหรือ

    เกาะกินอาหารจากสิ่งมีชีวิตอีกฝ่ายหนึ่ง

    - สิ่งมีชีวิตที่เกาะแย่งอาหารเขากิน เรียกว่า ปรสิต

    - ฝ่ายที่เสียประโยชน์ หรือสิ่งมีชีวิตที่ปรสิตอาศัยอยู่เรียกว่า

    ผู้ถูกอาศัย (host)

    5. การได้ประโยชน์ร่วมกัน (Protocoperation) ใช้สัญลักษณ์

    แทนด้วย + , + หมายถึง ลักษณะการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต

    (ไม่จำเป็นต้องอยู่ร่วมกันตลอดไป) โดยต่างฝ่ายต่างได้รับ

    ประโยชน์ร่วมกัน

    6.การแก่งแย่งกัน (Competition) ใช้สัญลักษณ์แทน -, - หมาย

    ถึงการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต โดยมีการแก่งแย่งกันตลอดเวลา

    ทำให้ต่างฝ่ายต่างเสียประโยชน์

    7. ภาวะการทำลายล้าง หรือการหลั่งสารยับยั้ง (Antibiosis)

    ใช้ลัญลักษณ์ 0, - หมายถึงลักษณะการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต

    2 ชนิด โดยฝ่ายหนึ่งจะหลั่งสารเคมีออกมายับยั้งการเจริญ

    เติบโต หรือทำลายสิ่งมีชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งได้โดยที่ตัวเองไม่ได้

    และไม่เสียประโยชน์

    สรุปลักษณะการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต(symbiosis)

    แบบต่าง ๆ ดังนี้

    1. ลักษณะการอยู่ร่วมกัน : แบบภาวะที่ต้องพึ่งพา (Mutualism)

    เมื่ออยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด : สิ่งมีชีวิต 1(+) ,สิ่งมีชีวิต 2 (+)

    เมื่อแยกจากกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด :สิ่งมีชีวิต 1(-),สิ่งมีชีวิต 2 (-)

    ลักษณะของความสัมพันธ์ : ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ไม่แยก

    จากกัน เช่น โปรโตซัวในลำไส้ปลวก

    2. ลักษณะการอยู่ร่วมกัน : แบบได้รับประโยชน์ร่วมกัน

    (Protocooperation)

    เมื่ออยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด :สิ่งมีชีวิต 1(+) ,สิ่งมีชีวิต 2 (+)

    เมื่อแยกจากกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด :สิ่งมีชีวิต 1(0),สิ่งมีชีวิต 2 (0)

    ลักษณะของความสัมพันธ์ : ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์

    แต่สามารถแยกกันได้ ไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันตลอด

    3. ลักษณะการอยู่ร่วมกัน : แบบภาวะที่มีการเกื้อกูล

    (Commensalism)

    เมื่ออยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด : สิ่งมีชีวิต 1(+) ,สิ่งมีชีวิต 2 (0)

    เมื่อแยกจากกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด :สิ่งมีชีวิต 1(-),สิ่งมีชีวิต 2 (0)

    ลักษณะของความสัมพันธ์ : สิ่งมีชีวิต 1 ได้รับประโยชน์ ถ้าแยก

    กันสิ่งมีชีวิต 1 จะเสียประโยชน์ เช่น เหาฉลามกับปลาฉลาม

    4. ลักษณะการอยู่ร่วมกัน : แบบภาวะมีการย่อยสลาย

    (Saprophytism)

    เมื่ออยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด :สิ่งมีชีวิต 1(+) ,สิ่งมีชีวิต 2 (0)

    เมื่อแยกจากกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด :สิ่งมีชีวิต 1(-),สิ่งมีชีวิต 2 (0)

    ลักษณะของความสัมพันธ์ : สิ่งมีชีวิต 1 ย่อยสลายสิ่งมีชีวิต 2

    ให้เน่าเปื่อยผุพัง ถ้าแยกกันฝ่าย 1 จะเสียประโยชน์

    5. ลักษณะการอยู่ร่วมกัน : แบบล่าเหยื่อ(Predation)

    เมื่ออยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด :สิ่งมีชีวิต 1(+) ,สิ่งมีชีวิต 2 (-)

    เมื่อแยกจากกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด :สิ่งมีชีวิต 1(-),สิ่งมีชีวิต 2 (0)

    ลักษณะของความสัมพันธ์ : สิ่งมีชีวิต 1 จะกัดกินสิ่งมีชีวิต 2 เป็น

    อาหารและตายในทันที

    6. ลักษณะการอยู่ร่วมกัน : แบบภาวะปรสิต (Parasitism)

    เมื่ออยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด :สิ่งมีชีวิต 1(+) ,สิ่งมีชีวิต 2 (-)

    เมื่อแยกจากกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด :สิ่งมีชีวิต 1(-),สิ่งมีชีวิต 2 (0)

    ลักษณะของความสัมพันธ์ : สิ่งมีชีวิต 1 จะเกาะแย่งเกาะดูดสิ่งมี

    ชีวิต 2 จึงทำให้เดือดร้อน

    7. ลักษณะการอยู่ร่วมกัน : แบบภาวะการแก่งแย่งแข่งขัน

    (Competition)

    เมื่ออยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด :สิ่งมีชีวิต 1(-) ,สิ่งมีชีวิต 2 (-)

    เมื่อแยกจากกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด :สิ่งมีชีวิต 1(0),สิ่งมีชีวิต 2 (0)

    ลักษณะของความสัมพันธ์ : ต่างฝ่ายต่างเสียประโยชน์เมื่อแยก

    จากกันจะไม่มีผล เช่น นกแร้งแย่งกันกินซากสัตว์

    8. ลักษณะการอยู่ร่วมกัน : แบบภาวะการหลั่งสารยับยั้ง (Antibiosis)

    เมื่ออยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด :สิ่งมีชีวิต 1(0) ,สิ่งมีชีวิต 2 (-)

    เมื่อแยกจากกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด :สิ่งมีชีวิต 1(0),สิ่งมีชีวิต 2 (0)

    ลักษณะของความสัมพันธ์ : สิ่งมีชีวิต 1 หลั่งสารออกมายับยั้ง

    หรือทำลายสิ่งมีชีวิต 2 (จึงเสียประโยชน์)

    9. ลักษณะการอยู่ร่วมกัน : แบบภาวะการกระทบกระเทือน

    (Amensalism)

    เมื่ออยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด :สิ่งมีชีวิต 1(0) ,สิ่งมีชีวิต 2 (-)

    เมื่อแยกจากกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด :สิ่งมีชีวิต 1(0),สิ่งมีชีวิต 2 (0)

    ลักษณะของความสัมพันธ์ : สิ่งมีชีวิต 1 ไปมีผลกระทบกระเทือน

    สิ่งมีชีวิต 2 เช่น ต้นหญ้าใต้ต้นไม้ใหญ่

    10. ลักษณะการอยู่ร่วมกัน : แบบภาวะไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์

    (Neutralism)

    เมื่ออยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด :สิ่งมีชีวิต 1(0) ,สิ่งมีชีวิต 2 (0)

    เมื่อแยกจากกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด :สิ่งมีชีวิต 1(0),สิ่งมีชีวิต 2 (0)

    ลักษณะของความสัมพันธ์ : เป็นการอยู่ร่วมกันในธรรมชาติ ไม่ยุ่ง

    เกี่ยวกัน

    ความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศแบ่งออกเป็น

    2 ระดับ คือ

    1.ห่วงโซ่อาหาร (Food chain) หมายถึง กระบวนการถ่ายทอด

    พลังงานในรูปของอาหารเป็นลำดับขั้นจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยัง

    สิ่งมีชีวิตอีกหนึ่งโดยการกินกันเป็นทอด ๆ

    ห่วงโซ่อาหาร (Food chain) แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ

    1.ห่วงโซ่อาหารแบบบริโภค (Grazing food chain) หมายถึง

    ห่วงโซ่อาหารที่มีการกินกันเป็นทอด ๆ ซึ่งเริ่มจากพืช (ผู้ผลิต)

    ไปยังสัตว์

    2. ห่วงโซ่อาหารแบบย่อยสลาย (Detritus food chain)

    หมายถึงห่วงโซ่อาหารที่ซากพืชและสัตว์ถูกย่อยสลายให้เน่า

    เปื่อยผุพัง

    3. ห่วงโซ่อาหารแบบปรสิต หมายถึง ห่วงโซ่อาหารที่มีสิ่งมี

    ชีวิตพวกปรสิตมาอยู่ร่วมด้วย และทำให้เกิดการถ่ายทอดพลังงาน

    จากผู้ถูกอาศัย (host) ไปยังปรสิตนั้น

    การขยายทางชีวภาพ (Biological mgnification) หมายถึง การ

    เพิ่มสะสมของปริมาณสารพิษ (DDT) ตะกั่ว ปรอท คัสเมียม

    ที่ถ่ายทอดไปในห่วงโซ่อาหารในปริมาณที่สูงขึ้นตามลำดับ

    สายใยอาหาร (Food webs) หมายถึง ความสัมพันธ์ของ food

    chain ต่าง ๆ หลาย ๆ ชนิด ในชุมชนหนึ่ง ๆ

    สมดุลธรรมชาติ

    1. การถ่ายทอดสาร มีทั้งแบบ เป็นวัฏจักร และไม่เป็นวัฏจักร

    การถ่ายทอดพลังงาน จะเป็นแบบไม่เป็นวัฏจักร เท่านั้น

    2. วัฏจักรที่ไม่หมุนเวียนสู่บรรยากาศ เช่นวัฏจักร Ca ,วัฏจักรของ P

    3. วัฏจักรของไนโตรเจน

    1. Nitrogen fixing bacteria เช่น Rhizobium

    2. Ammonifying bacteria

    3. Nitrifying bacteria เช่น Nitrosomonas Nitrobacter

    4. Denitfirying bacteria (NH3 , NO2 , NO3 à N2) เช่น

    Micrococcus

    4. สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับ Nitrogen fixation

    1. แบคทีเรีย พวกดำรงชีวิตอิสระในดินชื่อ Azotobacter

    2. แบคทีเรีย ในปมรากถั่วชื่อ Rhizobium

    3. สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Anabaena, Nostoc, Oscillatoria

    5. วัฏจักรที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดมลภาวะของน้ำ (water pollution)

    คือวัฏจักร N2, P

    6. วัฏจักรของ S เป็นวัฏจักร - แบบไม่สมบูรณ์ (โปรตีน)

    - แบบสมบูรณ์ ---> SO2 , H2S

    สภาวะแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

    มลพิษ (Pollution) หมายถึง พิษที่เกิดจากความสกปรก ซึ่งก่อให้

    เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมหรือเป็นพิษเป็นภัยต่อสิ่งมีชีวิตใน

    ระบบนิเวศ

    ภาวะน้ำเสีย (Water pollution)

    1. DO ต่ำ [Do<3 ppm. น้ำเสีย]

    2. BOD สูง [BOD > 100 mg/ลิตร น้ำเสีย]

    3. pH ต่ำ [pH< 5 น้ำเสีย]

    4. อุณหภูมิสูงกว่า400C น้ำเสีย

    5. คราบน้ำมันเกิน 5 มิลลิกรัม/ลิตร น้ำเสีย

    6. ฟอสเฟตสูงเกิน 15 ppm. น้ำเสีย

    7. มีสารพิษ (ปรอทเกิน 0.005 mg/l ตะกั่วเกิน 0.2 mg/l

    แคดเมียมเกิน 0.03 mg/l และสารหนูเกิน 0.25 mg/l

    8. มีเชื้อโรค

    9. มีกลิ่นเหม็น สีคล้ำ ขุ่น

     

    บทบาทของแบคทีเรียต่อคุณภาพของน้ำ

    กลิ่นเหม็นในน้ำเน่าเกิดจาก สารอะมีน และก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟต์

    (H2S) สีดำของน้ำคลำเกิดจากสารประกอบซัลไฟต์ของโลหะหนัก

    เช่น เหล็ก ซึ่งตัวการทำให้น้ำเสียคือ aerobic bacteria ส่วนตัวการที่

    ทำให้น้ำมีกลิ่นเหม็น คือ anaerobic bacterial

    ภาวะฝนกรด มีสาเหตุเกิจาก ก๊าซ SO2 และ NO2 ทำให้น้ำฝน

    มี ประมาณ 4.5 - 5.7 มีผลต่อ การเจริญของพืช ต้นอ่อน ปลาตาย

    โลหะผุกร่อนยางเปื่อยยุ่ย

    สารกัมมันตรังสีและปริมาณที่ร่างกายได้รับ

    อนุภาคของโลหะต่อภาวะของอากาศ

    ตะกั่ว เช่น โรงงานแบตเตอรี่ สี พลาสติก ยาฆ่าแมลง กลั่นน้ำมัน

    สาเหตุของโรค ตกเลือด ตาบอด อัมพาต โลหิตจาง เซลล์สมอง

    ถูกทำลาย

    ปรอท เช่น โรงงานผลิตเครื่องสำอาง อุปกรณ์เคมี

    สาเหตุของโรค กล้ามเนื้อแขนขาเกร็งผิดรูป ปวดกล้ามเนื้อ (มินา

    มาตะ)

    แคดเมียม เช่น โรงงานผลิตยางรถยนต์ พลาสติก สี ปุ๋ย แบตเตอรี่

    สาเหตุของโรค กระดูกกร่อน ผุ หักง่าย เจ็บปวดกระดูก ท่อไตถูก

    ทำลาย (อิไต - อิไต)

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×