มุขฮาตำราเก่า (๑) - มุขฮาตำราเก่า (๑) นิยาย มุขฮาตำราเก่า (๑) : Dek-D.com - Writer

    มุขฮาตำราเก่า (๑)

    เรื่องฮา ๆ จากตำราเล่มเก่า

    ผู้เข้าชมรวม

    1,611

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    1.61K

    ความคิดเห็น


    3

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  11 ก.ค. 46 / 15:40 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      ยุคสมัยนี้หากใครเอ่ยถึงวรรณคดีขึ้นมาทุกคนต้องร้องยี้ !!! เหมือนวรรณคดีเป็นของน่ารังเกียจอย่างไส้เดือนกิ้งกือยังไงยังงั้น เพราะ Concept ของคนส่วนใหญ่เมื่อเอ่ยถึงวรรณคดี คือ ภาษาเก่า โบราณ ไม่มีอะไรหวือหวา กลอนทั้งเล่ม เข้าใจยาก อ่านไม่รู้เรื่อง จืดชืด น่าเบื่อหน่าย และอีกหลายข้อหาฉกาจฉกรรจ์

      ผู้เขียนเองก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ไม่ค่อยรักใคร่วรรณคดีเท่าใดนัก แต่ทว่าวันหนึ่งเมื่อผู้เขียนไม่มีอะไรจะทำ ผู้เขียนจึงได้หยิบวรรณคดีฝุ่นเกาะในตู้หนังสือขึ้นมาอ่าน ไม่น่าเชื่อว่าวรรณคดีมอซอเหล่านั้นสามารถทำให้คนเส้นลึกอย่างผู้เขียนหัวเราะร่วนได้มากกว่าขายหัวเราะมหาสนุก

      ทฤษฎีของความตลกขบขันนั้น มีอีตาฝรั่งคนหนึ่งกล่าวไว้ว่า “ความตลกขบขันเกิดจากเหตุการณ์ที่ไม่ได้ตั้งใจไว้ หรือผิดความคาดหมาย” แต่มีคนแย้งหลายคนอยู่เหมือนกันว่าไอ้การผิดความคาดหมายนี้อาจจะทำให้เกิดอารมณ์อื่น ๆ ได้อีก เช่น โกรธ เศร้า เสียใจ ฯลฯ ผู้เขียนได้ฟังแล้วยังไม่คิดอะไรมาก จนกระทั่งผู้เขียนได้มาอ่านวรรณคดีไทยหลายเรื่อง มุขตลกของแต่ละเรื่องล้วนอาศัยการ “ผิดความคาดหมาย” เสียแทบทั้งนั้น

      วรรณคดีไทยหลายเรื่องดึงเอาฤๅษีหรือกษัตริย์มาล้อเลียน ไม่ว่าละครจากในรั้วในวังอย่างรามเกียรติ์ หรือละครนอกที่ชาวบ้านเล่น แม้กระทั่งละครนอกพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ พระองค์ก็ดึงกษัตริย์มาเป็นตัวตลกของเรื่องได้อย่างเหมาะเจาะ

      เหตุที่เป็นดังนี้เพราะคนไทยย่อมมีแนวคิดว่าฤๅษีชีไพรเอย พระมหากษัตริย์เอย ย่อมเป็นบุคคลอันควรเทิดทูน เมื่อทำอะไรเปิ่น ๆ ผิดประหลาดไปจากแนวคิดดังกล่าว จึงทำให้เราขบขันเพลิดเพลินได้เป็นอย่างดี

      ลองเปรียบเทียบง่าย ๆ ระหว่างรามเกียรติ์ของไทยกับแขก ฤๅษีข้างแขกล้วนแต่มีตบะเดชะกล้าแข็ง ส่วนข้างไทยน่ะหรือ ออกจะโง่ ๆ เฟอะ ๆ เป็นตัวตลกบนเวที หนุมานก็เช่นเดียวกันข้างแขกนั้นหนุมานน่านับถือเหลือเกิน ถือพรหมจรรย์ตลอดชีวิต ไม่ยอมให้สตรีใดมาย่ำยี ส่วน   หนุมานลิงขาวชาวไทย ไม่ค่อยรักนวลสงวนตัว ใครจะย่ำยีข่มเหงก็ไม่ปัดป้องแต่ประการใด ใจง่ายเหลือเกิน จนเป็นที่มาของ “เจ้าชู้ลิง” เหตุดังนี้เพราะวรรณคดีและละครไทยมีหน้าที่สร้างความเพลิดเพลินแก่ราษฎรทั้งหลาย

      เราลองมาดูตัวอย่างกันสักเล็กน้อยดีกว่าว่าวรรณคดีไทยสร้างความบันเทิงใจได้อย่างไร ขอเอาเรื่องพระอภัยมณี ตอนชีเปลือยเข้าเมืองการะเกดก็แล้วกัน กลอนนั้นมีอยู่ว่า

      “ส่วนตาเฒ่าเจ้าเล่ห์เหมือนเดรฉาน                                    หน้ามันด้านดื้อได้ไม่บัดสี
      ดูสาวสาวชาวบุรินจนสิ้นดี            มาถึงที่ในวังนั่งยองยอง
      สะกดจิตบิดกายไม่หายเหือด            ดูดังเลือดขึ้นหน้าเกศาสยอง
      อำมาตย์พามาริมพระโรงทอง            เสียงแซ่ซ้องเสนาออกมารับ
      บ้างว่าม้าน่ากลัวหัวเหมือนนาค            บ้างจุปากว่าไม้เท้ายาวจำหนับ
      บ้างบอกความตามสั่งนั่งคำนับ            ตรัสให้รับคุณเข้าไปในพระโรง”

      ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจ ผู้เขียนขออรรถาธิบายสักเล็กน้อย ขอให้ผู้อ่านทุกคนนึกภาพคนเปลือยกาย ก็หมายถึงแก้ผ้านั่นแหละ เป็นผู้ชายเสียด้วย ผู้ชายคนนั้นนั่งยองยอง อารมณ์แสดงความ “หน้ามืด” (หรือหน้าภาชนะก็ไม่ทราบ ฮา…) อย่างเต็มเหนี่ยว นัยน์ตาแดงก่ำ พอนั่งปุ๊บก็เอา “ไม้เท้าวิเศษ” ยันพื้นทันที (โอ้โห… ยาวถึงดินเลยแฮะ) เหล่าเสนาอำมาตย์พอเห็นแล้วฮือฮากันใหญ่ บ้างก็ว่า “เฮ้ย.. ยังกะม้าแน่ะว่ะ” บ้างก็ว่า “โอ้โหเฮ้ย .. หัวยังกะพญานาคแน่ะ” บ้างก็ว่า “เจ้าประคุณเอ๊ย… ไม้เท้าผู้ทรงศีลยาวเป็นบ้าเลยเว้ยเฮ้ย…”

      คงไม่ต้องให้อธิบายกันมากมาย ผู้อ่านคงเดาได้แล้วว่า “ไม้เท้า” ของชีเปลือยคืออะไร ก็ไม้เท้าของสุดสาครที่ฤๅษีให้ไป ชาวเมืองยังไม่ฮือฮาขนาดนี้เลย

      อย่างว่านั่นแหละ ไม้เท้าของเด็กเล็กอย่างสุดสาคร กับไม้เท้าของชีเปลือยผู้วิเศษ ตบะเดชะย่อมไม่กล้าแข็งทัดเทียมกัน (ฮา…)




      สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
      ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×