ประวัติวันมาฆบูชา - ประวัติวันมาฆบูชา นิยาย ประวัติวันมาฆบูชา : Dek-D.com - Writer

    ประวัติวันมาฆบูชา

    โดย lนยสด

    ประวัติเกี่ยวกับวันมาฆบูชา

    ผู้เข้าชมรวม

    1,518

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    1.51K

    ความคิดเห็น


    5

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  31 ก.ค. 49 / 17:34 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ



      ประวัติวันมาฆบูชา

      มาฆะ มาฆะบูชา รู้กันว่า วันเพ็ญเดือน 3 ชาวไทยน้ำใจงาม วันเพ็ญเดือน 3 มาทำบุญกัน จาตุรงคสันนิบาต วันประหลาดน่าอัศจรรย์ พระสงฆ์มาประชุมรวมกัน 1,250 องค์

             น้องๆ คงเคยท่องมาแล้ว วันนี้พี่หยกขอนำประวัติความเป็นมาของวันมาฆบูชามาฝากกันนะครับ

             วันมาฆบูชา  ตรงงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 โดยวันนี้เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้แสดงโอวาทปาฎิโมกข์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนานอกจากนั้น ในวันมาฆบูชานี้ ในทางพุทธศาสนาเรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต"

      "จาตุรงคสันนิบาต" คือ การประชุมพร้อมด้วยองค์ 4 กล่าวคือ

      1. เป็นวันมาฆปูรณมี คือ วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือนมาฆะ จึงเรียกว่า มาฆบูชา
      2. พระภิษุ 1,250 รูป มาประชุมกัน โดยมิได้นัดหมาย
      3. พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ ประเภทฉฬภิญญา

           อภิญญา คือ ความรู้อันยอดยิ่ง 6 ประการ อันได้แก่ 
             ๑.แสดงฤทธิ์ได้ (อิทธิวิธิ)
             ๒.หูทิพย์ (ทิพยโสต)
             ๓.รู้จักกำหนดใจผู้อื่น (เจโตปริยญาณ)
             ๔.ระลึกชาติได้ (ปุพเพนิวาสานุสติญาณ)
             ๕.ตาทิพย์ (ทิพยจักษุ)
             ๖.ทำอาสวะกิเลสให้สิ้นไป-คือญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย(อาสวักขยญาณ)  

      4. พระสงฆ์ทั้ง 1,250 รูปล้วนเป็นเอหิภิกฺขุอุปสมฺปทา (คือ ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง)

      และนอกจากนี้ในปีพ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยยังได้ประกาศให้วันมาฆบูชา เป็นวันกตัญญูแห่งชาติอีกด้วยนะครับ

             รู้ที่มากันอย่างนี้แล้ว  ก็อย่าลืมชักชวนครอบครัว หรือเพื่อนๆ ไปทำบุญตักบาตรในตอนเช้า  แล้วก็ไปเวียนเทียนกันที่วัดใกล้บ้านนะครับ  บุญกุศลจะได้ดลบันดาลให้สุขสมหวังในทุกประการนะครับ

      ขอบคุณนะครับที่มาเยี่ยมชม ก้ออย่าลืมโหวตให้ด้วยละกัน

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×