ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เปิดรั้วโรงเรียนครู "คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

    ลำดับตอนที่ #5 : การคัดเลือกนิสิตเข้าสังกัดสาขาวิชา ปีการศึกษา 2555 [ตอนสำคัญ]

    • อัปเดตล่าสุด 12 เม.ย. 55



    การคัดเลือกนิสิตเข้าสังกัดสาขาวิชา
    คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย




    สาขาวิชาทั้งหมด 


    คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการศึกษาในระดับปริญญาตรี โดยแบ่งเป็น 10 สาขาวิชา ดังนี้
    1. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
    2. สาขาวิชาประถมศึกษา
    3. สาขาวิชามัธยมศึกษา
        - วิทยาศาสตร์
        - มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์
    4. สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน
    5. สาขาวิชาธุรกิจศึกษา
    6. สาขาวิชาศิลปศึกษา
    7. สาขาวิชาดนตรีศึกษา
    8. สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
    9. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
    10. สาขาจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ


    สาขาวิชากับวิชาเอกไม่เหมือนกัน
    สาขาวิชา เป็นสังกัดของนิสิตภายในคณะครุศาสตร์  ซึ่งจำแนกนิสิตทั้งหมดของคณะครุศาสตร์เข้าเป็นสังกัดย่อยๆ ไม่ได้หมายถึงวิชาเอกที่จะเข้าศึกษา เพราะแต่ละสาขาวิชาจะข้อกำหนดในการเลือกเรียนวิชาเอกที่หลากหลายรูปแบบ และแตกต่างกันออกไปในแต่ละสาขาวิชา (รายละเอียดในบทความตอนที่ 6

    วิชาเอก เป็นกลุ่มวิชาที่เน้นของนิสิตที่เลือกศึกษาตามความถนัดและความสนใจ โดยถือเป็นส่วนย่อยของสาขาวิชา โดยวิชาเอกจะเป็นแนวทางในการประกอบวิชาชีพครูของนิสิตในอนาคต


    สรุป คือ สาขาวิชาเป็นสังกัดย่อยของนิสิตในคณะ แต่วิชาเอกเป็นการเรียนในหมวดวิชาที่เน้นของนิสิตครู ทั้งนี้คณะครุศาสตร์กำหนดให้หลายสาขาวิชาเรียนวิชาเอกคู่ คือ เรียนได้ 2 วิชาเอก ซึ่งต้องเลือกวิชาเอกของสาขาวิชา 1 วิชา แล้วเลือกอีก 1 วิชาเอกที่สามารถเลือกข้ามสาขาวิชาได้ ดังนั้นวิชาเอกของคณะครุศาสตร์จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับชื่อสาขาวิชา


    วิธีอ่านบทความนี้ให้เข้าใจ
    1. น้องศึกษารูปแบบการคัดเลือกของสาขาวิชา เพื่อให้ทราบว่าสาขาวิชาแบ่งเป็นรูปแบบใดบ้าง และสัมพันธ์กับการสอบคัดเลือกเข้าคณะครุศาสตร์อย่างไร
    2. ขั้นที่ 1 จะทำให้น้องรู้จักรูปแบบรับรวมในการสอบคัดเลือกเข้าคณะครุศาสตร์ ดังนั้นต่อไปน้องต้องศึกษาแนวทางการรับรวม เพื่อให้เข้าใจกระจ่างถึงการเลือกสาขาวิชาในคณะครุศาสตร์
    3. น้องศึกษาขั้นตอนการคัดเลือก ลักษณะการคัดเลือก และเกณฑ์การคัดเลือก เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการคัดเลือกสังกัดสาขาวิชาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
    4. เฉพาะน้องที่สนใจเข้าสาขาวิชาที่เป็นรูปแบบรับรวม น้องต้องศึกษาข้อมูลการคัดเลือกเข้าสังกัดสาขาวิชาทั้งหมด โดยจำเป็นต้องทราบก่อนว่ารูปแบบการเข้าศึกษาต่อคณะครุศาสตร์ในระบบและรูปแบบต่างๆ มีผลอย่างยิ่งต่อการเลือกสาขาวิชา
    5. น้องศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมท้ายบทความ เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น
    6. น้องอ่านบทความที่ 6 เรื่อง การคัดเลือกนิสิตเข้าเรียนในวิชาเอก ต่อ เพื่อให้ทราบว่าเมื่อสังกัดสาขาวิชานี้แล้ว น้องจะมีแนวทางเลือกเรียนวิชาเอกต่างๆ อย่างไร




    รูปแบบการคัดเลือก


    1. รูปแบบรับรวมในระบบแอดมิชชันส์ หมายถึง การรับนิสิตในระบบแอดมิชชั่นส์ที่ไม่แยกสาขาวิชาตั้งแต่แรกเข้า ซึ่งสาขาวิชาในรูปแบบรับรวมมักจะเป็นสาขาวิชาที่สามารถเลือกเรียนได้ 2 วิชาเอก (วิชาเอกคู่) โดยบังคับเลือก 1 วิชาเอกในสาขาวิชาที่สังกัด และอีก 1 วิชาเอกสามารถเลือกวิชาเอกนอกสาขาวิชาที่ตนเองสังกัดได้ จึงไม่สามารถรับแยกเป็นสาขาวิชาในระบบแอดมิชชั่นส์ เพราะชื่อสาขาวิชาไม่ได้ระบุวิชาเอกเฉพาะเจาะจง นิสิตสามารถเลือกวิชาเอกที่หลากหลาย จึงต้องรับเป็นรูปแบบรับรวม แล้วแนะแนวรูปแบบการเลือกวิชาเอกให้นิสิตใหม่เข้าใจ จึงจะเลือกสังกัดสาขาวิชาที่ตรงกับความต้องการของนิสิต
         การแยกสาขาวิชาภายหลังที่เข้ามาเป็นนิสิตใหม่ของคณะแล้ว โดยทางคณะจะจัดให้มีการอบรมแนะแนวลักษณะการเรียนของแต่ละสาขาวิชา เพื่อให้นิสิตตัดสินใจเลือกสาขาวิชาที่เหมาะกับความถนัดของตนเอง โดยจะดำเนินการคัดเลือกในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2555 ซึ่งจะแยกเป็น 4 สาขาวิชา ได้แก่
        1. สาขาวิชามัธยมศึกษา (ส่วนหนึ่ง)
            - วิทยาศาสตร์
            - มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์
        2. สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน
        3. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
        4. สาขาจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ

    รูปแบบรับรวมในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อตั้งแต่ปีการศึกษา 2555
    ระบบแอดมิชชั่นส์
    รหัสคณะ 0036 คณะครุศาสตร์


    2. รูปแบบรับแยกสาขาวิชาเสร็จสิ้นแล้วในระบบรับตรงและระบบแอดมิชชั่นส์ หมายถึง สาขาวิชาที่รับแยกมาตั้งแต่การคัดเลือกในระบบรับตรงแบบปกติ ระบบรับตรงแบบพิเศษ และระบบแอดมิชชั่นส์ ซึ่งจะไม่มีการคัดเลือกภายหลังอีก โดยสาขาวิชาเหล่านี้มักจะมีวิชาเอกเฉพาะเจาะจงประจำสาขาวิชาที่บังคับให้นิสิตเรียน โดยไม่สามารถเลือกวิชาเอกนอกสาขาวิชาได้ (แตกต่างจากรูปแบบรับรวม) ได้แก่
       - รับตรง
         1. สาขาวิชามัธยมศึกษา (ส่วนหนึ่ง)
            - วิทยาศาสตร์
            - มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์
          2. สาขาวิชาศิลปศึกษา
          3. สาขาวิชาดนตรีศึกษา
          4. สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
       - แอดมิชชั่นส์
          1. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
          2. สาขาวิชาประถมศึกษา
          3. สาขาวิชาธุรกิจศึกษา

    รูปแบบรับแยกสาขาวิชาในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อตั้งแต่ปีการศึกษา 2555
    1. ระบบรับตรงแบบปกติ
        - รหัสคณะ จฬ 039-041 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์)
          [039 เลือกสอบวิชาฟิสิกส์ / 040 เลือกสอบวิชาเคมี / 041 เลือกสอบวิชาชีววิทยา]
        - รหัสคณะ จฬ 042-045 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์)
          [042 เลือกสอบวิชาภาษาไทย / 043 เลือกสอบวิชาสังคมศึกษา / 044 เลือกสอบวิชาความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส / 045 วิชาเอกภาษาเยอรมัน]
    2. ระบบรับตรงแบบพิเศษ
        - โครงการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษา
        -
    โครงการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา
        -
    โครงการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
        - โครงการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษระดับชาติทางศิลปะเข้าศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา
        - โครงการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษระดับชาติทางกีฬาเข้าศึกษาสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
        - โครงการรับสมัครนักเรียนจากชนบท (จุฬาฯ ชนบท) สำหรับนักเรียน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (โรงเรียนอิสลามปอเนาะ)

    3. ระบบแอดมิชชั่นส์
        - รหัสคณะ 0037 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
        - รหัสคณะ 0038
    คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาประถมศึกษา
        - รหัสคณะ 0039 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาธุรกิจศึกษา

    เงื่อนไขในการรับเข้าศึกษา
    เมื่อเข้าศึกษาจะไม่สามารถเปลี่ยนสาขาวิชาได้

     


    เหตุผลของการการรับรวม

    1. สาขาวิชารูปแบบรับรวมสามารถเรียนได้ 2 วิชาเอก (วิชาเอกคู่) และสามารถข้ามไปเลือก 1 วิชาเอกของสาขาวิชาอื่นได้ ได้แก่สาขาวิชามัธยมศึกษา การศึกษานอกระบบโรงเรียน เทคโนโลยีการศึกษา และจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ  ดังนั้นชื่อสาขาวิชาจึงไม่ได้หมายถึงตัววิชาเอกที่นิสิตต้องเรียนทั้งหมด ไม่ว่าจะสังกัดสาขาวิชาไหนในรูปแบบรับรวมก็สามารถเลือกเรียนกลุ่มวิชาเอกต่างๆ ของแต่ละสาขาวิชาในรูปแบบรับรวมได้

    2. สาขาวิชารูปแบบรับรวมมีแนวทางการเลือกเรียนวิชาเอกที่หลากหลาย
    ได้แก่
        - สาขาวิชามัธยมศึกษา เลือกเรียน 1 วิชาเอกเดี่ยว หรือ 2 วิชาเอก (วิชาเอกคู่) ก็ได้ จะเลือกวิชาเอกของสาขาวิชาเพียงอย่างเดียว หรือข้ามไปเลือกอีก 1 วิชาเอกของสาขาวิชาในรูปแบบรับรวมอื่นๆ ได้
        - สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน บังคับเรียนวิชาเอกคู่ โดยบังคับเลือก
          1. วิชาเอกของสาขาวิชา คือ วิชาเอกการศึกษานอกระบบโรงเรียน
          2. วิชาเอกเลือกนอกสาขาวิชา คือ เลือก
    อีก 1 วิชาเอกของสาขาวิชาในรูปแบบรับรวมอื่นๆ
        - สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บังคับเรียนวิชาเอกคู่ โดยบังคับให้เลือก
          1. วิชาเอกของสาขาวิชา คือ เลือก 1 วิชาเอกระหว่าง วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา หรือวิชาเอกคอมพิวเตอร์การศึกษา
          2. วิชาเอกเลือกนอกสาขาวิชา คือ เลือกอีก 1 วิชาเอกของสาขาวิชาในรูปแบบรับรวมอื่นๆ
        - สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ บังคับเรียนวิชาเอกคู่ โดยบังคับให้เลือกระหว่าง
          1. วิชาเอกของสาขาวิชา คือ เลือก 1 วิชาเอกระหว่าง วิชาเอกจิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนว หรือวิชาเอกการศึกษาพิเศษ
          2. วิชาเอกเลือกนอกสาขาวิชา คือ เลือกอีก 1 วิชาเอกของสาขาวิชาในรูปแบบรับรวมอื่นๆ

    3. คณะต้องการจัดการแนะแนวการเลือกสังกัดสาขาวิชาให้นิสิตใหม่มีความรู้ความเข้าใจในวิธีการเลือกเรียนวิชาเอกของ 4 สาขาวิชารูปแบบรับรวมก่อน จึงไม่รับ 4 สาขาวิชานี้แยกในระบบแอดมิชชั่นส์ เพราะการดูจากชื่อสาขาวิชาในรูปแบบรับรวมไม่ได้ระบุวิชาเอกเฉพาะให้ศึกษาเหมือนสาขาวิชาอื่นๆ สามารถเลือกวิชาเอกได้หลากหลาย ทำให้นักเรียนยังมีความเข้าใจไม่เพียงพอ รวมทั้งต้องการให้นิสิตใหม่รู้จักวิชาเอกต่อไปนี้ให้ดีก่อนว่าตนเองสนใจวิชาเอกเหล่านี้มากขึ้นหรือไม่หลังจากที่รู้ขอบเขตการศึกษาที่แท้จริงแล้ว ได้แก่ วิชาเอกการศึกษานอกระบบโรงเรียน เทคโนโลยีการศึกษา คอมพิวเตอร์การศึกษา จิตวิทยาการศึกษาและแนะแนว และการศึกษาพิเศษ

    4. ป้องการการย้ายสาขาวิชาเนื่องมาจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ซึ่งนิสิตใหม่หลายคนยังไม่เข้าใจแนวทางการเลือกวิชาเอกของแต่ละสาขาวิชาในรูปแบบรับรวม รวมถึงเพิ่งหันมาสนใจบางวิชาเอกหลังจากเข้าศึกษา ดังนั้นคณะจึงป้องการการย้ายสาขาวิชาที่อาจจะเกิดขึ้นมากหากใช้รูปแบบรับแยกสาขาวิชาตั้งแต่แรกเข้าทุกสาขาวิชา ซึ่งต้องทำหลายขั้นตอนยุ่งยาก ใช้เวลานาน และไม่สามารถย้ายได้ทุกกรณี คณะจึงใช้รูปแบบรับรวมเข้าศึกษามาก่อน แล้วจัดการแนะแนวการเลือกสังกัดสาขาวิชาให้นิสิตใหม่เข้าใจวิธีการเรียนในสาขาวิชารูปแบบรับรวมให้มากขึ้น 


    ความคิดที่ผิดเกี่ยวกับการใช้รูปแบบรับรวมแรกเข้าแล้วจึงแยกสาขาวิชาภายหลัง

    1. "ครุศาสตร์ จุฬาฯ ใช้รูปแบบรับรวมเพื่อตัดคะแนนให้สูงเพื่อให้ได้เด็กเก่งเข้ามาก่อน แล้วเลือกสาขาวิชา"
        ความคิดนี้เป็นการตัดสินในมุมมองที่แคบ ขาดการมองเหตุผลระยะยาว และไม่ได้มองถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริง หลายคณะของจุฬาฯ ใช้รูปแบบรับรวม เพราะอยากให้นิสิตใหม่รับทราบข้อมูลการศึกษาเพียงพอต่อการตัดสินใจ ซึ่งสามารถเลือกสาขาวิชาที่ตนเองถนัดและชอบจริงๆ โดยไม่ต้องมาทำเรื่องย้ายสาขาวิชาให้วุ่นวายภายหลัง ในบางสถาบันที่แยกรับสาขาวิชาตั้งแต่แรกเข้ามีปัญหาว่านิสิตนักศึกษาขอย้ายสาขาวิชาภายหลัง เนื่องจากเพิ่งทราบว่าการเรียนในสาขาวิชานั้นไม่เป็นไปตามที่ตนเองคิด หรือหันมาสนใจสาขาวิชาอื่นในภายหลัง และบางสถาบันไม่อนุญาตให้ย้ายสาขาวิชา จึงเกิดปัญหาเด็กซิ่วตามมา ดังนั้นคณะครุศาสตร์จึงให้คณาจารย์และพี่ๆ นิสิตจะช่วยกันให้ข้อมูลแนะแนวให้น้องตัดสินใจให้ถูกต้องก่อนเลือกสังกัดสาขาวิชา ดีกว่าที่เลือกตัดสินเพราะชื่อสาขาวิชา แต่พอเข้ามาเรียนจริงๆ แล้วมันไม่ใช่  ดังนั้นจึงไม่ใช่ว่าคณะอยากได้เด็กเก่ง เพราะ "คะแนนรับตรง หรือแอดมิชชั่นส์ มันไม่ตัดสินไม่ได้เสมอไปว่าน้องเก่งหรือไม่เก่ง" แต่มันใช้เป็นเครื่องมือเพื่อความยุติธรรมที่สุดต่อการคัดเลือก


    2. "หากรับแยกสาขาวิชาและวิชาเอก แล้วคะแนนต่ำสุดน่าจะต่ำลง"
         สมมติว่าเป็นการคัดเลือกแบบว่า เลือกรับตรงหรือแอดมิชชั่นส์แยกสาขาวิชา เช่น คณะครุศาสตร์ สาขาวิชามัธยมศึกษา วิชาเอกภาษาอังกฤษ รับ 20 คน น้องดูสิครับรับแค่ 20 คน คะแนนมันจะสูงแค่ไหน ใช้เพียงคะแนนรับตรงหรือแอดมิชชั่นส์ตัดสินรับคนแค่ 20 คน ซึ่งน้องน่าจะทราบดีว่ามันมาตรฐานเพียงพอหรือไม่ ทั้ง O-Net GAT และ PAT ต้องใช้คะแนนที่เรายังไม่ได้สัมผัสเลยว่าเรียนวิชาเอกนี้เป็นยังไง ไม่มีใครให้ข้อมูลที่เพียงพอจากคณาจารย์ผู้สอน และพี่ๆ ที่มีประสบการณ์ พอน้องๆ 20 คนเข้ามา แล้วมีน้อง 1-2 คนเรียนแล้วไม่ชอบ ก็ต้องย้าย หรือซิ่วไป เสียดายแทนน้องที่มีคะแนนแอดมิชชั่นส์รองลงมาแล้วไม่ได้สาขาวิชาหรือวิชาเอกนี้มากๆ ครับ
          ดังนั้นคณะครุศาสตร์จึงรับรวมมาก่อน การรับรวมเป็นการรับจำนวนมาก เช่น แอดมิชชั่นส์ ปีการศึกษา 2555 รับมาถึง 230 คน  แล้วพอมาแยกสาขาวิชาน้องๆ หลายคนก็พบความสนใจของตนเอง ก็จะเกิดความสนใจที่หลากหลาย ไม่ใช่มุ่งมาเข้ามัธยมศึกษา เพียงคิดว่าตัวเองสอนได้แค่มัธยมศึกษา แต่กลับไม่รู้ว่าเรียนสาขาอื่นก็สอนระดับมัธยมศึกษาได้ และยังได้เรียนศาสตร์การศึกษาที่ตนเองสนใจเพิ่มเติมอีกด้วย คะแนนต่ำสุดของมัธยมศึกษาก็จะลดลงมา พี่ขอยกตัวอย่างสถิติคะแนนการคัดเลือกสาขาวิชาปีการศึกษา 2553 ซึ่งในระบบแอดมิชชั่นส์คะแนนต่ำสุด 19971.3 คะแนน เมื่อใช้คะแนนแอดมิชชั่นส์มาแยกสังกัดสาขาวิชาปรากฏว่า  มัธยมศิลป์ คะแนนต่ำสุด 20194 คะแนน มัธยมวิทย์ คะแนนต่ำสุด 20240 คะแนน ซึ่งหากแยกรับสาขาวิชามัธยมศึกษาพี่เชื่อว่าสาขาวิชานี้คะแนนต่ำสุดสูงกว่า 22,000 แน่นอน ดังนั้นก็เป็นข้อพิสูจน์แล้วว่า หากรับแยกสาขาวิชาหรือวิชาเอก แล้วคะแนนต่ำสุดน่าจะต่ำลง ไม่จริงครับ! รับแยกจำนวนก็จะถูกหั่นลง ก็แข่งขันกันมากขึ้น 


    3. "หากรับแยกสาขาวิชาและวิชาเอก เลือกอะไรก็ได้เรียนตามที่ต้องการ"
         อันนี้จริงครับ พี่ไม่แย้ง แต่ระบบวิชาเอกของคณะครุศาสตร์เป็นแบบวิชาเอกเดี่ยว-เอกคู่ วิชาเอกคู่ในสาขาวิชาที่ใช้รูปแบบรับรวมสามารถเลือกข้ามสาขาวิชาได้ ดังนั้นชื่อสาขาวิชาจึงไม่สามารถระบุชื่อวิชาเอกได้เหมือนสถาบันอื่นที่ใช้ระบบวิชาเอก-โท นอกจากนี้สาขาวิชาหรือวิชาเอกที่น้องสนใจ อยากเรียน แต่พอลองมาสัมผัสจริงๆ กลับรู้สึกไม่ใช่ ไม่ได้ถนัดจริงๆ รู้สึกคิดผิด แล้วมันก็จะแก้ไขอะไรยากนะครับ ดังนั้นต้องทนเรียนให้จบ มิฉะนั้นก็ซิ่ว คณะครุศาสตร์จึงอยากให้น้องมีโอกาสได้ฟังข้อมูลการศึกษา ได้ศึกษาข้อมูลที่ทางคณาจารย์และพี่ๆ สาขาวิชาต่างๆ ร่วมกันแนะแนวให้ข้อมูล แล้วจึงตัดสินใจโดยการมีข้อมูลเพียงพอก่อนเข้าศึกษาดีกว่าครับ

    4. "รับรวมแล้วกลัวไม่ได้เรียนวิชาเอกที่ชอบ"
         อันนี้ก็มีส่วนถูกจริงๆ ครับ เพราะน้องๆ หลายคนต้องใจแน่วแน่ที่จะเรียนวิชาเอกนี้ แต่พอเข้าศึกษาในคณะครุศาสตร์กลับต้องมีการคัดเลือกเข้าวิชาเอกอื่น แต่การวิจัยจากคณาจารย์คณะครุศาสตร์มีผลออกมาว่า นิสิตใหม่กว่า 97% ได้ศึกษาตรงตามวิชาเอกที่สนใจครับ มีแค่บางวิชาเอกที่มีการคัดเลือกเป็นระบบจริงจังและแข่งขันสูง คือ คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ โดยเปิดโอกาสให้นิสิตในรูปแบบรับรวมเตรียมตัวและสอบคัดเลือกด้วยข้อสอบที่มาตรฐานและวัดประเมินได้ดีกว่าข้อสอบโอเน็ตครับ แต่ก็รับในจำนวนมากถึงประมาณ 50 คน  บางสถาบันรับเพียง 20-30 คนเท่านั้น ส่วนวิชาเอกอื่นๆ ยืดหยุ่นมากๆ ครับ ไม่ได้คัดเลือกแบบแข่งขันจริงจัง เพราะเปิดการคัดเลือก 3 รอบ รอบแรกจะคัดเลือกตามความสามารถจริงๆ แต่รอบ 2 นั้นจะรับเพิ่มจนรับได้เกือบทั้งหมด ส่วนรอบ 3 เป็นรอบสุดท้ายคือให้ทดลองศึกษาจนกว่าจะบรรลุเงื่อนไขผลการศึกษาที่คณะกำหนด ในท้ายที่สุดก็ได้เรียนทุกคนนะ
           นอกจากนี้ถ้าน้องศึกษาจริงๆ แล้วก็จะพบว่าไม่ว่าจะเรียนสาขาวิชาไหน ก็เลือกเรียนวิชาเอกได้หลากหลาย เช่น วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา น้องก็ไม่ใช่ว่าจะได้เรียนแต่สื่อ เครื่องมือเกี่ยวกับเทคโนโลยี แต่น้องสามารถข้ามมาเลือกวิชาเอกของสาขาวิชามัธยมศึกษาคู่ร่วมด้วย
           ส่วนการคัดเลือกสาขาวิชานั้นมันไม่ได้แข่งขันดุเดือดอย่างที่น้องคิดเลย นิสิตเกือบทั้งหมดได้เรียนตามสาขาวิชาที่ตนเองสนใจ พี่ยกตัวอย่างการคัดเลือกสาขาวิชาในปีการศึกษา 2553 มีน้องๆ ที่เข้ามาโดยรูปแบบรับรวมจำนวน 423 คน มีน้องที่ได้สาขาวิชาที่เลือกอันดับ 1 ถึง 300 คน ส่วนน้องที่ได้ต่ำกว่าอันดับที่ 3 มีเพียง 25 คน ซึ่งหากไม่ได้เรียนมัธยมศึกษา ก็ไม่ใช่ว่าจะแย่ เพราะมัธยมศึกษาพิเศษแค่เรียนวิชาเอกเดี่ยวได้ แต่ถ้าน้องได้เรียนสาขาวิชาอื่น กลับเป็นเรื่องดีนะครับ เพราะการเรียนวิชาเอกคู่ น้องจะได้ศึกษาเท่ากันทั้ง 2 เอกที่ชอบ เป็นผลดีต่อการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ


    5. "คณะครุศาสตร์ดูคัดเลือกวุ่นวาย เรื่องมาก หลายขั้นตอนจัง"
         อันนี้ก็จริงครับ แต่ทั้งนี้มันก็เพื่อสนองความต้องการของผู้เรียนให้ตรงกับความถนัดมากที่สุดไม่ใช่เหรอครับ ดีแค่ไหนที่เราจะได้รู้แนวการศึกษาก่อนที่จะเรียนจริงๆ ได้รับข้อมูลจากทั้งคณาจารย์ และรุ่นพี่ แน่นอนว่าการตัดสินใจของเราก็จะตรงตามความถนัดและความสนใจของเราจริงๆ ครับ และการเลือกวิชาเอกของนิสิตครุศาสตร์ก็มีให้เลือกหลากหลายตามที่เหมาะสำหรับตัวเอง ไม่ได้บังคับให้เรียนวิชาเอกเดี่ยวทั้งที่เราอาจมีความสนใจมากกว่าหนึ่ง




    ขั้นตอนการคัดเลือก

    รูปแบบรับรวมในระบบแอดมิชชันส์
    1. นิสิตใหม่เข้าฟังการแนะแนวการศึกษาในแต่ละสาขาวิชาจากคณาจารย์ และรุ่นพี่นิสิตในแต่ละสาขาวิชา ซึ่งกิจกรรมนี่จะจัดขึ้นหลังจากน้องๆ เข้ารับการสัมภาษณ์ในระบบแอดมิชชั่นส์ไปแล้ว 2-3 วัน ประมาณช่วงกลางเดือนพฤษภาคม
    2. ยื่นความจำนงเลือกสาขาวิช จำนวน 4 อันดับ (คล้ายกับระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย) โดยจะเขียนลงในเอกสารที่ทางคณะจัดให้รายบุคคล ระยะเวลายื่นความจำนง 1-3 วันหลังจากการแนะแนว
    3. ประกาศผลการคัดเลือกเข้าสังกัดสาขาวิชา จะประกาศก่อนเปิดภาคการศึกษาต้น ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2555


    รูปแบบรับแยกสาขาวิชาในระบบรับตรงและระบบแอดมิชชั่นส์
    การคัดเลือกเสร็จสิ้นตั้งแต่ที่มีสิทธิ์เข้าศึกษาแล้ว นั่นคือได้สังกัดสาขาวิชาที่เข้าศึกษา และมีเงื่อนไขว่า ไม่สามารถเปลี่ยนสาขาวิชาได้อีกหลังเข้าศึกษา

     


    ลักษณะการคัดเลือก


    รูปแบบรับรวมในระบบแอดมิชชันส์
    เมื่อนิสิตใหม่ผ่านการคัดเลือกในระบบแอดมิชชั่นส์ รูปแบบรับรวมเรียบร้อยแล้ว ทางคณะจะแจ้งขั้นตอนการเลือกสังกัดสาขาวิชา และประกาศจำนวนรับของสาขาวิชาต่างๆ นิสิตทราบก่อนเข้ารับการแนะแนวการศึกษาในแต่ละสาขาวิชา 

    ยกตัวอย่าง
    ปีการศึกษา 2555 คณะครุศาสตร์เปิดรับนิสิตในระบบแอดมิชชั่นส์ รหัส 0036 รูปแบบรับรวมทั้งหมด 230 คน รายงานตัวเข้าศึกษาจำนวน 200 คน จึงอาจจะประกาศจำนวนรับของสาขาวิชาต่างๆ ดังนี้
    - มัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) รับ 60 คน
    - มัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) รับ 60 คน
    - การศึกษานอกระบบโรงเรียน รับ 30 คน
    - เทคโนโลยีการศึกษา รับ 25 คน
    - จิตวิทยาการปรึกษาฯ รับ 25 คน


    รูปแบบรับแยกสาขาวิชาในระบบรับตรงและระบบแอดมิชชั่นส์
    ปีการศึกษา 2555 คณะครุศาสตร์เปิดรับนิสิตทั้งในระบบรับตรงและแอดมิชชั่นส์ รูปแบบแยกสาขาวิชาทั้งหมด 346 คน
    - รับตรงแบบปกติ
         สาขาวิชามัธยมศึกษา 
          - วิทยาศาสตร์ จำนวนยอดรับเต็ม 94 คน
          - มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ จำนวนยอดรับเต็ม 33 คน
    - รับตรงแบบพิเศษ
      2. สาขาวิชาศิลปศึกษา จำนวนยอดรับเต็ม 40 คน
      3. สาขาวิชาดนตรีศึกษา จำนวนยอดรับเต็ม 34 คน
      4. สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา จำนวนยอดรับเต็ม 45 คน
    - แอดมิชชั่นส์
      1. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จำนวนยอดรับเต็ม 30 คน
      2. สาขาวิชาประถมศึกษา จำนวนยอดรับเต็ม 40 คน
      2. สาขาวิชาธุรกิจศึกษา จำนวนยอดรับเต็ม 30 คน






    เกณฑ์การคัดเลือก


    รูปแบบรับรวมในระบบแอดมิชชันส์
    ใช้คะแนนแอดมิชชั่นส์ เต็ม 30,000 คะแนน

    รูปแบบรับแยกสาขาวิชาในระบบรับตรงและระบบแอดมิชชั่นส์
    ใช้การคัดเลือกในระบบรับตรงและระบบแอดมิชชั่นส์ตามระบบการประมวลผล




    แนวทางการคัดเลือกนิสิตเข้าสังกัดสาขาวิชา 
    (การคาดการณ์)

    1. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
         - จำนวนรับ ประมาณ 30 คน
         - รูปแบบการเข้าศึกษาของนิสิตที่สามารถเลือกเข้าสาขาวิชานี้ได้
            ระบบแอดมิชชั่นส์ รหัส 0037 (รับแยกสาขาวิชา) 
         - รายละเอียดเพิ่มเติม 
           บทความตอนที่ 13
    CLICK!

    2. สาขาวิชาประถมศึกษา
         - จำนวนรับ ประมาณ 40 คน
         - รูปแบบการเข้าศึกษาของนิสิตที่สามารถเลือกเข้าสาขาวิชานี้ได้
            ระบบแอดมิชชั่นส์ รหัส 0038 (รับแยกสาขาวิชา) 
         - รายละเอียดเพิ่มเติม 
           บทความตอนที่ 14
    CLICK!

    3. สาขาวิชามัธยมศึกษา
        3.1 วิทยาศาสตร์ (กลุ่มวิชาเอกหลักทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์)
                 - จำนวนรับ ประมาณ 90-100 คน
                 - รูปแบบการเข้าศึกษาของนิสิตที่สามารถเลือกเข้าสาขาวิชานี้ได้
                   1. ระบบรับตรงแบบปกติ
                       - จฬ 039 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) เลือกสอบวิชาฟิสิกส์

                       - จฬ 040 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) เลือกสอบวิชาฟิสิกส์
                       - จฬ 041 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) เลือกสอบวิชาฟิสิกส์
                   2. ระบบแอดมิชชั่นส์ รหัส 0036 (รับรวมไม่แยกสาขาวิชา)
                   หมายเหตุ : รับเฉพาะแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ยกเว้นผู้ที่มีความประสงค์จะศึกษาวิชาเอกคณิตศาสตร์สามารถเรียนแผนการเรียนภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ได้
                 - รายละเอียดเพิ่มเติม 
                   บทความตอนที่ 15 CLICK!
        3.2 มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ (กลุ่มวิชาเอกหลักทางภาษาและสังคมศึกษา)
                 - จำนวนรับ ประมาณ 70-80 คน
                 - รูปแบบการเข้าศึกษาของนิสิตที่สามารถเลือกเข้าสาขาวิชานี้ได้
                   1. ระบบรับตรงแบบปกติ
                        - จฬ 042 สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) เลือกสอบวิชาภาษาไทย
                        - จฬ 043 สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) เลือกสอบวิชาสังคมศึกษา
                        - จฬ 044 สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) เลือกสอบวิชาความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
                        - จฬ 045 สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) วิชาเอกภาษาเยอรมัน
                   2. ระบบแอดมิชชั่นส์ รหัส 0036 (รับรวมไม่แยกสาขาวิชา)
                   หมายเหตุ : ไม่จำกัดว่าต้องเรียนแผนการเรียนใดๆ มาก่อน สามารถเรียนได้ทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์
                - รายละเอียดเพิ่มเติม 
                  บทความตอนที่ 16 CLICK!

    4. สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน
         - จำนวนรับ ประมาณ 30 คน
         - รูปแบบการเข้าศึกษาของนิสิตที่สามารถเลือกเข้าสาขาวิชานี้ได้
            ระบบแอดมิชชั่นส์ รหัส 0036 (รับรวมไม่แยกสาขาวิชา) 
         - รายละเอียดเพิ่มเติม 
           บทความตอนที่ 17 CLICK!

    5. สาขาวิชาธุรกิจศึกษา
         - จำนวนรับ ประมาณ 30 คน
         - รูปแบบการเข้าศึกษาของนิสิตที่สามารถเลือกเข้าสาขาวิชานี้ได้
            ระบบแอดมิชชั่นส์ รหัส 0039 (รับแยกสาขาวิชา) 
         - รายละเอียดเพิ่มเติม 
           บทความตอนที่ 18 CLICK!

    6. สาขาวิชาศิลปศึกษา
         - จำนวนรับ ประมาณ 40 คน
         - รูปแบบการเข้าศึกษาของนิสิตที่สามารถเลือกเข้าสาขาวิชานี้ได้
            ระบบรับตรงแบบพิเศษ
            - โครงการรับนักเรียนเข้าศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษา
         - รายละเอียดเพิ่มเติม 
           บทความตอนที่ 19
    CLICK!

    7. สาขาวิชาดนตรีศึกษา
         - จำนวนรับ ประมาณ 30 คน
         - รูปแบบการเข้าศึกษาของนิสิตที่สามารถเลือกเข้าสาขาวิชานี้ได้
            ระบบรับตรงแบบพิเศษ
            - โครงการรับนักเรียนเข้าศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา
            - โครงการรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษระดับชาติทางศิลปะ
         - รายละเอียดเพิ่มเติม 
           บทความตอนที่ 20 CLICK!


    8. สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
         - จำนวนรับ ประมาณ 45 คน
         - รูปแบบการเข้าศึกษาของนิสิตที่สามารถเลือกเข้าสาขาวิชานี้ได้
            ระบบรับตรงแบบพิเศษ
            - โครงการรับนักเรียนเข้าศึกษาสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
            - โครงการรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษระดับชาติทางกีฬา

         - รายละเอียดเพิ่มเติม 
           บทความตอนที่ 21 CLICK!

    9. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
         - จำนวนรับ ประมาณ 30 คน
         - รูปแบบการเข้าศึกษาของนิสิตที่สามารถเลือกเข้าสาขาวิชานี้ได้
            ระบบแอดมิชชั่นส์ รหัส 0036 (รับรวมไม่แยกสาขาวิชา) 
         - รายละเอียดเพิ่มเติม 
           บทความตอนที่ 22 CLICK!

    10. สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ
         - จำนวนรับ ประมาณ 30 คน
         - รูปแบบการเข้าศึกษาของนิสิตที่สามารถเลือกเข้าสาขาวิชานี้ได้
            ระบบแอดมิชชั่นส์ รหัส 0036 (รับรวมไม่แยกสาขาวิชา) 
         - รายละเอียดเพิ่มเติม 
           บทความตอนที่ 23 CLICK!


     

    ข้อสังเกต


    - สาขาวิชาที่ไม่เปิดรับในระบบรับตรง ได้แก่
       1. สาขาวิชาประถมศึกษา
       2. สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน
       3. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
       4. สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ
    - สาขาวิชาที่ไม่เปิดรับในระบบแอดมิชชั่นส์ ได้แก่
       1. สาขาวิชาศิลปศึกษา
       2. สาขาวิชาดนตรีศึกษา
       3. สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา

     


    ตัวอย่างการเลือกอันดับในรูปแบบรับรวม


    นายประพันธ์ พงศ์พฤกษ์ เข้าศึกษาในคณะครุศาสตร์ ในระบบแอดมิชชั่นส์ มีความประสงค์ที่จะเรียนวิชาเอกภาษาอังกฤษ หรือเทคโนโลยีการศึกษา จึงเลือกอันดับสาขาวิชา ดังนี้
    1. สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์)
    2. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
    3. สาชาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน
    4. สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ

     


    การย้ายสาขาวิชา

    1. รับแยกสาขาวิชาเสร็จสิ้นแล้วในระบบรับตรงและระบบแอดมิชชั่นส์
        ไม่สามารถย้ายสาขาวิชาได้เมื่อเข้าศึกษา 

    2. รับรวมในระบบแอดมิชชั่นส์
         หากนิสิตใหม่สังกัดสาขาวิชาของตนเองไประยะหนึ่ง จนกระทั่งถึงการคัดเลือกเข้าเรียนในวิชาเอกช่วงปลายภาคการศึกษาต้นหรือต้นภาคการศึกษาปลาย ของชั้นปีที่ 1 และพบว่าสาขาวิชาที่ตนเองสังกัดไม่สามารถเลือกเรียนวิชาเอกที่ตนเองสนใจ หรือความประสงค์อื่น สามารถทำเรื่องแสดงความจำนงเปลี่ยนสาขาวิชากับทางสำนักงานวิชาการ หลักสูตรและการสอนของคณะ โดยแบ่งประเภทของสาขาวิชาที่มีผลต่อการย้ายสาขาวิชา ดังนี้

    ประเภทที่ 1 สาขาวิชาที่เป็นทั้งวิชาเอกเดี่ยวและคู่ระดับมัธยมศึกษา
    - สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์)
    - สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์)
    ประเภทที่ 2 สาขาวิชาที่เป็นวิชาเอกคู่ระดับมัธยมศึกษา
    - สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน
    - สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
    - สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ

    แนวทางการย้ายสาขาวิชา
    1. นิสิตสังกัดสาขาวิชาประเภทที่ 2 สามารถย้ายเข้าสาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) อนุมัติการย้ายเฉพาะนิสิตที่สอบ Screening Test เข้าศึกษาในวิชาเอกเดี่ยวภาษาอังกฤษได้เท่านั้น 
    2. นิสิตสังกัดสาขาวิชาประเภทที่ 2 สามารถย้ายเข้าสาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) จะต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของอาจารย์ประธานสาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) เป็นรายกรณี โดยมีความจำนงที่ชัดเจน และมีเหตุผลสนับสนุน เช่นสอบ Screening Test เข้าศึกษาในวิชาเอกเดี่ยวคณิตศาสตร์ ทำคะแนนสอบได้ดีเยี่ยมในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ในรายวิชาที่เกี่ยวกับวิชาเอก ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ทั้งนี้การอนุมัติจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของอาจารย์ประธานสาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) เท่านั้น
    3. นิสิตสังกัดวิชาทั้ง 2 ประเภท หากจะย้ายไปเรียนในสาขาวิชาอื่น สามารถทำเรื่องย้าย (พิจารณาเป็นรายกรณี และต้องเป็นเหตุผลที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น) โดยมีเงื่ิอนไขดังนี้
         - ได้รับการอนุมัติจากอาจารย์ประธานสาขาวิชาที่นิสิตสังกัดอยู่และอาจารย์ประธานสาขาวิชาที่นิสิตจะย้ายไป
         - คะแนนแอดมิชชั่นส์เกินต่ำสุดของสาขาวิชาที่จะย้ายเข้าสังกัดใหม่
         - ผ่านการคัดเลือกเข้าเรียนในวิชาเอกของสาขาวิชานั้นที่กำหนดไว้แล้วด้วย
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×