ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    บทความดีจากเมล FW

    ลำดับตอนที่ #212 : แช่ของในตู้เย็นระวังตู้เย็นระเบิด

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 798
      0
      23 เม.ย. 53

      แช่ของในตู้เย็นระวังตู้เย็นระเบิด

     

    กระผมมีตู้เย็นยี่ห้อToshiba อยู่ที่บ้าน ซึ่งกระผมได้ซื้อตู้เย็นเครื่องนี้มาเป็นระยะเวลาประมาณ 5 ปี โดยตู้เย็นเครื่องนี้ทำงานโดยไม่เคยเสีย หรือขัดข้องแต่ประการใดนับตั้งแต่วันที่กระผมได้ซื้อมา ทำความเย็นได้ปกติ อย่างไรก็ตามเรื่องไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นในวันที่ 14 ธันวาคม 2552 เวลา 20.00 น. กระผมได้ยินเสียงระเบิดคล้ายหม้อแปลงระเบิด และรู้สึกถึงแรงระเบิดซึ่งทำให้บ้านทั้งหลังสั่นสะเทือนมาถึงชั้นล่าง อีกทั้งเพื่อนข้างบ้านสามารถได้ยินอย่างชัดเจน

    เมื่อขึ้นไปตรวจสอบก็ถึงกับตกตะลึงเมื่อพบว่าตู้เย็นนั้นระเบิด ประตูตู้เย็นกระเด็นออกมา และมีไฟลุกอยู่ด้วยโดยแรงระเบิดทำให้กระจกที่อยู่ในบริเวณนั้น แตกเสียหายเกือบทั้งหมดรวมทั้งกระจกที่อยู่ในห้องน้ำก็แตกเช่นกัน เคราะห์ยังดีที่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ เพราะช่วงเวลานั้นทุกคนในบ้านนั่งอยู่ข้างล่าง ส่วนกระผมถูกเศษกระจกบาดอันเนื่องมาจากไม่ได้สวมรองเท้าขึ้นไปในตอนแรก ด้วยอารามตกใจจึงรีบร้อนเข้าไปดึงปลั๊กตู้เย็นออก จึงต้องไปทำแผลที่โรงพยาบาลใกล้บ้านก่อน จากนั้นจึงได้โทรเรียกเจ้าหน้าที่ประกันภัย และขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาลงบันทึกประจำวัน และโทรหาบริษัทผู้ผลิตตู้เย็นเครื่องนี้ด้วยแต่ทว่าไม่มีใครรับสายเนื่องจากไม่ใช่เวลาทำการ รวมถึงถ่ายภาพสถานที่เกิดเหตุไว้เพื่อเป็นหลักฐาน (ตามที่ได้แนบมากับจดหมายฉบับนี้)

    ในวันต่อมา (วันที่ 15 ธันวาคม 2552)
    กระผมได้โทรศัพท์หาบริษัท ซึ่งทางOperator ได้ทำการโอนสายของกระผมไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของบริษัท ในขั้นแรกทางเจ้าหน้าที่การตลาดได้ทำการรับเรื่องอีกทั้งบอกทางกระผมว่าไม่น่าจะเกิดจากตู้เย็นเพราะตู้เย็นไม่น่าจะมีแรงดันมากจนสามารถที่จะทำให้เกิดการะเบิดได้พร้อมทั้งจัดส่งวิศวกร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคเข้ามาตรวจสอบที่บ้านของกระผม

    2 ชั่วโมงผ่านไปหลังจากได้มีการโทรไปร้องเรียน ทางวิศวกร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคของบริษัทก็มาถึง ทางเจ้าหน้าที่ได้ทำการสำรวจสถานที่เกิดเหตุ พร้อมทั้งเสียบปลั๊กตู้เย็นโดยไม่กลัวว่าตู้เย็นจะระเบิดแต่อย่างใด หลังจากสำรวจสถานที่เกิดเหตุเสร็จแล้ว เจ้าหน้าขออนุญาตนำตู้เย็น และเศษขวดเบียร์ที่แตกอยู่บริเวณรอบๆกลับบริษัทเพื่อทำการตรวจสอบในขั้นต่อไป ส่วนทางกระผมได้ขอให้ทางบริษัทช่วยทำผลการตรวจสอบในรูปแบบเอกสารซึ่งทางเจ้าหน้าที่ก็รับปาก และบอกว่าการตรวจสอบจะใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 7 วันทำการ

    1 อาทิตย์ผ่านไป (วันที่ 23 ธันวาคม 2552)
    เจ้าหน้าที่ของบริษัท Toshiba ได้ติดต่อมายังลูกสาวของกระผม โดยบอกว่าจะเข้ามาพบกระผมที่บ้านในช่วงเวลาประมาณบ่ายสองโมงพร้อมทั้งจะนำตู้เย็น และผลการตรวจสอบมาให้

    ในเวลาประมาณบ่าย 2 โมง เจ้าหน้าที่บริษัท 4 คน นำทีมโดยคุณ วสันต์ เตียวตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายตู้เย็น มาถึงยังบ้านของกระผมพร้อมกับสรุปผลให้ฟัง ซึ่งผลตรวจชี้ว่าสาเหตุที่ตู้เย็นระเบิด ไม่ได้เกิดจากตู้เย็น แต่เป็นวัตถุไวไฟที่กระผมเก็บไว้ในตู้เย็น โดยสันนิตฐานว่าถ้าไม่เกิดจากน้ำหอม หรือไม่ก็เกิดจากขวดเบียร์ ซึ่งถ้ารวมๆกันแล้วกระผมได้แช่เบียร์ไว้ 1 ขวด และน้ำหอม 2-3ขวด เจ้าหน้าที่ได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่าขวดเบียร์ที่เพื่อนของลูกสาวกระผมได้ซื้อมาฝากจากเยอรมันซึ่งมีขนาดเท่ากับขวดเบียร์ขวดเล็กเท่านั้น เมื่อ 2 ปีที่แล้วเกิดระเบิดขึ้น มากไปกว่านั้นการที่กระผมเปิดปิดตู้เย็นบ่อยๆก็เหมือนกับเป็นการเขย่าขวดทางอ้อม จนเมื่อถึงจุดจุดหนึ่งขวดเบียร์ก็จะระเบิด แรงระเบิดทำให้ฝาตู้เย็นกระเด็นไปกระแทกกับตู้เก็บของที่วางอยู่ตรงข้ามซึ่งทำจากอลูมิเนียม จนทำให้เกิดประกายไฟ และจุดระเบิดขึ้นในที่สุด

    นอกจากนั้นทางเจ้าหน้าที่ได้สนับสนุนเหตุผลของเค้ายื่นคู่มือการใช้ของตู้เย็น พร้อมทั้งชี้ให้กระผมดูที่คำเตือนที่เขียนไว้ในคู่มือว่า ห้ามนำวัสดุที่ติดไฟง่าย วัสดุอันตราย สารเคมีหรือก๊าซไวไฟไว้ใกล้เครื่องหรือในเครื่อง” (ตามที่ได้แนบมา) และก็ถูกของเจ้าหน้าที่ที่จะบอกว่าเบียร์นั้นมีส่วนผสมของแอลกอฮออยู่ ถ้าว่าตามคำจำกัดความของคำว่า วัสดุที่ติดไฟง่ายก็คงหมายถึง แอลกอฮอล แน่นอน อย่างน้อยที่สุดก็มีมากถึง 4 เปอร์เซนต์ด้วยกัน ซึ่งก็อาจจะมากพอทำให้เกิดการะเบิดที่ราวกับอาวุธที่อาจจะสามารถฆ่าคนได้ ฟังแล้วดูเป็นเหตุเป็นผลมาก

    กระผมถึงกับพูดอะไรไม่ออก และไม่ทราบว่าจะเถียงเจ้าหน้าที่อย่างไร เพราะเจ้าหน้าที่ไม่ได้ใช้วาจาที่หยาบคาย แต่ทว่าใช้เหตุผลที่ฟังแล้วดูดีโดยกล่าวอ้อมๆว่า เหตุเกิดทั้งหมดมันไม่ได้เกิดจากสินค้าของเค้า แต่เป็นความผิดของคุณเองที่นำเบียร์ และน้ำหอมมาแช่ไว้ในตู้เย็น กระผมยังนั่งฟังคำชี้แจงของพนักงานไปเรื่อยๆโดยการสนทนาดังกล่าวกินเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง

    และก่อนกลับทางเจ้าหน้าที่ได้ยกตู้เย็นที่ระเบิดนั้นไว้ให้กระผมไว้ดูเป็นของต่างหน้า อีกทั้งไม่ได้กล่าวคำขอโทษใดๆแม้แต่คำเดียว ซึ่งก็ถูกของเค้าที่ความผิดมันเป็นของกระผมเอง พร้อมกับพูดทิ้งท้ายว่า เฮีย จะกล้าใช้ตู้เย็นเครื่องนี้อีกไหมครับ?” แล้วก็นั่งรถจากไป

    แต่ด้วยความสงสัยกระผมได้ให้ลูกสาวของกระผมไปค้นหาข้อมูลจาก Internet และก็พบเหตุการณ์ที่คล้ายๆกับกระผมนั้นเกิดขึ้นเช่นกัน อย่างเช่นที่ประเทศอังกฤษ หรือประเทศอินเดีย ณ เมืองMumbai ซึ่งแรงระเบิดคร่าชีวิตคนในครอบครัวไป 4 คน และถึงตอนนี้ยังไม่สามารถหาสาเหตุว่าทำไมตู้เย็นถึงระเบิดได้ แต่ด้วยวิศวกรของบริษัทToshiba ประเทศไทยมีความสามารถอยู่แล้ว จึงสามารถหาข้อสรุปได้ว่าเหตุที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากขวดเบียร์เพียงขวดเดียว

    จากเหตุการณ์ดังกล่าวกระผมสามารถสรุปได้ว่าตู้เย็นยี่ห้อดังกล่าวไม่สามารถแช่เบียร์ หรือน้ำหอมได้ และผมเชื่อว่ามีประชากรไทยมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ที่แช่เบียร์ และน้ำหอมไว้ในตู้เย็น โดยปราศจากการแจ้งเตือนจากผู้ผลิต จึงขอแนะนำให้สอบถามพนักงานขายทุกครั้งก่อนการซื้อตู้เย็นว่าตู้เย็นยี่ห้อนี้สามารถแช่เบียร์ หรือน้ำหอมได้หรือไม่ เพราะหากเกิดเหตุการณ์เช่นกิดการกล่าวโทษผู้บริโภคเหมือนกรณีของกระผมนี้ขึ้นอีกจะได้ไม่เกิดการกล่าวโทษผู้บริโภคเหมือนกรณีของกระผม

     

     

     คอลัมน์ชานเรือน ในพันทิพ  

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×