ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วันนี้ในอดีต

    ลำดับตอนที่ #168 : 6 กรกฎาคม

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 329
      0
      11 ก.ค. 49





                 6 กรกฎาคม  


    วันที่ 6 กรกฎาคม เป็นวันที่ 187 ของปี (วันที่ 188 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 178 วันในปีนั้น





    xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

      
    เหตุการณ์สำคัญในวันนี้


    พ.ศ. 2026 (ค.ศ. 1483) – สมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 3ทรงเข้ารับตำแหน่งกษัตริย์แห่งอังกฤษ

    พ.ศ. 2328 (ค.ศ. 1785) – สหรัฐอเมริกาเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ให้ดอลลาร์ เป็นหน่วยเงินตราประจำชาติ และเป็นชาติแรกที่มีเงินตราระบบทศนิยม

    พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1885) – หลุยส์ ปาสเตอร์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า

    พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) – กองทัพแห่งอาหรับนำโดยลอว์เรนซ์แห่งอาราเบีย (โทมัส ลอว์เรนซ์) บุกเข้ายึดครองเมืองอาคาบาจากตุรกี

    พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) – จอห์น เลนนอนและพอล แมคคาร์ทนีย์พบกันเป็นครั้งแรก

    พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) – แอลเทีย กิบสัน ชนะเลิศการแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดัน และเป็นนักกีฬาผิวดำคนแรกที่ได้แชมป์รายการนี้

    6 กรกฎาคม พ.ศ. 2428หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur) นักเคมีชาวฝรั่งเศส (ค.ศ. 1822-1895) ประสบความสำเร็จในการทดสอบวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า กับมนุษย์เป็นครั้งแรก โดยใช้รักษาให้กับเด็กชาย โจเซฟ เมสแตร์

    6 กรกฎาคม 2478 ลาโม ทอนดรุป เกิดในครอบครัวชาวนาในประเทศทิเบต เมื่ออายุได้สองปี เขาได้รับการคัดเลือกเป็นทะไลลามะองค์ที่ 14 หลังจากคณะผู้ค้นหาทดสอบจนมั่นใจแล้วว่าเขาคือ ทะไลลามะองค์ที่ 13 กลับชาติมาเกิด ทรงมีพระนามใหม่ว่า เทนซิน กยัตโส ทะไลลามะแห่งทิเบต มีบทบาททั้งในฐานะผู้ปกครองประเทศ และผู้นำทางจิตวิญญาณ ทรงได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อ ปี 2532 ปัจจุบันทรงลี้ภัยอยู่นอกประเทศทิเบต



    บุคคลสำคัญที่เกิดในวันนี้


    พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) – แนนซี เรแกน นักแสดงและสตรีหมายเลยหนึ่งของสหรัฐฯ

    พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) – จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ประธานาธิบดีคนที่ 43 ของสหรัฐฯ

    พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) – เฮเทอร์ โนวา นักร้องและนักเล่นกีตาร์ชาวบริติช/เบอร์มิวดา

    วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล


    คอโมโรส – วันประกาศเอกราช (พ.ศ. 2518)

    มาลาวี – วันประกาศเอกราช (พ.ศ. 2507)

    มาลาวี – วันสาธารณรัฐ (พ.ศ. 2510)






      xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×