ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    มหิดล กาญจนบุรี

    ลำดับตอนที่ #7 : การเข้าศึกษา

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.29K
      0
      27 ก.พ. 55

    การศึกษาต่อระดับปริญญาตรี
    คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับนักศึกษาวิทยาศาสตร์ หลักสูตรปกติที่พญาไท 300 คนต่อปี และหลักสูตรปกติที่กาญจนบุรี 4 หลักสูตร ประมาณ 120 คนต่อปี โดยมีการคัดเลือกในระบบต่างๆ ดังต่อไปนี้
    1. ระบบการคัดเลือกกลาง (ระบบแอดมิชชัน)
    เป็นการคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ ที่จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ/หรือที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ทั้งนี้ผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติตามที่ส่วนกลางกำหนด การคัดเลือกใช้คะแนน GPAX และ GPA ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ใน 5 วิชา จากโรงเรียน และผลคะแนนจากการสอบ ONET และ ANET ตามสัดส่วนที่คณะต่างๆ ของทุกสถาบันและ ทปอ. ให้ความเห็นชอบ
    2. ระบบโควตา มหาวิทยาลัยมหิดล
    มหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินการเองทั้งหมด ผู้สมัครจะต้องสมัครและสอบตามประกาศการรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลระบบโควตา ทั้งนี้ ระบบโควตาจำแนกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
    • โควตาวิทยาเขต
    • เป็นโครงการรับสมัครนักเรียนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหิดล และจังหวัดใกล้เคียง เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้แก่ชุมชนในท้องถิ่น ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยและจังหวัดใกล้เคียง ได้มีส่วนในการเป็นเจ้าของและมีส่วนในการคัดเลือกนักศึกษา ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติทั่วไป คุณสมบัติทางการศึกษา ตามเกณฑ์ของส่วนกลาง และคุณสมบัติเพิ่มเติม เช่น

      1. กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีที่สมัคร และเรียนชั้น ม.4-6 ในโรงเรียนของภูมิภาคต่างๆ ดังนี้
      - กลุ่มจังหวัดภาคตะวันตก 4 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี และสุพรรณบุรี
      - กลุ่มนครสวรรค์ ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี พิจิตร กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์
      - กลุ่มอำนาจเจริญ ได้แก่ จังหวัดอำนาจเจริญ ยโสธร มุกดาหาร ร้อยเอ็ด
      - โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม *

      2. มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ชั้น ม.4-6 ไม่ต่ำกว่า 2.75 และมีคะแนนในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ไม่ต่ำกว่า 2.75
      * นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ได้คะแนนสูงสุด 5 อันดับแรก มีสิทธิ์ได้รับทุนในโครงการศรีตรังทอง-สวทช.

    • โควตาพื้นที่-โครงการ พสวท.
    • เป็นโควตาที่ให้กับผู้ที่สนใจรับทุนการศึกษาในโครงการ พสวท. จำนวน 10 คน ต่อปี
      โครงการ พสวท. เป็นโครงการที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ให้ทุนการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปริญญาตรี-โท-เอก ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์ ในระดับปริญญาตรีจะต้องศึกษาในวิชาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (ยกเว้นสาขาทางเทคโนโลยีหรือวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ และคอมพิวเตอร์) เมื่อจบการศึกษาจะต้องปฏิบัติงานใช้ทุนในภาครัฐ เป็นเวลา 2 เท่าของระยะเวลาที่รับทุน

      ศูนย์ พสวท. มหาวิทยาลัยมหิดล รับสมัครร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดลในระบบโควตา ผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามเกณฑ์ของส่วนกลาง และมีคุณสมบัติเพิ่มเติม เช่น

      1. กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษาที่สมัคร และเรียนชั้น ม.4-6 ในโรงเรียนที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือเขตจังหวัดในภาคกลางและภาคตะวันออก ได้แก่ ลพบุรี อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ชัยนาท ชลบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง หรือสระแก้ว
      2. มีคะแนนเฉลี่ยสะสมชั้นมัธยมปลาย (ม.4-6) ไม่ต่ำกว่า 3.00 และคะแนนเฉลี่ยหมวดวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 3.25
      3. มีความตั้งใจศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์หรือคณิตศาสตร์ ในระดับปริญญาตรี และจะศึกษาต่อในระดับปริญญาโท-เอก ทางวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ ตามที่โครงการกำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
      4. ระหว่างที่ศึกษาต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของโครงการ หากไม่ปฏิบัติตาม หรือลาออกจากโครงการ จะยินยอมชดใช้เงินทุนเป็นจำนวนสองเท่าของจำนวนที่โครงการจ่ายไป

      [ คลิกเพื่ออ่านรายละเอียดของ โครงการ พสวท.]

    • โควตาโครงการพิเศษ-โครงการศรีตรังทอง
    • เป็นโควตาที่ให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาเอกกับนักเรียนทั่วประเทศ จำนวนทุนศรีตรังทอง 50 คนต่อปี
      โครงการศรีตรังทองให้ทุนการศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี โดยไม่มีข้อผูกพันหลังจบการศึกษา และเรียนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สาขาเอกใดก็ได้ เมื่อเรียนในหลักสูตรพิสิฐวิธาน จะได้รับทุนการศึกษาต่อ ในระดับปริญญาเอกอีก 3 ปี ผู้สนใจสมัครได้ในการรับสมัครของมหาวิทยาลัยมหิดลในระบบโควตา ทั้งนี้ นักเรียนทั่วประเทศมีสิทธิ์สมัครในโควตาศรีตรังทองในจำนวนรับ 50 คน

      สำหรับนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ที่สมัครในโควตาวิทยาเขต ที่ได้คะแนน 5 อันดับแรก มีสิทธิ์ได้รับทุนในโครงการศรีตรังทอง-สวทช. ด้วย ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามเกณฑ์กลาง และมีคุณสมบัติเพิ่มเติม เช่น

      1. กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 6 ในปีการศึกษาที่สมัคร โดยนักเรียนทั่วประเทศมีสิทธิ์สมัคร
      2. มีคะแนนเฉลี่ยสะสมชั้นมัธยมปลาย (ม.4-6) ไม่ต่ำกว่า 3.00
      3. ระหว่างที่ศึกษาต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของโครงการฯ หากไม่ปฏิบัติตาม หรือลาออกจากโครงการจะต้องชดใช้เงิน เป็นสองเท่าของที่โครงการจ่ายไป

    • โควตาส่งเสริมความถนัดทางวิชาชีพ
    • จำนวนรับ 100 คนต่อปี เป็นโควตาที่ให้กับนักเรียนทั่วประเทศ ที่มีคุณสมบัติทั่วไปตามเกณฑ์กลาง และมีคุณสมบัติเพิ่มเติม ได้แก่
      1. มีความมุ่งมั่นที่จะเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง และจะศึกษาจนจบหลักสูตรโดยไม่ลาออก หรือเปลี่ยนคณะหรือสถาบัน
      2. มีคะแนนเฉลี่ยสะสมชั้นมัธยมปลาย (ม.4-6) ไม่ต่ำกว่า 2.75
      3. มีความสนใจและติดตามความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อย่างสม่ำเสมอ

    3. โครงการพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย)
    ที่ประชุมคณบดีคณะวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดตั้ง ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ขึ้นเพื่อให้ทุนแก่นิสิต นักศึกษาวิทยาศาสตร์ ในระดับปริญญาตรี-โท-เอก อย่างต่อเนื่อง ในมหาวิทยาลัยของรัฐ 24 สถาบัน โดยกำหนดศูนย์มหาวิทยาลัยดำเนินการไว้ 5 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ จำนวนรับทั้งหมด 200 ทุนต่อปี (จำนวนอาจเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะแจ้งให้ทราบก่อนรับสมัคร)

    อนึ่ง โครงการในระยะที่ 1 (ปี 2545-52) ให้ทุนระดับปริญญาตรี 4 รุ่น (ถึงปี 2548) สำหรับระยะที่ 2 (ปี 2550-2565) กำลังรอเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ให้ได้รับทุนระดับปริญญาตรี-โท-เอก เมื่อได้รับความเห็นชอบ จะประกาศรับสมัครผ่านศูนย์มหาวิทยาลัยของภูมิภาคนั้น ทั้งนี้ ผู้สมัครจะต้องเรียนชั้น ม.4-6 ในโรงเรียนของภูมิภาคนั้นด้วย ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลโครงการฯ ได้ที่มหาวิทยาลัยที่เป็นศูนย์

    หลักสูตรพิสิฐวิธาน และโครงการ B.Sc.-Ph.D.
    หลักสูุตรพิสิฐวิธาน (Distinction Program) เน้นความเข้มข้นทางวิชาการ และการวิจัยที่ทัดเทียมกับ Honors Program ของต่างประเทศ จึงเหมาะกับนักศึกษาที่มีศักยภาพสูง และสนใจศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ซึ่งไม่ต้องผ่านการเรียนระดับปริญญาโท หลักสูตรนี้ จัดอยู่ในโครงการ B.Sc.-Ph.D. ซึ่งใช้เวลาเรียนระดับปริญญาตรี 4 ปี และปริญญาเอก 3-4 ปี รวมเป็น 7-8 ปี ทั้งนี้ มีนักศึกษาเข้าโครงการมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2546

    หลักสูตรพิสิฐวิธาน รับนักศึกษาหลักสูตรปกติ ที่มีเกรดเฉลี่ยสะสม 3.25 ขึ้นไป โดยอาจเรียนในชั้นปีที่ 2 และ/หรือปีที่ 3 (ขึ้นกับสาขาเอกที่เลือก) รายวิชาในหลักสูตรเน้นความลึกซึ่งของเนื้อหามากกว่าปกติ และ/หรือเป็นวิชาในระดับบัณฑิตศึกษา นักศึกษาจะได้ทำวิจัยอย่างเข้นข้น และได้เสนอผลงานโดยเขียนวิทยานิพนธ์ และ/หรือให้การสัมมนา ผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้ สามารถเรียนต่อในระดับปริญญาเอกของ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลได้ และเทียบโอนหน่วยกิต ในรายวิชาที่เคยเรียนในหลักสูตรพิสิฐวิธาน เข้าไปในระดับบัณฑิตศึกษาได้ ซึ่งจะทำให้นักศึกษามีเวลาปฏิบัติงานวิจัยได้อย่างเต็มที่

    ปัจจุบัน หลักสูุตรพิสิฐวิธาน เปิดสอนในทุกสาขาที่มีการเรียนการสอนที่เขตพญาไท
    ทุนการศึกษาและวิจัยในต่างประเทศระยะสั้น

    เป็นทุนให้นักศึกษาในหลักสูุตรพิสิฐวิธานไปศึกษาและ/หรือทำวิจัยในต่างประเทศ ระยะเวลาสั้น (3-6 เดือน) วงเงินไม่เกิน 500,000 บาท ช่วงเวลาที่ไปศึกษาอาจเป็นภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3 หรือภาคต้นของชั้นปีที่ 4 ผู้มีสิทธิ์ได้รับทุนนี้ จะต้องได้เกรดเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไป และมีความสามารถทางภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่กำหนด นอกจากนี้ จะต้องเป็นผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก หรืออยู่ในโครงการ B.Sc.-Ph.D.

    ทุนการศึกษา สำหรับปริญญาตรี

    คณะวิทยาศาสตร์ มีทุนการศึกษาในหลักสูุตรวิทยาศาสตร์ ระดับปริญญาตรี โท และเอก ดังต่อไปนี้

    1. โครงการ พสวท.
    โครงการ พสวท. เป็นโครงการที่คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกัยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำการส่งเสริมผู้มีศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยให้ทุนการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก ในระดับปริญญาตรีกำหนดให้ศึกษาในสาขาเอกของวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ หรือคณิตศาสตร์ นักศึกษาในโครงการ พสวท. ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะเลือกเรียนสาขาเอกใดก็ได้ ที่คณะเปิดสอน ยกเว้นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ และสาขาทางคอมพิวเตอร์ ส่วนในระดับปริญญาโทและเอก จะศึกษาในสาขาต่างๆ ได้ตามที่โครงการกำหนด หรือให้ความเห็นชอบ

    สิทธิของนักศึกษาทุน พสวท.

    1. นักศึกษาระดับปริญญาตรี จะได้รับเงินทุนตามที่แสดงไว้ในตารางที่ 1
    2. ได้ร่วมกิจกรรมวิชาการ ที่คณะ/ภาควิชา/หน่วยงานฯ จัดขึ้น เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
    3. ได้ร่วมในการประชุมวิชาการ และเสนอผลงานระดับชาติ
    4. ผู้จบการศึกษาปริญญาตรี จะได้รับทุนศึกษาต่อระดับปริญญาโท และเอก ในหรือต่างประเทศ เมื่อมีผลการเรียนตามเกณฑ์ที่โครงการ พสวท. กำหนด

    หน้าที่และข้อผูกพันทุน

    1. นักศึกษาจะต้องศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ และคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นรากฐานในการศึกษาต่อระดับสูง และเมื่อศึกษาจบ จะต้องประกอบอาชีพทางวิทยาศาสตร์ในภาครัฐ โดยทำงานเป็นระยะเวลา 2 เท่า ของเวลาที่ได้รับทุน การผิดสัญญาจะต้องชดใช้เงินไม่น้อยกว่า สองเท่าที่โครงการจ่ายให้
    2. ต้องศึกษาให้ได้เกรดเฉลี่ย ไม่ต่ำกว่า 3.00 รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่โครงการฯ และศูนย์จัดให้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการสร้างนักวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่มีความสามารถสูง
    3. เมื่อประกอบอาชีพจะต้องปฏิบัติงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เพื่อสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพ และรักษาไว้ซึ่งจรรยาบรรณวิชาชีพ ไม่ทำตัวให้เป็นที่เสื่อมเสียชื่อเสียงของหน่วยงานและสถาบันที่ศึกษา

    2. โครงการศรีตรังทอง

    โครงการศรีตรังทอง จัดสรรทุนจากเงินรายได้ของคณะวิทยาศาสตร์เอง และได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ให้กับนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ส่วนหนึ่ง

    สิทธิของนักศึกษาทุนศรีตรังทอง-ทุน สวทช.

    1. นักศึกษาระดับปริญญาตรี จะได้รับเงินทุนตามที่แสดงไว้ในตารางที่ 1
    2. ได้ร่วมกิจกรรมวิชาการต่างๆ ที่คณะ/ภาควิชา/โครงการฯ จัดขึ้น เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
    3. ได้ร่วมในการประชุมวิชาการ และเสนอผลงานระดับชาติ

    หน้าที่และข้อผูกพันทุน

    1. ต้องศึกษาให้ได้เกรดเฉลี่ย ไม่ต่ำกว่า 3.00 รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่คณะวิทยาศาสตร์จัดให้อย่างสม่ำเสมอ
    2. โครงการศรีตรังทอง ไม่มีข้อผูกพันหลังจบการศึกษา นอกจากให้ประกอบอาชีพในประเทศไทย สำหรับการลาออกก่อนจบ จะต้องใช้ทุนเป็นสองเท่าของที่โครงการจ่ายไปทั้งหมด
    3. ผู้จบการศึกษาปริญญาตรี ที่อยู่ในโครงการ B.Sc.-Ph.D. จะได้รับทุนศึกษาต่อระดับปริญญาเอกของคณะวิทยาศาสตร์

    3. โครงการทุนพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (www.sc.mahidol.ac.th/scholarship/)

    ทุนนี้ดำเนินการโดยคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณบดีคณะวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยในระยะที่ 1 ได้รับนักศึกษาในปี 2545-2552 และติดตามประเมินผลระหว่างปี 2549-52 สำหรับโครงการระยะที่ 2 กำลังขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งเมื่อทราบผลจะประกาศให้ทราบต่อไป

    ตารางที่ 1 อัตราเงินทุุนการศึกษา ในโครงการต่างๆ
    เงินสนับสนุน
    ทุนศรีตรังฯ

    รร. มหิดล
    ทุน สวทช.

    ทุน พสวท.
    ทุนเรียนดีฯ*
    ค่าธรรมเนียมการศึกษา
    ตามจริง
    ตามจริง
    ตามจริง
    ตามจริง
    ค่าลงทะเบียน/หน่วยกิต
    ตามจริง
    ตามจริง
    ตามจริง
    ตามจริง
    เงินเดือน (บาท/เดือน)
    5,000
    5 ,000
    4,000
    5,000
    ค่าหนังสือ
    5,000
    5,000
    5,000
    5,000
    ทุนวิจัย (ปีที่ 4)
    /
    /
    5,000
    5,000
    กิจกรรมเสริม
    /
    /
    /
    /
    ประชุมวิชาการ
    /
    /
    /
    /

    /  = พิจารณาตามความเหมาะสม
    * กำลังอยู่ในระหว่างการเสนอของบประมาณ โครงการฯ ในระยะที่ 2 (ปี 2550-65)

     


    คณะวิทยาศาสตร์ ได้จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่ง เพื่อส่งเสริมนักศึกษาที่มีผลการเรียนและผลงานวิชาการดีเด่น โดยเป็นไปตามระเบียบว่าด้วย การให้รางวัลนักศึกษาดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์ และกำหนดลักษณะรางวัลไว้ดังนี้

    รางวัลเรียนดีเด่น

    จำนวนเงิน 10,000 บาท พร้อมโล่เกียรติคุณ ทุนนี้จัดสรรให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมสูงสุดในชั้นปี และต้องไม่ต่ำกว่า 3.50 และให้กับนักศึกษาที่จบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ของหลักสูตรปกติทุกสาขา ที่ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมสูงสุดตลอดหลักสูตร โดยไม่ต่ำกว่า 3.50

    รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น

    จำนวนเงิน 10,000 บาท ให้กับผู้มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ และผลงานที่ตีพิมพ์ต้องเป็นผลงานในระหว่างการศึกษา ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์ ระดับปริญญาตรี


    ค่าใช้จ่ายในการศึกษาหลักสูุตรระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นดังนี้ *

    ตารางที่ 2 ค่าธรรมเนียมการศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตร์

    ที่
    ค่าใช้จ่าย
    หลักสูตรปกติ และพิสิฐวิธาน
    หลักสูตร ICT
    1
    ค่าธรรมเนียมแรกเข้า
    500 บาท
    1,000 บาท
    2
    ค่าบำรุงการศึกษาและธรรมเนียมการศึกษา และอื่นๆ
    2,715 บาท
    ~ 5,000 บาท
    3
    ค่าหน่วยกิตภาคบรรยาย/สัมมนา หน่วยกิตละ
    200 บาท
    1,000 บาท
    4
    ค่าหน่วยกิตภาคปฏิบัติ หน่วยกิตละ
    400 บาท
    2,000 บาท
    5
    ค่าทำบัตรประจำตัวนักศึกษา
    35 บาท
    35 บาท
    6
    ค่าบริการสุขภาพ ปีการศึกษาละ
    700 บาท
    700 บาท
    7
    ค่าเอกสารลงทะเบียน
    100 บาท
    รวมในข้อ 2
    8
    ค่าหอพักนักศึกษา (ศาลายา) ต่อคน ภาคการศึกษาละ
    3,000-8,000 บาท
    -
    9
    ค่าประกันความเสียหายและกุญแจหอพัก (ศาลายาี)
    600-1,250 บาท
    -
    10
    ค่าหอพักนักศึกษา (กาญจน์) ต่อคน ภาคการศึกษาละ
    1,600 บาท
    -
    11
    ค่าประกันความเสียหายหอพักและกุญแจ (กาญจนบุรีี)
    1,000 บาท
    -
    12
    ค่ามัดจำกุญแจหอพัก กาญจนบุรี
    100 บาท
    -
    13
    ค่าลงทะเบียนภาคฤดูร้อน (ลงทะเบียนซ้ำ)
    2 เท่าของภาคปกติ
    -

    * อัตราอาจเปลี่ยนแปลงในแต่ละปีการศึกษา

    ICT = หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


    หน่วยกิตของหลักสูตรวิทยาศาสตร์

    ตารางที่ 3 หน่วยกิตของหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปกติ/พิสิฐวิธานสาขาต่างๆ

    ที่
    สาขาเอก
    ศึกษาทั่วไป
    เฉพาะ
    เลือกเสรี
    รวม
    1
    เคมี
    30
    97
    6
    133
    2
    เคมี (พิสิฐวิธาน)
    30
    101
    6
    137
    3
    ชีววิทยา
    30
    94
    6
    130
    4
    ชีววิทยา (พิสิฐวิธาน)
    30
    97
    6
    133
    5
    ฟิสิกส์
    30
    99
    6
    135
    6
    ฟิสิกส์ (พิสิฐวิธาน)
    30
    103
    6
    139
    7
    คณิตศาสตร์
    30
    99
    6
    135
    8
    คณิตศาสตร์ (พิสิฐวิธาน)
    30
    100
    6
    136
    9
    พฤกษศาสตร์
    30
    94
    6
    130
    10
    พฤกษศาสตร์ (พิสิฐวิธาน)
    30
    100
    6
    136
    11
    เทคโนโลยีชีวภาพ
    31
    94
    6
    131
    12
    เทคโนโลยีชีวภาพ (พิสิฐวิธาน)
    31
    99
    6
    132
    13
    เทคโนโลยีการอาหาร
    31
    95
    6
    135
    14 วิทยาศาสตร์การเกษตร
    30
    100
    6
    136
    15 ชีววิทยาเชิงอนุรักษ์
    31
    96
    6
    133
    16 ธรณีศาสตร์
    30
    106
    6
    142


    สอบถามข้อมูลและปรึกษาปัญหา เกี่ยวกับการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ได้ที่

    ฝ่ายการศึกษา
    พญาไท : ห้อง K-133 อาคารเฉลิมพระเกียรติ
    คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
    โทรศัพท์: 02-201-5050-4 โทรสาร: 02-354-7143

    ศาลายา : ห้อง SC3-203 ตึกวิทย์ 3 คณะวิทยาศาสตร์
    มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา จ. นครปฐม 73170
    โทรศัพท์: 02-441-9223 โทรสาร: 02-441-9322

    วิทยาเขตกาญจนบุรี : โทรศัพท์ - โทรสาร: 034-585-058-77

    Website : http://www.sc.mahidol.ac.th/sced
    e-mail : scnnc@mahidol.ac.th

    สอบถามข้อมูล เกี่ยวกับการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี
    สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ / เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    ได้ที่

    สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
    โทรศัพท์: 0-2247-0333
    Website : http://www.sc.mahidol.ac.th/sccs


    การศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา

    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรที่สนใจระดับบัณฑิตศึกษา ได้ที่

    ฝ่ายแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา / ฝ่ายวิจัย
    ห้อง K137 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 1
    สำนักงานคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
    โทรศัพท์: 0-2201-5837, 5040, 5043 โทรสาร 02-201-5042


    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
    25/25 ถนนพุทธมนฑลสาย 4
    อำเภอพุทธมนฑล จังหวัดนครปฐม 73170
    โทรศัพท์: 02-2441-4125, 02-2441-0179
    โทรสาร: +66 2441-9737

    Website: www.grad.mahidol.ac.th

    ทุนการศึกษา สำหรับปริญญาโท-เอก

    ทุนของคณะวิทยาศาสตร์

    • ทุนเสริมสร้างนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ เป็นทุนสำหรับผู้ที่สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    • ทุนโครงการอาจารย์ช่วยสอน เป็นทุนสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาโทและเอก ที่กำลังศึกษาในหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ของคณะวิทยาศาสตร์ ที่มาช่วยสอนรายวิชาระดับปริญญาตรี

    ทุนภายนอกคณะวิทยาศาสตร์

    • ทุนผู้ช่วยวิจัยบัณฑิตศึกษา
    • ทุนสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (TGIST) ของ สวทช.
    • ทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ของ สกว.

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×