ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วันนี้ในอดีต

    ลำดับตอนที่ #41 : 1 มีนาคม ( เกร็ดน่ารู้ ประจำเดือน มีนาคม )

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 701
      0
      1 มี.ค. 49




                         เกร็ดน่ารู้ ประจำเดือน มีนาคม


    วันในสัปดาห์ ของแต่ละวันในเดือนมีนาคม ตรงกับวันในสัปดาห์ของเดือนพฤศจิกายนเสมอ และจะตรงกับวันในสัปดาห์ของเดือนกุมภาพันธ์ในบางปี
    ดอกไม้ประจำเดือนมีนาคม คือ ดอกไวโอเลต
    อัญมณีประจำเดือนเกิดของเดือนมีนาคม คือ อะความารีน (พลอยสีน้ำทะเลอ่อน)

    มีนาคม เป็นเดือนที่ 3 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน

    ตามโหราศาสตร์ เดือนมีนาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีมีน และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีเมษ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนมีนาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวปลา

    ชื่อในภาษาอังกฤษ "March" มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน "Martius" หมายถึงเทพเจ้ามาร์ส เทพแห่งสงคราม จึงถือว่าเดือนนี้เป็นเดือนที่ดีในการเริ่มทำสงคราม ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนมีนาคมใน พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน

    ตามปฏิทินโรมันดั้งเดิม กำหนดให้เดือนมีนาคมเป็นเดือนแรกของปี แม้ว่าจูเลียส ซีซาร์จะปฏิรูประบบปฏิทินใหม่ โดยให้ปีใหม่ตรงกับวันที่ 1 มกราคม เมื่อ 45 ปีก่อนคริสตกาล แต่หลายประเทศก็ยังคงเริ่มปีใหม่ในเดือนมีนาคม ฝรั่งเศสเป็นประเทศเดียวที่กำหนดให้วันปีใหม่ตรงกับวันที่ 1 มกราคม ในปีพ.ศ. 2107 (ค.ศ. 1564) ส่วนสหราชอาณาจักรและอาณานิคมยังคงใช้วันที่ 25 มีนาคม เป็นวันปีใหม่จนกระทั่ง พ.ศ. 2295 (ค.ศ. 1752) ปีเดียวกับที่เริ่มใช้ปฏิทินเกรกอเรียน



    วันสำคัญ

    5 มีนาคม – วันนักข่าวในประเทศไทย
    8 มีนาคม – วันสตรีสากล
    21 มีนาคม – วันกวีนิพนธ์สากล
    ดวงอาทิตย์ผ่านตำแหน่งวสันตวิษุวัตในราววันที่ 21 มีนาคม ทำให้ช่วงเวลากลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืน (ในทางทฤษฎี)
    22 มีนาคม – วันน้ำของโลก
    25 มีนาคม – วันแม่ในสหราชอาณาจักร
    27 มีนาคม – วันกองทัพอากาศในประเทศไทย
    วันอีสเตอร์ตรงกับวันอาทิตย์ที่อยู่ระหว่าง 22 มีนาคม ถึง 25 เมษายน (ไม่ตรงกันทุกปี) 



     





                  

    ***************************************************************




    เหตุการณ์สำคัญในวันนี้


     1 มีนาคม  พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) – สงครามเย็น: ศาลอังกฤษตัดสินให้ คลอส ฟุคส์ นักฟิสิกส์เชื้อชาติเยอรมัน จำคุก 14 ปี หลังพบว่า เขาจารกรรมข้อมูลลับสุดยอดเกี่ยวกับระเบิดอะตอม ให้แก่สหภาพโซเวียต

     1 มีนาคม  พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) – การทดลองนิวเคลียร์: สหรัฐฯ ทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ บนเกาะปะการังวงแหวนบิกินี ส่วนหนึ่งของหมู่เกาะไมโครนีเชีย และสมาชิกของหมู่เกาะมาแชล ในมหาสมุทรแปซิฟิก

     1 มีนาคม  พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) – ยานเวเนรา 3 ของสหภาพโซเวียต พุ่งชนดาวศุกร์ เป็นยานอวกาศลำแรกที่สัมผัสพื้นผิวดาวเคราะห์ดวงอื่น

     1 มีนาคม พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) – ปฏิบัติการแอนาคอนดาของสหรัฐฯ เริ่มต้นขึ้นในตะวันออกของอัฟกานิสถาน 

     1 มีนาคม พ.ศ. 2450  รัฐบาลไทยเริ่มจัดประกวดพันธุ์ข้าวเป็นครั้งแรกที่เมืองธัญบุรี เหตุผลการประกวดปรากฎในประกาศซึ่งเก็บไว้ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติว่า เดิมข้าวไทยเป็นสินค้าใหญ่ แต่ขณะนั้นราคาตกต่ำเมื่อเทียบกับข้าวจากชวา สาเหตุก็เพราะข้าวที่นำมาปลูกและจำหน่ายมีทั้งดีและเลวปนกัน ไม่มีการคัดเลือก จึงเห็นควรจัดประกวดพันธุ์ข้าวขึ้นเพื่อจะได้เป็นพันธุ์ต่อไป ครั้งนั้นมีชาวนาส่งข้าวเข้าประกวดถึง 324 ราย รวมข้าวได้ 165 พันธุ์ ข้าวที่ได้รับรางวัลที่ 1 ชื่อข้าวปิ่นทอง

    1 มีนาคม พ.ศ. 2475วันเกิด สุวรรณี สุคนธา เจ้าของบทประพันธ์ เขาชื่อกานต์ (พ.ศ. 2513) ซึ่งได้รับรางวัลวรรณกรรมดีเด่นจากองค์การ ส.ป.อ. พ.ศ. 2519 ได้รับรางวัลนวนิยายยอดเยี่ยม จากเรื่อง "พระจันทร์สีน้ำเงิน" พ.ศ. 2524 ได้รับรางวัลชมเชยนิยายเยาวชน จากเรื่อง "สร้อยแสงแดง" พ.ศ. 2540



    สุวรรณี สุคนธา เสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 รวมอายุได้ 52 ปี

    "เงินย่อมไหลไปสู่มือคนฉลาดกว่าเสมอ คนโง่ คนสิ้นหวังทำงานให้คน ที่ร่ำรวยรวยยิ่งขึ้นไป นี่คือความจริงซึ่งมีให้เห็นอยู่ในสังคมเมืองของเรา ในขณะนี้"

    ส่วนหนึ่งของบทประพันธ์เรื่อง "เขาชื่อกานต์"

      1 มีนาคม2433พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกาศพระบรมราชโองการ ให้สร้างทางรถไฟตั้งแต่กรุงเทพ ฯ ถึงเมืองนครราชสีมาเป็นทางรถไฟสายแรกในราชอาณาจักรไทย





    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×