ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ภาษาตามโพร โอโห้...ปักษ์ใต้

    ลำดับตอนที่ #7 : มารู้จักคำศัพท์ภาษาตามโพรกันเถอะ ! (หมวด ฉ)

    • อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 54


    หมวด ฉ

    ฉอย,  ขอย (ก.)  สอย ให้ร่วงลงมา     ภาษาสงขลา-คลองหอยโข่ง จะเรียกไม้
             ที่ใช้สอยผลไม้ ว่า
    ไม้ฉอย หรือไม้ขอย  

    ฉ็อง  (.) คำภาษาใต้ ใช้อธิบายลักษณะ กลิ่นที่รุนแรง เช่น กลิ่นแมงดา หรือ
            กลิ่นฉี่
    "เหม็น ฉ็อง เยี่ยว"   =  เหม็นกลิ่นฉี่

    ฉัด  ( ออกเสียงเป็น ชัด )  (ก.)  เตะ    (ใช้หลังเท้าเตะ)
            ในถิ่นใต้บางแห่ง(เช่น สุราษฎร์ฯ) จะใช้คำว่า เท้า
    ( ออกเสียงเป็น ท่าว )
            ในความหมายเดียวกัน

    ฉับโผง  (น.) ปืนเด็กเล่น ของคนไทยถิ่นใต้  ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ป่า และใช้
            ลูกพลา เป็นกระสุนยิง

    ฉาด ( ออกเสียงเป็น ช้า )  (.)ไม่เหลืออะไร
           
     " แหม็ดฉาด "  =  หมด ไม่เหลืออะไรเลย
            
    " เกลี้ยงฉาด " =   หมดเกลี้ยง ไม่เหลืออะไร

    ฉาน (ออกเสียงเป็น ช้าน) (ส.ผม (คำใช้แทนตัวเอง - สรรพนามบุรุษที่ 1)
              ปัจจุบันคำนี้ มีคนพูดน้อยมาก  จะมีบ้างก็มักจะเป็นผู้สูงอายุ

    ฉ่าน   เป็นคำที่ใช้ในความหมาย ตอบรับว่า   ถูกแล้ว  ใช่แล้ว   ครับ

    ฉาบ ( ออกเสียงเป็น ช้าบ ) (ว.)  เกือบ    
            
    " ฉาบหล่น "  = เกือบหล่น   
             
    " ฉาบตาย "   = เกือบตาย

    ฉาวหลาว  (ว.) โหวกเหวก,  อีงหมี่
            คำนี้ ในภาษาไทยถิ่นใต้ดั้งเดิม เป็นคำขยายความ ใช้ประกอบกับคำว่า
            เสียง เป็น   เ
    สียงดัง ฉาวหลาว

    ฉ้าย  (ก.)  บอกใบ้      " ฉ้ายเบอร์ "  = ใบ้หวย

    ฉิ้งฉ้าย  (ก.)  อะลุ่มอล่วย,  ออมชอม ( เพื่อให้งานเสร็จสิ้นไปก่อน )

    ฉี  (ออกเสียงเป็น ชี้) (จ.),  (น.) พี่สาว (เป็นคำที่มาจากภาษาจีน ใช้ในกลุ่มคน
         ไทยถิ่นใต้ที่มีเชื้อสายจีน  เช่น ชาวเกาะยอ , ชาวท่าจีน, ชาวคูเต่า )
         
    " ฉีเหี้ยง บ้านคูเต่า "   ความหมายคือ  พี่เหี้ยง หรือ   เจ้เฮียง บ้านคูเต่า

    ฉีกเหงือก  (ออกเสียงเป็น ชีก เฮือก) (ก.) ดันทุรัง, ไม่ทำตามสั่ง

    ฉีด,  ผักฉีด (ออกเสียงเป็น ชีด,  พัก ชีด )   (น.) กระเฉด,   ผักกระเฉด

    ฉุก ( ออกเสียงเป็น ชุก )  (ก.)   ยุ   มักใช้กับหมา
             
    " ฉุก หมาให้ยิกฮัว "  =  ยุหมาให้ไล่วัว

    ฉุกหุก  (ว.)  ฉุกละหุก

    ฉู้ด      (ก.)  กระฉูด  กระเด็น กระเซ็น
             
    " น้ำฉู้ดใส่ " = น้ำกระเซ็นใส่

    เฉียง (ออกเสียงเป็น เชี้ยง)(ก.)จาม, ฟันด้วยมีดใหญ่ (ขวาน, พร้า )ในภาษา
           ไทยถิ่นใต้ คำว่า เฉียง จะใช้ในความหมาย การฟันลงตรงๆ  เท่านั้น
             
    " ใช้ขวานเฉียง "  = ใช้ขวานจาม
             
    " ขวานเฉียงฟืน " = ขวานที่ใช้ผ่าฟืน
             
    " ดานเฉียง "  เขียง (ไม้กระดานที่ใช้รองการสับ หั่น)

    แฉ้   (ก.)  ่อน,  ขว้างออกไปในแนวระนาบ  มักใช้กับสิ่งของ รูปทรงแบนๆ เช่น
            จาน,   กระเบื้อง
          
    " แฉ้เบื้องให้เฉียดน้ำ "  ร่อน(เศษ)กระเบื้อง(มุงหลังคา) ให้แฉลบน้ำ


    แฉกแวก ฉายวาย  (ว.) ยุ่งเหยิง แตกแยก ระสำระสาย รวมกันไม่ติด
          
    "หวางนี้ ชายแดนปักษ์ใต้ แฉกแวก ฉายวาย หมดแล้ว"
           เดี๋ยวนี้ ชายแดนปักษ์ใต้ มีแต่ความแตกแยก รวมกันไม่ติด (ความสงบที่
           เคยมี หมดสิ้นแล้ว)

    แฉง  (น.) กะบัง  ส่วนของด้ามมีด/ด้ามดาบ กะบังไม่ให้ถูกมือ
                
    "แฉงไฟ "= กะบังไฟ หรืออุปกรณ์ที่บังไม่ให้ไฟส่องกลับมายังผู้ถือ

    แฉ็ง  (ก.) เปิดออก แล้วปิด
            
    " แฉ็งไข "  กริยาของเด็กชายที่ซุกซน เล่นกับอวัยวะเพศ
           
    " ไอ้บ่าว มึงอย่าแฉ็งไฟเล่น เดี่ยวถ่านหมด " = ไอ้หนูเอ็งอย่า เปิด ปิด
    ไฟฉายเล่นเดี่ยวถ่าน
    (ไฟฉาย) หมด

    โฉ้    (.)  ไม่ชัดเจน ไม่แน่ใจ ว่าเป็นอะไร  ( ใช้ในการขยายความคำถาม)
          
      " ไอไหรโฉ้ " = อะไรก็ไม่รู้
            
    " ใครโฉ้ ยืนอยู่หลังบ้าน "   =  ใครก็ไม่รู้ ยืนอยู่หลังบ้าน
            
    "  รู้สึกผรื่อโฉ้  รู้สึกอย่างไรก็ไม่รู้ ( รู้สึกไม่ค่อยจะปกติ แต่ไม่รู้ว่า
    เป็นอะไร )

     


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×