ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Language Zone

    ลำดับตอนที่ #43 : The Tower of Babel หอคอยบาเบล

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 536
      1
      1 เม.ย. 55

     จำได้ว่าเคยพูดไปในหลายๆ บทที่แล้ว วันนี้จะมาชี้แจงให้ละเอียดขึ้นครับ
    เรื่องเล่าหอคอยบาเบลนี้ หลายคนคงทราบแล้วว่า มาจากพระคััมภีร์ฉบับปฐมกาล (ผมเรียกไม่ถูกขออภัยนะครับ)
    (Genesis 11: 1-9) มีใจความว่า

    1 ทั่วแผ่นดินโลกมีภาษาเดียวและมีสำเนียงเดียวกัน
    2 และต่อมาเมื่อพวกเขาเดินทางจากทิศตะวันออกก็พบที่ราบในแผ่นดินชินาร์และพวกเขาอาศัยอยู่ที่นั่น
    3 แล้วพวกเขาต่างคนต่างก็พูดกันว่า "มาเถิด ให้พวกเราทำอิฐและเผามันให้แข็ง" พวกเขาจึงมีอิฐใช้ต่างหินและมียางมะตอยใช้ต่างปูนสอ
    4 เขาทั้งหลายพูดว่า "มาเถิด ให้พวกเราสร้างเมืองขึ้นเมืองหนึ่งและก่อหอให้ยอดของมันไปถึงฟ้าสวรรค์ และให้พวกเราสร้างชื่อเสียงของพวกเราไว้ เพื่อว่าพวกเราจะไม่กระจัดกระจายไปทั่วพื้นแผ่นดินโลก"
    5 และพระเยโฮวาห์เสด็จลงมาทอดพระเนตรเมืองและหอนั้นซึ่งบุตรทั้งหลายของมนุษย์ได้ก่อสร้างขึ้น
    6 แล้วพระเยโฮวาห์ตรัสว่า "ดูเถิด คนเหล่านี้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และพวกเขาทั้งปวงมีภาษาเดียว พวกเขาเริ่มทำเช่นนี้แล้ว ประเดี๋ยวจะไม่มีอะไรหยุดยั้งพวกเขาได้ในสิ่งที่พวกเขาคิดจะทำ
    7 มาเถิด ให้พวกเราลงไปและทำให้ภาษาของเขาวุ่นวายที่นั่น เพื่อไม่ให้พวกเขาพูดเข้าใจกันได้"
    8 ดังนั้นพระเยโฮวาห์จึงทรงทำให้เขากระจัดกระจายจากที่นั่นไปทั่วพื้นแผ่นดิน พวกเขาก็เลิกสร้างเมืองนั้น
    9 เหตุฉะนั้นจึงเรียกชื่อเมืองนั้นว่า บาเบล เพราะว่าที่นั่นพระเยโฮวาห์ทรงทำให้ภาษาของทั่วโลกวุ่นวาย และ ณ จากที่นั่นพระเยโฮวาห์ได้ทรงทำให้พวกเขากระจัดกระจายออกไปทั่วพื้นแผ่นดินโลก
    ที่มา ; http://newonlinebible.com/openbible/openBible.seam?localeString=th 

    ในความคิดผม
    หอคอยบาเบลนั้นเป็นเสมือนจุดเริ่มต้นของอะไรหลายๆอย่าง จริงๆ แล้วตำนานเรื่องนี้สื่อให้เห็นถึงเรื่องราวต่างๆมากมาย แต่ใจนึงผมก็อดคิดไม่ได้ว่าหากหอคอยนี้ถูกสร้างขึ้นจนสำเร็จมันคงเป็นแหล่งรวบรวมของข้อมูลมากมายมหาศาลจากยุคอดีต

    มาที่เรื่องราวเล็กๆน้อยๆของภาษาไทยบ้าง

    "ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติของคนไทยมาแล้วช้านาน ถึงแม้คนไทยจะถูกชาติอื่นรุกราน ต้องถอยร่นลงมาทางใต้  จนถึงที่อยู่ปัจจุบัน แต่คนไทยก็ยังรักษาภาษาของตนไว้ได้ หลักฐานแสดงว่าภาษาไทยเป็นภาษาของ คนไทยโดยเฉพาะ ก็คือ ภาษาไทย มีลักษณะพิเศษไม่ซ้ำแบบของภาษาใดในโลก ที่มีผู้กล่าวว่า ภาษาไทยเป็นตระกูลเดียวกับภาษาจีน เนื่องจากเป็นภาษาคำโดดด้วยกัน และมีคำพ้องเสียงและความหมายเหมือนกันอยู่หลายคำ เช่น ขา โต๊ะ เก้าอี้ เข่ง หรือ จำนวนเลข การที่ภาษาไทยกับภาษาจีนมีลักษณะตรงกันบางประการดังกล่าว  ใช่ว่าภาษาไทยมาจากจีนหรือจีนมาจากไทย แต่คงเป็นเพราะชาติไทยกับจีนเคยมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดช้านาน และคงเคยใช้อักษรจีนเขียนภาษาไทย ภาษาไทยกับจีนจึงมีส่วนคล้ายคลึงกันได้ ข้อสังเกตที่ว่า ภาษาไทยกับจีนเป็นคนละภาษาต่างหาก จากกันก็คือ ระเบียบการเข้าประโยคต่างกัน เช่น คำวิเศษณ์ในภาษาไทยส่วนใหญ่ อยู่หลังคำที่ประกอบหรือขยาย ส่วนภาษาจีน ส่วนใหญ่อยู่ข้างหน้า
                เมื่อไทยอพยพลงมาอยู่ในแหลมทอง ต้องเกี่ยวข้องกับชนเจ้าของถิ่นหลายชาติหลายภาษา เช่น ขอม มอญ ละว้า พม่า มลายู ต่อมาได้ติดต่อกับประเทศอื่นๆ ทางการค้าขาย ศาสนา และวัฒนธรรม เช่น อินเดีย (บาลี สันสกฤต) ชวา เปอร์เซีย โปรตุเกส อังกฤษ เป็นต้น"


    http://onknow.blogspot.com/2010/02/blog-post_8893.html มีเครดิตครับ

    เรื่องข้างบนนี่เป็นเรื่องของภาษาพูดนะครับแต่คิดไปคิดมาก็สับสนเหมือนกัน ผมจำได้ว่าสมัยเด็กๆ ครูเคยเล่าให้ฟังเกี่ยวกับเรื่องภาษาไทยนี่หละครับ ที่บอกว่า~ มีเขมรหรือพม่า? อันนี้จำไม่ได้แล้ว มากล่าวหาว่า "พี่ไทย ลอกภาษาเราไปนี่นา" เพราะภาษาของเรามันคล้ายๆกับที่เขาใช้ แต่ใส่หัวเพิ่มขึ้้นมา ตอนนั้น ท่านขุนทั้งหลายก็เลยแย้งๆ เถียงๆ กลับไปครับ บอกว่า "พวกเราไม่ได้ทำเช่นนั้น นี่เป็นภาษาของพวกเรา ที่เจ้าอยู่หัวเราได้ประดิษฐ์ขึ้น" (สมัยพ่อขุนรามสินะครับนี่) "มีแรงบันดาลใจ(มันไม่ใ่ช่คำนี้หรอกครับ แต่ผมลืมแล้วว่าครูเ่าว่าอะไร)มาจากภาษานี้" แล้วก็ชี้ไปที่ภาษาภารตะ(อินเดีย)
    หลังจากอ่านบทความข้างต้น?? มาจากภาษาจีน (หันกลับไปดูภาษาจีน) เฮ้ยยย!!! ไม่ใช่มั้ง มันเหมือนกันตรงส่วนไหนเนี่ย!! จากที่เคยเกริ่นให้ฟังไปแล้วว่า การจำแนกภาษาบนลกนั้นมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน

    จำแนกตามสกุล ที่นักวิชาการทำการศึกษาภาษาที่มาจากวัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน และรูปลักษณ์มีความสัมพันธ์กัน ปรากฎว่า
    >ไทย>Tai Kadai (ไม่กล้าเขียนเป็นภาษาไทยครับ กลัวออกเสียงผิด)
    >จีน>Sino Tibetan

    จำแนกตามทิศทางในการเขียน
    >ไทย>ซ้ายไปขวา แนวนอน
    >จีน>ได้หลายแแบบ โอเค แบบไทยก็ได้ แต่ส่วนใหญ่เห็นเขาเขียนแนวตั้งกันอ่ะ

    จำแนกตามลักษณะการเขียนตัวอักษร
    >ไทย>Syllabic Alphabets คือมีตัวอักษรและที่ใช้แทนเสียงแต่ละพยางค์(ไม่จำเป็นต้องเป็นคำ)
    >จีน>แบบ Ideograms ตัวอักษรแสดงถึงความหมายในตัวมันเอง(คำอธิบายนะครับ ไม่ใช่คำแปล)
    ก็นะ... หมดคำพูด

    ไปหละครับ วันนี้ จบไปอีกบท

    ป.ล. สำหรับผู้ที่ไม่เคยอ่านบทความของผม ข้อมูลทุกอย่างมีเครดิตเสมอนะครับ (แต่ที่บทนี้ใส่พิเศษ มีสีพื้นด้วยเพราะเป็นส่วนที่ไปก๊อบมาแบบเต็มๆครับ ส่วนเครดิตข้อมูลอื่นๆ อยู่ในบทที่ 3 นะครับ เพราะคนเขียนค่อนข้างขี้เกียจ 

    *ถึงความเห็นที่ 72 ขอบคุณที่เช็คให้นะครับ จริงๆ จะใช้คำว่าภาคพันธะสัญญาเดิมก็ได้ แต่ถ้าผมยังจำไม่ผิด ใช้ว่าปฐมกาลได้เหมือนกันครับ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง >> ผู้ที่จะเอาข้อมูลไปใช้ ใช้คำว่าภาคพันธะสัญญาเดิมนะครับ (อย่าเชื่อสมองปลาทองผมเลยดีกว่า)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×