จิตวิทยาสังคม (social psychology) - จิตวิทยาสังคม (social psychology) นิยาย จิตวิทยาสังคม (social psychology) : Dek-D.com - Writer

    จิตวิทยาสังคม (social psychology)

    ..............5555555

    ผู้เข้าชมรวม

    4,449

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    6

    ผู้เข้าชมรวม


    4.44K

    ความคิดเห็น


    5

    คนติดตาม


    2
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  24 ก.ย. 49 / 17:33 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

       

      จิตวิทยาสังคม

      ครั้งหนึ่ง นักปราชญ์ชาวกรีก ผู้มีนามว่า อริสโตเติ้ล ได้กล่าวว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม และมีสัญชาติญาณของการมาอยู่ร่วมกันเป็นรัฐตั้งแต่วันแรกที่เราเกิดมา เราก็ต้องมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นแล้ว นั่นคือ แม่  พอโตหน่อยเข้าโรงเรียน เราก็เจอครู เจอเพื่อน

      พอทำงาน ก็ต้องเจอ เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า เป็นต้น แม้กระทั่ง ยามจะตายไปจากโลก

      ก็ได้ทิ้งอะไรบางอย่างไว้เป็นมรดกแก่สังคม สรุปว่า คนเราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม

      และสังคม ก็หล่อหลอมความเป็นเรา ไม่มีสังคม ไม่มีเรา

       จิตวิทยาสังคม เป็นศาสตร์ที่ศึกษา เรื่อง พฤติกรรม

      โดยพฤติกรรมนั้นได้รับ แรงกระตุ้นจากสังคม (พ่อแม่ ครู กลุ่ม และสถาบัน)

      ขึ้น เช่น หลายครั้งที่พลังกลุ่ม ได้กระตุ้นให้เราทำอะไรบางอย่างเกิดขึ้น

      เช่น เวลาเราเจอนักร้องที่เราชอบ เราอยากกรี๊ด อยากแสดงความตื่นเต้นดีใจ

      แต่เราอาจอายคนรอบตัว  แต่เวลาที่เราไปดูคอนเสิร์ตของนักร้องคนเดียวกันนี้กับเพื่อนหลายๆคน พอเพื่อนกรี๊ด เราจะกรี๊ดตาม

      พูดง่ายๆ ในอันแรก สังคม ทำให้เราไม่กล้าแสดงความชื่นชอบอย่างออกนอกหน้า และในอันถัดมา สังคม(กลุ่มเพื่อนที่ไปดูคอนเสิร์ต)ก็เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เรา แสดงออกอย่างเต็มที่

      นี่แหละ ที่เรียกว่า สิ่งแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้นให้เกิด การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง

      ประเด็นที่จิตวิทยาสังคมจะศึกษาหาคำตอบ มีเยอะมาก ตัวอย่างเช่น

      1. ทำไมบุคคลจึงต้องการเข้ากลุ่ม

      2. ระยะห่างระหว่างบุคคลคืออะไร

      3. เจตคติคืออะไร วัดได้อย่างไร

      4. นักจิตวิทยาอธิบายความก้าวร้าวของมนุษย์ไว้อย่างไร

      ขั้นตอน การเกิดพฤติกรรม

      1. คนๆนึง กำเนิดขึ้น และบุคลิกของเขา ได้รับการหล่อหลอมจาก สถาบันต่างๆในสังคม

      2. การแสดงพฤติกรรม จะมี กระบวนการดังนี้

      2.1 สิ่งเร้า กระทบ ประสาทสัมผัสทั้ง 6

      2.2 ส่งความหมายไปที่สมอง เกิดการแปล

      2.3 สมองตัดสินใจที่จะสั่งให้ร่างกายตอบสนองอย่างไรขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์เดิม บวก เจตคติ

      2.4 ตอบสนอง สิ่งเร้าออก ไป เกิดเป็นพฤติกรรม 

      3. บุคคลจะได้รับแรงเสริม ทั้งทางบวกทางลบ และการลงโทษจากสิ่งที่ตัวเองกระทำ

      4.  การเสริมแรง และการลงโทษก่อให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ 

      5.  คนๆนั้นจะเก็บข้อมูลจากการเรียนรู้ไว้เป็น ความทรงจำ

      และนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจครั้งต่อๆไป

       

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×