ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ★— มหัศจรรย์เรื่องปลา —★

    ลำดับตอนที่ #1 : ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata)

    • อัปเดตล่าสุด 11 ส.ค. 52


       จาก : http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/17/2/ThaiGoodView/chordata.html

             สัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตานี้มีพัฒนาการมากที่สุดในอาณาจักรสัตว์ทางด้านรูปร่าง และระบบอวัยวะ จึงมีรูปร่างแตกต่างกันหลายแบบ มีระบบสรีระร่างกายแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยและการดำรงชีวิต โดยทั่วไปสัตว์ไฟลัมนี้จะอยู่ทั้งในน้ำจืด น้ำเค็ม และบนบก ถึงแม้จะมีส่วนที่แตกต่างกันมากมาย แต่ก็มีลักษณะร่วมซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะอยู่ คือ
             1. มีแท่งโนโทคอร์ด (Notochord)  อยุ่ทางด้านหลังของร่างกาย จะมีอยู่ในเฉพาะระยะตัวอ่อน หรือตลอดชีวิตก็ได้

                                             จาก : www.uta.edu/studentorgs/pdsa/chordata.htm

             2. มีเส้นประสาทเป็นแท่งอยู่ด้านหลัง  (Dorsal tubular nerve cord)

                                               จาก : http://cronodon.com/BioTech/Earthworm.html


             3. มีช่องเหงือกที่ผนังของฟาริงซ์  (Pharyngeal gill slits) ในช่วงหนึ่งของชีวิต

    นอกจากนี้บยังมีลักษณะเด่นอีกหลายประการ ได้แก่
             1. มีหางอยู่ด้านท้ายของทวารหนัก (Postanal tail)

                                      จาก : http://www.bethel.edu/~johgre/bio114d/LowerVerts.html

             2. มีหัวใจอยู่ด้านท้อง มีเส้นเลือดทั้งด้านหลังและท้อง ระบบหมุนเวียนเลือดเป็นระบบปิด และ
    มี hepatic portal system ซึ่งนำเลือดจากระบบย่อยอาหารเข้าสู่ตับ
             3. ท่อทางเดินอาหารเป็นแบบสมบูรณ์ มีทั้งปากและทวารหนัก
             4. มีโครงร่างค้ำจุนร่างกายอยู่ภายในตัว (Endoskeleton)  โครงร่างอาจเป็นกระดูกแข็ง (Bone) หรือกระดูกอ่อน
    (Cartilage) ก็ได้ โครงร่างภายในของสัตว์ในไฟลัมนี้เป็นโครงร่างที่มีชีวิต (Living endoskeleton) คือมีการเจริญเติบโต
    อย่างต่อเนื่อง 

    โครงสร้างสำคัญ
             1.โนโทคอร์ด (Notochord) มีลักษณะเป็นแท่งยาวตลอดลำตัวและมีความยืดหยุ่น เซลล์ของโนโทคอร์ดเป็นเซลล์
    ที่มีช่องว่างมาก โนโทคอร์ดนี้เป็นโครงร่างภายในที่เกิดในระยะเอมบริโอ เป็นที่เกาะของกล้ามเนื้อ โนโทคอร์ดจะทำงาน
    โดยการงอตัวแต่ไม่หดตัว กลุ่มที่ไม่มีกระดูกสันหลัง (Protochordates) เช่น แอมฟิออกซัส (Amphioxus) และสัตว์ที่มี
    กระดูกสันหลังโบราณ เช่น ปลาปากกลมกลุ่มแฮกฟิช (Hagfish) จะมีโนโทคอร์ดตลอดชีวิต

                                                               ภาพปลาปากกลมกลุ่มแฮกฟิช 

                                จาก :  http://i.abcnews.com/Technology/AmazingAnimals/popup
                                         id=4958186&contentIndex=1&page=6&start=false

             แต่ในสัตว์มีกระดุกสันหลังทั้งหมดจะมีกระดูกสันหลังเป็นข้อๆ เรียงตัวเป็นแถวตามแนวยาวของลำตัวกระดูสันหลัง
    เกิดจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เป็นปลอกเยื่อหุ้มโนโทคอร์ดเจริญเข้าแทนที่โนโทคอร์ดเพื่อทำหน้าที่เป็นแกนหลักของร่างกาย
    เมื่อมีร่างกายใหญ่ขึ้น
             2. เส้นประสาทสันหลังเส้นประสาทของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นเส้นตัน(Solid) อยู่ใต้ทางเดินอาหารและมักมี
    เป็นคู่แต่สัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตานี้จะมีเส้นประสาทสันหลังเพียง 1 เส้นอยู่ด้านหลังของท่อทางเดินอาหารและมีลักษณะ
    เป็นท่อกลวง(แต่จะตันในภายหลัง) ด้านหน้าของเส้นประสาทสันหลังขยายออกเป็นสมองเส้นประสาทสันหลังที่กลวงเกิด
    จากการทบตัวของเอคโทเดิร์มที่อยู่ด้านหลังของลำตัวเหนือโนโทคอร์ด สัตว์มีกระดูกสันหลังจะมีเส้นประสาท
    สันหลังอยู่ภายในช่องว่างของข้อกระดูกสันหลัง และสมองจะมีกะโหลกศีรษะมาห่อหุ้มไว้
             3. ช่องเหงือกบนฟาริงซ์ มีลักษณะเป็นช่องยาวเปิดออกจากช่องภายในฟาริงซ์ออกมาภายนอก ช่องเหงือกเกิดจาก
    เอคโทเดิร์มที่บุอยู่ด้านนอกฟาริงซ์บุ๋มลงไป และเอนโดเดิร์มที่บุด้านในของฟาริงซ์โป่งออกมา ถุงที่เกิดขึ้นทั้งสองจะมา
    บรรจบกันและทะลุต่อกันเป็นช่องเหงือก สัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูงจะเป็นเพียงร่องไม่ทะลุต่อกัน และมักไม่พบร่องรอยอยู่
    อีกเมื่อเป็นตัวเต็มวัย
             4. หาง(Postanal tail)  อยู่ต่อจากท่อทางเดินอาหารถัดจากทวารหนัก มีกล้ามเนื้อและโนโทคอร์ดที่ยาวมาถึง
    ส่วนหางใช้ช่วยในการเคลื่อนที่

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    อนุกรมวิธาน
             ขึ้นอยูกับการการจัดหมวดหมู่นั้นจะยึดตำราหรือวิธีในการแบ่งเช่นไร บางตำราการแบ่งจะแบ่งไม่เหมือนกัน

    Phylum Chordata



                                     จาก : http://www.gutenberg.org/files/20426/20426-h/20426-h.htm

             1. Group Protochordata  กลุ่มไม่มีกระดูกสันหลังหรือ Acrania กลุ่มไม่กะโหลกหุ้มสมอง Subphylum Urochodata
                      - Class Ascidiacea  สัตว์ในคลาสนี้เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดในบรรดา Urochodata มักเรียกว่า "แอสซิเดียน"
                      - Class Thaliacea  เป็นแพลงตอน มีเพียง 6 สกุล  อยู่ในเขตอบอุ่นธาเลียเชียน
                      - Class Larvacea เป็นแพลงตอนที่พบได้ทั่วไป ตัวเต็มวัยยังคงมีลักษณะ บางประการของตัวอ่อนอยู่
    Subphylum Cephalochodata มีโนโทคอร์ดยาวเข้าไปถึงหัว มีชื่อสามัญว่า Lancelets ตามลักษณะรูปร่างที่คล้ายหอก
    มีเพียง 2 สกุล คือ Branchiostoma และ Asymmetron  ส่วนที่แตกต่างกันของ Branchiostoma และ Asymmetron คือ Asymmetron มีอวัยวะสืบพันธุ์ข้างขวาเพียงข้างเดียว Subphylum นี้มีเพียงประมาณ 30 ชนิด ที่รู้จักกันดี คือ แอมฟิออกซัส
             2. Group Craniata กลุ่มมีกะโหลกศีรษะ Subphylum Vertebrates มีกระดูกสันหลัง Superclass Agnatha กลุ่มไม่มีขากรรไกร
                      - Class Myxini  แฮกฟิช
                      - Class Pteraspidomophi    ปลาโบราณเช่น พวกธีโลดอนท์
                      - Class Cephalaspidomophi แลมเพรย์
                      - Class Ostracodermi
                      - Ostracoderm
                      - Superclass Gnathostomata กลุ่มมีขากรรไกร
                      - Class Placodermi    พลาโคเดิร์ม
                      - Class Chondrichthyes     ปลากระดูกอ่อน
                      - Subclass Elasmobranchii ฉลาม กระเบน สเกต เกล็ดแบบพลาคอยด์ หรือไม่มีเกล็ด
    มีเหงือก 5-7 คู่ มีช่องเปิดแยกจากกันเรียงตัวอยู่บนผนังฟาริงซ์
                      - Subclass Holocephali กลุ่มปลาหนู หรือ rat fish(Chimaeras) หรือ ghostfish ขากรรไกรมี
    tooth plate  มีรูจมูก ไม่มีเกล็ด 
                      - Class Osteichthyes   ปลากระดูกแข็ง
                      - Subclass Crossopterygii ปลาที่ครีบเป็นพูเนื้อ (lobefins )
                      - Infraclass Coelacanthimorpha
                      - Order Coelacanthiformes ซีลาแคนธ์
                      - Infraclass Porolepimorpha Dipnoi
                      - Infraclass Porolepimorpha* ปลาโบราณ
                      - Subclass Dipneusti ปลามีปอด ( lungfish )
                      - Order Ceratodontifomes ปลาปอดออสเตรเลีย
                      - Order Lepidosirenifomes ปลาปอดอเมริกาใต้และอัฟริกา
                      - Subclass Rhizodontimorpha* ปลาโบราณ
                      - Subclass Osteolepimorpha* ปลาโบราณ
                      - Subclass Tetrapoda** สัตว์สี่เท้า
                      - Subclass Actinopterygii ปลาที่ครีบเป็นก้าน ( rayfine )
                      - Subclass Chondrostei
                      - Order Polypteriformes ปลาไคเบอร์
                      - Order Acipenseriformes สเตอเจียน แพดเดิลฟิช
                      - Subclass Neopterygii
                      - Order Semionotiformes ปลาการ์
                      - Order Amiiformes ปลาโบว์ฟิน
                      - Class Amphibia สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
                      - Class Reptilia สัตว์เลื้อยคลาน
                      - Class Aves นก
                      - Class Mammalia สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×