ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    การเปลี่ยนแปลงระบอบประชาธิปไตย

    ลำดับตอนที่ #1 : การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 66.05K
      11
      26 พ.ย. 50

    การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
              การเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎรในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 สืบเนื่องจากแนวความคิดที่จะมีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยสะสมมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจากการที่ไม่พึงพอใจสภาพบ้านเมืองไทยเมื่อเปรียบเทียบกับความเจริญของประเทศที่มีการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยเป็นสาเหตุหนึ่งและสภาพการณ์การเมืองการปกครองรวมทั้งปัญหาเศรษฐกิจในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่คณะราษฎรนำไปอ้างเพื่อจะยึดอำนาจการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นให้ราษฎรได้มีส่วนร่วมในการปกครองตามระบบประชาธิปไตย
    สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
    1.สภาพการเมืองการปกครอง
              เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชสมบัติใน พ.ศ.2468 พระองค์ได้ทรงตระหนักมาก่อนแล้วว่าพระราชฐานะของพระมหากษัตริย์กำลังพูกพวกปัญญาชนมองไปในทางที่ไม่ดีมาตั้งแต่รัชกาลก่อนและความรู้สึกระหว่างพระมหากษัตริย์กับพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ตกอยู่ในภาวะที่แตกแยกกันดังนั้นพระองค์จึงรงตั้ง อภิรัฐมนตรีสภาเพื่อรวบรวมพระบรมวงศ์ที่อาวุโสสูงแต่ยังทรงทันสมัยด้วยมีประสบการณ์มากมาทรงทำงานร่วมกันเพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในหมู่พระราชวงศ์และทรงช่วยแบ่งเบาพระราชกิจของพระองค์ด้วย
              อภิรัฐมนตรีสภาเป็นสถาบันใหม่ตั้งขึ้นภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ 2 วันมีหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาเกี่ยบกับกิจการการเมืองการปกครองและนโยบายของประเทศสมาชิกของอภิรัฐมนตรีสภามี 5 พระองค์ ดังนี้
    1.       สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุขเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดชทรงเป็นองค์ประธาน
    2.       สมเด็จพระเจ้ายาเธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
    3.       สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
    4.       สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
    5.       พระเจ้าพี่ยาเธอกรมพระจันทบุรีนฤนาถ
              ผลปรากฏว่าการที่ทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์เป็นอภิรัฐมนตรีสภาเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของข้าราชการและประชาชนว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอขาดความเชื่อมั่นในพระองค์เองและตกอยู่ใต้อำนาจของอภิรัฐมนตรีสภาซึ่งพระองค์เองก็ทรงตระหนักดีดังที่พระองค์ได้ทรงอ้างถึงในเร่องนี้ในพระราชบันทึกถึงพระยากลัยาณไมตรี (ดร.ฟรานซิส บีแชร์) ว่า ที่ว่าการมีอภิรัฐมนครีสภาเป็นการลดเกียรติภูมิของพระมหากษัตริย์ลงไปนั้นข้าพเจ้ายอมรับว่าจริง และจากการที่ทรงตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ทำให้มีการเปรียบเทียบกับการโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) และสภาที่ปรึกษาของพระองค์ (Privy Council) ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งนั้นพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสามัญชนขึ้นมาดำรงตำแหน่งสูง ๆ ในการปกครองของประเทศ พอๆ กับที่พระองค์แต่งตั้งเจ้า แต่ในอภิรัฐมนตรีสภานี้ หากมีสามัญชนสักคนไม่และนี่จะเป็นจุดสำคัญในอนาคต
              พระยากัลยาณไมตรีได้ตอบตามพระราชบันทึกและทูลเกล้าถวายร่างรัฐธรรมนูญฉบับสั้นๆ มีเพียง 12 มาตรา เสนอโครงสร้างของรัฐบาล ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Outline of Preliminary Draft” พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เข้าที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภาพร้อมกับบันทึกความเห็นของพระยากับยาณไมตรีว่าขอให้ทรงใช้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ต่อไปก่อนแต่ขอให้ทรงตั้งนายกรัฐมนตรีรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินโดยตรงแทนพระองค์เพื่อช่วยดูแลให้รัฐมนตรีปฏิบัติราชการให้ถูกต้องตามนโยบายให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ได้เอง ยกเว้นกระทรวงกลาโหมขึ้นครองต่อพระมหากษัตริย์เพื่อพระมหากษัตริย์จะได้รงควบคุมทหารทั้งสามกองทัพไว้ด้วยพระองค์เองสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพไม่ทรงเห็นด้วยกับการที่ให้มีนายกรัฐมนตรีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถ้านายกรัฐมนตรีไม่ดีไม่สามารถพระมหากษัตริย์จะรงอ้างเหตุผลใดในการถอดถอนนายกรัฐมนตรีที่พระองค์ทรงแต่งตั้งขึ้นมาเองการมีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นเป็นวิธีการของการปกครองในระบบรัฐสภา ทั้งทรงแนะนำว่าการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ยังใช้ได้อยู่ขอให้แก้ไขระบบบริหารราชการให้ดีขึ้นเท่านั้นพอ
              เรื่องที่อภิรัฐมนตรีสภาคัดค้านอีกเรื่องหนึ่งคือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนรู้เห็นการประชุมสภากรมการองคมนครีในกรณีที่ไม่ใช่เป็นการประชุมลับโดยทรงมีวัตถุประสงค์ให้เป็นวิธีการทดลองและเรียนรู้วิธีการประชุมปรึกษาของรัฐสภาซึ่งจะมีในอนาคตประชาชนและองคมนตรีที่จะทรงอนุญาตให้เข้าฟังการประชุมมีจำนวนเกือบ 200 คนการคัดค้านจากสมาชิกอภิรัฐมนตรีส่วนมากทำให้พระราชประสงค์ในข้อนี้ชะงักงัน
              ต่อมาเมื่อวันที่ 9 มีนาคมพ.ศ.2474 นายเรมอนด์ บี สตีเวนส์ และพระยาศรีวิศาลวาจา ได้ทูลเกล้าฯถวายเค้าโครงร่างรัฐธรรมนูญมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ “Outline of Changes in the form of Government” ตามที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำชับว่าฉันมีความประสงค์จะให้รัฐธรรมนูญแก่ราษฎรโดยเร็วที่สุดที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภาได้กราบทูลคัดค้านว่ายังไม่ถึงเวลาอันควรเกรงว่าเมื่อพระราชทานรัฐธรรมนูญแล้ว จะเกิดความเสียหายแก่บ้านเมืองในภายหลังการจัดตั้งอภิรัฐมนตรีสภาจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่กระตุ้นกลุ่มปัญญาชนให้เกิดความรู้สึกไม่พอใจพระบรมราโชบายทางการเมืองการปกครองประเทศของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
    2. ปัญหาเศรษฐกิจและการแก้ไข
              เนื่องจากประเทศไทยในช่วง พ.ศ.2467 – 2474 ประสบปัญหาเศรษฐกิจอยู่ในภาวะตกต่ำตามสภาพการณ์เศรษฐกิจของโลกอันมีสาเหตุจากการที่ประเทศต่าง ๆต้องใช้จ่ายเงินไปในการบูรณะประเทศซึ่งเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ต้องเลี้ยงดูผู้เจ็บป่วยทุพพลภาพจากสนามรบอีกประการหนึ่งการวิทยาสาสตร์เจริญก้าวหน้าโรงงานอุตสาหกรรมตลอดจนงานกสิกรรมได้หันไปใช้เครื่องจักรแทนแรงคนกันมากขึ้นเพื่อความสะดวกและรวดเร็วกว่าจึงทำให้กรรมกรว่างงานมากขึ้นความเดือดร้อนวุ่นวายในด้านการครองชีพจึงติดตามมาประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรมการกรทบกระเทือนทางเศรษฐกิจมาถึงช้าและไม่ได้วุ่นวายเหมือนประเทศอุตสาหกรรมแต่ก็มีผลทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำเหมือนกันซึ่งอาจกล่าวได้ว่ามีผลสะท้อนจากสภาพการณ์ของโลกและอีกประการหนึ่งเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำเพราะไม่มีการประหยัดค่าใช้จ่ายในรัชกาลที่ผ่านมาค่าใช้จ่ายในพระราชสำนักสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมด้านโขนละคร การซ้อมรบของเสือป่ามีเป็นประจำทุกปีและกิจกรรมอื่น ๆ อีกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพยายามแก้ไขภาวะเศรษฐกิจของประเทศด้วยพระปรีชาญาณอันสุขุมให้กระทบกระเทือนถึงประเทศชาติและประชาชนน้อยที่สุด วิธีแรกคือทรงตัดทอนรายจ่ายให้ลดน้อยลง ให้กระทรวงทุกกระทรวงตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกให้ข้าราชการทั้งทหารและพลเรือนที่ไม่จำเป็นออกจากราชการการตัดทอนรายจ่ายนี้มิใช่ตัดแต่คนอื่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ตัดเงินรายได้ที่รัฐบาลทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระองค์ 4 ล้านบาท ในปี 2469 เงินงบประมาณส่วนพระองค์ที่ถูกตัดนี้มีค่าร้อยละ 46 ของยอดรวมของงบประมาณแผ่นดินในปีนั้น ลดจำนวนมหาดเล็กจาก 3,000 คน เหลือเพียง 300 คน ในระยะต่อมาให้ยุบกรมหรือกองใดที่ทำหน้าที่ซ้ำซ้อนกันกระทรวงหรือกรมใดที่พอจะรวมหน้าที่กันเข้าไว้ได้ก็ให้รวมกัน ดังนั้นกระทรวง 12 กระทรวง จึงเหลือ 10 กระทรวง และยังทรงให้ยกเลิกภาคยุบมณฑลและจังหวัดอีกหลายแห่ง
              ในการปรับปรุงแก้ไขให้การเงินของประเทศเข้าสู่ดุลยภาพ ได้ทรงทำด้วยวิธีต่างๆเป็นหลายครั้งหลายครา เช่น ทรงหันมาใช้วิธีเพิ่มภาษีอากร โปรดฯให้ตราพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีศุลกากรฉบับใหม่โดยเพิ่มภาษีสินค้าขาเข้าทุกชิ้นในอัตราอย่างต่ำสุดร้อยละ 5 จนถึงร้อยละ 50 ของต้นทุน และตราพระราชบัญญัติเก็บภาษีเพิ่มขึ้นอีก 2-3 ประเภท ได้แก่ ภาษีโรงงานภาษีที่ดิน ภาษีหลังคาเรือน และภาษีเงินเดือน เป็นต้น
    ในขณะที่มีการตัดทอนรายจ่ายทั่วทุกกระทรวงนั้น นายพลเอกพระองค์เจ้าบวรเดชกฤดากร เสนาบดีกระทรวงกลาโหมได้ขอจ่ายเงินเป็นพิเศษเป็นค่าก่อสร้างโรงทหารเป็น จำนวนเงิน 1,658,253 บาทรวมสองรายการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติไม่อนุญาตให้ใช้จ่ายและยังตั้งข้อสังเกตว่าทุกกระทรวงได้ช่วยกันพยายามตัดทอนรายจ่ายแต่กระทรวงกลาโหมกระทรวงเดียวนอกจากไม่พยายามจะช่วยแล้วยังทำให้เป็นกังวลที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติต้องโต้ตอบเรื่องการก่อสร้างที่ไม่มีความรีบด่วนแต่อย่างใดในเวลาที่ต้องคิดวิธีแก้ความลำบากยากจนของประเทศเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้ระบุว่า
    ....ในคณะเสนาบดีมีเสนาบดีกระทรวงกลาโหมผู้เดียวที่ขาด
    Co-operation และไม่ Sympathy กับบ้านเมืองในความคับขันของ
    การเงินแผ่นดินในเวลาคับขันเช่นนี้ถ้าขาด Co-operation
    ในคณะเสนาบดีความยากก็มากขึ้นทวีคูณ....
              ความขัดแย่งกันถึงขั้นรุนแรงคือ เสนาบดีกระทรวงกลาโหมขอลาออกจากตำแหน่งในปี พ.ศ.2474 สาเหตุจากระทรวงพระคลังมหาสมบัติงดจ่ายเงินที่เลื่อนขั้นเงินเดือนในยศเดิม 91 นายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนั้นกำลังเสด็จพระราชดำเนินสหรัฐอเมริกาเพื่อการผ่าตัดพระเนตรที่ประชวรเป็นต้อ ได้ทรงมีพระราชโทรเลข ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2474 ทูล จอมพล สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตซึ่งทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร ให้พระองค์เจ้าบวรเดช ฯ ออกได้เหตุการณ์ครั้งนั้นปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์เป็นที่เสียหายแก่ทางราชการจนถึงที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภาลงมติให้เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยเรียกพวกหนังสือพิมพ์ทั้งหมดมาตักเตือนรวมทั้งการดุลข้าราชการสาเหตุทางเศรษฐกิจจึงเป็นสาเหตุอันหนึ่งที่ผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นำมาอ้างเป็นเหตุผล
    3. ความไม่พอใจในความแตกต่างทางฐานะด้านสังคม
              พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรงได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อีกเรื่องหนึ่งว่าทรงแต่งตั้งเจ้านายเข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ซึ่งส่วนใหญ่เข้ามาแทนพวกสามัญชนซึ่งเดิมได้รับการแต่งตั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวดังนั้นถึงแม้ว่าเจ้านายแต่ละองค์ที่ได้รับการแต่งตั้งจะทรงมีความเหมาะสมเพียงใดก็ตามก็ย่อมกระทบกระเทือนสำนึกแห่งชนชั้นในหมู่สามัญชนอย่างหลีกเลี่ยงมิได้โดยเฉพาะเมื่อมีการดุลข้าราชการในยามที่เศรษฐกิจตกต่ำ ผู้ถูกดุลเป็นสามัญชนแล้วแต่งตั้งพวกเจ้าเข้าแทนหรือไม่ดุลข้าราชการที่เป็นเจ้า เป็นต้นมีข้อความที่ลงในหนังสือพิมพ์ว่า
    แต่มาบัดเดี๋ยวนี้มีเสียงคนไทยเป็นอันมากพากันทึ่งในความดำเนิน
    รัฐกิจของรัฐบาลในเมื่อเห็นเสนาบดีเจ้ากระทรวงต่าง ๆ ที่ถูกดุลออก
    ไปโดยปริยาย ซึ่งเสนาบดีนั้น ๆ ไม่ใช่เจ้าและบรรจุเจ้าเข้าแทน
    ส่วนพระยาทรงสุรเดชวิจารณ์ไว้ว่า
    เป็นความจริงที่ในหลวงรัชกาลที่ 7 มิได้แสดงความสามารถที่จะแก้ไข
    งานของชาติให้รุ่งเรืองขึ้นได้มุ่งแต่จะฟื้นฐานะของเจ้าที่ตกต่ำมาแต่ครั้ง
    รัชกาลที่ 6 ให้รุ่งโรจน์ขึ้นความจริงไม่เป็นการเสียหายอะไรถ้าตั้ง
    เจ้าหน้าที่ที่เฉียบแหลมสามารถขึ้นทำหน้าที่สำคัญแต่การณ์มิได้เป็นเช่นนั้น
    ดูสักแต่ว่าเป็นเจ้าละก็ตั้งได้โดยไม่จำกัดเสียเลย
    4.ความไม่พอใจระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และการเรียกร้องระบอบประชาธิปไตย
              การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 หรือที่เรียกในปัจจุบันว่าการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 นั้นน่าจะมีสาเหตุหลักมาจากความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ประเทศไทยมีมาช้านานให้เป็นแบบประชาธิปไตยตามแบบอย่างประเทศตะวันตกส่วนความวิกฤติทางเศรษฐกิจและอื่น ๆล้วนเป็นสาเหตุรองเท่านั้น การศึกษาของกุลบุตรชั้นสูงของสังคมไทยค่อย ๆเปลี่ยนไปสู่แบบตะวันตกสืบเนื่องจากการปรับปรุงบ้านเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดเรื่องระบอบประชาธิปไตยได้แพร่เข้ามาสู่ประชาชนไทยด้วย
              ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเล้าเจ้าอยู่หัวได้มีกลุ่มข้าราชการไทยทีรับราชการในวงการทูตยุโรปกราบบังคมทูลให้มีการเปลี่ยนระบอบการปกครองให้เป็นแบบมีรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2474 (ร.ศ. 103) ข้อเสนอของเทียนวรรณในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดกบฏ ร.ศ.130 เมื่อ พ.ศ. 2454 เพื่อให้เปลี่ยนการปกครองให้เป็นประชาธิปไตยตามประเทศญี่ปุ่น ตุรกีและจีน แต่การกบฏ ร.ศ.130 ไม่เป็นผลสำเร็จ
              ครั้นมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกลุ่มปัญญาชนที่เคยศึกษาวิทยาการแบบตะวันตกมีมากขึ้นคนรุ่นใหม่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาในยุโรปมากขึ้นคนเหล่านี้ศึกษาลัทธิประชาธิปไตยความเสมอภาค เสรีภาพ ศึกษาเรื่องรัฐสภา รัฐธรรมนูญและวิธีบริหารของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย ก็ได้ตั้งความหวังไว้ว่าประเทศไทยจะมีการปกครองแบบรัฐสภา แต่การตั้งความหวังไว้ไม่สำเร็จตามที่มุ่งหวังไม่มีการตั้งสถาบันการเมืองที่สอดคล้องกับแนวความคิดประชาธิปไตยความล่าช้าในการปรับปรุงการบริหารแผ่นดินจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่คิดว่าอำนาจเด็ดขาดไม่ควรอยู่ที่พระมหากษัตริย์พระองค์เดียวซึ่งทำให้การบริหารแผ่นดินผิดพลาดได้ง่ายความรู้สึกไม่พอใจในความล่าช้าเห็นได้จากบันทึกของ พลโท ประยูร ภมรมนตรีสมาชิกผู้ก่อการในคณะราษฎรที่ยึดอำนาจการปกครอง ได้ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 มีดังนี้
    การพิจารณาออกใช้พระราชบัญญัติเทศบาลก็คาราคาซังอยู่เป็นแรมปี
    การปรับปรุงเรื่องการปกครองที่จะให้รัฐธรรมนูญเป็นรากฐานการบริหารประเทศนั้น
    ได้รีรอกันมาถึง 3 รัชกาล แล้วมีแต่เรื่อง จะ จะ จะพิจารณาและเหนี่ยวรั้งกันตลอด
    จึงเป็นภาวะอันสุดแสนที่จะทนทานที่จะรีรอกันต่อไปได้
              จะเห็นได้ว่าสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 มีอยู่หลายประการทั้งสภาพการเมืองการปกครอง ปัญหาเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจความไม่พอใจในความแตกต่างระหว่างกลุ่มบุคคลและความไม่พอใจที่ไม่ได้ตามความมุ่งหวังในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
              เพื่อการสนับสนุนข้อความที่ได้กล่าวมาแล้ว จึงได้นำคำให้สัมภาษณ์ของพลเอกจิร วิชิตสงคราม ผู้ซึ่งรับราชการทหารมา 5 แผ่นดินตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงแผ่นดินปัจจุบันมากล่าวไว้ในที่นี้
              จากการให้คำสัมภาษณ์ พลเอก จิรวิชิตสงคราม เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2518 ท่านได้สรุปสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ว่า เนื่องมากจากเหตุการณ์ 3 อย่างง าบรรจบกัน คือ
    1) สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ รายได้ไม่สมดุลย์กับรายจ่ายสินค้าที่ผลิตได้ก็ไม่มีใครซื้อ ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงให้เก็บภาษีเพิ่ม และปลดข้าราชการออก ความปั่นป่วนที่มาจากเศรษฐกิจตกต่ำทำให้ประชาชนทั่วไปคิดว่ารัฐบาลไม่มีความสามารถ
    2) นักศึกษาทั้งหลายที่ประเทศไทยส่งออกไปศึกษาในต่างประเทศได้เห็นการปกครองของประเทศยุโรปแตกต่างไปจากของประเทศไทย เช่น ประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสเมื่อได้ศึกษาถึงควมเจริญก็เกิดความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครอง
    3) ประเทศไทยในเวลานั้น ตำแหน่งสำคัญชั้นผู้ใหญ่ล้วนแต่เจ้านายในราชวงศ์เจ้านายที่รองลงมาที่ทำงานร่วมกับข้าราชการทั่วไปก็จะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนเร็วกว่าทั้งนี้เพราะการให้ความดีความชอบมีหลายลักษณะ เช่น ปีแรกได้บรรดาศักดิ์ปีที่สองได้เหรียญตรา ปีที่สามจึงจะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนส่วนข้าราชการที่เป็นเจ้าตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป ไม่จำเป็นต้องรอให้ขอบรรดาศักดิ์ไม่ต้องรอให้ได้เหรียญตรา ก็เลื่อนขั้นเงินเดือนได้ทุกปี ลักษณะนี้ทำให้ข้าราชการทั่วไปคิดถึงความเสมอภาคและเป็นสาเหตุให้เปลี่ยนแปลงการปกครองด้วย
    คณะราษฎร
              คณะราษฎรประกอบด้วยกลุ่มนักเรียนไทยในต่างประเทศ และกลุ่มนายทหารในประเทศไทย ทั้ง 2 กลุ่มมีความต้องการตรงกันในการที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นการปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตย
    1. กลุ่มนักเรียนไทยในต่างประเทศ
              นักเรียนไทยที่คิดจะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศก็คือกลุ่มนักเรียนที่รัฐบาลไทยส่งไปศึกษาวิชากฏหมาย การทหาร วิทยาศาสตร์ ตามประเทศต่าง ๆ ในยุโรปจะมีนักเรียนที่เรียนโดยทุนส่วนตัวอยู่บ้างก็เป็นจำนวนน้อยนักเรียนเหล่านี้จะมาพักผ่อน ตอนปิดภาคเรียนที่กรุงปารีสได้พบปะพูดคุยถึงเรื่องราวต่าง ๆเปรียบเทียบสิ่งที่ตนได้พบลเห็นมากับคนอื่นในการวิพากษ์วิจารณ์ก็จะรวมถึงระบอบการปกครองของประเทศด้วยอนึ่งประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีนักปราชญ์ทางการเมืองหลายคนและฝรั่งเศสก็ได้ปฏิวัติประเทศเป็นระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยบรรยากาศทางการเมืองการปกครองเหล่านี้มีอิทธิพลทางความคิดของนักเรียนไทยด้วยในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของนักเรียนไทย ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรีผู้ซึ่งเดินทางไปยังกรุงปารีส ใน พ.ศ. 2468 ได้เล่าถึงความเสื่อมโทรมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และเสียงเรียกร้องจากราษฎรในสยามที่ต้องการให้เปลี่ยนระบบนั้นนายปรีดี พนมยงค์ ได้ทราบเรื่องนี้จึงปรารถกับร้อยโท ประยูร ภมรมนครีว่า
    ได้ยินผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มามากหลายคนแล้ว
    แต่ยังไม่มีใครจะตัดสินใจเอาจริง ฉะนั้น เราจะไม่พูดแต่ปากคือจะต้องำจริงจากน้อยไปสู่มาก
    แล้ววิธีการชวนเพื่อนที่ไว้วางใจได้ร่วมเป็นหน่วยแรกขึ้น
              ความคิดในการที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยในกลุ่มนักเรียนไทยในยุโรปจึงเกิดขึ้นด้วยสาเหตุที่กล่าวมาแล้วส่วนตัวนายปรีดี พนมยงค์สมาชิกคนหนึ่งของกลุ่มได้มีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองมาก่อนหน้านี้แล้วดังที่เคยเขียไว้ในบทความว่า ตนมีความคิดทีจะเปลี่ยนแปลงการปกครองก่อนหน้านี้แล้วดังที่เคยเขียนไว้ในบทความว่าตนมีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบที่เป็นอยู่ไปเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญตั้งแต่เมื่อตนยังเรียนวิชากฏหมายที่โรงเรียนกฏหมายของกระทรวงยุติธรรม ระหว่างพ.ศ.2461 – 2463 แล้ว และเมื่อสอบชิงทุนได้ไปเรียนวิชากฏหมายที่ประเทศฝรั่งเศสได้ติดต่อกับนักศึกษาไทยในยุโรปที่มีความคิดในแนวเดียวกันคือ นิยมประชาธิปไตยจึงตั้งสมาคมในปี 2467 ชื่อว่าสามัคยานุเคราะห์สยาม มีชื่อย่อในภาษาฝรั่งเศสว่า S.I.A.M. นายปรีดี พนมยงค์เคยเป็นเลขานุการและเป็นประธานของสมาคมสามัคยานุเคราะห์สยามและได้เข้าร่วมกลุ่มความคิด ร่วมกันวางแผนปลุกจิตสำนึกเพื่อนนักศึกษาทั่วไปให้เกิดความรู้สึกถึงความจำเป็นต้องเปลี่ยนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
              ส่วนนายควง อภัยวงศ์ซึ่งเป็นนักเรียนไทยในต่างประเทศ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะราษฎรได้บันทึกเรื่องการพบปะที่กรุงปารีสของนักเรียนไทยในยุโรปว่านายปรีดีเขาเรียนกฏหมาย เขาก็อธิบายเรื่องสภาเราก็มีความเห็นกันว่าชาวไทยควรจะมีส่วนมีเสียงในการปกครองบ้างแต่พระเจ้าแผ่นดินและราชวงศ์นั้นเราเทิดทูนไว้ เรามีความรู้สึกกันอย่างนี้และนายควง ก็ระบุว่า นายปรีดี ร.ท.แปลก และ ร.ท.ประยูร เป็นตัวตั้งตัวตี
              ต่อมาได้เกิดเหตุการณ์กระตุ้นความรุ้สึกที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองยิ่งขึ้นคือได้เกิดความขัดแย้งระหว่างนักเรียนไหทยในฝรั่งเศสกับพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากรเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศฝรั่งเศสและผู้ดูแลนักเรียนไทยในฝรั่งเศส อันเนื่องมาจากพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากรมีคำสั่งห้ามนักเรียนไทยในฝรั่งเศสไปร่วมประชุมสมาคมนักเรียนไทยในอังกฤษและไม่ออกหนังสือเดินทางให้นักเรียนไทยในฝรั่งเศสเหล่านั้นก็ได้ขัดขืนคำสั่งด้วยการส่ง ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรีไปร่วมประชุมโดยร่วมกันเรี่ยไรค่าเดินทางและค่าที่พักให้และใช้วิธีหลบเลี่ยงคำสั่งที่ห้ามอกหนังสือเดินทางไปประเทศอังกฤษโดยใช้วิธีของหนังสือเดินทางไปประเทศเบลเยี่ยมก่อนแล้วขอวีซ่าจากประเทศเบลเยี่ยมเข้าประเทศอังกฤษการเดินทางไปประเทศอังกฤษของ ร้อยโทประยูร ภมรมนตรี ครั้งนี้เป็นที่สังเกตของหน่วยข่าวกรองทางการเมืองของอังกฤษประจำเนเธอร์แลนด์ (Dutch indian Political Intelligence) ซึ่งได้รายงานความเคลื่อนไหวว่า ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรีเป็นสมาชิกของกลุ่มเอเซียติก (Asiatic Bloc) กลุ่มเอเซียติกมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างการปฏิวัติทางปัญญาให้แก่นักเรียนจากประเทศทางตะวันออกสถานทูตอังกฤษในประเทศไทยจึงติดต่อกับรัฐบาลไทยในเรื่องนี้จึงเป็นเหตุให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากรไม่พอพระทัยในการกระทำของนักเรียนไทยเหล่านี้เป็นอย่างมากประกอบกับได้มีความขัดแย้งในเรื่องค่าใช้จ่ายของนักเรียนทุนรัฐบาลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเดิมอัตราแลกเปลี่ยน 1 ปอนด์ เท่ากับ 60-70 แฟรงค์เมื่อค่าเงินลดต่ำลง 1 ปอนด์ มีค่าถึง 140-170 แฟรงค์ ค่าครองชีพในฝรั่งเศสสูงขึ้นนักเรียนไทยจึงเข้าชื่อกันทำหนังสือไปยังสถานทูตของรับเป็นเงินปอนด์แทน นายปรีดีพนมยงค์ ประธานนักเรียนไทยเป็นผู้ยื่นหนังสือเรื่องนี้เอกอัครราชทูตรทรงเห็นว่านักเรียนไทยที่ร่วมกันเขียนหนังสือร้องเรียนมีหัวรุนแรงจึงให้มีคำกราบบังคมทูลมายังพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวขอให้เรียกตัวนายปรีดี พนมยงค์ กลับประเทศไทยด้วยเหตุว่า เป็นหัวหน้าชักนำนักเรียนไทยขัดคำสั่งฑูต เป็นหัวหน้าสหบาล Syndicate ฝักใฝ่ในระบอบประชาธิปไตยอันจะเป็นภัยต่อพระราชบัลลังก์ในเวลาเดียวกัน นายปรีดีพนมยงค์ ได้โทรเลขกราบบังคมทูลกล่าวหาว่าพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากรเป็นการถวายฏีกามาเช่นกัน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยให้ นายปรีดี พนมยงค์กลับประเทศไทยทันที แต่บิดนายปรีดีพนมยงค์ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายฏีกาขอให้เลื่อนเวลาเรียกตัวนายปรีดีกลับประเทศไทยเป็นหลังการสอบไล่ปริญญาดุษฏีบัณฑิตทางกฏหมายให้สำเร็จเรียบร้อยประกอบกับเจ้าพระยามราช (ปั้น สุขุม) ได้กราบบังคมทูลให้เลื่อนเวลาเรียกตัวนายปรีดี กลับเช่นกันพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายปรีดีพนมยงค์ศึกษาต่อจนจบ โดยมีเงื่อนไขว่า นายปรีดี พนมยงค์จะต้องทำหนังสือขอขมาต่อพระวงวงศ์เธอพระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากรและให้สัญญาว่าจะเชื่อฟังคำสั่งของเอกอัครราชทูตด้วย
              ความขัดแย้งระหว่างเอกอัครราชทูตกับนักเรียนไทยทำให้นักเรียนไทยประสงค์จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น
              นายปรีดี พนมยงค์จึงได้รวมกลุ่มเพื่อนที่ไว้วางใจได้ มีจำนวน 7 คน ประชุมกันเป็นครั้งแรกที่หอพักแห่งหนึ่งในถนนซอมเมอราร์ด กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2469 ผู้เข้าร่วมประชุม 7 คน มีดังนี้
    1) นายปรีดี พนมยงค์ นักศึกษากฏหมาย
    2) ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรีนักศึกษาวิชากฏหมายและหนังสือพิมพ์
    3) ร้อยโท แปลก ขีตตะสังคะ นักศึกษาวิชาทหารปืนใหญ่
    4) ร้อยโท ทัศนัย มิตรภักดี นักศึกษาทหารม้ายานเกราะ
    * 4 คนนี้ศึกษา ณ กรุงปารีส
    5) นายแนบ พหลโยธิน นักศึกษากฏหมายที่ประเทศอังกฤษ
    6) นายตั้ว ลพานุกรมนักศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
    7) หลวงศิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี)ผู้ช่วยทูตไทยในกรุงปารีส
    คนกลุ่มนี้ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองผลการประชุมครั้งแรกมีมติให้ นายปรีดี พนมยงค์เป็นหัวหน้าจนกว่าจะมีบุคคลอื่นที่เหมาะสม และได้มีข้อตกลงเบื้องต้น 3 ประการคือ
    1)การหาความรู้ที่เป็นประโยชน์ให้ความคิดในการดำเนินการยึดอำนาจการปกครอง
    2)กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะร่วมคณะ
    3)การหาทุนรอนที่จะใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
              สมาชิก 7 คนแรก เรียกว่าคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ต่อมา นายปรีดี พนมยงค์ได้เสนอ
              ในที่ประชุมให้ใช้ชื่อคณะราษฎรต่อจากนั้นผู้ที่เข้าร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ต่างประเทศและที่อยู่ในประเทศไทยก็ใช้ชื่อคณะว่า คณะราษฎรและที่ใช้คำว่า คณะเพราะก่อน พ.ศ. 2475 ปทานุกรมของกระทรวงธรรมการและทางราชการ ยังมิได้ใช้คำว่า พรรคเพื่อเรียกองค์การหรือพรรคการเมือง นักวิชาการใช้คำไทยวา “Party” ต่อมาพระวงวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงแนะนำให้ใช้คำไทยว่า คณะพรรคถ่ายทอดคำอังกฤษ “Political Party” เมื่อ พ.ศ.2480 ในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2489 ได้ตัดคำว่าคณะ ออก จึงเหลือแต่ พรรค” “พรรคการเมืองเพิ่มเริ่มใช้เป็นทางการเมื่อ พ.ศ.2492 และเหตี่ใช้คำว่า ราษฎรเพราะผู้ก่อการฯทุกคนเป็นราษฎรไทยแท้จริงและสมาชิกคณะราษฎรทั้งหลายยอมอุทิศตนและความเหนื่อยยากเพื่อราษฎรให้บรรลุถึงซึ่งประชาธิปไตยดังที่นักประชาธิปไตยส่วนมากย่อมทราบว่าประธานาธิบดี ลินคอล์น ได้สรุปคำว่าประชาธิปไตยได้อย่างเหมาะสมว่า รัฐบาลของราษฎร โดยราษฎร เพื่อราษฎรและได้อธิบายเพิ่มเติมว่า สมาชิกคณะราษฎร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
    ดี 1ได้แก่บุคคลที่สมควรจะได้รับคำชักชวนให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะราษฎรก่อนวันลงมือยึดอำนาจรัฐ
    ดี 2ได้แก่ บุคคลที่จะได้รับคำชักชวนต่อเมื่อได้ลงมือปฏิบัติในการยึดอำนาจรัฐแล้ว
    ดี 3ได้แก่บุคคลที่จะได้รับคำชักชวนในวันลงมือปฏิบัติการยึดอำนาจนั้นภายหลังที่การยึดอำนาจรัฐได้มีท่าทีแสดงว่าจะเป็นผลสำเร็จมากกว่าเป็นความไม่สำเร็จ
              การก่อตั้งคณะราษฎรได้ทำเป็นการลับเพราะมีวัตถุประสงค์จะล้มระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การจะชัดชวนใครเข้ามาเป็นสมาชิกต้องเสนอขอความเห็นจากคณะกรรมการกลางของคณะราษฎร ซึ่งก็คือบุคคล 7 คนที่ได้กล่าวนามไว้ข้างต้นเมื่อได้รับความเห็นอนุมัติเป็นเอกฉันท์บุคคลผู้นั้นจึงจะได้สมาชิกคณะราษฎรได้ชักชวนบุคคลที่ไว้ใจได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอีกหลายคนเมื่อคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเดินทางกลับมารับราชการในประเทศไทยแล้วจึงขยายการชักชวนผู้เข้าร่วมได้มากขึ้น และวางแผนดำเนินงานมาตามลำดับ
    2. กลุ่มนายทหารในประเทศไทย
              ถึงแม้คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองจะเข้ามาประสานงานในกรุงเทพการดำเนินงานเป็นไปอย่างช้ามาก และถึงจะมีผู้มาร่วมคิดปฏิวัติมากขึ้นก็ยังไม่มีความหมาย ถ้าไม่มีอำนาจหรือกำลังอยู่ในมือ ดังนั้นผู้ก่อการปฏิวัติจึงได้ตั้งความหวังทางด้านทหารเป็นสำคัญ ใน พ.ศ.2474 ร้อยโท ประยูรภมรมนตรี ซึ่งเป็นผู้อยู่ในคณะราษฎรแต่แรกเริ่มด้วยผู้หนึ่งได้ทำหน้าที่เป็นผู้ติดต่อขอความร่วมมือชักชวนคณะนายทหารผู้ใหญ่ซึ่งอาจมีความคิดเปลี่ยนการปกครองอยู่แล้วให้มาจับมือกับพลเรือนคณะราษฎร คณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ได้แก่
    1.       พันเอก พระยาพหลพลหยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นรองจเรทหารบก
    2.       พันเอก พระยารงสุรเดช (เทพพันธุมเสน) อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาทหารประจำกรมยุทธศึกษาทหารบก
    3.       พันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละเอมะสิริ) ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์เป็นบุคคลที่มีกำลังทหารอยู่ในมือ
    4.       พันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) ผู้อำนวยการโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
    นายทหาร 4 คนนี้ เรียกว่าสี่ทหารเสือ
    พันเอก พระยาทรงสุรเดชได้บันทึกไว้ว่าพวกที่คิดปฏิวัติมีทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนผู้คิดการฝ่ายทหาร
              ไม่ทราบว่าพลเรือนซึ่งมีหลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์)เป็นหัวหน้าได้เริ่มคิดการนี้ตั้งแต่ปีไหน แต่ทางฝ่ายทหาร 4 คนนี้ได้สนทนาถึงเรื่องเช่นนี้ก่อนเวลาปฏิวัติใน ราว 2-3 ปีโดยไม่รู้ว่ามีพวกพลเรือนคิดอยู่เหมือนกันคณะนายทหารที่กล่าวมาบางคนก็ได้ศึกษามากจากต่างประเทศ เช่น พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พันเอก พระยาทรงสุรเดช พันโท พระประศาสน์พิทยายุทธเป็นนักศึกษาทหารจากประเทศเยอรมันนี เป็นต้น
              กลุ่มนายทหารในประเทศไทยไม่พอใจการปกครองประเทศในขณะนั้นเห็นว่าเป็นการผูกขาดการปกครองโดยพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ดังคำวิพากษ์วิจารณ์ของ พันเอก พระยาพหลพลยุหเสนา ว่า
    ดูพวกข้าราชการผู้ใหญ่และพวกเจ้านายทำกันตามอำเภอใจไม่ใคร่
    เอาใจใส่ในความเห็นของผู้น้อย ซึ่งแม้จะมีเหตุผลควรเชื่อก็ตามพวก
    ผู้ใหญ่มักจะถือเสียว่า ความเห็นของผู้น้อยนั้นจะดีหรือไม่สำคัญหาก
    อยู่ที่ว่าถูกใจหรือไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกผู้น้อยซึ่งอาจมีสติปัญญาดี ๆก็
    เกิดความท้อถอยไม่อยากแสดงความคิดเห็น ทั้ง ๆ ที่เชื่อแน่ว่าอาจจะ
    มีประโยชน์ต่อบ้านเมืองและเมื่อการบริหารราชการบ้านเมืองดำเนิน
    ไปตามความเห็นของพวกผู้ใหญ่ไม่กี่คนซึ่งถ้าท่านเหล่านั้นมีความคิดเห็น
    อย่างเก่า ๆ และแคบ ๆ ด้วยแล้วก็อาจชักนำให้บ้านเมืองไปสู่ความเสื่อม
    และความล่มจมได้ง่าย
              พันเอก พระยาทรงสุรเดชได้บันทึกความเห็นเรื่องการปกครองแสดงความไม่พอใจพระบรมวงศานุวงศ์เช่นเดียวกับพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ดังต่อไปนี้
    โดยจะเห็นได้ถนัดว่าการแต่งตั้งเจ้ากันหนักมือจนในสุดท้าย
    ตำแหน่งใหญ่ ๆและสำคัญทั้งหมดต้องอยู่ในมือของเจ้าซึ่งเป็นเครื่องมือ
    แห่งการรักษาเก้าอี้พระเจ้าแผ่นดินในตัวความจริงไม่เป็นการ
    เสียหายอะไรเลยถ้าตั้งเจ้าหน้าที่เฉียบแหลมสามารถขึ้นทำหน้าที่
    สำคัญ แต่การณ์มิได้เป็นเช่นนั้นดูสักแต่ว่าเป็นเจ้าละก็ตั้งได้โดยไม่
    จำกัดเสียเลย
              การที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตัดทอนรายจ่ายด้วยการดุลข้าราชการออก เพราะภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศก็ได้กระทบกระเทือนถึงกิจการทหารทำให้ต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงวิธีจัดการปกครองกระทรวงกลาโหมและกองทัพบกเพื่อประหยัดรายจ่ายของแผ่นดิน เพื่อให้งบประมาณรายได้และรายจ่ายเข้าสู่ดุลยภาพกระทรวงกลาโหมได้มีวิธีการเป็นขั้นตอนตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2468 ถึงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2475 ดังนี้
    ครั้งที่ 1พ.ศ. 2469 เลิกกรมทหารและกองทหาร 10 รายการ ได้คัดนายทหารออกจากประจำการรวมทั้งหมดในครั้งนั้น 25 นาย
    ครั้งที่ 2พ.ศ. 2471 ยุบกรมทหารและรวมกองพลทหาร 7 รายการ
    ครั้งที่ 3พ.ศ. 2474 รวมกระทรวงทหารเรือเข้ากับกระทรวงกลาโหม ในปี พ.ศ.2474 มีบัญชีรายนามผู้ที่ถูกคิดออกจากตำแหน่งในปลายปีคือ ชั้นนายพล 6 คนชั้นนายพันทหารบก 31 คน ชั้นนายร้อยทหารบก 78 คน ชั้นนายนาวาทหารเรือ 12 คนชั้นนายเรือ (ทหารเรือ) 26 คน รวมทั้งหมด 153 คน
              นโยบายดุลยภาพเป็นผลให้ข้าราชการทั่วไปต้องว่างงานยิ่งพวกทหารยิ่งเกิดความปั่นป่วนเพราะต่างก็ไม่แน่ใจในสถานภาพของตนเอง เมื่อ พลเอกพระองค์เจ้าบวรเดชกฤดากรเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งทำให้เกิดความโทมนัสแก่นายทหารเมื่อคิดว่าขาดผู้มีหน้าที่ปกครองดูแลรับผิดชอบให้ความยุติธรรมแก่บรรดาทหารทั้งหลายโดยเฉพาะพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้เคารพนับถือและใกล้ชิด พลเอก พระองค์เจ้าบวรเดชกฤดากรการลาออกของเสนาบดีกระทรวงกลาโหมน่าจะเป็นแรงกระตุ้นแรงหนึ่งในกลุ่มนายทหารในประเทศไทยที่คิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง
              ดังนั้นเมื่อกลุ่มนายทหารในประเทศไทยได้มีการติดต่อร่วมมือกับกลุ่มนักเรียนไทยในต่างประเทศที่กลับมาอยู่ในประเทศไทยแล้วการวางแผนยึดอำนาจการปกครองจึงได้เกิดขึ้นทั้งสองกลุ่มต่างก็ได้รับแนวคิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากบุคคลและเหตุการณ์ที่เกิดในอดีตมาแล้วเช่น นายปรีดี พนมยงค์ได้เขียนบทความแสดงการรับแนวความคิดจากบุคคลในคณะที่ทำคำกราบบังคมทูลถวยความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดินร.ศ.103 ก.ศ.ร. กุหลาบและเทียนวรรณ รวมทั้งเหตุการณ์กบฏ ร.ศ.130 ซึ่งนายปรีดีพนมยงค์ กล่าวว่าพวกผมถือว่าการปฏิวัติครั้งนี้เป็นการกระทำต่อเนื่องกันมาจากการกระทำเมื่อ ร.ศ.130 และพันเอกพระยาพหลพลหยุหเสนา ได้กล่าวกับขุนทวยหายพิทักษ์ว่า ถ้าไม่มีคณะคุณก็คงเห็นจะไม่มีคณะผม เป็นที่แน่นอนว่าทั้งสองกลุ่มของคณะราษฎร ได้ศึกษาบทเรียนจากคณะปฏิวัติคณะแรกคือ กบฎ
              ร.ศ.130 การปฏิวัติครั้งแรกล้มเหลวเพราะสมาชิกของกลุ่มนำความลับไปเปิดเผย ดังนั้นคณะราษฎรจะต้องระมัดระวังในการหาสมาชิกที่ไว้วางใจได้ประการหนึ่งอีกประการหนึ่งแผนปฏิวัติต้องรัดกุม รวดเร็ว และมีอำนาจที่ทุกคนจะต้องยอมคือมีอาวุธเป็นเครื่องมือ
    การเปลี่ยนแปลงการปกครอง
    1.เหตุการณ์ก่อนวันปฏิวัติ
              การประชุมวางแผนยึดอำนาจ กำหนดกันไว้ตามสถานที่และโอกาสต่าง ๆหลายประการการยึดอำนาจจะใช้กำลังทหารบกเป็นส่วนใหญ่ ทาง พันเอก พระยาทรงสุรเดช นั้นมีเพื่อนคนสำคัญคือ พันโท พระสิทธิพลเรืองเดช เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยคณะราษฎรจึงหวังว่าจะได้กำลังทางอาจารย์และนักเรียนนายร้อยส่วนกำลังทางด้านทหารม้าและรถถังนั้น พันตรีหลวงพิบูลสงคราม รับรองจะหามาให้ได้สำหรับกำลังทางด้านทหารเรือ นาวาตรี หลวงสินธุ สงครามชัยจะเป็นผู้รับผิดชอบ
              ในขณะที่กำลังดำเนินงานตามแผนก็ได้มีเรื่องทางการเมืองมาแทรกอันเป็นประโยชน์ต่อคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองอย่างมากกล่าวคือ พลเอก พระองค์เจ้าบวรเดช ที่ได้ทรงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมเพราะขัดแย้งด้วยเรื่องการเสนอขึ้นเงินเดือนของนายทหารกองทัพบกได้ทรงวางแผนการที่จะปรับปรุงการบริหารประเทศให้มีรัฐธรรมนูญขึ้น เช่นกันได้ทรงชวนนายทหารชั้นผู้ใหญ่มาปรึกษาหารือ จึงเกิดเป็นเรื่องหวาดระแวงที่พลเอกพระองค์เจ้าบวรเดช จะทรงวางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองดังนั้นตำรวจจึงได้เพ่งเล็งสอบสวนความเคลื่อนไหวของพลเอก พระองค์เจ้าบวรเดชโดยเฉพาะในวันที่มีพิธีเปิดสะพานพระพุทธยอดฟ้าได้มีการระดมกำลังตำรวจทั้งในพระนครและต่างจังหวัดมาควบคุมสถานการณ์เมื่อทุกคนมาเพ่งเล็งที่ พลเอกพระองค์เจ้าบวรเดชก็ไม่มีผู้ให้ความสนใจกับผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองแม้จะทราบระแคะระคายอยู่บ้าง
              ต่อมาทางตำรวจได้ทราบความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองอย่างชัดแจ้งในต้นเดือนมิถุนายนพลตำรวจโท พระยาอธิกรณ์ประกาศ อธิบดีกรมตำรวจ กับ พันตำรวจเอกพระยาธรณีนฤเบศรผู้บังคับการตำรวจกองปราม ได้ทำหมายจับผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 5 คนมี
    1.อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐมนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)
    2.พันตรี หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ชิตตะสังคะ)
    3.นาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัย
    4.ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี
    5.ดร. ตั้ว ลพานุกรม
              โดยนำความไปกราบทูลจอมพลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยให้ลงพระนามเพื่อจะจับกุมบุคคลดังกล่าวแต่เมื่อเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทรงเห็นชื่อผู้ที่อยู่ในหมายจับทรงทักว่าดูชื่อแล้วเป็นเด็ก ๆ ไม่มีความหมายและยับยั้งการออกหมายจับคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงได้รอดจากการถูกจับกุมและยิ่งเป็นเหตุให้รีบกำหนดวันลงมือทำตามแผนทันที
              แผนของคณะราษฎรจะต้องทำอย่างรัดกุมเพราะถ้ามีการพลาดพลั้งคณะราษฎรก็จะได้รับโทษในฐานะเป็นกบฏต่อแผ่นดินแผนดำเนินการก็คือ แบ่งบุคคลออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายทหารบก ฝ่ายทหารเรือและฝ่ายพลเรือน
    สายทหาร
    1.นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาหัวหน้าสายทหารบก
    2.นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช
    3.นายพันเอก พระยาฤทธิ์อัคเนย์
    4.นายพันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ์
    5.นายพันตรี หลวงพิบูลสงคราม
    6.นายพันตรี หลวงสฤษฎิ์ยุทธศิลป์
    7.นายพันตรี หลวงอำนวยสงคราม
    8.นายร้อยเอก หลวงชำนาญยุทธศิลป์
    9.นายร้อยเอก หลวงกาจสงคราม
    10.นายร้อยเอก เกรียงศักดิ์พิชิต
    11.นายร้อยเอก หลวงชาญสงคราม
    12.นายร้อยเอก หลวงเชวงศักดิ์สงคราม
    13.นายร้อยเอก หลวงทัศไนยนิยมศึก
    14.นายร้อยเอก หลวงพรหมโยธี
    15.นายร้อยเอก หลวงรณสิทธิพิชัย
    16.นายร้อยเอก หลวงสวัสดิ์รณรงค์
    17.นายร้อยเอก หลวงเสรีเริงฤทธิ์
    18.นายร้อยเอก หลวงอดุลเดชจรัส
    19.นายร้อยโท ขุนสุจริตรณการ
    20.นายร้อยโท ขุนจำนงภูมิเวท
    21.นายร้อยโท ขุนนิรันดรชัย
    22.นายร้อยโท ขุนพิพัฒน์สรการ
    23.นายร้อยโท ขุนปลดปรปักษ์
    24.นายร้อยโท ขุนเรืองวีรยุทธิ์
    25.นายร้อยโท ขุนวิมลสรกิจ
    26.นายร้อยโท ขุนศรีศรากร
    27.นายร้อยโท ไชย ประทีปะเสน
    28.นายร้อยโท วิชัยขัทคะ
    29.นายร้อยโท น้อม เกตุนุติ
    30.นายร้อยตรี จำรูญ จิตรลักษณ์
    31.นายร้อยตรี สมาน เทพสหัสดิน ณ อยุธยา
    32.นายร้อยตรี อุดม พุทธิเกษตริน
    (พจน์ พหลโยธิน)
    (เทพพันธุมเสน)
    (สละ เอมะศิริ)
    (วันชูถิ่น)
    (แปลก ขีตตะสังคะ)
    (เพียรพิริยะโยธิน)
    (ถม เกษะโกมล)
    (เชย รมยะนันท์)
    (เทียนเก่งระดมยิง)
    (ค้วน จินตะคุณ)
    (พาน ชาลีจันทร์)
    (ช่วง ขวัญเชิด)
    (ทัศนัย มิตรภักดี)
    (มังกร ผลชีวิน)
    (เจือ กาญจนพินทุ)
    (สวัสดิ์ดาระสวัสดิ์)
    (จรูญ รัตนกุล)
    (บัตร พึ่งพระคุณ)
    (ผ่องนาคะนุช)
    (จำนง ศิวะแพทย์)
    (สเหวก นีลัญชัย)
    (เท้ง พัฒนศิริ)
    (ปลด ภาณุสะวะ)
    (บุญเรืองวีระหงส์)
    (วิมล เก่งเรียน)
    (ชะลอ ศรีศรากร)
    สายทหารเรือ
    1.นายนาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัยหัวหน้าสายทหารเรือ
    2.นายนาวาตรี หลวงศุภชลาลัย
    3.นายพันตรี หลวงวิจักรกลยุททธ
    4.นายเรือเอก หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์
    5นายเรือเอก หลวงนาวาวิจิต
    6.นายเรือเอก หลวงนิเทศกลกิจ
    7.นายเรือเอก หลวงสังวรยุทธกิจ
    8.นายเรือเอก สงบ จรูญพร
    9.นายเรือเอก ชลิต กุลกำม์ธร
    10.นายเรือเอก สงวน รุจิราภา
    11.นายเรือโท จิบ ศิริไพบูลย์
    12.นายเรือโท ทองหล่อ ขำหิรัญ
    13.นายเรือโท ทิพย์ ประสานสุข
    14.นายเรือโท ประเสริฐ สุขสมัย
    15.นายเรือโท วัน รุยาพร
    16.นายเรือโท หลี สินธุโสภณ
    17.นายเรือตรี กุหลาบ กาญจนสกุล
    18.นายเรือตรี ชั้น รัศมิทัต
    19.นายเรือตรี ทองดี ระงับภัย
    20.นายวนิช ปานะนนท์
    21.นายจำรัส สุวรรณชีพ
    (สินธุ์ กมลนาวิน)
    (บุง ศุภชลาชัย)
    (เศียร สู่ศิลป์)
    (ถวัลย์ธารีสวัสดิ์)
    (ผัน อำไพวัลย์)
    (กลาง โรจนเสนา)
    (สังวร สุวรรณชีพ)
     
    สายพลเรือน
    1.อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรมหัวหน้าสายพลเรือน
    2.อำมาตย์ตรี หลวงศิริราชไมตรี
    3.รองอำมาตย์เอก หลวงโกวิทอภัยวงศ์
    4.เสวกตรี หลวงนฤเบศร์มานิตย์
    4.รองอำมาตย์เอก หลวงชำนาญนิติเกษตร
    6.รองอำมาตย์เอก หลวงอรรถสารประสิทธิ์
    7.รองอำมาตย์เอก หลวงอรรถกิติกำจร
    8.รองอำมาตย์เอก หลวงสุนทรเทพหัสดิน
    9.รองอำมาตย์เอก หลวงเดชาติวงศ์วราวัฒน์
    10.รองอำมาตย์เอก ตั้ว ลพานุกรม
    11.รองอำมาตย์เอก ประจวบ บุนนาค
    12.รองอำมาตย์เอก ม.ล.อุดม สนิทวงศ์
    13.นายแนบ พหลโยธิน
    14.รองอำมาตย์โท ทวี บุณยเกตุ
    15.นายร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี
    16.นายวิลาศ โอสถสถานนท์
    17.รองอำมาตย์โท จรูญ สืบแสง
    18.นายเล้ง ศรีสมวงศ์
    19.นายดิเรก ชัยนาม
    20.นายวิเชียร สุวรรณทัต
    21.รองอำมาตย์โท ชุณห์ ปิณฑานนท์
    22.นายสวัสดิ์ โสตถิทัต
    23.นายจิตตะเสน ปัญจะ
    24.นายยงค์ เยอร์เกนส์
    25.นายเอก สุถโปฎก
    26.นายสุรินทร์ ชิโนทัย
    27.นายศิริ ชาตินันทน์
    28.นายเฉลียว ปทุมรส
    29.นายบรรจง ศรีจรูญ
    30.นายประเสริฐ ศรีจรูญ
    31.นายแช่มมุสตาฟา
    32.นายการิม ศรีจรูญ
    33.นายสงวน ตุลารักษ์
    34.นายชิม วีระไวทยะ
    35.นายหงวน ทองประเสริฐ
    36.นายบุญล้อม พึ่งสุนทร
    37.นายเจริญ ปัณฑโร
    38.นายทองเปลว ชลภูมิ
    39.นายบุญเจือ อังศุวัฒน์
    40.นายชุบ ศาลยาชีวิน
    41.นายกลิ่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา
    42.นายสอน บุญจูง
    43.นายยล สมานนท์
    44.นายยิน สมานนท์
    45.นายร้อยตำรวจโท เชย กลัญชัย
    46.นายร้อยตรี เที่ยง เฉลิมศักดิ์
    (ปรีดี พนมยงค์)
    (จรูญ สิงหเสนี)
    (ควง อภัยวงศ์)
    (สงวน จูฑะเตมีย์)
    (อุทัย แสงมณี)
    (ทองเย็นลีละเมียร)
    (กลึง พนมยงค์)
    (สพรั่ง เทพหัสดิน ณอยุธยา)
    (ม.ล. กรีเดชาติวงศ์)
     
    หัวหน้าคณะก่อการฝ่ายทหารบกได้แก่
    พันเอก พระยาพหลพยุหเสนา
    พันเอก พระยาทรงสุรเดช
    พันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์
    และพันเอกพระประศาสน์พิทยายุทธ
    ฝ่ายเสนาธิการได้แก่พันเอก พระยาทรงสุรเดช เป็นหัวหน้า
    ฝ่ายทหารบกชั้นผู้น้อยได้แก่ พันตรี หลวงพิบูลสงครามเป็นหัวหน้า
    หัวหน้าคณะก่อการฝ่ายทหารเรือได้แก่ นาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัย
    หัวหน้าคณะก่อการฝ่ายพลเรือนได้แก่ หลวงประดิษฐมนูธรรม
    พันเอก พระยาทรงสุรเดชในฐานะเสนาธิการ ได้เสนอแผนการยึดอำนาจการปกครอง รวม 3 แผนด้วยกัน
    แผนที่ 1นัดประชุมนายทหารกรมเสนาธิการที่กรมยุทธศึกษาหรือว่าศาลาว่าการกระทรวงกลาโหมเพ่อที่คณะราษฎรจะได้ประกาศเปลี่ยนแปลงท่ามกลางนายทหารเหล่านี้หากผู้ใดไม่เห็นด้วยหรือแสดงอาการขัดขวาง ทางฝ่ายคณะราษฎรก็จะเข้าควบคุมตัวเอาไว้ในขณะที่ประชุมนายทหารอยู่นั้นผู้ก่อการฝ่ายทหารเรือและฝ่ายพลเรือนก็จะแยกย้ายกันไปคุมตามวังพระบรมวงศานุวงศ์และบ้านข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ภายหลังที่ประชุมนายทหารสิ้นสุดลงจะนำบุคคลสำคัญไปกักตัวไว้ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมหรือบนเรือรบ
    แผนที่ 2จัดหน่วยต่างๆ ไปควบคุมตามวังพระบรมวงศานุวงศ์และบ้านข้าราชการคนสำคัญพร้อมกันนั้นก็จัดหน่วยออกทำการจัดการสื่อสารติดต่อและในขณะเดียวกันก็ออกคำสั่งลวงให้นายทหารไปชุมนุมกัน ณ ลานพระบรมรูปเพื่อที่คณะราษฎรจะได้ประการเปลี่ยนแปลงการปกครองต่อนายทหารเหล่านี้
    แผนที่ 3กำหนดให้นายทหารหน่วยหนึ่งจู่โจมเข้าคุม จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตมาประทับที่พระที่นั่งอนันตสมาคมเพื่อเป็นประกันความปลอดภัยแก่คณะราษฎรและดำเนินการอื่น ๆในทำนองเดียวกันกับแผนการที่ 2
              ที่ประชุมตกลงให้ดำเนินการตามแผนที่ 3 และได้กำหนดวันดำเนินการในชั้นแรกว่าให้เป็นวันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2475
              โอกาสในการลงมือยึดอำนาจการปกครองนั้นต้องอยู่ในช่วงระยะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปหัวหิน เพื่อทอดพระเนตรการทดลองการยิงปืนใหญ่ซึ่งมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่ แม่ทัพ นายกองไปร่วมในการประลองอาวุธในครั้งนั้นเป็นส่วนมาก ส่วนมากที่จะคุม จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตนั้นคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้สืบทราบมาว่า จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตมักจะเสด็จประพาสลำน้ำเจ้าพระยาในวันเสาร์และจะเสด็จกลับในวันจันทร์ถ้าดำเนินการในวันอาทิตย์ก็อาจจะไม่ได้พระองค์ท่านมาเป็นองค์ประกันจึงได้เลื่อนการปฏิบัติการไปเป็นวันอังคารี่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2475
              ต่อมาที่ประชุมได้ตกลงเลื่อนวันปฏิบัติการไปเป็นวันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายนเนื่องจากได้รับรายงานว่า ในวันอังคาร เรือรบยามฝั่งยังไม่กลับหากตกลงทำการในวันพฤหัสบดีที่ 23 ก็จะขาดทหารเรือ
              ในวันที่ 22 มิถุนายนก็มีรายงานว่า บรรดาสมาชิกคณะราษฎร ยังไม่พร้อมที่จะทำการยึดอำนาจในวันที่ 23 มิถุนายน ดังนั้นวันปฏิบัติจึงเลื่อนไปวันที่ 24 มิถุนายน 2475
    2. วันปฏิวัติ
              เช้ามืดของวันที่ 24 มิถุนายนพ.ศ.2475 ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี นายควง อภัยวงศ์ รับหน้าที่ตัดสายโทรเลข โทรศัพท์เพื่อไม่ให้ฝ่ายรัฐบาลใช้ติดต่อสื่อสารถึงกันได้
              การเรียกทหารออกมาจากหน่วยที่ตั้ง เป็นหน้าที่ของพันเอกพระยาทรงสุรเดชและพันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ ออกคำสั่งให้กองทัพรถรบ กองพันทหารราบนักเรียนโรงเรียนนายร้อย ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ และกองทัพทหารช่างมารวมกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งนาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัยได้นำทหารเรือจำนวนหนึ่งมารออยู่ก่อนแล้ว พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาให้เปิดคลังอาวุธจ่ายกระสุนจริง โดยอ้างว่าจะทำการซ้อมรบ และได้ลวงให้หน่วยทหารต่างๆ เหล่านั้นมาอยู่ในที่จำกัด เรียกประชุมแม่ทัพนายทหารขั้นผู้บังคับบัญชาของหน่วยทหารนั้น ๆแล้วให้คณะนายทหารผู้ร่วมคิดในการเปลี่ยนแปลงการปกครองล้อมไว้ ไม่ทราบใครเป็นใครต่อจากนั้น พันเอก พระยาพหลพยพหุหเสนาผู้เป็นหัวหน้าก็อ่านคำแถลงการณ์ยึดอำนาจเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วก็ให้ทหารทั้งหมดเดินเข้าไปอยู่ในรั่วพระที่นั่งอนันตสมาคมยึดพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นกองบัญชาการของคณะราษฎร
    คำแถลงการณ์ยึดอำนาจได้กล่าวถึงเหตุผลี่ต้องเข้ายึดอำนาจและได้กล่าวประฌามพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและพวกเจ้าด้วยถ้อยคำรุนแรงในคำแถลงการณ์ได้ระบุถึงวัตถุประสงค์ 6 ประการ เป็นหลักใหญ่ ๆในการบริหารประเทศของคณะราษฎรว่า
    1) จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมืองการศาลในทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง
    1.       จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศให้การประทุษร้านต่อกันลดน้อยลงให้มาก
    2.       ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจโดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางาให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
    3.       จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน
    4.       จะต้องให้ราษฎรมีเสรีภาพมีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าว
    5.       จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
              คณะราษฎรได้ส่งกำลังเข้าควบคุมสถานที่สำคัญทางราชการในกรุงเทพมหานครไว้ได้เป็นส่วนใหญ่เช่น กรมไปรษณีย์กลางคลังแสงสรรพาวุธของกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์สถานีรถไฟหัวโพงสถานีวิทยุกระจายเสียง ตลอดจนกระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ
              ผู้ที่จะปฏิบัติการควบคุมบุคคลสำคัญได้แก่ พันโท พระประศาสน์พิทยายุทธซึ่งได้สั่งให้จับกุมบุคคลที่มีอำนาจสั่งงานเป็นหลายสายโดยเฉพาะผู้ที่มีความสำคัญที่สุดในพระนครก็คือจอมพลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการพระนคร ประธานอภิรัฐมนตรีสภาและเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย พันโทพระประศาสน์พิทยายุทธได้เชิญเสด็จผู้สำเร็จราชการพระนครมายังพระที่
              นั่งอนันตสมาคมเพื่อเป็นเครื่องต่อรองกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเป็นการตัดกำลังของฝ่ายรัฐบาลเพราะพระองค์ทรงเป็นที่เคารพนับถือของบรรดานายทหารและข้าราชการทั่วไปซึ่งพระองค์อาจจะทรงสั่งการเพื่อทำการต่อต้านคณะราษฎรได้
              บุคคลสำคัญที่คณะราษฎรทูลเชิญและเชิญมาไว้เป็นตัวประกันในพระที่นั่งอนันตสมาคมอีกก็คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ พระยาสีหราชเดโชชัยเสนาธิการทหารบก พลโท พระยาเฉลิมอากาศ เจ้ากรมอากาศยาน พลตำรวจโทพระยาอธิกรณ์ประกาศ อธิบดีกรมตำรวจ
              ส่วน พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน อภิรัฐมนตรีและเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมได้ทรงขับหัวรถจักรลำพังพระองค์เองไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ 5.00 นาฬิกา
              จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตทรงตัดสินพระทัยไม่ใช้กำลังโต้ตอบคณะราษฎรให้เกิดการเสียเลือดเนื้อและทรงยินยอมออกแถลงการณ์ให้ประชาชนอยู่ในความสงบต่อจากนั้นคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารได้เชิญบรรดาเสนาบดีและปลัดทูลฉลองของทุกกระทรวงมาประชุมณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ในการประชุมครั้งนี้มีหลวงประดิษฐมนูธรรมร่วมด้วยและเป็นผู้ชี้แจงต่อที่ประชุมถึงความประสงคี่คณะราษฎรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
              เมื่อ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ประกาศยึดอำนาจการปกครองแล้วคณะราษฎรก็ประชุมกันจัดตั้งคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารขึ้น 3 คน ได้แก่ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พันเอก พระยาทรงสุรเดช พันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ทำนห้าที่บริหารประเทศในระหว่างที่ยังไม่มีรัฐธรรมนูญและหลวงประดิษฐมนูธรรมก็ได้รับหน้าที่เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญตามแบบประเทศอังกฤษ
              คณะราษฎรได้ส่งโทรเลขไปกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งประทับอยู่ ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหินให้ทรงทราบว่าคณะราษฎรจะส่งเรือบรบหลวงสุโขทัยมารับพระองค์กลับพระนคร
              หลังจากนั้นคณะราษฎรได้มอบหมายให้ นาวาตรี หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย)ผู้บังคับการเรือรบหลวงสุโขทัยนำหนังสือของคณะราษฎรไปกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวดังมีใจความดังต่อไปนี้
    พระที่นั่งอนันตสมาคม
    วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475
    กราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
    วังไกลกังวล หัวหิน
    ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
    ด้วยคณะราษฎร ข้าราชการ ทหาร พลเรือน ได้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินไว้ได้แล้วและได้เชิญเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ มีสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้ากรมพระนครวรรค์วรพินิต เป็นต้น ไว้เป็นประกันถ้าหากคณะราษฎรนี้ถูกทำลายด้วยการใดก็ดีจะต้องทำร้ายเจ้านายที่จับกุมไว้เป็นการตอบแทน
    คณะราษฎรไม่ประสงค์จะแย่งชิงราชสมบัติแต่อย่างใดความประสงค์อันใหญ่ยิ่งก็เพื่อจะให้มีธรรมนูญการปกครองแผ่นดินจึงขอเชิญใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเสด็จกลับคืนสู่พระนคร และทรงเป็นกษัตริย์ต่อไปโดยอยู่ใต้รัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินซึ่งคณะราษฎรได้สร้างขึ้นถ้าใต้ฝาละอองธุลีพระบาทตอบปฏิเสธก็ดีหรือไม่ตอบภายในหนึ่งชั่วโมงนับแต่ได้รับหนังสือนี้ก็ดีคณะราษฎรจะได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินโดยเลือกเจ้านายพระองค์อื่นที่เห็นสมควรขึ้นเป็นกษัตริย์
    ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
    พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
    พ.อ.พระยาทรงสุรเดช
    พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์
              พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตัดสินพระราชหฤทัยเสด็จกลับพระนครตามคำกราบบังคมทูลของคณะราษฎรทรงปฏิเสธไม่กลับพระนครกับเรือรบหลวงสุโขทัยแต่แสดงพระประสงค์จะเสด็จโดยทางรถไฟในวันที่ 25 มิถุนายน 2475 ถึงแม้ว่าจะมีผู้เสนอให้พระองค์เสด็จออกไปต่างประเทศก่อน แล้วค่อยเจรจากับคณะราษฎรแต่พระองค์ทรงเห็นแก่ความเรียบร้อยของประเทศ มิใช่เพื่อพระราชวงศ์จักรีดังพระราชหัตถเลขาทรงตอบคณะราษฎรแสดงให้เห็นถึงขัตติยมานะในความเป็นพระมหากษัตริย์อันสูงส่งและทรงมีชั้นเชิงในทางการเมืองและการปกครองที่เหนือกว่าคณะราษฎรดังจะเห็นได้จากพระราชหัตถเลขาตอบ ต่อไปนี้
     
     
     
     
    สวนไกลกังวลหัวหิน
    วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2475
    ถึงผู้รักษาพระนคร
    ด้วยได้ทราบความตามสำเนาหนังสือที่ส่งไปยังกระทรวงมุรชาธรว่าคณะทหารมีความปรารถนาจะเชิญให้ข้าพเจ้ากลับพระนครเป็นกษัตริย์อยู่ใต้พระธรรมนูญการปกครองแผ่นดินข้าพเจ้าเห็นแก่ความเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎรไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อกับทั้งเพื่อจัดการโดยละม่อมละไมไม่ให้ขึ้นชื่อได้ว่าจลาจลเสียหายแก่บ้านเมืองและข้าพเจ้าก็ได้คิดอยู่แล้วที่จะเปลี่ยนแปลงทำนองนี้คือมีพระเจ้าแผ่นดินปกครองตามพระธรรมนูญ จึงยอมรับที่จะช่วยเป็นตัวเชิดเพื่อให้คุมโครงการตั้งรัฐบาล ให้เป็นรูปตามวิธีเปลี่ยนแปลงตั้งพระธรรมนูญโดยสะดวกเพราะว่าถ้าข้าพเจ้าจะไม่ยอมรับเป็นตัวเชิดนานาประเทศก็คงไม่ยอมรับรองรัฐบาลใหม่นี้ซึ่งคงจะเป็นความลำบากยิ่งขึ้นหลายประการ
    ความจริงตัวข้าพเจ้าเอง ในเวลานี้ก็ทราบกันอยู่แล้วว่ามีอาการทุพพลภาพ และไม่มีลูกสืบวงศ์สกุล และจะไม่ทนทานไปนานเท่าใดนักทั้งที่ไม่มีความปรารถนามักใหญ่ใฝ่เกินศักดิ์ และความสามารถที่จะช่วยพยุงชาติของเราให้เจริญเทียมหน้าเขาบ้างพูดมานี้ด้วยความจริงใจเสมอ
    ประชาธิปก ป.ร.
              เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับจากหัวหินแล้วคณะราษฎรได้เข้าเฝ้าที่วังสุโขทัย ในวันที่ 26 มิถุนายน 2475 ห้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญกับพระราชกำหนดนิรโทษกรรมในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกำหนดนิรโทษกรรมส่วนพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามนั้นไม่ทรงเห็นด้วยในการใช้ถ้อยคำบางคำนายพันเอกพระยาทรงสุรเดชเองก็ไม่ได้อ่านมาก่อนและก็มีความรู้สึกไม่พอใจที่หลวงประดิษฐมนูธรรมไม่ได้ร่างรัฐธรรมนูญตามแบบอังกฤษที่บอกไว้ จึงได้ขอรับรัฐธรรมนูญกลับไปแก้ไขและนำกลับมาทูลเกล้าฯ ถวายใหม่ในวันที่ 27 มิถุนายนซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ก็ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย
              คณะราษฎรสามารถยึดอำนาจการปกครองของประเทศได้เป็นผลสำเร็จ ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 จึงเป็นที่น่าเสียดายที่พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จะพรราชทานรัฐธรรมนูญให้ประชาชนขาวไทยไม่ทันการเนื่องจากรัฐบาลของพระองค์ประสงค์จะให้ประชาชนให้มีความรู้เรื่องการปกครองตนเองเสียก่อนเหตุการณ์ยึดอำนาจการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ประชาชนทั่วไปก็ไม่ได้ใส่ใจว่า คืออะไรนอกจากจะตกใจเพียงเล็กน้อยในหมู่ประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงเหตุการณ์ยิ่งที่อยู่นอกเขตเมืองหลวงยิ่งไม่ทราบเรื่องเลย ดังบันทึกของ พันเอกพระยาทรงสุรเดช ที่กล่าวถึงความไม่ทราบเรื่องของประชาชนว่า
    ความไม่เข้าใจและเอาใจใส่ของราษฎรเรา เห็นได้ถนัดเมื่อ
    เมื่อวันประกาศรัฐธรรมนูญที่พระที่นั่งอนันตฯ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน
    พ.ศ. 2475 ต้องต้อนราษฎรให้เข้าไปนั่งในพระที่นั่งเสียแทบแย่และ
    ก็ได้ราษฎรจำนวนสักหยิบมือเดียวไปนั่งโดยไม่รู้เรื่องอะไรหากจะมี
    ละครให้ดู และมีเจ็กขายก๋วยเตี๋ยวด้วยแล้วคนจะไปมากกว่านั้นมาก
    นั่นไม่ได้หมายความว่าเพราะเข้าใจและเลื่อมใสการเปลี่ยนแปลง
    ต้องการเที่ยวสนุกเท่านั้น
              ฮอลล์ได้เขียนไว้ในหนังสือของเขาว่าประชาชนทั่วไปไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรด้วยเลยจริง ๆ แล้ว คณะราษฎรผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองมีทั้งหมด 98 คน เป็นทหารบก 34 คน ทหารเรือ 19 คนและพลเรือน 45 คน เท่านั้น การยึดอำนาจการปกครองได้ก็ได้ปรากฏในบันทึกของพันเอกพระยาทรงสุรเดช ว่า การปฏิวัติครั้งนี้เกิดขึ้นได้จริง ๆเพราะนายทหารบกผู้เป็นหัวหน้าตกลงใจเด็ดขาดให้ลงมือทำ
              การที่ประชาชนโดยทั่วไปยังไม่มีความรู้เข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีหลักการให้ประชาชนมีส่วนในการปกครองนั้นเป็นโอกาสให้คณะผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองถือเป็นข้ออ้างในการผูกขาดอำนาจทางการเมืองติดต่อกันมาเป็นเวลานานคณะราษฎรก็ได้แตกแยกกันจากการทีมีเหตุผลเฉพาะตัวและนโยบายที่ต่างกันหลังจากที่ยึดอำนาจการปกครองแล้ว พันเอก พระยาทรงสุรเดชได้บันทึกไว้ว่า
    สาเหตุที่ทำให้เกิดมีพวกปฏิวัติครั้งนี้ไม่ใช่สาเหตุอันเดียวกันเป็นแน่
    ทีเดียว มันเป็นการยากี่จะรู้ความตั้งใจจริงของแต่ละคนเพราะใครเลย
    จะเปิดเผยความตั้งใจของตัวที่ไม่เป็นมงคลความคิดที่จะกู้ชาติโดยสุจริตใจ
    จะมีอยู่ในตัวบุคคลใดบ้างในจำนวนนี้เท่าที่สังเกตความเป็นไป
    ส่วนหนึ่งต้องการบริหารงานตำแหน่งสำคัญ ๆ ทั้ง ๆที่ตัวไม่มีความรู้และไม่เคยผ่านงานต่ำ ๆ มาเลย...
              ส่วน พันเอก พระยาทรงสุรเดชเข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงการปกครองด้วยเพราะเหตุผล 2 ประการ ได้แก่การที่เห็นว่าพระมหากษัตริย์ขณะนั้น ไม่สามารถในการที่จะบงการโดยอำนาจอันโซลูดให้งานของชาติเจริญรุ่งเรืองได้และประการที่สองการให้ราษฎรปกครองตนเองจะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างดีขึ้นได้
    3.ผลต่อระบบการปกครองของประเทศ
              เดิมการปกครองประเทศไทยตามระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่มีบทกฎหมายกำหนดระบบการปกครองแผ่นดิน เพราะพระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือกฎหมายมีพระราชอำนาจเด็ดขาดในการปกครองแผ่นดินเมื่อคณะราษฎรยึดอำนาจรัฐเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบบประชาธิปไตยจึงมีผลต่อระบบการปกครองประเทศ ประชาชนไทยต้องศึกษารัฐธรรมนูญ รัฐสภาและศัพท์บัญญัติที่ใช้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ การปกครองไทยในระบบประชาธิปไตยมีดังนี้
    1) ประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในประเทศพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจอยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับแรกได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475 รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับแรกได้ประกาศใช้ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475 รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะกำหนดสิทธิ หน้าที่ของพลเมืองกำหนดแนวทางในการบริหารประเทศ
    2) อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย มีการแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตยออกเป็นสามส่วน คือรัฐสภาเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ รัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารและศาลเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการ
    3) มีรัฐสภาซึ่งเป็นองค์กรที่มีความสำคัญเป็นองค์กรที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศด้วยการเลือกผู้แทนไปทำหน้าที่ในฝ่ายนิติบัญญัติฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ การออกกฎหมายการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินและการให้ความเห็นชอบในกิจการสำคัญของประเทศ
    4) คณะรัฐมนตรี คือคณะรัฐบาลทำหน้าที่บริหารประเทศ รัฐธรรมนูญบางฉบับกำหนดให้รัฐมนตรีมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่บางฉบับก็ยินยอมให้บุคคลภายนอกมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้และดำเนินการบริหารให้เป็นไปตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อสภา
    5) ตุลาการมีอิสระในการพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย
    6) พรรคการเมือง เดิมมีแต่คณะราษฎรคณะเดียว ต่อเมื่อเวลาผ่านไป 11 ปีมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 พ.ศ.2489 เปิดโอกาสให้มีพรรคการเมืองอื่น ๆ ได้
    7) ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารได้แก่
    7.1) การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีในการสรรหาตัวบุคคลที่เหมาะสมอาจเรียกประชุมสมาชิกรัฐสภาเพื่อหยั่งเสียงหาตัวบุคคลที่เหมาะสมในการดำรงตำแหน่งหรือใช้วิธีเรียกหัวหน้าพรรคการเมืองเข้าพบเพื่อหยั่งเสียงหาตัวบุคคลที่เหมาะสมได้
    7.2) การแต่งตั้งประธานสภาโดยแต่งตั้งจากสมาชิกสภาคนหนึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
    7.3) การแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการหน้าที่หลักของผู้นำฝ่ายค้านของระบบประชาธิปไตย คือการค้านการบริหารประเทศของรัฐบาลให้ดำเนินไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน
    7.4) การแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาในฐานะที่รัฐสภามีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินคณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดิน จึงต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
    7.5) การเสนอร่างพระราชบัญญัติอาจทำได้ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารแต่รัฐสภามีหน้าที่พิจารณาและให้ความเห็นชอบในการประกาศใช้บังคับเป็นกฏหมาย
    7.6) การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจการเปิดอภิปรายั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะเป็นการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีอีกวิธีหนึ่งผลของการลงมติ ถ้ามีเสียไม่ไว้วางใจตามเกณฑ์กำหนดรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่ง
    7.7) การตั้งกระทู้ถามเป็นการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินอีกวิธีหนึ่งเป็นการถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหารให้ทำไปด้วยความไตร่ตรองรอบคอบ
    7.8) การสอบสวนตรวจตราสอดส่องการปฏิบัติงานของฝายบริหารรัฐสภาได้จัดทำในรูปการจัดตั้งคณะกรรมาธิการฝ่ายต่าง ๆพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ตามที่สภามอบหมายแล้วรายงานต่อสภา
    7.9) การให้เห็นความเห็นชอบฝ่ายนิติบัญญัติควบคุมฝ่ายบริหารโดยการให้ความเห็นชอบในด้านต่าง ๆ คือกรให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม การให้ความเห็นชอบในการทำหนังสือสัญญาบางประเภทเช่น เปลี่ยนแปลงอาณาเขตประเทศไทย เป็นต้นและการให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งคณะกรรรมการชุดต่าง ๆ ที่ตามกฎหมายกำหนด
    7.10) การตั้งคณะกรรมการประสานงานรัฐสภา คณะรัฐมนตรีได้ตั้งขึ้น เป็นการภายในประกอบด้วยตัวแทนจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ร่วมรัฐบาลคณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเรื่องต่าง ๆของคณะรัฐมนตรีจะบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมของสภา เพื่อให้เรื่องต่าง ๆบรรลุเป้าหมายและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
    สรุปและวิเคราะห์
              คณะราษฎรที่ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นั้นประกอบด้วยคนสองกลุ่ม คือกลุ่มนักเรียนไทยในต่างประเทศและกลุ่มนายทหารในประเทศไทยบุคคลทั้งสองกลุ่มพื้นฐานการศึกษาคล้ายกันคือศึกษาวิชาพื้นฐานหรือวิชาชีพจากประเทศทางตะวันตกใกล้ชิดกับการปกครองของประเทศที่ตนไปศึกษา คือได้สัมผัสกับบรรยากาศการปกครองในระบอบประธิปไตยเห็นความเจริญก้าวหน้าจากการที่ประชาชนในยุโรปตะวันตกมีส่วนร่วมในการปกครองประกอบกับบุคคลทั้งสองกลุ่มเป็นบุคคลที่มีสติปัญญาสูงส่วนใหญ่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงจึงกำหนดในความคิดว่าตนควรจะมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ
              คณะผู้ก่อการยึดอำนาจการปกครองได้รวมกลุ่มกันที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ พ.ศ.2469 ได้มีข้อขัดแย้งกับผู้ดูแลนักเรียนไทยในฝรั่งเศสซึ่งเป็นพระราชวงศ์องค์หนึ่งซึ่งกล่าวหาว่านักเรียนไทยเป็นพวกหัวรุนแรง ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัยควรเรียกบางคนกลับประเทศไทยำให้นักเรียนในต่างประเทศมีพื้นฐานการไม่พอใจสถานการณ์บ้านเมืองเป็นส่วนตัวคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เป็ฯนักเรียนไทยในต่างประเทศเมื่อกลับมาถึงประเทศไทยก็ได้เตรียมการวางแผนยึดอำนาจโดยชักชวนให้กลุ่มนายทหารเข้าร่วมด้วยการยึดอำนาจการปกครองของประเทศไทยมีผู้กระทำมาครั้งหนึ่งแล้วใน ร.ศ.130 กระทำไม่สำเร็จ ดังนั้นคณะราษฎรจึงได้วางแผนอย่างดีป้องกันข้อบกพร่องที่อาจมีขึ้นและการชัดชวนทหารเข้าร่วมด้วยจึงทำให้เกิดความสำเร็จเพราะทหารมีอาวุธผู้บริหารประเทศยินยอมให้คณะราษฎรยึดอำนาจไม่โต้แย้งด้วยเกรงว่าพระบรมวงศานุวงศ์จนถึงประชาชนจะเป็นอันตรายเพราะอาวุธ
              ชนวนที่ทำให้คณะราษฎรลงมือวางแผนยึดอำนาจมีหลายสาเหตุสาเหตุแรกได้แก่สภาพบ้านเมืองในช่วงเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาอภิรัฐมนตรีสภาซึ่งสมาชิกั้งหมดเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ด้วยเหตุผลที่จำให้แก้สถานการณ์ที่กล่าวว่าพระมหากษัตริย์กับพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่แตกแยกกันอภิรัฐมนตรีสภาช่วยแบ่งเบาพระราชกรณียกิจได้หลายประการแต่ความคิดของผู้ใหญ่และของผู้เยาว์กว่าย่อมแตกต่างกันดังนั้นการยับยั้งข้อเสนอบางเรื่องโดยเฉพาะพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเย้าอยู่หัวที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ประชาชนชาวไทยในวาระราชวงศ์จักรีทรงปกครองแผ่นดินมาครบ 150 ปี จึงทำให้คณะราษฎรและกลุ่มหนังสือพิมพ์มองว่า พวกเจ้าหลงกับอำนาจสาเหตุที่สองได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศรายได้ไม่พอกับรายจ่ายสืบเนื่องจากเศรษฐกิจของโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และการใช้จ่ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว การแก้ไขคือการดุลข้าราชการ ยุบเลิกหน่วยงานต่าง ๆ ตัดทอนค่าใช้จ่ายของกระทรวง กรม กองและเก็บภาษีบางประการเพิ่มการแก้ไขดังนี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่ผู้เสียประโยชน์ในวงการทหารก็เช่นกัน การขัดแย้งเรื่องงบประมาณกระทรวงกลาโหมจนถึงเสนาบดีกระทรวงกลาโหมขอลาออกจากราชการจึงเป็นเหตุให้นายทหารคิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในขณะที่มีการดุลข้าราชการออกก็มีกลุ่มบุคคลมองว่าดุลออกเฉพาะสามัญชน ส่วนข้าราชการที่เป็นเจ้าไม่ต้องถูกดุลแล้วยังบรรจุเข้าทำงานแทนสามัญชนอีกความแตกต่างทางฐานะด้านสังคมก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง
              สาเหตุที่สำคัญที่สุดก็คือความล่าช้าในการบริหารราชการแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์จะฝึกข้ราชการในสภากรรมการองคมนตรีให้เรียนรู้วิธีการประชุมปรึกษาแบบรัฐสภาเพื่อเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญก็ทำได้อย่างไม่มีผลเท่าไรนักพระราชบัญญติเทศบาลซึ่งจะเป็นรากฐานของการปกครองตนเองก็ยังไม่ได้ประกาศออกใช้และข้อสุดท้ายคือ ร่างรัฐธรรมนูญที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ผู้ชำนาญการร่างไว้เสร็จเรียบร้อยแล้วก็ยังไม่ได้พระราชทานแก่ประชาชน
              การเปลี่ยนแปลงการปกครองกระทำได้สำเร็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนการปกครองของประเทศจึงเปลี่ยนไป คือมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ
     
     
    พระราชบัญญัติ ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475พระราชบัญญัติ ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
              พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัส เหนือเกล้าฯ สั่งว่า
    "โดยที่คณะราษฎรได้ขอร้องให้อยู่ใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม เพื่อบ้านเมืองจะได้เจริญขึ้น และโดยที่ได้ทรงยอมรับคำขอร้องของคณะราษฎร"
    จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยมาตราต่อไปนี้
    หมวด 1 ข้อความทั่วไป
    มาตรา 1
              อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย
    [แก้] มาตรา 2
              ให้มีบุคคล และคณะบุคคลดังจะกล่าวต่อไปนี้ เป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรตามที่จะได้กล่าวต่อไปในธรรมนูญ คือ
    1.       กษัตริย์
    2.       สภาผู้แทนราษฎร
    3.       คณะกรรมการราษฎร
    4.       ศาล
    [แก้] หมวด 2 กษัตริย์
    [แก้] มาตรา 3
              กษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดของประเทศ พระราชบัญญัติก็ดี คำวินิจฉัยของศาลก็ดี การอื่น ๆ ซึ่งจะมีบทกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะก็ดี จะต้องกระทำในนามของกษัตริย์
    [แก้] มาตรา 4
              ผู้เป็นกษัตริย์ของประเทศ คือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว การสืบมรดกให้เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 และด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร
    [แก้] มาตรา 5
              ถ้ากษัตริย์มีเหตุจำเป็นชั่วคราวที่จะทำหน้าที่ไม่ได้ หรือไม่อยู่ในพระนคร ให้คณะกรรมการราษฎรเป็นผู้ใช้สิทธิแทน
    [แก้] มาตรา 6
              กษัตริย์จะถูกฟ้องร้องคดีอาญายังโรงศาลไม่ได้ เป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรจะวินิจฉัย
     
    [แก้] มาตรา 7
              การกระทำใดๆ ของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมของคณะกรรมการาษฎรจึงใช้ได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
    [แก้] หมวด 3 สภาผู้แทนราษฎร
    [แก้] ส่วนที่ 1 อำนาจและหน้าที่
    [แก้] มาตรา 8
              สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจออกพระราชบัญญัติทั้งหลาย พระราชบัญญัตินั้นเมื่อกษัตริย์ได้ประกาศให้ใช้แล้ว ให้เป็นอันใช้บังคับได้
              ถ้ากษัตริย์มิได้ประกาศให้ใช้พระราชบัญญัตินั้นภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับพระราชบัญญัตินั้นจากสภา โดยแสดงเหตุผลที่ไม่ยอมทรงลงพระนาม ก็มีอำนาจส่งพระราชบัญญัตินั้นคืนมายังสภา เพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ถ้าสภาลงมติยืนตามมติเดิม กษัตริย์ไม่เห็นพ้องด้วย สภามีอำนาจออกประกาศพระราชบัญญัตินั้นใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
    [แก้] มาตรา 9
              สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจดูแลควบคุมกิจการของประเทศ และมีอำนาจนัดประชุมกันถอดถอนกรรมการราษฎร หรือพนักงานรัฐบาลผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้
    [แก้] ส่วนที่ 2 ผู้แทนราษฎร
    [แก้] มาตรา 10
              สมาชิกในสภาผู้แทนราษฎรจะต้องเป็นไปตามกาลสมัยดังนี้
              สมัยที่ 1
              นับแต่วันใช้ธรรมนูญนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะถึงเวลาที่สมาชิกในสมัยที่ 2 จะเข้ารับตำแหน่ง ให้คณะราษฎรซึ่งมีคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร เป็นผู้ใช้อำนาจแทนจัดตั้งผู้แทนชั่วคราวขึ้นเป็นจำนวน 70 นาย เป็นสมาชิกในสภา
              สมัยที่ 2
              ภายในเวลา 6 เดือน หรือจนกว่าจะจัดประเทศเป็นปกติเรียบร้อย สมาชิกในสภาจะต้องมีบุคคล 2 ประเภททำกิจการร่วมกัน คือ
              ประเภทที่ 1 ผู้แทนที่ราษฎรจะได้เลือกตั้งขึ้นจังหวัดละ 1 นาย ถ้าจังหวัดใดมีราษฎรเกินกว่า 100,000 คน ให้จังหวัดนั้นเลือกตั้งผู้แทนเพิ่มขึ้นอีก 1 นาย ทุก ๆ 100,000 นั้น เศษของ 100,000 ถ้าเกินกว่าครึ่ง ให้นับเพิ่มขึ้นอีก 1
              ประเภทที่ 2 ผู้เป็นสมาชิกอยู่แล้วในสมัยที่ 1 มีจำนวนเท่ากับสมาชิกประเภทที่ 1 ถ้าจำนวนเกินให้เลือกกันเองว่าผู้ใดจะคงเป็นสมาชิกต่อไป ถ้าจำนวนขาดให้ผู้ที่มีตัวอยู่เลือกบุคคลใดๆ เข้าแทนจนครบ
     
              สมัยที่ 3
              เมื่อจำนวนราษฎรทั่วพระราชอาณาเขตได้สอบไล่วิชาประถมศึกษาได้ เป็นจำนวนเกินกว่าครึ่งและอย่างช้าต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันใช้ธรรมนูญนี้ สมาชิกในสภาผู้แทนราษฎรจะต้องเป็นผู้ที่ราษฎรได้เลือกตั้งขึ้นเองทั้งสิ้น สมาชิกประเภทที่ 2 เป็นอันไม่มีอีกต่อไป
    [แก้] มาตรา 11
              คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนประเภทที่ 1 คือ
    1.       สอบไล่วิชาการเมืองได้ตามหลักสูตร ซึ่งสภาจะได้ตั้งขึ้นไว้
    2.       อายุ 20 ปี บริบูรณ์
    3.       ไม่เป็นผู้ไร้หรือเสมือนไร้ความสามารถ
    4.       ไม่ถูกศาลพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิในการรับเลือก
    5.       ต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย
    6.       เฉพาะผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้แทนประเภทที่ 1 ในสมัยที่ 2 จะต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกในสมัยที่ 1 เสียก่อนว่า เป็นผู้ที่ไม่ควรสงสัยว่า จะนำมาซึ่งความไม่เรียบร้อย
    [แก้] มาตรา 12
              การเลือกตั้งสมาชิกประเภทที่ 1 ในสมัยที่ 2 ให้ทำดังนี้
    1.       ราษฎรในหมู่บ้านเลือกผู้แทนเพื่อออกเสียงตั้งผู้แทนตำบล
    2.       ผู้แทนหมู่บ้านเลือกผู้แทนตำบล
    3.       ผู้แทนตำบลเป็นผู้เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
              การเลือกตั้งสมาชิกในสมัยที่ 3 จะมีกฎหมายบัญญัติภายหลังโดยจะดำเนินวิธีการที่ให้สมาชิกได้เลือกตั้งผู้แทนในสภาโดยตรง
    [แก้] มาตรา 13
              ผู้แทนประเภทที่ 1 จะอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 4 ปี นับแต่วันเข้ารับตำแหน่ง แต่เมื่อถึงสมัยที่ 3 แล้ว แม้ผู้แทนในสมัยที่ 2 จะได้อยู่ในตำแหน่งไม่ถึง 4 ปีก็ดี ต้องออกจากตำแหน่งนับแต่วันที่ผู้แทนในสมัยที่ 3 ได้เข้ารับตำแหน่ง
              ถ้าตำแหน่งผู้แทนว่างลงเพราะเหตุอื่น นอกจากถึงคราวออกตามเวร ให้สมาชิกเลือกตั้งผู้อื่นขึ้นใหม่ให้เต็มที่ว่าง แต่ผู้แทนใหม่มีเวลาอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาที่ออกไปนั้นชอบที่จะอยู่ได้
    [แก้] มาตรา 14
              ราษฎรไม่ว่าเพศใดเมื่อมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ย่อมมีสิทธิออกเสียงลงมติเลือกผู้แทนหมู่บ้านได้ คือ
    1. มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
    2. ไม่เป็นผู้ไร้หรือเสมือนไร้ความสามารถ
    3. ไม่ถูกศาลพิพากษาให้เสียสิทธิในการออกเสียง
    4. ต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย
              คุณสมบัติของผู้แทนหมู่บ้านและผู้แทนตำบล ให้เป็นไปเหมือนดั่งมาตรา 11
    [แก้] มาตรา 15
              การเลือกตั้งผู้แทนใดๆ ให้ถือตามคะแนนเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้มีการเลือกตั้งครั้งที่ 2 ถ้าครั้งที่สองมีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ตั้งคนกลางออกเสียงชี้ขาด และให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนกลางไว้
    [แก้] มาตรา 16
              ผู้แทนนอกจากถึงเวรจะต้องออกจากตำแหน่งให้นับว่าขาดจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติดังกล่าวในมาตรา 11 อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเมื่อตาย หรือเมื่อสภาวินิจฉัยให้ออก ในเมื่อสภาเห็นว่าเป็นผู้ทำความเสื่อมเสียให้แก่สภา
    [แก้] มาตรา 17
              การฟ้องร้องสมาชิกของสภาผู้แทนราษฎรเป็นคดีอาญายังโรงศาล จะต้องได้รับอนุญาติจากสภาก่อน ศาลจึงจะรับฟ้องได้
    [แก้] ส่วนที่ 3 ระเบียบการประชุม
    [แก้] มาตรา 18
              ให้สมาชิกเลือกกันขึ้นเป็นประธานของสภา 1 นาย มีหน้าที่ดำเนินการของสภาและมีรองประธาน 1 นายเป็นผู้ทำการแทน เมื่อประธานมีเหตุขัดข้องชั่วคราวที่จะทำหน้าที่ได้
    [แก้] มาตรา 19
              เมื่อประธานไม่อยู่หรือไม่สามารถมาได้ ก็ให้รองประธานแทนเป็นผู้รักษาความเรียบร้อยในสภา และจัดการให้ได้ปรึกษาหารือกันตามระเบียบ
    [แก้] มาตรา 20
              ถ้าประธานและรองประธานไม่อยู่ในที่ประชุมทั้ง 2 คน ก็ให้สมาชิกที่มาประชุมเลือกตั้งกันเองขึ้นเป็นประธานคนหนึ่งชั่วคราวประชุมนั้น
    [แก้] มาตรา 21
              การประชุมปกติให้เป็นหน้าที่ของสภาเป็นผู้กำหนด
              การประชุมพิเศษจะมีได้ต่อเมื่อสมาชิกมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่า 15 คนได้ร้องขอ หรือคณะกรรมการราษฎรได้ร้องขอให้เรียกประชุม การนัดประชุมพิเศษ ประธานหรือผู้ทำการแทนประธานเป็นผู้สั่งนัด
     
    [แก้] มาตรา 22
              การประชุมทุกคราว ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุมปรึกษาการได้
    [แก้] มาตรา 23
              การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษานั้น ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ สมาชิกคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีจำนวนเสียงลงคะแนนเท่ากัน ให้ผู้เป็นประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
    [แก้] มาตรา 24
              สมาชิกไม่ต้องรับผิดในถ้อยคำใด ๆ ที่ได้กล่าวหรือแสดงเป็นความเห็น หรือในการออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมผู้หนึ่งผู้ใดว่าจะกล่าวฟ้องร้องเพราะเหตุนั้นหาได้ไม่
    [แก้] มาตรา 25
              ในการประชุมทุกคราว ประธานต้องสั่งให้เจ้าหน้าที่ประจำในสภาจดรายงานรักษาไว้และเสนอเพื่อให้สมาชิกได้ตรวจแก้ไขรับรอง แล้วให้ผู้เป็นประธานในที่ประชุมลงนามกำกับไว้
    [แก้] มาตรา 26
              สภามีอำนาจตั้งอนุกรรมการเพื่อทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือให้สอบสวนพิจารณาทำความเห็นในเรื่องหนี่งขึ้นเสนอต่อในที่ประชุมใหญ่เพื่อปรึกษาตกลงอีกชั้นหนึ่งก็ได้ ประธานอนุกรรมการนั้น เมื่อสภาไม่ได้ตั้ง ก็ให้อนุกรรมการเลือกกันเองตั้งขึ้นเป็นประธานได้
              อนุกรรมการมีอำนาจเชิญบุคคลใดๆ มาชี้แจงแสดงความเห็นได้ อนุกรรมการและผู้ที่เชิญมาได้รับสิทธิในการแสดงความเห็นตามมาตรา 24
              ในการประชุมอนุกรรมการนั้น ต้องมีอนุกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า 3 นาย จึงจะเป็นองค์ประชุมปรึกษาการได้ เว้นแต่อนุกรรมการนั้นจะมีจำนวนตั้งขึ้นเพียง 3 คน เมื่อมาประชุมแค่ 3 คน ก็ให้นับว่าเป็นองค์ประชุมได้
    [แก้] มาตรา 27
              สภามีอำนาจตั้งระเบียบการปรึกษาหารือ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามธรรมนูญนี้ (ในชั้นแรกนี้ ให้อนุโลมใช้ข้อบังคับสภากรรรมการองคมนตรี เฉพาะที่ไม่ขัดกับธรรมนูญนี้ไปพลางก่อน)[แก้] หมวดที่ 4 คณะกรรมการราษฎร
    [แก้] ส่วนที่ 1 อำนาจและหน้าที่
    [แก้] มาตรา 28
              คณะกรรมการราษฎรมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภา
     
     
     
    [แก้] มาตรา 29
              ถ้ามีการฉุกเฉินเกิดขึ้น ซึ่งคณะกรรมการจะเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎรให้ทันท่วงทีมิได้ และคณะกรรมการเห็นสมควรจะต้องออกกฎหมายเพื่อให้เหมาะแก่การฉุกเฉินนั้นๆ ก็ทำได้แต่จะต้องรีบนำกฎหมายนั้นขึ้นให้สภารับรอง
    [แก้] มาตรา 30
              คณะกรรมการราษฎรมีอำนาจให้อภัยโทษ แต่ให้นำความขึ้นขอพระบรมราชานุญาตเสียก่อน[แก้] มาตรา 31
              ให้เสนาบดีกระทรวงต่าง ๆ เป็นผู้รับผิดชอบต่อคณะกรรมการราษฎรในกิจการทั้งปวง
              สิ่งใดซึ่งเป็นการฝ่าฝืนต่อคำสั่ง หรือระเบียบการของคณะกรรมการราษฎร หรือกระทำไป โดยธรรมนูญไม่อนุญาตให้ทำได้ ให้ถือว่าการนั้นเป็นโมฆะ
    [แก้] ส่วนที่ 2 กรรมการราษฎรและเจ้าหน้าที่ประจำ
    [แก้] มาตรา 32
              คณะกรรมการราษฎร ประกอบด้วยประธานคณะกรรมการราษฎร 1 นาย และกรรมการราษฎร 14 นาย รวมเป็น 15 นาย
    [แก้] มาตรา 33
              ให้สภาเลือกตั้งสมาชิกในสภาผู้หนึ่ง ขึ้นเป็นประธานกรรมการ และให้ผู้เป็นประธานนั้นเลือกสมาชิกในสภาอีก 14 นาย เพื่อเป็นกรรมการ การเลือกนี้เมื่อได้รับความเห็นชอบของสภาแล้ว ให้ถือว่าผู้ที่ได้รับเลือกนั้นๆ เป็นกรรมการของสภา ในเมื่อสภาเห็นว่า กรรมการมิได้ดำเนินกิจการตามรัฐประสานนโยบายของสภา สภามีอำนาจเชิญกรรมการให้ออกจากเจ้าหน้าที่ แล้วเลือกตั้งใหม่ตามที่กล่าวในตอนนั้น
    [แก้] มาตรา 34
              กรรมการคนใดมีเหตุอันกระทำให้กรรมการคนนั้นขาดคุณสมบัติอันกำหนดไว้สำหรับผู้แทนในมาตรา 10 ก็ตาม หรือตายก็ตาม ให้สภาเลือกกรรมการแทนสำหรับตำแหน่งนั้นๆ
              ในเมื่อสภาได้เลือกตั้งกรรมการแล้ว สภาชุดนั้นหมดกำหนดอายุตำแหน่งเมื่อใด ให้ถือว่ากรรมการชุดนั้นย่อมหมดกำหนดอายุตำแหน่งด้วย
    [แก้] มาตรา 35
              การตั้งการถอดตำแหน่งเสนาบดี ย่อมเป็นพระราชอำนาจของกษัตริย์ พระราชอำนาจนี้จะทรงใช้แต่โดยตามคำแนะนำของคณะกรรมการราษฎร
     
     
    [แก้] มาตรา 36
              การเจรจาการเมืองกับต่างประเทศ เป็นหน้าที่ของกรรมการราษฎร และกรรมการอาจตั้งผู้แทนเพื่อการนี้ได้
              การเจรจาได้ดำเนินไปประการใด ให้กรรมการรายงานกราบบังคมทูลกษัตริย์ทรงทราบ
              การให้สัตยาบันสัญญาทางพระราชไมตรี เป็นพระราชอำนาจของกษัตริย์ แต่จะทรงใช้พระราชอำนาจนี้ตามคำแนะนำของกรรมการราษฎร
    [แก้] มาตรา 37
              การประกาศสงครามเป็นพระราชอำนาจของกษัตริย์ แต่จะทรงใช้พระราชอำนาจนี้ตามคำแนะนำของกรรมการราษฎร
    [แก้] ส่วนที่ 3 ระเบียบการประชุม
    [แก้] มาตรา 38
              ระเบียบการประชุมของคณะกรรมการราษฎรให้อนุโลมตามที่บัญญัติ ในหมวดที่ 3
    [แก้] หมวดที่ 5 ศาล
    [แก้] มาตรา 39
              การระงับข้อพิพาทให้เป็นไปตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลานี้
              ประกาศมา ณ วันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 และให้ใช้บังคับได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
              (พระปรมาภิไธย) ประชาธิปก ป.ร.
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×