ทำอย่างไรให้งานเขียนของคุณได้รับการยอมรับจากสำนักพิมพ์ - ทำอย่างไรให้งานเขียนของคุณได้รับการยอมรับจากสำนักพิมพ์ นิยาย ทำอย่างไรให้งานเขียนของคุณได้รับการยอมรับจากสำนักพิมพ์ : Dek-D.com - Writer

    ทำอย่างไรให้งานเขียนของคุณได้รับการยอมรับจากสำนักพิมพ์

    โดย CLASS

    คำแนะนำง่ายๆสู่นักเขียน

    ผู้เข้าชมรวม

    511

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    511

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  12 มี.ค. 50 / 22:01 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ทำอย่างไรงานเขียนของคุณจึงได้รับการยอมรับจากสำนักพิมพ์

      1. รู้เขา รู้เรา

      อันดับแรกคุณต้องรู้จักตัวคุณเองอย่างดีพอเสียก่อน ไม่ใช่เขาถามว่า "ถนัดเขียนแนวไหน" แล้วคุณตอบเขาไปว่า "ถนัดทุกแนว" เป็นอันจบเห่ ไม่มีใครเชื่อหรอกครับว่าคุณจะมีอัจฉริยภาพถึงขนาดนั้น ระบุออกมาให้ละเอียดที่สุดเลย ว่าเรื่องของคุณเป็นแนวไหน เช่น "แนวคอมพิวเตอร์" มันก็ยังเป็นคำตอบที่กว้างมากเกินไป ควรระบุให้ชัดเจนไปเลย เช่น "การใช้งาน CAD/CAM ในวงการอุตสาหกรรม" นอกจากจะรู้ข้อมูลของตนเองแล้ว คุณยังควรทราบข้อมูลของสำนัก พิมพ์ที่คุณสนใจจะไปเสนองานเขาด้วยว่า เขามีนโยบายในการตีพิมพ์งานประเภทใดบ้าง หากคุณทะเร่อทะร่าเอางาน เขียน "การเขียนโปรแกรมภาษาซี" ไปเสนอแก่สำนักพิมพ์ธรรมสภา ซึ่งเขาพิมพ์แต่หนังสือธรรมะ หรือเอานิยาย "ผัว ดิฉันและเมียน้อยทั้งเจ็ด" ไปเสนอกับบริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น ไม่ว่างานเขียนของคุณจะเลิศเลอเพียงใด มันก็ต้องลงไปอยู่ ในตะกร้าขยะของบรรณาธิการอย่างแน่นอน ดังนั้นก่อนเสนองานกับใคร คุณควรรู้จักกับเขาบ้างพอสมควร

      สำหรับสำนักพิมพ์แจ่มใสนั้น แนวหนังสือที่เรารับพิจารณา คือ "อ่านสนุก ปลุกกำลังใจ ให้ความรู้" ซึ่งฟังดูกว้างมาก เหลือเกิน ถ้าคุณไม่แน่ใจก็อีเมล์หรือโทรศัพท์มาคุยกันก่อนได้ ไม่ต้องเกรงใจเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิทยา ศาสตร์ เทคโนโลยี บันเทิง ท่องเที่ยว ฯลฯ แต่ถ้ากรณีอย่างนิยาย "ผัวดิฉันและเมียน้อยทั้งเจ็ด" นี่เราไม่รับ ทั้งที่ผู้ เขียนอาจแย้งได้ว่า "มันอ่านสนุกนะ" แต่บังเอิญเราไม่รู้สึกเช่นเดียวกับผู้เขียน เกี่ยวกับนิยายฝ่าฝืนศีลธรรมอันดี งามของสังคมทำนองนี้ หรือตำราวิชาการ "การผ่าตัดหัวใจเทียมด้วยเทคนิคใหม่ล่าสุด" อันนี้ถือเป็นการ "ให้ความรู้" ก็จริง แต่เราคงรับไม่ได้ เพราะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ต้องการอ่านหนังสือเล่มนี้ ทั่วประเทศไทยมีไม่ถึง 20 คน เป็นต้น

      2. รู้จักสร้างจุดเด่นและความแตกต่างของงาน

      ก่อนเริ่มงานเขียน คุณควรสำรวจท้องตลาดเสียก่อนว่า แนวที่คุณกำลังสนใจจะเขียนนั้นเป็นอย่างไรบ้าง มีคน เขียนเอาไว้เยอะหรือยัง คุณต้องสร้างจุดเด่นและความแตกต่างของงานเขียนของคุณขึ้นมาให้ได้ เช่น คุณอยากจะ เขียนสารคดีท่องเที่ยวเกี่ยวกับจังหวัดอยุธยา เพราะคุณมีข้อมูลดิบเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดนี้พร้อมแล้ว แต่ในร้านหนังสือตอนนี้ มีเรื่องของคู่มือเที่ยวอยุธยาอยู่แล้ว 5 เล่ม ทุกเล่มก็พาเที่ยวพระราชวังบางปะอินเหมือน กันหมด อย่างนี้คุณต้องทำการบ้านให้ชัดเจนมาก่อนว่า งานของคุณโดดเด่นและแตกต่างจากเล่มอื่นอย่างไรบ้าง ถ้าพาเที่ยวบางปะอินอีกละก็ โน่น ลงตะกร้าแน่นอน (เดี๋ยวนี้นักเขียนรุ่นใหม่นิยมส่งต้นฉบับทางอีเมล์ ก็ต้องเปลี่ยน จากตะกร้าเป็น Recycle Bin แทนครับ)

      ทราบมั้ยครับ ว่าบรรณาธิการของบางสำนักพิมพ์ (รวมถึงแจ่มใสด้วย) เขาให้ความสำคัญตรงจุดนี้สูงมาก มากกว่า ถ้วยรางวัลเกียรติยศที่พ่วงมากับงานเขียนของคุณเสียอีก ไม่เป็นความจริงเลย ที่ว่าเมื่อคุณเขียนหนังสือที่มีบรรยากาศ คล้ายคลึงกับเรื่องของทมยันตี แล้วหนังสือของคุณจะขายดีเหมือนของทมยันตี ตรงจุดนี้พาให้นักเขียนและสำนักพิมพ์ กอดคอกันเจ๊งมานักต่อนักแล้วครับ บางคนก็ชอบอ้างว่า "คุณบอกอนี่ตาไม่ถึง ขนาดคุณทมยันตี เค้ายังเคยวิจารณ์ งานชิ้นนี้ว่าน่าสนใจมากเลย" ถามจริงๆ เถอะ คุณทมยันตีเขาสามารถพูดความจริงด้วยคำว่า "ห่วยแตก" ออกมาได้ ด้วยหรือครับ

      3. ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

      ปัญหาที่พบบ่อยอีกข้อหนึ่งของนักเขียนส่วนใหญ่ ที่ส่งต้นฉบับไปให้สำนักพิมพ์พิจารณาก็คือ "โดนดองเรื่อง" คือตอนที่เสนองานไม่ค่อยกล้าสอบถามให้เรียบร้อยเสียก่อน ว่าทางสำนักพิมพ์ใช้เวลาพิจารณานานไหม สามารถ ติดตามความคืบหน้าได้จากใคร ถือเสียว่าส่งเรื่องแล้วก็แล้วกันไป บางรายโดนดองเรื่องเอาไว้เป็นปี พอเอาเรื่อง ไปให้สำนักพิมพ์อื่นเขาพิจารณา แล้วเกิดผ่าน กำลังจะได้รับการตีพิมพ์ ก็เกิดเหตุการณ์รถไฟชนกัน คือสำนัก พิมพ์ที่เคยดองเรื่องเอาไว้ทีแรก เกิดอยากจะตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้เช่นกัน กรณีเช่นนี้ผู้ที่ได้รับความเสียหายคือ ตัวนักเขียนเอง เพราะจะเสียเครดิต เพื่อป้องกันปัญหาเช่นนี้ ทางนักเขียนควรตกลงกับสำนักพิมพ์ให้แน่ชัดใน ตอนต้นว่า จะต้องใช้เวลาพิจารณานานเท่าใด และเมื่อครบกำหนดเวลาก็ต้องติดต่อสอบถามว่าผ่านการพิจารณา หรือไม่ ถ้าต้องการไปเสนอให้สำนักพิมพ์อื่นพิจารณา ควรแจ้งแก่สำนักพิมพ์เดิมให้เรียบร้อยว่าขอถอนเรื่องแล้ว

      ความจริงแล้ว เหล่าบรรณาธิการของสำนักพิมพ์ทั้งหลายนั้น ท่านมิได้มีเจตนาเตะถ่วงเรื่องแต่อย่างใด เพียง แต่นิสัยแบบไทยๆ เราก็คือเป็นคนขี้เกรงใจ กลัวว่าถ้าบอกออกไปว่า "เรื่องของคุณไม่ผ่านการพิจารณา" แล้ว จะเป็นการทำร้ายจิตใจของนักเขียนผู้นั้นจนเกินไป จึงแอบเอาผลงานหย่อนลงถังขยะไปเงียบๆ แบบบัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น ทางที่ดีควรคุยกันในตอนแรกให้เรียบร้อย เช่น ต้องใช้เวลาพิจารณา 3 เดือน พอครบกำหนด 3 เดือน คุณก็ลองติดต่อไปดูอีกทีว่าเรื่องไปถึงไหนแล้ว ถ้ายังไม่มีอะไรคืบหน้า คิดว่าไม่มีหวังแล้ว ก็ทำเรื่องขอต้นฉบับคืน (แค่ทำเรื่องเฉยๆ เพราะต้นฉบับจริงของคุณอาจกลายเป็นปุ๋ยไปแล้ว) เท่านี้ก็จบลงด้วยดีกันทุกฝ่าย คุณก็ไม่ต้อง เลือกระหว่างโดนดองเรื่องไปเรื่อยๆ หรือต้องทนฟังคำว่า "เรื่องของคุณไม่ผ่านการพิจารณา" เมื่อถอนเรื่องเรียบ ร้อยแล้ว คุณก็สามารถเอาผลงานไปเสนอที่อื่นต่อไปได้อย่างสบายใจ เผื่ออนาคตคุณเกิดมีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นมา ผลงานเก่าๆ ที่อยู่ตามถังขยะของสำนักพิมพ์ต่างๆ ก็อาจจะกลับมีค่าขึ้นมาก็ได้ ใครจะไปรู้

      4. สรุปผลชัดเจน

      ไม่ว่าเรื่องของคุณจะผ่านการพิจารณาหรือไม่ก็ตาม คุณควรได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อตัวคุณเอง เป็นต้นว่า สาเหตุที่งานของคุณไม่ผ่านการพิจารณานั้นเพราะเหตุใด สำนวนไม่ดี หรือพล็อตเรื่องไม่รัดกุม ฯลฯ ถ้าผลงานคุณ ไม่ดีจริงๆ (ไม่ค่อยมีใครเขากล้าบอกคุณตรงๆ หรอกว่าผลงานคุณห่วยแตก ต้องคิดดูเอาเองด้วยใจที่ไม่อคติเกิน ไปนัก) ขืนเอาไปเสนอที่อื่น เขาก็คงไม่รับอีกนั่นแหละ เสียเวลาเปล่า สู้เอากลับไปขัดเกลาเรื่องเสียใหม่ดีกว่า ใส่ตะกร้าล้างน้ำซะ ถือว่าวันนี้ยังไม่ใช่วันของเรา ในทำนองกลับกันถ้าเรื่องของคุณผ่านการพิจารณาก็อย่าเพิ่ง ดีใจจนเกินไป บางที 3 ปีผ่านไปแล้วยังไม่ได้รับการตีพิมพ์เลย อันนี้แสบกว่าไม่ผ่านการพิจารณาเสียอีก คุณจึง ต้องสอบถามจากสำนักพิมพ์ให้ชัดเจนว่าผลงานของคุณจะได้รับการตีพิมพ์เมื่อใด และรายละเอียดของการจัดทำ สัญญา ซึ่งมีการระบุค่าตอบแทนที่คุณจะได้รับไว้อย่างชัดเจน (อย่ากลัวว่าใครเขาจะหาว่าคุณงกเลย โดยเฉพาะ ถ้าคุณไม่ได้ทำอาชีพอื่นใด นอกจากเขียนหนังสือ ก็คุณกินอากาศแทนข้าวได้เสียเมื่อไหร่เล่า)



      ขอบคุณแจ่มใส(เราต้องพึ่งคุณในการหาความรู้จริงๆ)

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×