ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    >>>ร.ร.ธิดานุเคราะห์<<<

    ลำดับตอนที่ #1 : ประวัติโรงเรียน

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.93K
      4
      6 มี.ค. 52

    ประวัติโรงเรียนธิดานุเคราะห์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โรงเรียนธิดานุเคราะห์ บริหารโดยนักบวชหญิงคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ (ธ.ม.อ.) ผู้สถาปนาคณะ ได้แก่ นักบุญยอห์นบอสโก และนักบุญมาเรีย มัสซาแรลโล นักบุญยอห์น บอสโก ได้รับสมญานามว่า "บิดาของเยาวชน" เพราะท่านอุทิศชีวิตทั้งหมดของท่านในการอบรมเยาวชนให้เป็นบุคคลที่สมบูรณ์แบบ เพื่อเป็นเยาวชนที่สุจริต และคริสตชนที่ดี ด้วยการใช้ศาสนา เหตุผล และเมตตารัก เป็นวิธีการอบรม ท่านได้ตั้งนักบวชหญิงคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ขึ้น เพื่อสืบทอดมรดกด้านการอบรมนี้ ดังนั้นในการจัดการศึกษาของโรงเรียนธิดานุเคราะห์ จึงได้ยึดเป้าหมายของนักบุญยอห์น บอสโก มาเป็นปรัชญาในการจัดการศึกษา นั้นคือ “อบรมเยาวชนให้เป็นบุคคลที่สมบูรณ์แบบ เป็นพลเมืองที่สุจริตและศาสนิกชนที่ยึดมั่นในศาสนา” โรงเรียนธิดานุเคราะห์ ได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ชื่ออักษรย่อ คือ ธ.น. อาคารเรียนเดิมเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ตั้งอยู่เลขที่ 5 ซอยดวงจันทร์ อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปัจจุบันตั้งอยู่ ณ เลขที่ 5 ถนนแสงศรี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นับตั้งแต่เปิดโรงเรียนเป็นต้นมา โรงเรียนมีความเจริญก้าวหน้าเป็นลำดับดังนี้ ปี พ.ศ.2493 เปิดรับนักเรียนทั้งสิ้น 270 คน มีครู 8 คน ผู้จัดการคนแรก คือ คุณชูนิน สุคนธหงส์ ครูใหญ่คนแรก คือ ซิสเตอร์มากาเร็ต ธาดาธิเบศร์ ปี พ.ศ.2495 ทางโรงเรียนได้ขยายกิจการ โดยเปิดแผนกอนุบาลขึ้นมีซิสเตอร์คัทริน โอเปสโซ เป็นผู้จัดการ ปี พ.ศ.2496 จำนวนครู-นักเรียนเพิ่มขึ้นตามลำดับทำให้สถานที่คับแคบ จึงจัดซื้อที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียนใหม่ ที่ถนนสวนศิริ ซิสเตอร์อันนา ลัธนันท์ มารับตำแหน่งครูใหญ่ ปี พ.ศ.2499 โรงเรียนได้รับการรับรองวิทยฐานะจากกระทรวงศึกษาธิการ ถึงชั้นมัธยมปีที่ 3 ในปีต่อมาก็ได้ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนใหม่เป็นอาคารเรียนถาวร 3 ชั้น ปี พ.ศ.2501 ย้ายนักเรียนแผนกประถม และมัธยมมายังโรงเรียนที่ก่อสร้างใหม่ แผนกอนุบาลยังคงเรียนที่เดิม ได้รับอนุญาตให้รับนักเรียนได้ 1,143 คน ปี พ.ศ.2502 โรงเรียนได้รับการรับรองวิทยฐานะถึงชั้นมัธยมปีที่ 6 ปี พ.ศ.2504 สร้างอาคารเรียนชั้นเดียวอีก 1 หลัง สำหรับอนุบาล และหอพักนักเรียนประจำ เป็นอาคารถาวร 3 ชั้น ปี พ.ศ.2506 สร้างสะพานคอนกรีตทางเข้าหน้าโรงเรียน เพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยแก่นักเรียน ซิสเตอร์โรส มูร์ มารับตำแหน่งอธิการิณี และผู้จัดการโรงเรียน ปี พ.ศ.2507 สร้างโรงอาหารทางด้านหน้าประตู และห้องยาม เพื่อบริการนักเรียนและผู้ที่เข้ามาติดต่อได้ดีขึ้น ปี พ.ศ.2508 สร้างถนนใหญ่ในบริเวณโรงเรียน และสนามบาสเกตบอล ปรับสนามหญ้าอาคารเรียนอนุบาล ปี พ.ศ.2509 ซิสเตอร์ลีนา จอล มารับตำแหน่งอธิการิณี ปี พ.ศ.2510 ซิสเตอร์เทเรซา ไพเราะ ศันสนยุทธ มารับตำแหน่งครูใหญ่แทนซิสเตอร์ อันนาลัธนันท์ ที่ย้ายไปประจำการที่อื่น ปี พ.ศ.2512 จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 960 คน ครู 35 คน จึงจำเป็นต้องต่อเติมอาคารเรียน ปี พ.ศ.2513 สร้างอาคารเรียนต่อเติมจากอาคารเดิมไปทางปีกซ้าย จัดให้มีห้องพักครู ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องสมุด ห้องรับแขก ห้องอำนวยการ อย่างเหมาะสมเป็นสัดส่วนขึ้นและเพิ่มห้องเรียนอีก 2 ห้อง ปี พ.ศ.2514 ซิสเตอร์โรซาลีอา สมพิศ เจนผาสุก มารับตำแหน่งผู้จัดการและ ครูใหญ่ ปีนี้เพิ่มจำนวนอนุบาล จาก 4 ห้อง เป็น 5 ห้อง ปี พ.ศ.2515 สร้างถนนหน้าอาคารเรียนให้เป็นถนนลาดยาง เชื่อมต่อกับถนนใหญ่หน้าประตู ย้ายเสาธงมาสร้างในที่ใหม่ ตรงส่วนกลางถนนหน้าอาคารเรียน ปี พ.ศ.2516 ยุบชั้นเตรียมประถมออก 1 ห้อง เพิ่มจำนวนนักเรียนอนุบาลเป็น 6 ห้อง เริ่มจัดให้มีกีฬาสีเป็นกิจกรรมพิเศษ ขึ้นในโรงเรียน ปี พ.ศ.2517 เพิ่มห้องเรียนอนุบาลจาก 6 ห้อง เป็น 7 ห้อง และจัดห้องโสตวัสดุอุปกรณ์ขึ้น 1 ห้องเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การใช้โสตทัศนอุปกรณ์ในโรงเรียน ปี พ.ศ.2518 ห้องเรียนอนุบาลเพิ่มจำนวนเป็น 8 ห้องเรียน จัดเสริมอาคารด้านหลังเป็นระเบียง เพื่อใช้เป็นห้องอาหาร และอำนวยความรื่นรมย์แก่สถานที่จัดตั้งอนุสาวรีย์แม่พระองค์อุปถัมภ์ไว้เป็นอนุสรณ์ โอกาสครบรอบ 25 ปี ของโรงเรียน ปี พ.ศ.2519 ซิสเตอร์ไพเราะ ศันสนยุทธ มารับตำแหน่งผู้จัดการและซิสเตอร์สมพิศ เจนผาสุก เป็นครูใหญ่ ปี พ.ศ.2520 จัดส่งครู 7 คน เข้าอบรมผู้กำกับกองเนตรนารี เพื่อจัดตั้งกอง เนตรนารีตามระเบียบ ปี พ.ศ.2521 จัดส่งครูระดับประถมและมัธยมต้น เข้ารับการอบรมหลักสูตรใหม่ ปี 2521 ปี พ.ศ.2522-2523 จัดส่งครูเข้ารับการอบรมจริยศึกษาทุกระดับและส่งครูเข้ารับการอบรมวิชา วัดผล พลศึกษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิชาอนุศึกษา 4 คน ส่งครู 5 คน ศึกษาต่อ ค.บ. ที่วิทยาลัยครูสงขลา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนมากขึ้น ปี พ.ศ.2524 ฉลองครบรอบศตวรรษของผู้ตั้งคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ และครบรอบ 50 ปี ที่คณะซิสเตอร์ได้เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทย แต่งตั้งซิสเตอร์ทิพยวัลย์ ภาคสุวรรณ เป็น ผู้ช่วยครูใหญ่ แทนซิสเตอร์สำรอง จิตอุทัศน์ ปี พ.ศ.2525 ซิสเตอร์คัทริน โอเปสโซ ย้ายมาดำรงตำแหน่งอธิการิณี ซิสเตอร์สมพิศ เจนผาสุก เป็นผู้จัดการ และซิสเตอร์ทิพยวัลย์ ภาคสุวรรณ รับหน้าที่ครูใหญ่ มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 200 คน ปี พ.ศ.2526 ซิสเตอร์ดุษณี วงศ์ประดู่ ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทนซิสเตอร์ ทิพยวัลย์ ภาคสุวรรณ ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนเซนต์แมรี่ อุดรธานี ปี พ.ศ.2527 สร้างอาคารเรียนใหม่อีก 1 หลัง ใช้เป็นห้องเรียน 10 ห้อง ได้รับอนุญาตเพิ่มจำนวนนักเรียนเป็น 1,680 คน จัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการโรงเรียนตามระเบียบ สช. ปี พ.ศ.2528 ปีเยาวชนสากล รณรงค์เยาวชนให้เป็นผู้นำ ส่งเนตรนารีสามัญ รุ่นใหญ่อบรมการใช้สัญญาณจราจร ปี พ.ศ.2529 ปีสันติภาพสากล จัดสร้างกำแพงหน้าโรงเรียนและทางเดินตลอดแนวกำแพง ให้ชื่อ “ทางเดินสันติภาพ” ปี พ.ศ.2530 ปีดอนบอสโก ครบรอบศตวรรษแห่งมรณภาพของคุณพ่อบอสโก ผู้สถาปนาคณะซาเลเซียนสร้างหอประชุมเลารา เป็นอาคารอเนกประสงค์ ปี พ.ศ.2531 ได้รับอนุญาตให้เปิดชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เปิด 2 ห้องเรียน จัด 3 แผน ได้รับอนุญาตเพิ่มอัตราจำนวนนักเรียนเป็น 2,200 คน ปี พ.ศ.2532 เปลี่ยนระบบอนุบาลศึกษาจาก 2 ระดับชั้น เป็น 3 ระดับชั้น รับนักเรียนอายุตั้งแต่ 3-5 ปี เปิดสอนคอมพิวเตอร์เป็นวิชาเลือกเสรี ในหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และวิชาพิเศษสำหรับกลุ่มสนใจ ซิสเตอร์นาเดีย แฟร์โร ย้ายมาดำรงตำแหน่งอธิการิณีแทนซิสเตอร์คัทริน โอเปสโซ ปี พ.ศ.2533 สร้างห้องเรียนชั่วคราว 3 ห้องเรียน และได้รับอนุญาตเพิ่มจำนวนนักเรียนในอัตรา 2,350 คน ปีนี้เป็นปีแรกที่นักเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผลการสอบ พบว่า นักเรียนศึกษาต่อมหาวิทยาลัย ร้อยละ 50 อีก 50 คงศึกษาต่อสายอาชีพ ปีนี้เริ่มก่อสร้างอาคารเรียนใหม่อีก 1 หลัง เป็นอาคาร 3 ชั้น 18 ห้องเรียน ชั้นล่างใช้เป็นโรงอาหาร ส่วนชั้น 2 และชั้น 3 ใช้เป็นห้องเรียน ระบบการพัฒนานักเรียนจึงครบวงจรทุกระดับชั้น มีการรวมเนตรนารี-ยุวกาชาด และกีฬาสี เข้าเป็นโครงการหมู่บ้าน 4 หมู่สี ปี พ.ศ.2534 เริ่มโครงการพัฒนาการโรงเรียน เพื่อการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการโรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนเอกชนดีเด่นระดับมัธยมของเขตการศึกษา 3 ในกลางปีได้เปิดอาคารเรียนใหม่ ชื่อ “อาคารอนุสรณ์ 40 ปี” และได้รับอนุญาตให้เพิ่มจำนวนนักเรียนได้ในอัตรา 4,240 คน ปี พ.ศ.2535 ดำเนินนโยบายพัฒนาโรงเรียนครบองค์ประกอบ 8 ประการ บุคลากรครูได้รับการอบรมเป็นระยะตลอดปี ด้านการเรียนการสอน และกิจกรรมนักเรียน ปรากฏว่ามีประสิทธิผลค่อนข้างสูงในทุกรายวิชา และได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้ได้มาตรฐาน กล่าวได้ว่าคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับดี แม้ว่าทางโรงเรียนยังไม่ขอรับรองมาตรฐาน ปี พ.ศ.2536 รัฐบาลปรับการอุดหนุนดีขึ้น การปรับเงินเดือนครูเพิ่มวุฒิกระทำ 2 ครั้ง ปรับค่าธรรมเนียมการเรียนเล็กน้อย ได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มพิเศษนำไปใช้ปรับปรุงพัฒนาโรงเรียน เป็นต้นอาคารสถานที่ สื่อการเรียนการสอน สนับสนุนทางการศึกษา การอบรมทั้งครู และนักเรียน ปีนี้ขยายห้องคอมพิวเตอร์อีก 1 ห้อง รวม 60 เครื่อง และวางโครงการสร้างอาคารเรียนอนุบาล เพื่อทดแทนอาคารเดิมที่กำลังชำรุด ปี พ.ศ.2537 ซิสเตอร์ทิพยวัลย์ ภาคสุวรรณ ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ แทนซิสเตอร์ดุษณี วงศ์ประดู่ ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่ที่โรงเรียนเซนต์แมรี่ อุดรธานี ปีนี้ โรงเรียนเปิดกองร้อยพิเศษเนตรนารี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมนักเรียนให้เป็นผู้นำทั้งในด้านความประพฤติ และการเรียน รวมทั้งร่วมมือกับคณะครูเนตรนารี ในการจัดการฝึกอบรมเนตรนารีระดับต่าง ๆ เรื่องการจัดมาตรฐานการศึกษาตามที่สำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชนกำหนด ทางโรงเรียนได้เชิญวิทยากร อาจารย์ดร.ประเสริฐ วิเศษกิจ อาจารย์จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร มาเป็นวิทยากรสัมมนาเชิงปฏิบัติการให้แก่ครูทุกคนในโรงเรียน เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการวางนโยบายมาตรการ แผนงาน และโครงการให้สอดคล้องมาตรฐาน คุณภาพการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนกำหนด นอกจากนี้โรงเรียนยังได้ส่งผู้แทนนักเรียนร่วมประชุมเยาวชนโลก ณ ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ คือ ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน ถึง 20 กันยายน 2537 ปี พ.ศ.2538 ซิสเตอร์นิภา ระงับพิษ ย้ายมาดำรงตำแหน่งอธิการิณีแทนซิสเตอร์นาเดีย แฟร์โร ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งอธิการิณีที่หอพักเอาซีลีอุม ศาลาแดง กรุงเทพฯ ในปีการศึกษานี้ได้มีการเสก และเปิดใช้อาคารอนุบาลหลังใหม่ ขณะที่โรงเรียนมีความพร้อมในอาคารสถานที่ นโยบายของโรงเรียนจึงมุ่งพัฒนาโรงเรียน ให้ได้มาตรฐานตามที่สำนักคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กำหนดทุกองค์ประกอบ มีการพัฒนาบุคลากรทุกกลุ่ม โดยส่งเข้ารับการอบรมอย่างกว้างขวางและทั่วถึงเพื่อให้ครูมีโอกาสพัฒนาการเรียนการสอนอย่างจริงจัง ปี พ.ศ.2539 ระหว่างวันที่ 14-28 เมษายน ซิสเตอร์ทิพยวัลย์ ภาคสุวรรณ และซิสเตอร์สมพิศ เจนผาสุก พร้อมกับครูกิ่งแก้ว สกุลส่องบุญศิริ และครูประนอม นาคประดิษฐ์ ได้นำนักเรียน 26 คน เป็นตัวแทนเยาวชนประเทศไทยเข้าร่วมงานมหกรรมวันเด็กแห่งชาติ ณ ประเทศตุรกี และปีนี้เองซิสเตอร์สมพิศ เจนผาสุก ผู้จัดการ และซิสเตอร์ศรีอุทัย โสทน ย้ายไปโรงเรียนนารีวุฒิ บ้านโป่ง ซิสเตอร์ที่ย้ายมาประจำในปีนี้ คือ ซิสเตอร์สายสวาท ระดมกิจ และซิสเตอร์อรุณี ธาราพืช ช่วงปิดภาคเรียน ผู้บริหารนำคณะครูทัศนศึกษาและดูงานที่โรงเรียนเซนต์แอนโทนี ณ ประเทศสิงคโปร์ นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 6 สายวิทย์ฯ ได้แก่ นางสาวอรทัย ชาญสันติสอบได้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อันดับ 1 ของโรงเรียนใน 14 จังหวัดภาคใต้ เพื่อเข้าเรียนในปีการศึกษา 2539 ได้รับเกียรติบัตร โรงอาหารดีเด่นจากกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข และจากเทศบาลนครหาดใหญ่ ปี พ.ศ.2540 ปีนี้ซิสเตอร์ศุภวรรณ เดื่อมทั้ม ย้ายมาประจำที่นี่ มีครูได้รับเกียรติบัตรในวันประถมศึกษาแห่งชาติ ปี 2540 จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน คือ นางสาวทิพย์วรรณ อึ้งเศรษฐพันธ์ ครูการงาน-อาชีพดีเด่น นางวรรณา ดาเระหมีน ครูแนะแนวดีเด่น และนางพัชรนันท์ สามะ ครูวิทยาศาสตร์ประถมดีเด่น นักเรียนม.6 ที่สอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย สายวิทย์-คณิต จำนวน 37 คน สอบได้ 22 คน คิดเป็นร้อยละ 81.48 สายศิลป์-คำนวณ จำนวน 47 คน สอบได้ 36 คน คิดเป็นร้อยละ 76.60 ที่เหลือเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยเอกชน นักเรียนทุกคนเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ได้รับโล่เกียรติยศโรงอาหารดีเด่นตลอด 5 ปี จากเทศบาลนครหาดใหญ่ ประจำปี 2539 ปี พ.ศ.2541 ปีนี้ครูสุชฎา บุญศรี ได้เข้าร่วมในโครงการร่วมมือกับศูนย์ SRECAM พัฒนาครูคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ วันที่ 4-30 พฤษภาคม ณ ศูนย์ Recam ปีนัง ประเทศมาเลเซีย ปีนี้มีนักเรียนได้รับทุน A.F.S. ระยะยาว 1 คนคือ นางสาววริญธร ศิวะนารถวงศ์ ณ ประเทศออสเตรเลีย และหลักสูตรระยะสั้น คือ นางสาววิรัญธร ศิวะนารถวงศ์ นางสาวนันทพร ชัยเสนะ และนางสาว ชริเสาร์ ศรีสุทธิ์พรสกุล นักเรียนชั้นม.6 ที่สอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย สายวิทย์-คณิต จำนวน 41 คน สอบได้ 39 คน คิดเป็นร้อยละ 95.12 สายศิลป์-คำนวณ จำนวน 52 คน สอบได้ 46 คน คิดเป็นร้อยละ 88.46 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 93 คน สอบได้ 85 คน คิดเป็นร้อยละ 91.40 นักเรียนทุกคนเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ส่วนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สายวิทย์-คณิต สมัครสอบ 25 คน สอบได้ 16 คน และสายศิลป์-คำนวณ สมัครสอบ 8 คน สอบได้ 4 คน ปี พ.ศ.2542 ปีนี้มีการย้ายซิสเตอร์หลายท่าน คือ ซิสเตอร์อมรินทร์ ฤทัยคงถาวร ซิสเตอร์ศรีอุทัย โสทน ซิสเตอร์ดาริณี หมั้นทรัพย์ ซิสเตอร์ที่ย้ายมาประจำในปีนี้คือ ซิสเตอร์ไพเราะ ศันสยุทธ ซิสเตอร์อันนามาเรีย โมเชเล ซิสเตอร์อรพินท์ คะเนเร็ว ซิสเตอร์ระพีพรรณ เจริญรัตน์ และซิสเตอร์ยุพา ชูลีระรักษ์ นักเรียนทุน A.F.S. ระยะยาวปีนี้ได้แก่ นางสาวสุรัชญา เล่าวจีศาสตร์ เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐเนวาดา เมืองเรโน นักเรียนชั้นม.6 ที่สอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย สายวิทย์-คณิต จำนวน 40 คน สอบได้ 37 คน คิดเป็นร้อยละ 94.57 สายศิลป์-คำนวณ จำนวน 46 คน สอบได้ 41 คน คิดเป็นร้อยละ 89.13 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 86 คน สอบได้ 78 คน คิดเป็นร้อยละ 90.69 นักเรียนทุกคนเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ปีนี้เป็นปีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษาครบ 72 พรรษา โรงเรียนได้จัดกีฬาสีเทอดพระเกียรติ ในวันที่ 9 กันยายน 2542 และร่วมในงานมหกรรมกีฬาเทอดพระเกียรติ ร่วมกับโรงเรียนเอกชนในเทศบาลนครหาดใหญ่ โรงเรียนได้รับเกียรติบัตรโรงเรียนสีขาว เฉลิมพระเกียรติปลอดยาเสพติด จากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล และได้รับโล่ชนะเลิศการประกวดความสะอาด และการรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนประจำปี 2542 จากเทศบาลนครหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2542 ปี พ.ศ. 2543 ปีนี้มีซิสเตอร์ย้ายมาอีก 5 ท่าน คือ ซิสเตอร์วนิดา มาลาวาลย์ ย้ายมาเป็นอธิการแทนซิสเตอร์นิภา ระงับพิษ ซิสเตอร์จินตนา อิ่มรุ่งเรือง ย้ายมาแทนซิสเตอร์มาลี ดวงมาลา ซิสเตอร์สายสวาท ระดมกิจ ย้ายมาแทนซิสเตอร์ระพีพรรณ เจริญรัตน์ และมีซิสเตอร์อีก 2 ท่าน มาช่วยงานในโรงเรียน คือ ซิสเตอร์เมรี่ จิตอุทัศน์ และซิสเตอร์อเมเดีย กีนี ปีนี้มีนักเรียนสอบชิงทุน A.F.S ระยะยาว 4 คน คือ นางสาวชริเสาร์ ศรีสุทธิพรสกุล นางสาวนิกส์ ยืนตระกูล นางสาวพัชริยา ธีรโรจนวงศ์ และนางสาวธีรตี ไชยจารีย์ นักเรียนที่ได้รับทุน YES 2 คน คือ นางสาวดวงชีวัน แซ่ว่อง และนางสาวศิริรัจน์ พฤษวรนันท์ นักเรียนที่ได้รับทุนจากสมาคมอเมริกัน 1คน คือ นางสาวกมลวรรณ คัตตพันธ์ ปีการศึกษานี้ นักเรียนสอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยทั้งสายวิทย์-คณิต จำนวน 36 คน สอบได้ 36 คน คิดเป็นร้อยละ 100 สายศิลป์คำนวณ จำนวน 43 คน สอบได้ 39 คน คิดเป็นร้อยละ 90.69 รวมนักเรียนที่สอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ทั้งสายวิทย์-คณิตและศิลป์คำนวณ คิดเป็นร้อยละ 94.93 ” มีการจัดเฉลิมฉลองโอกาสครบ 50 ปี โรงเรียนธิดานุเคราะห์ มีพิธีเสกอาคาร ปีติมหาการุณ โดยพระคุณเจ้าประพนธ์ ชัยเจริญ ประมุขแห่งสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี และเปิดอาคารโดยมีนายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี มาเป็นประธาน ภาคค่ำมีงานเลี้ยงและการแสดงแสง สี เสียง ของนักเรียนชั้นต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการ ฉลอง 50 ปี มาเดอร์มัสสซาแรลโล ได้รับการสถาปนาเป็นนักบุญ ซึ่งได้มีการจัดกิจกรรม “Thida –Saengthoong walkatorn ครั้งที่ 2” ระหว่าง นักเรียน ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และผู้สนใจในชุมชน สภาพปัจจุบัน ปัจจุบันโรงเรียนมีพื้นที่ 31 ไร่ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 5 ถนนแสงศรี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เนื้อที่ในบริเวณโรงเรียนประกอบด้วย อาคารเรียนอนุบาล เป็นตึกคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น มีห้องเรียนระดับก่อนประถมศึกษา จำนวน 17 ห้อง ห้องปฏิบัติการจำนวน 9 ห้อง และมีหอประชุมอนุบาล 1 หลัง อาคารเรียน 1 เป็นตึกคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น ชั้นล่างของอาคารเรียนเป็นห้องโถงโล่ง ใช้เป็นที่เข้าแถวและจัดกิจกรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษา นอกจากนี้ยังมีห้องโสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ ห้องดนตรีสากล ห้องเครื่องเสียง ห้องเรียนภาษาอังกฤษ ระดับประถม และห้องขายเครื่องเขียน ชั้น 2 ประกอบด้วยห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 และห้องม.5/1 ชั้น 3 ประกอบด้วยห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 และ 6 จำนวน 4 ห้อง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 ห้อง และห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ จำนวน 2 ห้อง อาคารเรียน 2 เป็นตึกคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น ชั้นล่างเป็นห้องรับแขก ห้องอำนวยการ ห้องธุรการ ห้องพักครู และห้องพยาบาล ชั้น 2 เป็นห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-6 จำนวน 4 ห้อง ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์จำนวน 1 ห้อง ส่วนชั้น 3 เป็นห้องพิมพ์ดีดจำนวน 1 ห้อง ห้องปฏิบัติการภาษาอังกฤษจำนวน 1 ห้อง ห้องคอมพิวเตอร์จำนวน 1 ห้อง ห้องเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 3 ห้อง อาคารเรียน 3 เป็นตึกคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น ชั้นล่างเป็นห้องอาหาร ห้องคหกรรมและห้องเก็บของ ชั้น 2 เป็นห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2 ห้อง ห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 ห้อง ห้องสมุดระดับมัธยมศึกษาจำนวน 1 ห้อง ส่วนชั้น 3 เป็นห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2 ห้อง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-5 จำนวน 7 ห้อง รวมห้องเรียนระดับก่อนประถมศึกษา จำนวน 17 ห้อง ระดับประถมศึกษา 20 ห้อง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 12 ห้อง และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 8 ห้อง อาคารหอประชุมเลารา จำนวน 1 หลัง ซึ่งประกอบด้วยหอประชุม และห้องแนะแนว ห้องรับรองแขก และห้องนาฎศิลป์ อย่างละ 1 ห้อง อาคารอเนกประสงค์ จำนวน 1 หลัง ซึ่งประกอบด้วยห้องเทเบิลเทนนิส ห้องยิมนาสติก ห้องศิลปะอย่างละ 1 ห้อง สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนประกอบด้วยสนามบาสเกตบอล 3 สนาม สนามวอลเล่ย์วอล 1 สนาม อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง บริเวณสนามหญ้ามีไม้ยืนต้น สวนหย่อมอยู่ด้านหน้าอาคารเรียน และหน้าโรงเรียนมีสนามเด็กเล่น 2 แห่ง ระดับอนุบาลและประถมมีพื้นที่เพื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับการเกษตรอยู่บริเวณด้านหลังอาคารเรียน 2 มีห้องเกษตรใช้เก็บเครื่องมือ มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจให้ความร่มรื่นสวยงาม ปลอดภัย จัดให้มีการดูแลรักษาความสะอาด และจัดตกแต่ง โดยบุคลากรและกลุ่มนักเรียนอาสาสมัครรับผิดชอบในการดูแลในแต่ละส่วน นอกจากนี้ยังมีแผนผังภายในบริเวณโรงเรียน พร้อมกับระบุหมายเลขสถานที่ต่าง ๆ เป็นการให้ความสะดวกแก่ผู้ที่เข้ามาติดต่อกับทางโรงเรียน โรงเรียนมีบุคลากรดังนี้ ครู 109 คน ครูพี่เลี้ยง 6 คน อาจารย์พิเศษจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 11 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 3 คน นักการภารโรง 7 คน ร.ป.ภ. 1 คน มีนักเรียนประมาณ 2,656 คน โดยมีซิสเตอร์วนิดา มาลาวาลย์ เป็นผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาต ซิสเตอร์ยุพา ชูลีระรักษ์ เป็นผู้จัดการ และซิสเตอร์ทิพยวัลย์ ภาคสุวรรณ เป็นครูใหญ่ จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นักเรียนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่สามารถเรียนต่อในสายสามัญจะเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียน ส่วนนักเรียนที่มีความถนัดในอาชีพจะไปศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษา ปี พ.ศ.2544 มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร คือ ซิสเตอร์พรรณี จารุวิภาค เป็นผู้จัดการ แทน ซิสเตอร์ยุพา ชูลีระรักษ์ ซิสเตอร์ศรีสุดา สุทธิรัตนากร เป็นครูใหญ่แทน ซิสเตอร์ทิพยวัลย์ ภาคสุวรรณ นโยบายของโรงเรียนมุ่งอบรมนักเรียนให้เป็นไปตาม อุดมการณ์ประจำปีที่ว่า “เยาวชนรวมพลัง นำความหวัง ความสุขแท้ แห่งสหัสวรรษใหม่ ปี พ.ศ. 2545 โรงเรียนได้ดำเนินการตามแผนงานที่ได้วางไว้ ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของทุกฝ่าย ดังปรากฏที่สำคัญในแต่ละฝ่ายดังนี้โรงเรียนได้กำหนดธรรมนูญหรือแผนพัฒนาโรงเรียนระยะที่ 2 ปี 2545-2549 กำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาโรงเรียนดังนี้ “นักเรียนมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว เป็นเลิศด้านคุณธรรม ควบคู่ด้านวิชาการ พัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมและวิทยาการ มีวิจารณญาณ รู้คุณค่าสิ่งแวดล้อม ภูมิใจในความเป็นไทย กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม ตามเอกลักษณ์ซาเลเซียน” โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนพระราชทานระดับประถมศึกษา ประจำปี 25452. ฝ่ายกิจการนักเรียน โรงเรียนจัดกิจกรรมตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะโดยองค์รวมของนักเรียน ได้มีการฟื้นฟูด้านดนตรีสากลขึ้นอีกเพื่อส่งเสริมศักยภาพของนักเรียน3. ฝ่ายวิชาการเนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูปการศึกษา โรงเรียนได้ดำเนินการโดยจัดองรมเชิงปฏิบัติการแก่ครูเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถในด้านหลักสูตร คุณลักษณะที่พึงประสงค์ การวัดและประเมินผล เตรียมความพร้อมสำหรับการก้าวสู่ระบบการศึกษาใหม่ ตามหลักสูตรที่ประกาศให้เริ่มตั้งแต่ปี 2546 ในปีนี้โรงเรียนได้จัดให้มีการเรียนวิชาภาษาจีนเป็นปีแรก โดยนักเรียนสามารถเลือกเรียนในคาบชมรม ตั้งแต่ชั้น ป.1 ถึง ป.64. ฝ่ายบุคลากรมีการพัฒนาบุคลากรเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เพื่อความพร้อมสำหรับการเป็นครูมืออาชีพด้วยวิธีการอบรมที่หลากหลาย มีการจัดทัศนศึกษาดูงานที่โรงเรียนบูรณรำลึกและโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ที่จังหวัดตรัง แก่ครูทั้งโรงเรียน5. ฝ่ายอาคารสถานที่ได้มีการเปลี่ยนประตูหน้าโรงเรียนใหม่ ปรับเพิ่มห้องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำหรับนักเรียนประถมขึ้นอีก 1 ห้อง จำนวน 53 เครื่อง6. ฝ่ายสัมพันธ์ชุมชนได้ของบประมาณสนับสนุนห้องสมุด ติดตั้งคอมพิวเตอร์สำหรับค้นคว้าหาความรู้ จำนวน 4 ชุด และหนังสือประเภทต่าง ๆ รวมงบประมาณที่ได้ จำนวน 200,000 บาท และทำซุ้มที่อ่านหนังสือไว้บริการนักเรียนและผู้ปกครองขึ้น 3 จุด เป็นเงิน 30,000 บาท โรงเรียนประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารโดยใช้ Web Site ของโรงเรียนเพิ่มเติมจากวิธีที่เคยปฏิบัติ ผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนในระดับประเทศปรากฏดังนี้ - นักเรียนสอบชิงทุนเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน A.F.S. ไปศึกษาต่อยังประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ได้รวมทั้งหมด 6 คน- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สอบได้รางวัลเหรียญเงิน และเหรียญทองแดง จากการแข่งขันโครงการพัฒนาอัฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ของ สสวท. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สอบเอ็นตรงเข้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เป็นอันดับ 3 ของภาคใต้ ผลสำเร็จของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 117 คน ปรากฏดังนี้ ศึกษาต่อต่างประเทศ จำนวน 8 คน ที่เหลือสอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐ สายวิทย์ ได้ 88.71% สายศิลป์ ได้ 78.43% รวม 2 สาย ได้ 84.95% 1. ฝ่ายแผนงานและนโยบาย “We are active citizen.” ซิสเตอร์พรรณี จารุวิภาค ย้ายไปเป็นผู้จัดการ ที่โรงเรียนนารีวุฒิ จังหวัดราชบุรี ซิสเตอร์สายสวาท ระดมกิจ ย้ายไปเป็นครูใหญ่ ที่โรงเรียนมารีย์อุปถัมภ์ โรงเรียนได้พัฒนาการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ส่งโรงเรียนเข้ารับการประเมิน และได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนพระราชทาน ในระดับมัธยมศึกษาขนาดกลาง ปีการศึกษา 2546 นอกจากนี้ นางสาวเปรมิกา วัชรอมรพรรณ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ผ่านการประเมิน และได้รับเลือกให้เป็นนักเรียนพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขนาดกลาง ปีการศึกษา 2546 และนางสาวสุทธาทิพย์ แซ่หมู่ ผ่านการประเมินนักเรียนพระราชทาน ได้รับรางวัลชมเชย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายขนาดกลาง โรงเรียนได้ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอก จากสำนักงานการประเมินคุณภาพการศึกษา (ศมศ.) ตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 ที่กำหนดให้ส่งโรงเรียนเข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษา เพื่อการพัฒนาด้านการเรียนการสอน โรงเรียนจัดการเรียนการสอนตามระบบปฏิรูปการศึกษา เริ่มใช้หลักสูตรสถานศึกษาในปีที่ 1 ของทุกช่วงชั้น และให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน คณะผู้บริหารและครูโรงเรียนเทศบาล ๒ และโรงเรียนแสงทองวิทยา มาศึกษาดูงานเพื่อความพร้อมในการเตรียมการประเมินเป็นโรงเรียนพระราชทาน และการประเมินคุณภาพภายนอกด้านอาคารสถานที่ มีการปรับห้องเรียนให้เป็นห้องปรับอากาศในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยเริ่มทีละปี ผลสัมฤทธิ์ในระดับประถม นักเรียนเข้าแข่งขันโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์/วิทยาศาสตร์ เด็กหญิงศุภิสรา ถิ่นธารา ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง คณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เด็กหญิงกรวีร์ พฤกษานุศักดิ์ ได้รับรางวัลเหรียญทอง คณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เด็กหญิงปูชิดา เพชรรัตน์ ได้รับรางวัลเหรียญทองแดงวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนสอบทุน AFS ไปต่างประเทศเป็นเวลา 1 ปี จำนวน 7 คน คือ นางสาวศิวพร แซ่เฮง (ญี่ปุ่น) นางสาวสิริธนา ติรนารถวณิช (เยอรมัน) นางสาวหทัยรัตน์ ขวัญพรหม (สหรัฐอเมริกา) นางสาววัชรินทร์ ฉายศิริพันธ์ (สหรัฐอเมริกา) นางสาวฉัตรศิธร วิบูลย์ขวัญ (สหรัฐอเมริกา) นางสาวฉัตราภรณ์ ศิริเจริญ (สหรัฐอเมริกา) และนางสาวพันธ์จิรา ทองชอุ่ม (สวิตเซอร์แลน) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 120 คน สอบได้ 108 คน คิดเป็น 90.00%ด้านบุคลากร มีการอบรมฟื้นฟูจิตใจและให้ความรู้เกี่ยวกับการประเมินคุณภาพสถานศึกษาแก่คณะครูทั้งโรงเรียน จัดทัศนศึกษาที่จังหวัดตรัง ชมธรรมชาติและปะการังของเกาะกระดาน เกาะมรกต และเกาะเชือก เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ปี พ.ศ. 2546 โรงเรียนจัดการเรียนการสอนตามอุดมการณ์ประจำปีที่ว่า วันที่ 8 ตุลาคม 2546 ฯพณฯ ปองพล อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้เดินทางมาเยี่ยมชมภารกิจของโรงเรียน ในฐานะเป็นตัวแทนโรงเรียนเอกชนของภาคใต้ตอน ด้านการบริหารจัดการ สืบเนื่องจากการปฏิรูปการศึกษา โรงเรียนได้ริเริ่มโครงการนำร่อง ส่งเสริมศักยภาพด้านภาษาอังกฤษและภาษาไทยแก่นักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้ติดตามดูแลในส่วนภูมิภาค ในระดับช่วงชั้นที่ 3 ปีที่ 1 ได้จัดโปรแกรมการเรียนวิชาเพิ่มเติมโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ได้ขยายห้องจากเดิมเพิ่มขึ้นอีก 1 ห้อง โดยไม่เพิ่มจำนวนนักเรียน ทั้งนี้เพื่อจะได้ดูแลเอาใจใส่วางพื้นฐานการเรียนอย่างมีคุณภาพ ระดับก่อนประถมศึกษา โรงเรียนได้ขยายเพิ่มห้องเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 และอนุบาล 3 ขึ้นอีกระดับละ 1 ห้อง โดยยังคงมีจำนวนนักเรียนเท่าเดิมเพื่อสามารถดูแลนักเรียนได้ใกล้ชิด ดูแลทั่วถึง ส่งผลให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพด้านความสัมพันธ์กับชุมชนโรงเรียนวิเชียรชม อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ได้ขอมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนสาระวิทยาศาสตร์และโรงเรียนกลับเพชรศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ได้มาขอศึกษาดูงานการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา เพื่อเตรียมการประเมินโรงเรียนรางวัลพระราชทานด้านบุคลากรโรงเรียนได้ดำเนินการประเมินครูและให้รางวัลผลการปฏิบัติงานตามระเบียบคู่มือครู และได้นำบุคลากรไปทัศนศึกษายังสถานที่สำคัญ เช่น ล่องแม่น้ำเจ้าพระยา ชมพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทและภายในห้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคม วัดพระแก้ว รัฐสภา เป็นต้น เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ สามารถนำไปถ่ายทอดเป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนด้านวิชาการโรงเรียนได้ส่งเสริมกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง สนใจเอาใจใส่ พัฒนาและส่งเสริมความสามารถของนักเรียนในด้านต่าง ๆ ตามกลุ่มสาระ ประสบผลสำเร็จ ดังนี้ระดับประถมศึกษา ผลการสอบ PRE-ประถมต้น ประถมปลาย และมัธยมต้น โครงงานทดสอบความสามารถทางวิชาการ ปีการศึกษา 2547 จัดโดยชมรมบัณฑิตแนะแนว วิชาวิทยาศาสตร์ เด็กหญิงวริสา ลีธนะกุล ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้อันดับที่ 1 ของจังหวัดสงขลา วิชาภาษาไทย เด็กหญิงปูชิตา เพชรรัตน์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้อันดับที่ 1 ของจังหวัดสงขลา วิชาคณิตศาสตร์ เด็กหญิงพรนิชา ชัยวิริยะวงศ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และเด็กหญิงศิวภรณ์ มโนมัยสันติภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้อันดับที่ 1 ของประเทศ เด็กหญิงกรวีร์ พฤกษานุศักดิ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้อันดับที่ 1 ของประเทศ คะแนนรวม 4 วิชาสูงสุด วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาไทย วิชาวิทยาศาสตร์ และวิชาสังคมศึกษา วิชาภาษาอังกฤษ เด็กหญิงกุลยา บูรณะนายก เด็กหญิงศศิพร จิรธรรมโอภาส ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และเด็กหญิงภิญญตา พันธ์นรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้อันดับที่ 1 ของประเทศระดับมัธยมศึกษานักเรียนสอบชิงทุน AFS, YES, EF ไปต่างประเทศ จำนวน 9 คน คือ นางสาวนิภาพร มาลากิจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 นางสาวปรางทิพย์ ชนะรัตน์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 นางสาวรัตนาวิไล ถาวรสุวรรณ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 นางสาวโชษิตา แซ่โต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 นางสาวชุติมา ลิมปนนาคทอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 นางสาวฉวีวรรณ แซ่จอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 นางสาวภูมิจิตรา จารุพงศา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 นางสาวบุณฑริกา ทยานิธิกุล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 นางสาวณิชารัตน์ พฤกษ์พัฒนรักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ผลการสอบ PRE-ประถมต้น ประถมปลาย และมัธยมต้น โครงงานทดสอบความสามารถทางวิชาการ ปีการศึกษา 2547 จัดโดยชมรมบัณฑิตแนะแนว วิชาภาษาไทย บังคับ เด็กหญิงภัสสร แซ่หลิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้อันดับที่ 1 ของจังหวัดและของภาคใต้ วิชาภาษาไทยเตรียม เด็กหญิงสิริรัตน์ หลุยยะพันธ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้อันดับที่ 1 ของจังหวัดและของภาคใต้ วิชาภาษาอังกฤษ บังคับ เด็กหญิงนวพร อัษณางค์กรชัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้อันดับที่ 1 ของประเทศ และได้คะแนนรวม 4 วิชาสูงสุด ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษาไทย และวิชาสังคมศึกษา นักเรียนเข้าแข่งขันโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์/วิทยาศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ เด็กหญิงปณิดา ปิยจริยากุล เด็กหญิงพรนิชา ชัยวิริยะวงศ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง และเด็กหญิงศศิพร จิรธรรมโอภาส ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง ผลการสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ สมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีการศึกษา 2547 เด็กหญิงศศิพร จิรธรรมโอภาส เด็กหญิงชุติภา ศรีพงษ์พันธ์กุล และเด็กหญิงชุดาภา เสรีอภินันท์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับรางวัลชนะเลิศที่ 1 ของภาคใต้ ประเภททีม ได้รับโล่และบัตรประกาศเกียรติคุณ เด็กหญิงศศิพร จิรธรรมโอภาส ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทบุคคล ได้รับบัตรประกาศเกียรติคุณและเงินรางวัล 3,500 บาท และเด็กหญิงชุติภา ศรีพงษ์พันธ์กุล ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับรางวัลที่ 2 ประเภทบุคคล ได้รับบัตรประกาศเกียรติคุณและเงินรางวัล 3,000 บาท ปี พ.ศ. 2547 โรงเรียนจัดการศึกษาอบรมตามแนวอุดมการณ์ที่ว่า “เราคือ ผู้สื่อสารสันติภาพ” โรงเรียนได้พัฒนาเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง โดยส่งโรงเรียนเข้ารับการประเมินในระดับก่อนประถมศึกษา และได้ส่งนางสาวพิธีกร เกิดชื่น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สายศิลป์ เข้ารับการประเมินนักเรียนรางวัลพระราชทาน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 109 คน สอบได้ 107 คน คิดเป็น 98.17% สอบไม่ได้ 2 คน คิดเป็นร้อยละ 1.83 สอบได้ภาครัฐ 104 คน คิดเป็นร้อยละ 97.20 สอบได้ภาคเอกชน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 2.80 (ข้อมูล ณ วันที่ 12 พฤษภาคม 2548)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×