ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    บทความคณิตศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #12 : หมวดย่อย:::รู้ไหมว่า....By ประธานชมรม

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 365
      0
      23 ส.ค. 52

    เตือนชาวบ้านไม่ควรบริโภค-พกติดตัว

     

     

                นักวิจัยฯ ชี้ ว่านจักจั่น เป็นแค่ราแมลง มีพิษหรือไม่ต้องศึกษาจากสปอร์รา เตือนชาวบ้านไม่ควร "บริโภค - พกติดตัว" อาจเป็นอันตราย เสี่ยงติดเชื้อราก่อโรคในคน

     

                ว่านจักจั่นกำลังเป็นเครื่องรางศักดิ์สิทธิ์ที่กำลังเป็นที่นิยมของนักเสี่ยงโชค ด้วยความเชื่อที่ว่า หากใครได้บูชาจะนำโชคลาภมาสู่ตัวนั้น ทำให้กระแสความต้องการว่านจักจั่นแรงขึ้นเป็นทวีคูณ ตามเว็บไซต์ต่างๆ มีการเสนอขายว่านจักจั่นกันจำนวนมาก เช่น

     

                 “…สั่งด่วนของใกล้จะหมดแล้ว ราคากันเองเริ่มต้นที่ ตัวละ 99 บาท Tel. 087- 22XXXX …”

     

                 “…รับเช่าว่านจักจั่น ราคาไม่เกิน 4,999 บาท ขึ้นอยู่กับสภาพ และความสวยงาม สนใจ ติดต่อ 08265XXXXX…”

     

                 “…สนใจเช่า - บูชา ติดต่อได้ที่ 0274XXXXX คู่ละ 799 บาท ฟรีค่าจัดส่ง พร้อมคู่มือประวัติความเป็นมา วิธีบูชา จาก จ.เลย แท้ๆ ค่ะ ว่านจักจั่น (ต่อเงินต่อทอง)…”

     

                หลากหลายข้อความโพสต์ขาย ว่านจักจั่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่กำลังเป็นกระแสยอดนิยมในหมู่นักเสี่ยงโชค ที่ร่ำลือกันว่า ว่านจักจั่น เป็นพืชที่จัดอยู่ในประเภท ว่านกายสิทธิ์ชนิดหนึ่ง ต้นอยู่บนดิน ส่วนรากที่อยู่ใต้ดินนั้น กลับมีรูปร่างลักษณะเหมือนตัวจักจั่น แถมวันดีคืนดียังจะมีเสียงจักจั่นร้องดังขึ้นมาจากใต้ดินอีก เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ใครได้ครอบครองจะให้โชคลาภ เรียกเงิน เรียกทอง เมตตา แคล้วคลาด เตือนภัย

     

                ด้วยความเชื่อว่า  ว่านจักจั่น เป็นเครื่องรางของขลังที่สามารถบันดาลโชคลาภได้ ทำให้กระแสความนิยมว่านจักจั่นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และบางคนก็มีความเชื่อว่า ว่านจักจั่นยังช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ด้วยการนำว่านจักจั่นมาต้มน้ำดื่ม จนต้องหามส่งโรงพยาบาลกันเป็นทิวแถว

     

                หากมองในแง่ของวิทยาศาสตร์ ว่านจักจั่น อาจเป็นเพียงแค่ เชื้อราแมลง แห่งอาณาจักรเห็ดและรา ที่ไม่ใช่ทั้งพืชและสัตว์ อย่างที่เข้าใจกัน

     

                 ราแมลง มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ ก่อให้เกิดโรคและทำให้จักจั่นตาย เมื่อจักจั่นตายเชื้อราก็จะแทงเส้นใยเข้าไปเจริญในตัวจักจั่น เพื่อดูดน้ำเลี้ยงเป็นอาหาร และเจริญเติบโตเป็นโครงสร้างสืบพันธุ์ที่มีลักษณะคล้ายเขาบริเวณหัว ทำหน้าที่สร้างสปอร์เพื่อแพร่เชื้อราต่อไปดร.สายัณห์ สมฤทธิ์ผล นักวิจัยห้องปฏิบัติการราวิทยา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) อธิบายถึง ว่านจักจั่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวบ้าน

     

                สำหรับวงจรชีวิตของจักจั่นว่า เมื่อจักจั่นผสมพันธุ์กันแล้ว จะวางไข่ไว้บนเปลือกไม้ ก่อนล่วงลงสู่พื้นดิน และฝังตัวในระยะตัวอ่อนอยู่ใต้ดินนาน 2 - 17 ปี ส่วนที่เราเห็นตัวจักจั่นในช่วงฤดูร้อนที่ส่งเสียงร้องระงมอยู่บนต้นไม้นั้นเป็นเพียงเสี้ยวชีวิตสั้นๆ ของจักจั่นในช่วงฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ทั้งนี้ จักจั่นในระยะตัวอ่อนที่กำลังไต่ขึ้นมาเพื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยเหนือพื้นดิน ช่วงระยะการเปลี่ยนแปลงร่างกายอาจทำให้จักจั่นอ่อนแอ ประกอบกับช่วงต้นฤดูฝน มีความชื้นสูง จึงมีโอกาสติดเชื้อราแมลงได้

     

                ส่วนเชื้อราที่เกิดบนตัวจักจั่น เบื้องต้นสันนิษฐานว่าเป็นราสายพันธุ์ คอร์ไดเซฟ โซโบลิเฟอร์รา (Cordyceps sobolifera) ก่อนหน้านี้ ในประเทศไทยเคยมีการสำรวจพบราแมลงบนตัวจักจั่นแล้วหลายชนิด และมีชนิดที่น่าสนใจ คือ คอร์ไดเซฟ นิปปอนนิกา (Cordyceps niponnica) ซึ่งพบครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ขณะที่ประเทศไทยพบครั้งแรกที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เมื่อปี 2544 และทีมวิจัยสามารถสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเชื้อรา ที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียด้วย

     

                 ว่านจักจั่นที่เป็นข่าวอยู่ขณะนี้ เรายังไม่สามารถจำแนกสายพันธุ์ของเชื้อราได้ว่าเป็นชนิดใด ตอนนี้ทำได้เพียงให้ความรู้ในแง่ของวิทยาศาสตร์ว่า ว่านจักจั่นไม่ใช่พืชแต่เป็นราแมลง

     

                 ผมไม่แนะนำให้นำมาบริโภค หรือเก็บไว้ใกล้ตัว แม้ว่าเชื้อราในแมลงจะไม่ก่อโรคในคน แต่สำหรับผู้ที่เป็นภูมิแพ้ก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เนื่องจากราบนตัวจักจั่นที่ขุดขึ้นมาอาจจะยังมีชีวิตอยู่ และสร้างสปอร์ หรือแม้ว่านำมาทำความสะอาดแล้ว อาจมีเชื้อราหลงเหลืออยู่ หรืออาจทำให้เชื้อราชนิดอื่นมาเจริญเติบโตแทน หากเป็นเชื้อราที่ก่อโรคในคนก็อาจเป็นอันตรายได้ดร.สายัณห์ เตือน

     

                จังหวะเดียวกันนี้...เพื่อพิสูจน์ให้แน่ชัดว่า ราบนตัวจักจั่นเป็นราชนิดใดกันแน่ รังสิมา ตัณฑเลขา  ผู้จัดการโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT) ลงทุนสั่งซื้อว่านจักจั่นผ่านเว็บไซต์แห่งหนึ่ง จำนวน 5 คู่ คู่ละ 199 บาท แต่เมื่อเปิดกล่องพัสดุออกมาต้องตะลึงมึน เมื่อพบ ว่านจักจั่น ถูกเพิ่มมูลค่าเสียแล้ว ด้วยการเคลือบตัวด้วยกากเพชรสีเงินและสีทองระยิบระยับ จะนำมาวิจัยซากก็ทำได้ลำบาก และเท่าที่สำรวจเห็นก็ยังเป็นเพียงเชื้อราที่ยังอ่อน ยังไม่สร้างสปอร์ จึงยังไม่รู้แน่ชัดว่าเป็น เชื้อราสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดพิษ เหมือนกรณีการเกิดเห็ดพิษหรือไม่

     

     

     

     

     

    ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×