ทำอย่างไรจึงจะได้งานเขียนที่มีคุณภาพ - ทำอย่างไรจึงจะได้งานเขียนที่มีคุณภาพ นิยาย ทำอย่างไรจึงจะได้งานเขียนที่มีคุณภาพ : Dek-D.com - Writer

    ทำอย่างไรจึงจะได้งานเขียนที่มีคุณภาพ

    โดย CLASS

    วิธีการง่ายสู่แนวทางการเขียนนิยายให้ดี

    ผู้เข้าชมรวม

    685

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    685

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  12 มี.ค. 50 / 21:59 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ทำอย่างไรจึงจะได้งานเขียนที่มีคุณภาพ

      1. ศึกษาและสังเกต

      นักเขียนที่ดีต้องอ่านให้มากเข้าไว้ โดยเฉพาะในแนวที่คุณสนใจอยากจะเขียน หากคุณตั้งเป้าอยากเป็นนักเขียน เรื่องสยองขวัญ เพราะชอบอ่านเรื่องของ "ใบหนาด" แต่คุณไม่เคยอ่านเรื่องของ Stephen King บ้างเลย เรื่องที่คุณเขียน ออกมา ก็จะมีกลิ่นอายของคุณลุง "ใบหนาด" มาอย่างแน่นอนไม่มากก็น้อย เพราะคุณได้รับอิทธิพลจากงานเขียนของท่าน มาเต็มๆ อ่านเยอะยังไม่พอ ต้องหมั่นสังเกตด้วยว่า จุดเด่นของนักเขียนผู้นี้เป็นอย่างไร เมื่อตั้งข้อสังเกตบ่อยๆ แล้วคุณจะ พบว่าฝีมือในการเขียนของคุณจะพัฒนาไปได้เรื่อยๆ เพราะคุณก็จะเริ่มตั้งข้อสังเกตกับผลงานของคุณเองด้วยเช่นกัน

      2. ฝึกฝนและทดลอง

      ไม่มีใครเก่งมาตั้งแต่ท้องพ่อท้องแม่หรอกครับ การฝึกฝนจะทำให้เราเกิดความชำนาญมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนการทดลอง จะนำมาซึ่งความแปลกใหม่ในผลงานของเรา โดยเฉพาะนักเขียนที่เริ่มมีชื่อเสียงแล้ว บางคนไม่กล้าขยับตัวออกไปจาก กรอบความคิดของผลงานเดิมๆ ที่เคยทำไว้ กลัวพลาด อย่างนี้เขาเรียกว่า "ตัน" เหมือนเวลาเราเข้าซอยตัน ก็ต้องหันหลัง เดินกลับทางเก่าที่เคยผ่านมา นักเขียนหลายคนที่ไม่ยอม "ตัน" ทางความคิด เขาไม่ยอมจำเจ หรือจมอยู่กับความสำเร็จ เดิมๆ เป็นอันขาด ระหว่างที่นักเขียนอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยชื่อเสียงเดิม กับผลงานที่ย่ำอยู่กับที่ไปเรื่อยๆ จนกว่าผู้อ่านจะไล่ลง จากเวที คุณเล่าครับจะเลือกเดินแบบไหนดี

      3. ค้นหาตัวเองให้พบ

      ในงานศิลปะแขนงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานดนตรี จิตรกรรม ฯลฯ รวมถึงงานด้านการประพันธ์ด้วย สิ่งหนึ่งที่เหล่าศิลปิน เขาถือนักถือหนาคือ "การมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง" หากใครที่ยังไม่สามารถสร้างแนวทางเฉพาะตนขึ้นมาได้ เขายังถือ เสมือนเป็นนักศึกษาฝึกงานอยู่ เพราะยังต้องเที่ยวเลียนแบบรูปแบบงานของคนอื่นอยู่เรื่อยไป ทักษะและประสบการณ์ ยังไม่สามารถตกผลึกออกมาเป็นรูปแบบของตนเองได้ ใครก็ตามที่ได้ "ศึกษาและสังเกต" รวมไปถึง "ฝึกฝนและทดลอง" มาอย่างเพียงพอแล้ว ก็จะค้นพบรูปแบบที่เป็นตัวของตัวเองได้ในที่สุด สำหรับนักเขียนที่มีประสบการณ์สูงแล้ว กลิ่นอาย และสำนวนของผลงาน สามารถบอกให้ผู้อ่านรู้ได้ว่าเป็นใคร โดยแทบไม่ต้องดูชื่อผู้เขียนเลยด้วยซ้ำ

      4. เปิดใจรับคำวิจารณ์

      การเปิดเผยผลงานออกสู่สาธารณะ ควรต้องเปิดใจให้กว้าง เพราะจะมีคนวิจารณ์อยู่เสมอ บางคนก็ว่าดี บางคนก็ว่า ห่วย ลองเปิดใจกว้างๆ แล้วรับฟังเหตุผลของเขาดูว่าเป็นอย่างไร ถ้าเป็นคำตำหนิที่มีเหตุมีผล เราก็ควรถือเอาคำตำหนิ เหล่านี้มาเป็นครูของเรา แต่ถ้าเป็นคำตำหนิที่ไม่เป็นจริงตามที่เขาพูด เราก็ปล่อยมันลอยลมไป ก็เท่านั้นเอง อย่าถือตัว ตนว่าเราเก่งแล้ว ไม่ต้องการคำแนะนำจากใครอีกแล้ว มิเช่นนั้นในไม่ช้าไม่นานเราก็จะกลายสภาพเป็น "กบที่อยู่ใน กะลาครอบ" ไปเท่านั้นเอง

      5. พัฒนาฝีมืออย่างต่อเนื่อง

      ในโลกของการทำงานนั้น ไม่มีคำว่า "ดีที่สุด" หรือ "เก่งที่สุด" สิ่งที่ว่าดีแล้ว ย่อมทำให้ดีกว่าเดิมได้อยู่เสมอ คนที่ว่า เก่งแล้ว ก็ต้องมีคนที่เก่งกว่าอยู่เสมอ เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า "ผมเป็นคนเดินช้า แต่ไม่เคยหยุดเดิน หรือเดินถอยหลัง" นอก จากพรสวรรค์แล้ว คนที่รู้จักหาพรแสวงใส่ตัวอยู่ตลอดเวลา เขาก็จะเดินก้าวไปข้างหน้าอยู่เรื่อยๆ ส่วนที่ว่าจะเร็วหรือช้า นั้น นั่นถือเป็นอีกเรื่องหนึ่ง งานเขียนหนังสือก็ควรมีการพัฒนารูปแบบของการเขียนอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน เราจะ สังเกตเห็นว่านักเขียนชั้นนำที่สามารถรักษาชื่อเสียงได้อย่างยาวนาน มักจะผลิตงานเขียนได้อย่างคงเส้นคงวา และมี รูปแบบแปลกใหม่ในการสร้างสรรค์อรรถรสให้แก่ผู้อ่านอยู่เสมอ

      6. อดทน

      บางทีความสำเร็จมันแวะไปเที่ยวอยู่กับคนอื่น ต้องรออีกหน่อยมันถึงจะมีเวลาแวะมาเยี่ยมเราบ้าง โดยเฉพาะงานรูป แบบใหม่ๆ ที่ไม่ซ้ำกับใคร มักจะโดนด่าเละก่อนเป็นธรรมดา คิดเสียว่าเขายังไม่คุ้นก็แล้วกัน อย่าเพิ่งท้อถอย อย่าเพิ่ง ล้มเลิก ทำมันต่อไปเถิด หากเราเชื่อมั่นในสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ แล้ววันหนึ่งคนอื่นเขาก็จะเข้าใจเอง ลองย้อนมองดูนักเขียน ชั้นนำ ทั้งของไทยและต่างประเทศเถอะครับ มีใครบ้างที่ประสบความสำเร็จได้โดยทันที โดยไม่ต้องเรียนรู้คำว่า "อดทน"

      สาเหตุหลัก ที่ทำให้คนอยากเป็นนักเขียน ก็คือ "อ่านมาก" คนเราพอได้อ่านหนังสือไปมากๆ ก็มักอยากระบายออกมา บ้าง บางคนกลายเป็นนักพูด (นักพูดที่ดีมักเป็นนักอ่านตัวยงด้วยแทบทั้งสิ้น) เพราะชอบพูด ในขณะที่บางคนจะรู้สึกคันไม้ คันมืออยากจะเขียนมากกว่า ผมว่ามันก็มีส่วนคล้ายกับสัญชาติญาณการสืบพันธุ์ของคนเรากลายๆ แต่มันคือสัญชาตญาณ ของการสืบทอดทางภูมิปัญญา จิตวิญญาณ อารมณ์ วัฒนธรรม และวิทยาการของมนุษย์นั่นเอง อาการนี้ก็เป็นกันมาตั้งแต่ โบราณ ถือเป็นสิ่งปกติของปัญญาชน แรงขับดันอันนี้จึงก่อให้เกิดหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และการถ่ายทอดทางภูมิปัญญา สืบสานต่อเนื่องเรื่อยมาจวบจนปัจจุบันนี้

      งานเขียน ถือเป็นศิลปะอันล้ำลึกอย่างหนึ่งของมนุษยชาติ ในการถ่ายทอดเรื่องราวที่ผู้เขียนอยากจะสื่อสารแก่ผู้อ่าน บางคนถนัดที่จะใช้วิธีบอกเล่าอย่างตรงไปตรงมา (พวกตำราวิชาการจะใช้วิธีนี้แทบทั้งหมด) บางคนชอบใช้การอุปมา อุปไมย โดยใช้บุคคลหรือสัญญลักษณ์ บางคนใช้คำบอกเล่าเรื่องอย่างเรียบง่าย อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที ในขณะที่บางคนชอบใช้ สำนวนที่แปลกออกไปหรือบอกเล่าอย่างคลุมเครือแทน ทว่าสิ่งที่แสดงออกในงานเขียนของแต่ละคน มักสะท้อนถึงความรู้สึก นึกคิด นิสัยใจคอ ตลอดถึงความเชื่อและทัศนคติ ของผู้เขียนเรื่องนั้นๆ ได้ว่าเป็นคนลักษณะเช่นใด

      ปัจจุบันนี้ คนไทยนิยมการอ่านหนังสือกันมากขึ้น ทำให้ตลาดของธุรกิจหนังสือในบ้านเราโตขึ้นทุกปี ทั้งกลุ่มของหนังสือ วิชาการและหนังสือวรรณกรรม ท่านที่เคยไปงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จะเห็นว่ามีสำนักพิมพ์เกิดขึ้นมามากมายราวกับ ดอกเห็ดหน้าฝนเลยนะครับ มีตัวเลขเฉลี่ยว่าในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยของเรามีผู้ผลิตหนังสือออกสู่ท้องตลาด ประมาณวันละ 20 ปก หากเราคิดเสียว่าพิมพ์กันปกละ 500 เล่ม ก็จะมีหนังสือเกิดขึ้นวันละ 10,000 เล่ม คงจะเห็นได้ว่าเป็นตัวเลขที่ไม่น้อย เลย แต่สัดส่วนของสำนักพิมพ์และนักเขียนที่ประสบความสำเร็จ คือได้รับการยอมรับจากตลาดนักอ่านมีอยู่ไม่ถึง 20 % นั่น หมายความว่าสำนักพิมพ์ที่ก่อตั้งขึ้น 100 แห่ง จะรอดปากเหยี่ยว ปากกามาได้ราว 10 กว่าแห่งเท่านั้นเอง ผมขอข้ามเรื่องของ ธุรกิจสำนักพิมพ์ไปก่อน โดยจะขอพูดถึงแต่เฉพาะมุมของ "นักเขียน" เท่านั้น

      "นักเขียน" คือ ปัจจัยสำคัญที่จะชี้เป็นชี้ตายว่าสำนักพิมพ์จะอยู่รอดหรือไม่ ดังนั้นทุกสำนักพิมพ์จึงให้ความสำคัญกับนัก เขียนมาก หากเขาไม่มั่นใจเต็มร้อยกับผลงานของคุณ เขาคงไม่กล้าเสี่ยงแน่ นอกจากคุณจะมีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับเขา แต่สำนักพิมพ์ประเภทที่ว่านี้มักไปไม่รอด กล่าวคือเจ้าของสำนักพิมพ์ก็เป็นนักเขียนเอง และเพื่อนฝูงที่สนิทสนมก็อยากเป็น นักเขียนกันแทบทั้งนั้น พอหาเงินทุนได้ก้อนหนึ่งก็นำมาเปิดเป็นสำนักพิมพ์ แล้ววาดฝันว่าจะได้รับการต้อนรับอย่างล้น หลามจากวงการหนังสือ พอเปิดตัวเข้าจริง กลับไม่เป็นไปตามที่คิด เงินทุนก็ร่อยหรอไปเรื่อยๆ จนต้องปิดตัวเองไปในที่สุด ในวงการหนังสือจะมีสำนักพิมพ์ประเภทนี้เกิดขึ้นและดับไปอยู่แทบจะตลอดเวลา คล้ายกับนักลงทุนกลุ่ม "แมงเม่า" ใน ตลาดหลักทรัพย์ก็ไม่ปาน สิ่งเหล่านี้ยืนยันให้เห็นถึงมนตร์ขลังของ "หนังสือ" ได้ว่าเปี่ยมด้วยเสน่ห์เพียงใด



      ขอขอบคุณ แจ่มใส ค่ะ

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×