ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ★— มหัศจรรย์เรื่องปลา —★

    ลำดับตอนที่ #8 : ระบบขับถ่าย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 10.91K
      6
      12 ส.ค. 52

    อวัยวะและหน้าที่ในระบบขับถ่ายของปลา
            ปลามีการขับถ่ายของเสียที่เป็นน้ำและสารไอออนอนินทรีย์ออกทางปัสสาวะ โดยอาศัยการทำงานของไต
    นอกจากนี้ยังอาศัยเหงือก ผิวหนัง เยื่อบุภายในช่องปาก และทางเดินอาหาร ช่วยขับถ่ายของเสียพวกไนโตรเจน
    (nitrogenous waste และ ammonia) ด้วย
     
           ไต - ไตเป็นอวัยวะหลักในการขับถ่ายของเสีย ซึ่งจะกลั่นปัสสาวะออกจากเลือดผ่านไปทางท่อไตและเก็บในกระเพาะ
    ปัสสาวะก่อนขับออกจากร่างกาย

    ส่วนประกอบของไต
            ลักษณะของไตเป็นเนื้อเยื่อสีแดงเข้ม ทอดขนานยาวไปตามแนวกระดูกสันหลัง ซึ่งอยู่ด้านบนของช่องตัว มี 1 คู่
    ไต ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ เม็ดไต (renal corpuscle หรือ Malpighian body) และท่อไต (mesonephric tubule หรือ
     kidney tubule) เม็ดไตประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 
                    1. โกลเมอรูลัส (glomerulus) มีลักษณะเป็นขดเส้นเลือดฝอยของเส้นเลือดนำเข้าไตและออกจากไต
    (afferent arteriole และ efferent arteriole) ซึ่งรวมกันอยู่อย่างหนาแน่น 
                    2. แคปซูลของโบว์แมน (Bowman's capsule) เป็นเซลล์ของไต เป็นชั้นบางๆ อยู่ล้อมรอบโกลเมอรูลัส ทั้งโกลเมอรูลัสและแคปซูลของโบว์แมน รวมกันทำหน้าที่กรอง (ultrafilter) เอาของเสียออกจากเลือดที่ผ่านเข้ามา

            ท่อไต - เป็นส่วนที่นำของเสียที่ผ่านออกมาจากเม็ดไตไปรวมกับท่ออื่นๆ ตรงท่อรวม (collecting duct หรือ
     mesonephric duct) ซึ่งส่งต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะแล้วจึงถูกขับออกนอกร่างกาย  

    ชนิดของไตในปลา 
            โดยทั่วไปปลามีไตที่ทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียอยู่ 2 ชุด คือ ชุดแรก (pronephros)และชุดที่สอง (mesonephros)
    โดยชุดแรกจะทำหน้าที่ในระยะแรกของชีวิต เมื่อปลาเจริญเติบโตขึ้นไตชุดแรกจะหยุดทำงาน และไตชุดที่สองจะทำหน้าที่
    ต่อไปตลอดชีวิต ส่วนในพวกปลาฉลามจะมีไตชุดที่สาม (metanephros) เพิ่มขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง ตำแหน่งที่ตั้งของไตชุด
    ต่างๆ จะเรียงลำดับจากหน้าไปหลัง คือ ชุดแรกอยู่หน้าสุด ชุดที่สองอยู่ค่อนมาทางด้านหลังของช่องท้องใกล้กับช่องเปิด
    ทวารร่วม (cloaca) 
            ไตชุดที่สองมีลักษณะดังที่ได้กล่าวมาแล้ว การทำงานเริ่มต้นที่เลือดจาก ดอร์ซอลเอโอร์ตา ไหลเข้ามาที่ไตทาง
    รีนอล  อาร์ทีรี เข้าสู่โกลเมอรูลัส เพื่อกรองเอาของเสียออกแต่สารที่ผ่านได้จะผ่านออกไปหมดทางท่อไต สารที่มีโมเลกุล
    ใหญ่จะผ่านไม่ได้ เช่น โปรตีน สารที่มีโมเลกุลเล็กจะผ่านออกไปได้ เช่น กลูโคส กรดอะมิโน เกลือแร่ และน้ำ ซึ่งจะถูก
    ดูดกลับไปใช้อีกที่ท่อไต โดยขดเส้นเลือดฝอยที่ผ่านออกมาจากโกลเมอรูลัส การควบคุมการกรองและดูดกลับสารมี
    ฮอร์โมนเป็นตัวควบคุม 
            ไตชุดที่สามในพวกปลาฉลามจะทำหน้าที่เมื่อปลาโตเต็มที่แล้ว โดยเกิดต่อท้ายไตชุดที่สอง ซึ่งยังคงทำหน้าที่อยู่
    เหมือนเดิม ไตทั้งสองชุดนี้ทำงานร่วมกันแยกจากกันได้ยาก โดยของสียจะออกไปทางท่อไตของชุดที่สาม (metanephric
     tubule) ไปรวมที่ท่อรวม (metanephric duct) ก่อนเปิดออกนอกร่างกาย ส่วนท่อรวมของชุดที่สอง (mesonephric duct)
     ซึ่งยังเหลืออยู่จะเปลี่ยนหน้าที่ ซึ่งมี 2 ท่อ คือ ท่อด้านบนจะกลายเป็นท่อนำอสุจิในปลาเพศผู้ ส่วนท่อด้านล่างหายไป
    ในปลาฉลามเพศเมียท่อด้านบนหายไปเหลือท่อด้านล่างกลายเป็นท่อนำไข่และมดลูก

    หน้าที่ของไต 
            1. ช่วยกำจัดของเสียพวกไนโตรเจนที่เกิดจากการเผาผลาญโปรตีน และของเสียอื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย 
            2. ช่วยควบคุมปริมาณน้ำและเกลือในร่างกายให้อยู่ในสภาพสมดุล

    การรักษาความสมดุลของน้ำและความดันในตัวปลา
            ในปลาแต่ละชนิดจะมีชีวิตความเป็นอยู่แตกต่างกันไป บางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำจืด บางชนิดอาศัยในทะเล บางชนิดอยู่
    ในน้ำกร่อย บางชนิดอยู่ได้ทั้ง 2 น้ำโดยมีการอพยพระหว่างน้ำจืดและน้ำเค็ม เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันทำให้
    ปลามีการปรับตัวเกี่ยวกับการรักษา เกลือแร่และน้ำในร่างกายให้เหมาะสม ซึ่งแตกต่างกันระหว่างปลาน้ำจืดและน้ำเค็ม
    การปรับตัวเกี่ยวกับการขับถ่ายและรักษาความสมดุลของน้ำในร่างกายปลา แบ่งได้ 3 พวก คือ 
                    1. ปลาที่ทนต่อความเค็มได้ในช่วงแคบ (stenohaline) ได้แก่ ปลาน้ำจืด และปลาทะเลทั่วไป พวกนี้ทนต่อการ
    เปลี่ยนแปลงความเค็มในช่วงแคบๆ จึงต้องอาศัยอยู่เฉพาะในน้ำจืด หรือในทะเลเท่านั้น 
                    2. ปลาที่อยู่ได้ 2 น้ำ (diadromous) ได้แก่ปลาที่ว่ายเข้าน้ำจืด (anadromous fish) หมายถึงปลาที่อาศัยอยู่ใน
    ทะเล แต่อพยพไปวางไข่ในน้ำจืด ได้แก่ ปลาแซลมอน และปลาที่ว่ายสู่ทะเล (catadromous fish) หมายถึงปลาที่อาศัย
    อยู่ในน้ำจืดแต่อพนพไปวางไข่ในทะเล ได้แก่ ปลาไหล สกุล Anguilla

                                              จาก : http://chakkraphan.wordpress.com/2008/04/

                    3. ปลาที่ทนต่อความเค็มในช่วงกว้าง (euryhaline) ได้แก่ ปลาน้ำกร่อย เช่น ปลากะพงขาว

             จาก : http://www.sema.go.th/files/Content/Non_formal/0062/the_mighty/factor/animal/animal.htm

    การรักษาความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในปลาน้ำจืด
            ปลาน้ำจืดจะมีความเข้มข้นของของเหลวในร่างกายสูงกว่าในน้ำ ทำให้เกิดการออสโมซิส (osmosis) ของน้ำจาก
    ภายนอกเข้าสู่ร่างกาย และเกิดการแพร่ของเกลือแร่ออกจากร่างกาย เพื่อที่จะรักษาความเข้มข้นของเกลือแร่ในร่างกายให้
    คงที่ปลาจะขับน้ำออกทาง ปัสสาวะ โดยการทำงานของไต ซึ่งส่วนโกลเมอรูลัสเจริญดีมาก ในขณะเดียวกันจะมีการสูญเสีย
    เกลือแร่อิออนออกไปกับปัสสาวะด้วย เพราะท่อไตดูดซึมกลับได้ไม่หมด แต่ปัสสาวะจะมีความเข้มข้นน้อยกว่าของเหลวใน
    ร่างกาย (hypotonic urine) เพราะมีน้ำมาก ปลาจะมีการทดแทนเกลือแร่ที่สูญเสียไปกับปัสสาวะและทางการแพร่ โดยการ
    กินอาหารและดูดซึมเกลือแร่ทางผิวหนังและเหงือกได้ด้วย ปกติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำและมีโกลเมอรูลัสใหญ่จำนวนมาก
    ทำให้ปลาน้ำจืดมีไตใหญ่กว่าปลาทะเล  

    การรักษาความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในปลาทะเล
            ปลาทะเลมีความเข้มข้นของของเหลวในร่างกายน้อยกว่าในน้ำ ดังนั้นน้ำจะออสโมซิสออกจากร่างกาย ในขณะที่
    เกลือแพร่เข้าสู่ร่างกาย ปลาทะเลจึงต้องดื่มน้ำเข้าไปชดเชยกับน้ำที่สูญเสียไป เพื่อทำให้ปริมาณน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
    เกิดความสมดุล แต่การดื่มน้ำทะเลทำให้ปลาได้รับเกลือมากเกินไป จึงพยายามกำจัดออกจากร่างกายให้มากที่สุดโดยขับ
    เกลือออกมาทางอุจจาระและ ปัสสาวะ เกลือแร่พวก Mg++, Ca++ และ SO= จะขับออกทางอุจจาระ นอกจากนี้ยังขับ
    เกลือพวก Cl- ทางเหงือกด้วย รวมทั้งแอมโมเนียและยูเรีย ไตของปลาทะเลมีขนาดเล็ก เนื่องจากมีน้ำในร่างกายน้อย และ
    ต้องการน้ำมากจึงถ่ายปัสสาวะน้อย ไตไม่ค่อยได้ทำงานจึงมีขนาดเล็ก ในปลาฉลามมีต่อมเรคทอล (rectal gland)
    ทำหน้าที่ขับเกลือด้วย 
            ในปลาสองน้ำ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย จะมีปัญหาเรื่องการสูญเสียน้ำหรือเกลือแร่เกิดขึ้น เช่น ปลาไหล
    สกุล Anguilla เมื่อเข้ามาอาศัยในน้ำจืดจะสูญเสียเกลือและมีน้ำในตัวมาก ในทางตรงกันข้ามปลาแซลมอนเมื่ออพยพไป
    อยู่ในทะเลจะสูญเสียน้ำและมีเกลือใน ร่างกายมากเกินไป ดังนั้นในช่วงนี้จะมีการปรับตัวโดยโกลเมอรูลัส นอกจากนี้ในปลา
    แซลมอนจะต้องมีการสร้างเซลล์ขับเกลือคลอไรด์ที่เหงือกให้ เจริญดีก่อนลงสู่ทะเลเพื่อขับเกลือออกทางเหงือกได้ดี

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×